เรื่อง กระจกไร้เงา: นาข้าวแลกโซลาร์ฟาร์ม
ที่มา : ไทยโพสต์
ในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำพลังงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซหุงต้ม ล้วนแล้วต้องนำเข้าทั้งหมด ดังนั้นเพื่อลดการนำเข้า รัฐบาลได้พยายามรณรงค์ให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปใช้พลังงานอย่างมีคุณค่าและประหยัด รวมถึงการผลักดันให้มีพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะรัฐบาลสมัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เน้นส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ) ได้ในอนาคต และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
และสิ่งที่รัฐบาลพยายามผลักดันคือการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ เพราะเป็นที่สนใจของหลายประเทศและเหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน และยังลดปัญหาการต่อต้านจากชาวบ้าน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
พร้อมทั้งยังมีมาตรการจูงใจ โดย "การให้เงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า" เรียกกันสั้นๆ ว่า "แอดเดอร์" ซึ่งผู้ที่รับซื้อคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะรับซื้อในอัตรา 3 บาทต่อหน่วย และกระทรวงพลังงานจะสมทบ "แอดเดอร์" ให้อีก 8 บาทต่อหน่วย ในระยะเวลา 10 ปี โดยให้เหตุผลการช่วยเหลือจำนวนมาก เพราะต้นทุนอุปกรณ์การผลิตยังมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ถ้าไม่สนับสนุนก็จะไม่มีใครกล้าผลิตและเห็นว่าขาดทุนแน่ๆ
ทั้งนี้ ตามเป้าหมายการผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) เท่ากับ 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการส่งเสริมระบบขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งได้ในชุมชน และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้ได้ 1,000 เมกะวัตต์ใน 10 ปี โดยพิจารณาติดตั้งระบบดังกล่าวในอาคารบ้านเรือน บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน และอาคารภาครัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ซึ่งกระทรวงพลังงานจะกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าพิเศษสำหรับโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และสามารถดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน โดยเห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนมีเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ และมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษ ตามแผนจะดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายในปี 2557 ดังนี้ ปีที่ 1-3 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 9.75 บาท ปีที่ 4-10 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 6.50 บาท ปีที่ 11-25 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 4.50 บาท
นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่าโซลาร์ฟาร์ม ด้วยความที่ที่ตั้งของไทยอยู่ในเขตศูนย์สูตร ทำให้มีช่วงเวลาในการรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี ซึ่งเฉลี่ยวันละประมาณ 5 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร เมื่อเทียบกับประเทศทางแถบยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยเพียงวันละ 3-4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับธุรกิจโซลาร์ฟาร์มเป็นอย่างมาก แต่ก็ใช่ว่าทุกพื้นที่ในประเทศไทยจะสร้างโซลาร์ฟาร์มได้ทั้งหมด เพราะความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 18.2 ล้านจูนต่อตารางเมตรต่อวัน
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถือว่ามีข้อดีสาระพัด ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลังงานที่เป็นฟอสซิล ซึ่งใกล้จะหมดไปจากประเทศไทยแล้ว, ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และยังลดปัญหาสิ่งแวดล้อมออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืม หรือแกล้งลืมไม่รู้ ว่าแผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุแล้วจะกำจัดทิ้งอย่างไร เพราะถือว่าเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มนั้นจะต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และเป็นที่โล่ง มีแสงแดดดี จึงทำให้เกิดปัญหาว่า การสร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เกิดขึ้น โดยการที่ไม่กำหนดโซนนิ่งทำให้เกิดปัญหาลดพื้นที่เกษตรกรรม
ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพลังงานควรมีหน้าที่ในการจัดแจง กำหนดว่า โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่เหล่านี้ควรที่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ไหนจึงเหมาะสม ไม่ใช่เช่นปัจจุบันนี้ที่ปล่อยให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ตรงไหนก็ได้ แม้กระทั่งในพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะในย่านสุพรรณบุรีซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรและมีปลูกข้าว แต่ทุกวันนี้กลายเป็นว่าเอาดินมาถมนาข้าวแล้วก็สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และที่สำคัญแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้เมื่อหมดอายุจะเอาไปเก็บหรือทิ้งที่ไหน ใครตอบได้
มันเหมาะสมแล้วหรือที่เอาพื้นที่เกษตรปลูกข้าวมาแลกกับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์อย่างเช่นทุกวันนี้.
