เผยที่มา ผมทรงอี่ปุ่น หรือ ผมทรงญี่ปุ่นของ ซ้องปีบ จากละครเรื่อง กลิ่นกาสะลอง ทรงผมที่เจ้าดารารัศมี ทรงได้ต้นแบบการเกล้าเกศาจาก ภริยาท่านทูตญี่ปุ่น
ซ้องปีบ
ซ้องปีบ
เป็นลูกรักพ่อ เสื้อผ้าต้องเด่นกว่าปี้สาวแล้ว หน้าผมก็ต้องงามปะล้ำ ปะเหลือ งามจ๊าดนัก กว่าใครเพื่อนด้วย ซึ่งทรงผมที่ซ้องปีบสั่งให้สาวใช้อย่าง เหมยทำเพื่อไปงานสำคัญต่างๆ หรือเดินอวดโฉมให้หนุ่มๆ ในกาด (ตลาด) พากันตะลึงคือ “ผมทรงอี่ปุ่น”
ตามที่กล่าวไปข่างต้นว่า ผมทรงอี่ปุ่น นั้นเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา พระองค์ทรงได้รับวัฒนธรรมการเกล้าเกศานี้มาจาก ภริยาท่านทูตญี่ปุ่น ที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งครูณัฐฏพัฒน์สอนศิลปะ ได้บรรยายไว้ถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ โดยคุณแทน t_2539 ได้นำมาเผยแพร่ว่า
จากญี่ปุ่นสู่ล้านนา เจ้าดารารัศมีก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ล้านนาของพระองค์ไว้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องถึงแม้จะมาอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว เห็นได้จากภาพถ่ายของพระองค์กับเหล่าข้าหลวงล้านนาที่ไว้ผมยาวตามประเพณี แตกต่างจากพระราชวงศ์และข้าราชสำนักตำหนักอื่นๆ ถึงแม้ในช่วงรัชกาลที่ 5 จะมีความนิยมไว้ผมยาวอย่างตะวันตกแล้วแต่ทรงผมสั้นแล้วหวีเสยไปข้างหลังที่เรียกว่าทรงดอกกระทุ่มก็ยังเป็นที่นิยมในราชสำนักฝ่ายในมากกว่า
มีเรื่องเล่าว่า พระราชชายา เจ้าดารารัศมีได้เห็นทรงผมภริยาท่านทูตญี่ปุ่นที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง จึงได้นำเอาทรงผมสตรีชาวญี่ปุ่นนั้นมาเป็นต้นแบบการเกล้าพระเกศาของพระองค์ท่าน และให้ข้าหลวงพระตำหนักของพระองค์ท่านทำทรงผมญี่ปุ่นนี้ทุกคน ในพระฉายาลักษณ์นี้พระเกศายาวของพระราชชายาฯ เกล้าขึ้นโดยใช้หมอนรอง โคนผมด้านหน้ายกสูงขึ้น เรียกว่าทรง ‘อี่ปุ่น’ ด้วยได้รับแบบแผนมาจากแดนอาทิตย์อุทัย
นางสาวบุญปั๋น บุตรสาวของ พญาพิทักษ์เทวี (ตำแหน่งพระพี่เลี้ยงของเจ้าดารารัศมี) นางข้าหลวง ในเจ้าดารารัศมี
ต่อมาผมทรงนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในแวดวงสังคมชั้นสูงยุค Edwardian และแผ่อิทธิพลมาถึงราชสำนักไทยด้วย น่าเศร้าที่ Victoria Sherrow กล่าวไว้ในหนังสือ สารานุกรมเส้นผม (Encyclopedia Of Hair) ของเธอไว้ว่า ทรงผมอลังการและการประดับประดาศีรษะให้ยิ่งใหญ่และมีน้ำหนักมากเข้าไว้ของชาวญี่ปุ่นยุคโบราณเกิดขึ้นด้วยความคิดที่ว่าเมื่อมีอะไรมากดทับบนหัว ผู้หญิงจะได้ไม่ต้องคิดอะไรมากเกินไป
ข้อมูล : ครูณัฐฏพัฒน์สอนศิลปะ
ภาพ : ฉายานิทรรศน์, IG@noproblemfg
Cr. แพรว
https://praew.com/luxury/259735.html
