Toy Story 4 (2019)
กำกับโดย Josh Cooley
8.5/10
โตมากับการดูหนังเด็กที่มีจุดเศร้าผู้ใหญ่อย่าง Bambi, The Land Before Time, หรือ The Search for Christopher Robin เหมือนช่วยเตรียมพร้อมให้ Toy Story 3 เป็นประสบการณ์การดูหนังโรงที่สั่นสะเทือนที่สุดสำหรับผมเลยก็ว่าได้ ความหน้าฉากหนังของเล่นเรท G สำหรับเด็ก กลับใส่ความสุดทางแบบผู้ใหญ่ในเมสเสจหนัง ที่พูดถึงความไม่ยั่งยืนของกาลเวลาและชีวิต เหล่าของเล่นต้องเผชิญกับทั้ง “ความตาย” (มองเข้าไปในเตาเผาขยะ และยอมรับมันร่วมกัน) และ “ความเปลี่ยนแปลง” (ลาจากจากบ้านเก่าด้วยความปลง อย่างเปี่ยมเศร้าเคล้าสุข) อันเป็นสองสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนชวนให้ผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่ต้องครุ่นคิดถึงสิ่งเหล่านั้นตามนอกจอทีเดียว ตอนจบอันยิ่งใหญ่สมบูรณ์ของภาค 3 ก็ทำให้ผมเป็นคนหนึ่งที่มองการเกิดขึ้นของ Toy Story 4 อย่างกังขาข้องใจ ว่า Pixar กำลังพาตระกูลหนังที่แจ้งเกิดสตูดิโอ มาเสี่ยงดวงด้านคุณภาพและชื่อเสียงเกินไปหรือเปล่า
ซึ่งในแง่หนึ่ง นี่ก็เป็นภาคต่อ Toy Story ภาคแรกที่ให้ความรู้สึก “ยืดเพิ่ม” มากกว่า “ต่อยอด” เหมือนสองภาคก่อนที่สร้างเรื่องต่อได้เนียนสนิท แต่แฟรนไชส์หนังอื่นๆคงได้แค่หวังให้การยืดเพิ่มภาค 4 หลังผ่านมาเกือบสิบปีมันคงคุณภาพสูงเท่านี้ เพราะเสน่ห์เดิมยังอยู่ครบ ทั้งตัวละครและสถานการณ์ที่รุ่มรวยรายละเอียดและเปี่ยมจินตนาการ ไปจนถึงการเล่าเรื่องได้สนุกสนานเหมาะสำหรับเด็กแต่ไม่ดูถูกผู้ใหญ่เลย อย่างมุกเล็กน้อยที่ปล่อยเล่นในพื้นหลังฉากของตุ๊กตาทหารที่รอ high five นานเป็นหนุ่มจืด หรือการกลับมาเจอกันอย่างไม่คาดฝันของวู้ดดี้กับโบ ที่การต้องแกล้งหน้านิ่งเป็นของเล่นกลับเพิ่มบรรยากาศต้องมนต์โรแมนติกให้ฉากนี้มากขึ้นอีก
ผู้สร้างหนังเองดูรู้ตัวถึงความไม่น่ามีอยู่ของมันหลังภาค 3 ก็ฉลาดเล่า เปลี่ยนสเกลจากความอีพิคเล่าภาพใหญ่ของวัฏจักรของเล่น ที่ภาค 3 พาไปจนสุดทางหมดจดแล้ว ปรับให้สเกลเล็กลง และเอารายละเอียดอดีตตามทางภาคก่อนๆ มาสร้าง character study ที่สำรวจสภาพจิตใจของวู้ดดี้ และแสดงเส้นทางการเจริญเติบโตทางตัวละครของเขาอย่างใกล้ชิดแทน โหมด character study นี้ทำให้ไม่แปลกเลยว่าถึงตัวละครของเล่นหลักกลับมากันครบ แต่กลับมีฉากแบ่งเกลี่ยให้ตัวรองเก่าๆน้อยกว่าที่เคย เพราะสถานการณ์เนื้อเรื่องและตัวละครทั้งใหม่เก่าในภาค 4 นี้ ต่างต้องเป็นบันไดเดินทางไม่ก็ภาพสะท้อนของวู้ดดี้ ให้เขาไปสู่ปลายทางการพัฒนาตนเอง
อันนี้ชัดสุดเลยในตัวละครใหม่อย่างฟอร์คกี้ ของเล่นสร้างจากขยะและอยากกลับเป็นขยะ ที่ความหม่นหมองในการมีอยู่ แทบเป็นปรัชญาถึงความสงสัยกังขาในที่ทางของตัวตน (existential crisis) จนสะท้อนและกระทบใจวู้ดดี้เข้าอย่างจัง ทำให้เขาที่ไขว้เขวจากการเริ่มไม่เป็นจุดสนใจของบอนนี่อยู่แล้ว ต้องพยายามช่วยเหลือฟอร์คกี้อย่างที่สุด เพื่อมายืนยันในความมีประโยชน์และการมีอยู่ของตนเอง ฟอร์คกี้เป็นตัวจุดประกายเส้นตัวละครวู้ดดี้ในภาคนี้มาก ความยื้อยุดทางจิตใจระหว่างสองคนนี้ ยังดึงกระทั่งแนวโน้มความอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิมจนมองข้ามหัวคนอื่นของวู้ดดี้ในภาคก่อนๆ ให้เด่นขึ้นเป็นลักษณะเห็นแก่ตัวชัด เป็นอีกหนึ่งคำถามว่าเขาควรหาเส้นทางตัวเองอย่างไรดี