ปล. บทความนี้ผมว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะเรามีพื้นที่เยอะ แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ผลตอบแทนทางธุรกิจโซล่าร์ฟาร์มไม่เหมาะกับพื้นที่สีเขียวแม้แต่น้อย เพราะพื้นที่นั้นสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้ปีละหลายรอบ แต่อย่างว่าแหล่ะเราไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ ถ้าเป็นทะเลทรายก็ไปอย่าง
กระจกไร้เงา: นาข้าวแลกโซลาร์ฟาร์ม ( ถ้าโซนนิ่งมา ต้องระวัง )
ที่มา : ไทยโพสต์
ในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำพลังงานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซหุงต้ม ล้วนแล้วต้องนำเข้าทั้งหมด ดังนั้นเพื่อลดการนำเข้า รัฐบาลได้พยายามรณรงค์ให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปใช้พลังงานอย่างมีคุณค่าและประหยัด รวมถึงการผลักดันให้มีพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะรัฐบาลสมัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เน้นส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ) ได้ในอนาคต และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
และสิ่งที่รัฐบาลพยายามผลักดันคือการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ เพราะเป็นที่สนใจของหลายประเทศและเหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน และยังลดปัญหาการต่อต้านจากชาวบ้าน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
พร้อมทั้งยังมีมาตรการจูงใจ โดย "การให้เงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า" เรียกกันสั้นๆ ว่า "แอดเดอร์" ซึ่งผู้ที่รับซื้อคือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะรับซื้อในอัตรา 3 บาทต่อหน่วย และกระทรวงพลังงานจะสมทบ "แอดเดอร์" ให้อีก 8 บาทต่อหน่วย ในระยะเวลา 10 ปี โดยให้เหตุผลการช่วยเหลือจำนวนมาก เพราะต้นทุนอุปกรณ์การผลิตยังมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ถ้าไม่สนับสนุนก็จะไม่มีใครกล้าผลิตและเห็นว่าขาดทุนแน่ๆ
ทั้งนี้ ตามเป้าหมายการผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) เท่ากับ 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการส่งเสริมระบบขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งได้ในชุมชน และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้ได้ 1,000 เมกะวัตต์ใน 10 ปี โดยพิจารณาติดตั้งระบบดังกล่าวในอาคารบ้านเรือน บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน และอาคารภาครัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ซึ่งกระทรวงพลังงานจะกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าพิเศษสำหรับโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และสามารถดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน โดยเห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชนมีเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งรวม 800 เมกะวัตต์ และมีอัตราการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษ ตามแผนจะดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายในปี 2557 ดังนี้ ปีที่ 1-3 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 9.75 บาท ปีที่ 4-10 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 6.50 บาท ปีที่ 11-25 ระบบ FIT อัตราหน่วยละ 4.50 บาท
นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่าโซลาร์ฟาร์ม ด้วยความที่ที่ตั้งของไทยอยู่ในเขตศูนย์สูตร ทำให้มีช่วงเวลาในการรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี ซึ่งเฉลี่ยวันละประมาณ 5 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร เมื่อเทียบกับประเทศทางแถบยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยเพียงวันละ 3-4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับธุรกิจโซลาร์ฟาร์มเป็นอย่างมาก แต่ก็ใช่ว่าทุกพื้นที่ในประเทศไทยจะสร้างโซลาร์ฟาร์มได้ทั้งหมด เพราะความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 18.2 ล้านจูนต่อตารางเมตรต่อวัน
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถือว่ามีข้อดีสาระพัด ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลังงานที่เป็นฟอสซิล ซึ่งใกล้จะหมดไปจากประเทศไทยแล้ว, ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และยังลดปัญหาสิ่งแวดล้อมออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ภาครัฐลืม หรือแกล้งลืมไม่รู้ ว่าแผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุแล้วจะกำจัดทิ้งอย่างไร เพราะถือว่าเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การก่อสร้างโซลาร์ฟาร์มนั้นจะต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และเป็นที่โล่ง มีแสงแดดดี จึงทำให้เกิดปัญหาว่า การสร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เกิดขึ้น โดยการที่ไม่กำหนดโซนนิ่งทำให้เกิดปัญหาลดพื้นที่เกษตรกรรม
ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพลังงานควรมีหน้าที่ในการจัดแจง กำหนดว่า โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่เหล่านี้ควรที่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ไหนจึงเหมาะสม ไม่ใช่เช่นปัจจุบันนี้ที่ปล่อยให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ตรงไหนก็ได้ แม้กระทั่งในพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะในย่านสุพรรณบุรีซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรและมีปลูกข้าว แต่ทุกวันนี้กลายเป็นว่าเอาดินมาถมนาข้าวแล้วก็สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และที่สำคัญแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้เมื่อหมดอายุจะเอาไปเก็บหรือทิ้งที่ไหน ใครตอบได้
มันเหมาะสมแล้วหรือที่เอาพื้นที่เกษตรปลูกข้าวมาแลกกับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์อย่างเช่นทุกวันนี้.
ปล. บทความนี้ผมว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะเรามีพื้นที่เยอะ แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ผลตอบแทนทางธุรกิจโซล่าร์ฟาร์มไม่เหมาะกับพื้นที่สีเขียวแม้แต่น้อย เพราะพื้นที่นั้นสามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้ปีละหลายรอบ แต่อย่างว่าแหล่ะเราไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ ถ้าเป็นทะเลทรายก็ไปอย่าง