กาสะลองก็ทำทรงนี้ตอนฟ้อนนำขบวนเช่นกัน
เผยที่มาผมทรงอี่ปุ่น ซ้องปีบ จากต้นแบบการเกล้าเกศาของ เจ้าดารารัศมี
ซ้องปีบ
ซ้องปีบ
เป็นลูกรักพ่อ เสื้อผ้าต้องเด่นกว่าปี้สาวแล้ว หน้าผมก็ต้องงามปะล้ำ ปะเหลือ งามจ๊าดนัก กว่าใครเพื่อนด้วย ซึ่งทรงผมที่ซ้องปีบสั่งให้สาวใช้อย่าง เหมยทำเพื่อไปงานสำคัญต่างๆ หรือเดินอวดโฉมให้หนุ่มๆ ในกาด (ตลาด) พากันตะลึงคือ “ผมทรงอี่ปุ่น”
ตามที่กล่าวไปข่างต้นว่า ผมทรงอี่ปุ่น นั้นเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา พระองค์ทรงได้รับวัฒนธรรมการเกล้าเกศานี้มาจาก ภริยาท่านทูตญี่ปุ่น ที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งครูณัฐฏพัฒน์สอนศิลปะ ได้บรรยายไว้ถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ โดยคุณแทน t_2539 ได้นำมาเผยแพร่ว่า
จากญี่ปุ่นสู่ล้านนา เจ้าดารารัศมีก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ล้านนาของพระองค์ไว้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องถึงแม้จะมาอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว เห็นได้จากภาพถ่ายของพระองค์กับเหล่าข้าหลวงล้านนาที่ไว้ผมยาวตามประเพณี แตกต่างจากพระราชวงศ์และข้าราชสำนักตำหนักอื่นๆ ถึงแม้ในช่วงรัชกาลที่ 5 จะมีความนิยมไว้ผมยาวอย่างตะวันตกแล้วแต่ทรงผมสั้นแล้วหวีเสยไปข้างหลังที่เรียกว่าทรงดอกกระทุ่มก็ยังเป็นที่นิยมในราชสำนักฝ่ายในมากกว่า
มีเรื่องเล่าว่า พระราชชายา เจ้าดารารัศมีได้เห็นทรงผมภริยาท่านทูตญี่ปุ่นที่ติดตามสามีเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง จึงได้นำเอาทรงผมสตรีชาวญี่ปุ่นนั้นมาเป็นต้นแบบการเกล้าพระเกศาของพระองค์ท่าน และให้ข้าหลวงพระตำหนักของพระองค์ท่านทำทรงผมญี่ปุ่นนี้ทุกคน ในพระฉายาลักษณ์นี้พระเกศายาวของพระราชชายาฯ เกล้าขึ้นโดยใช้หมอนรอง โคนผมด้านหน้ายกสูงขึ้น เรียกว่าทรง ‘อี่ปุ่น’ ด้วยได้รับแบบแผนมาจากแดนอาทิตย์อุทัย
นางสาวบุญปั๋น บุตรสาวของ พญาพิทักษ์เทวี (ตำแหน่งพระพี่เลี้ยงของเจ้าดารารัศมี) นางข้าหลวง ในเจ้าดารารัศมี
ต่อมาผมทรงนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในแวดวงสังคมชั้นสูงยุค Edwardian และแผ่อิทธิพลมาถึงราชสำนักไทยด้วย น่าเศร้าที่ Victoria Sherrow กล่าวไว้ในหนังสือ สารานุกรมเส้นผม (Encyclopedia Of Hair) ของเธอไว้ว่า ทรงผมอลังการและการประดับประดาศีรษะให้ยิ่งใหญ่และมีน้ำหนักมากเข้าไว้ของชาวญี่ปุ่นยุคโบราณเกิดขึ้นด้วยความคิดที่ว่าเมื่อมีอะไรมากดทับบนหัว ผู้หญิงจะได้ไม่ต้องคิดอะไรมากเกินไป
ข้อมูล : ครูณัฐฏพัฒน์สอนศิลปะ
ภาพ : ฉายานิทรรศน์, IG@noproblemfg
Cr. แพรว https://praew.com/luxury/259735.html
กาสะลองก็ทำทรงนี้ตอนฟ้อนนำขบวนเช่นกัน