โดยรวมแล้ว ภาคนี้จึงเป็นการเปลี่ยนโหมดที่ทั้งแปลกสุดและตลกสุดในซีรี่ส์เลยทีเดียว ใช้ความคุ้นชินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเส้นเรื่องให้เป็นข้อดี นำมันกลับเป็นโฟกัสที่เล็กลง สร้างธีมตัวละครให้น่าสนใจแทน อย่างไรก็ดี ผมอดสงสัยระหว่างดูไม่ได้ว่ามันจะพาเราไปสู่ปลายทางตรงไหน เพราะยิ่งภาค 3 ก็เป็นเส้นทางบรรจบของตัวละครเหล่านี้ที่ดูสมบูรณ์แบบแล้ว แต่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ Toy Story หาทางจบลงได้สวยในแบบฉบับของภาคนั้นๆเอง มันอาจไม่ใช่ที่สุดของความหวานขมจากการสำรวจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตแบบภาค 3 แต่ตอนจบภาค 4 ก็ยังพาเรากับวู้ดดี้ไปสู่บทเรียน coming-of-age อันลึกซึ้ง แต่ก็ชวนเศร้าสะเทือนไม่น้อย ของการตระหนักว่าตนได้เติบโตเลยมาถึงจุดหนึ่งแล้ว และตระหนักว่าเราต้องหาที่ทางในโลกนี้ที่เหมาะกับเราที่สุด แม้มันจะพาเราก้าวนอก comfort zone ของตนเองมากแค่ไหน เพราะการเจริญเติบโตก้าวผ่านวัยช่วงหนึ่งของชีวิต ไม่ได้มีไว้แต่สำหรับมนุษย์เจ้าของของเล่นอย่างแอนดี้เท่านั้น ตัวของเล่นที่มีจิตรับรู้วันเวลาอย่างวู้ดดี้เองก็เช่นกัน
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่
https://www.facebook.com/themoviemood ครับ
[CR] [รีวิว] Toy Story 4 (8.5/10) ...จากวงจรชีวิตของเล่นจบสมบูรณ์ในภาคสาม สู่ภาคใหม่แห่งการก้าวผ่านวัยและค้นหาตัวตนของวู้ดดี้
กำกับโดย Josh Cooley
8.5/10
โตมากับการดูหนังเด็กที่มีจุดเศร้าผู้ใหญ่อย่าง Bambi, The Land Before Time, หรือ The Search for Christopher Robin เหมือนช่วยเตรียมพร้อมให้ Toy Story 3 เป็นประสบการณ์การดูหนังโรงที่สั่นสะเทือนที่สุดสำหรับผมเลยก็ว่าได้ ความหน้าฉากหนังของเล่นเรท G สำหรับเด็ก กลับใส่ความสุดทางแบบผู้ใหญ่ในเมสเสจหนัง ที่พูดถึงความไม่ยั่งยืนของกาลเวลาและชีวิต เหล่าของเล่นต้องเผชิญกับทั้ง “ความตาย” (มองเข้าไปในเตาเผาขยะ และยอมรับมันร่วมกัน) และ “ความเปลี่ยนแปลง” (ลาจากจากบ้านเก่าด้วยความปลง อย่างเปี่ยมเศร้าเคล้าสุข) อันเป็นสองสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนชวนให้ผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่ต้องครุ่นคิดถึงสิ่งเหล่านั้นตามนอกจอทีเดียว ตอนจบอันยิ่งใหญ่สมบูรณ์ของภาค 3 ก็ทำให้ผมเป็นคนหนึ่งที่มองการเกิดขึ้นของ Toy Story 4 อย่างกังขาข้องใจ ว่า Pixar กำลังพาตระกูลหนังที่แจ้งเกิดสตูดิโอ มาเสี่ยงดวงด้านคุณภาพและชื่อเสียงเกินไปหรือเปล่า
ซึ่งในแง่หนึ่ง นี่ก็เป็นภาคต่อ Toy Story ภาคแรกที่ให้ความรู้สึก “ยืดเพิ่ม” มากกว่า “ต่อยอด” เหมือนสองภาคก่อนที่สร้างเรื่องต่อได้เนียนสนิท แต่แฟรนไชส์หนังอื่นๆคงได้แค่หวังให้การยืดเพิ่มภาค 4 หลังผ่านมาเกือบสิบปีมันคงคุณภาพสูงเท่านี้ เพราะเสน่ห์เดิมยังอยู่ครบ ทั้งตัวละครและสถานการณ์ที่รุ่มรวยรายละเอียดและเปี่ยมจินตนาการ ไปจนถึงการเล่าเรื่องได้สนุกสนานเหมาะสำหรับเด็กแต่ไม่ดูถูกผู้ใหญ่เลย อย่างมุกเล็กน้อยที่ปล่อยเล่นในพื้นหลังฉากของตุ๊กตาทหารที่รอ high five นานเป็นหนุ่มจืด หรือการกลับมาเจอกันอย่างไม่คาดฝันของวู้ดดี้กับโบ ที่การต้องแกล้งหน้านิ่งเป็นของเล่นกลับเพิ่มบรรยากาศต้องมนต์โรแมนติกให้ฉากนี้มากขึ้นอีก
