SUPER กดปุ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในโครงการโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ หนุนกำลังการผลิตติดตั้งรวมในเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 236.72 เมกะวัตต์ "จอมทรัพย์ โลจายะ"ประธานคณะกรรมการ ฟันธงปีหน้าสดใส เดินหน้าเก็บเกี่ยวรายได้จากโครงการโรงไฟฟ้า ทั้งในและต่างประเทศเต็มที่ ขณะที่ตั้งเป้าหมายอีก 1-2ปีมีสัญญาซื้อขายไฟแตะระดับ 1,200-1,300 เมกะวัตต์
นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 บริษัทได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์( COD )ในโครงการโซลาร์ฟาร์มโครงการ Sinenergy Ninh Thuan ในประเทศเวียดนาม ให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) จำนวน 1 โครงการ กำลังการผลิต 50 เมกกะวัตต์ ส่งผลให้กำลังการผลิตติดตั้งรวมเพิ่มขึ้นเป็น 236.72 เมกะวัตต์ จากทั้งหมดจำนวน 5 โครงการในเวียดนาม ซึ่งเป็นไปตามแผนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ และเมื่อรวมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทย่อยของ SUPER ในประเทศไทยที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วจำนวน768.60 เมกกะวัตต์ จะทำให้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,005.32 เมกกะวัตต์
ทั้งนี้ในส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิตรวม 422 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีความพร้อมเริ่มทยอยก่อสร้างแล้ว โดยแบ่งเป็นโครงการพลังงานกังหันลมทางทะเล ขนาดกำลังการผลิต 172 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานลมบนพื้นดิน กำลังการผลิตประมาณ 250 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่า จะดำเนินการ COD ได้บางส่วนในช่วงปลายปี63
ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศก็มีแผนการขยายต่อเนื่อง เพื่อผลักดันรายได้มากขึ้น ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดหนองคาย กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ พลังงานความร้อนจากขยะชุมชนที่ จังหวัดนนทบุรี กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จากขยะชุมชนที่จังหวัด เพชรบุรี กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ โดยจะเริ่มทยอยพัฒนาโครงการตามแผนงานของบริษัท
รวมทั้งบริษัทฯได้ทำการขายไฟฟ้าโดยตรงให้กับลูกค้าในลักษณะPrivate PPA โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ด้วยระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบติดตั้งบนพื้นดิน กำลังการผลิตติดตั้ง 4.04 เมกะวัตต์ เพิ่มเติมจากเดิมที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง และอยู่ระหว่างการเจรจาผู้ประกอบการอีกหลายราย
อย่างไรก็ตามในปี 63 บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการมีแหล่งรายได้ในระยะยาว รวมทั้งการมองหาโอกาสการขยายการลงทุนในประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ,เมียนมา ,ไต้หวัน ฯลฯ เพื่อไปมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ คือการเป็นผู้นำธุรกิจโรงไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กำลังการผลิตไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ รวมทั้งสิ้น 1,200 -1,300 เมกะวัตต์ และ 2,000 เมกะวัตต์ในอีก 3- 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน
"ในปีหน้า ผมจะต้องเดินหน้าเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และจะปีแห่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ในโครงการโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ และคาดว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี62 ไม่ว่าจะเป็นในส่วนอัตรากำไรสุทธิ หรือรายได้รวม โดยตั้งเป้าปี63 รายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20-25% จากปี62 และมียอด PPA อยู่ในระดับ 1,200 – 1,300 เมกะวัตต์" ประธานคณะกรรมการกล่าวในที่สุด
SUPER แจกข่าวดีส่งท้ายปี62 CODโรงไฟฟ้าโซลาร์เวียดนาม 50 MW
นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 บริษัทได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์( COD )ในโครงการโซลาร์ฟาร์มโครงการ Sinenergy Ninh Thuan ในประเทศเวียดนาม ให้กับการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) จำนวน 1 โครงการ กำลังการผลิต 50 เมกกะวัตต์ ส่งผลให้กำลังการผลิตติดตั้งรวมเพิ่มขึ้นเป็น 236.72 เมกะวัตต์ จากทั้งหมดจำนวน 5 โครงการในเวียดนาม ซึ่งเป็นไปตามแผนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ และเมื่อรวมโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทย่อยของ SUPER ในประเทศไทยที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วจำนวน768.60 เมกกะวัตต์ จะทำให้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,005.32 เมกกะวัตต์
ทั้งนี้ในส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิตรวม 422 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีความพร้อมเริ่มทยอยก่อสร้างแล้ว โดยแบ่งเป็นโครงการพลังงานกังหันลมทางทะเล ขนาดกำลังการผลิต 172 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานลมบนพื้นดิน กำลังการผลิตประมาณ 250 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่า จะดำเนินการ COD ได้บางส่วนในช่วงปลายปี63
ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าในประเทศก็มีแผนการขยายต่อเนื่อง เพื่อผลักดันรายได้มากขึ้น ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดหนองคาย กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะชุมชน จังหวัดพิจิตร กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ พลังงานความร้อนจากขยะชุมชนที่ จังหวัดนนทบุรี กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จากขยะชุมชนที่จังหวัด เพชรบุรี กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ โดยจะเริ่มทยอยพัฒนาโครงการตามแผนงานของบริษัท
รวมทั้งบริษัทฯได้ทำการขายไฟฟ้าโดยตรงให้กับลูกค้าในลักษณะPrivate PPA โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ด้วยระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบติดตั้งบนพื้นดิน กำลังการผลิตติดตั้ง 4.04 เมกะวัตต์ เพิ่มเติมจากเดิมที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง และอยู่ระหว่างการเจรจาผู้ประกอบการอีกหลายราย
อย่างไรก็ตามในปี 63 บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการลงทุนด้านพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการมีแหล่งรายได้ในระยะยาว รวมทั้งการมองหาโอกาสการขยายการลงทุนในประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย ,เมียนมา ,ไต้หวัน ฯลฯ เพื่อไปมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ คือการเป็นผู้นำธุรกิจโรงไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กำลังการผลิตไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ รวมทั้งสิ้น 1,200 -1,300 เมกะวัตต์ และ 2,000 เมกะวัตต์ในอีก 3- 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน
"ในปีหน้า ผมจะต้องเดินหน้าเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และจะปีแห่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ในโครงการโรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ และคาดว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี62 ไม่ว่าจะเป็นในส่วนอัตรากำไรสุทธิ หรือรายได้รวม โดยตั้งเป้าปี63 รายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20-25% จากปี62 และมียอด PPA อยู่ในระดับ 1,200 – 1,300 เมกะวัตต์" ประธานคณะกรรมการกล่าวในที่สุด