ผู้สร้างหนังเองดูรู้ตัวถึงความไม่น่ามีอยู่ของมันหลังภาค 3 ก็ฉลาดเล่า เปลี่ยนสเกลจากความอีพิคเล่าภาพใหญ่ของวัฏจักรของเล่น ที่ภาค 3 พาไปจนสุดทางหมดจดแล้ว ปรับให้สเกลเล็กลง และเอารายละเอียดอดีตตามทางภาคก่อนๆ มาสร้าง character study ที่สำรวจสภาพจิตใจของวู้ดดี้ และแสดงเส้นทางการเจริญเติบโตทางตัวละครของเขาอย่างใกล้ชิดแทน โหมด character study นี้ทำให้ไม่แปลกเลยว่าถึงตัวละครของเล่นหลักกลับมากันครบ แต่กลับมีฉากแบ่งเกลี่ยให้ตัวรองเก่าๆน้อยกว่าที่เคย เพราะสถานการณ์เนื้อเรื่องและตัวละครทั้งใหม่เก่าในภาค 4 นี้ ต่างต้องเป็นบันไดเดินทางไม่ก็ภาพสะท้อนของวู้ดดี้ ให้เขาไปสู่ปลายทางการพัฒนาตนเอง
อันนี้ชัดสุดเลยในตัวละครใหม่อย่างฟอร์คกี้ ของเล่นสร้างจากขยะและอยากกลับเป็นขยะ ที่ความหม่นหมองในการมีอยู่ แทบเป็นปรัชญาถึงความสงสัยกังขาในที่ทางของตัวตน (existential crisis) จนสะท้อนและกระทบใจวู้ดดี้เข้าอย่างจัง ทำให้เขาที่ไขว้เขวจากการเริ่มไม่เป็นจุดสนใจของบอนนี่อยู่แล้ว ต้องพยายามช่วยเหลือฟอร์คกี้อย่างที่สุด เพื่อมายืนยันในความมีประโยชน์และการมีอยู่ของตนเอง ฟอร์คกี้เป็นตัวจุดประกายเส้นตัวละครวู้ดดี้ในภาคนี้มาก ความยื้อยุดทางจิตใจระหว่างสองคนนี้ ยังดึงกระทั่งแนวโน้มความอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิมจนมองข้ามหัวคนอื่นของวู้ดดี้ในภาคก่อนๆ ให้เด่นขึ้นเป็นลักษณะเห็นแก่ตัวชัด เป็นอีกหนึ่งคำถามว่าเขาควรหาเส้นทางตัวเองอย่างไรดี
โดยรวมแล้ว ภาคนี้จึงเป็นการเปลี่ยนโหมดที่ทั้งแปลกสุดและตลกสุดในซีรี่ส์เลยทีเดียว ใช้ความคุ้นชินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของเส้นเรื่องให้เป็นข้อดี นำมันกลับเป็นโฟกัสที่เล็กลง สร้างธีมตัวละครให้น่าสนใจแทน อย่างไรก็ดี ผมอดสงสัยระหว่างดูไม่ได้ว่ามันจะพาเราไปสู่ปลายทางตรงไหน เพราะยิ่งภาค 3 ก็เป็นเส้นทางบรรจบของตัวละครเหล่านี้ที่ดูสมบูรณ์แบบแล้ว แต่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ Toy Story หาทางจบลงได้สวยในแบบฉบับของภาคนั้นๆเอง มันอาจไม่ใช่ที่สุดของความหวานขมจากการสำรวจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตแบบภาค 3 แต่ตอนจบภาค 4 ก็ยังพาเรากับวู้ดดี้ไปสู่บทเรียน coming-of-age อันลึกซึ้ง แต่ก็ชวนเศร้าสะเทือนไม่น้อย ของการตระหนักว่าตนได้เติบโตเลยมาถึงจุดหนึ่งแล้ว และตระหนักว่าเราต้องหาที่ทางในโลกนี้ที่เหมาะกับเราที่สุด แม้มันจะพาเราก้าวนอก comfort zone ของตนเองมากแค่ไหน เพราะการเจริญเติบโตก้าวผ่านวัยช่วงหนึ่งของชีวิต ไม่ได้มีไว้แต่สำหรับมนุษย์เจ้าของของเล่นอย่างแอนดี้เท่านั้น ตัวของเล่นที่มีจิตรับรู้วันเวลาอย่างวู้ดดี้เองก็เช่นกัน
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่ https://www.facebook.com/themoviemood ครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้