จากที่ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้เผยแพร่บทความ
“ท่อร้อยสาย กทม. …ข่าวดีเล็กๆ กับข่าวร้ายใหญ่ๆ”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่กรุงเทพมหานครมีการกำหนดแนวทางที่จะพลิกกรุงเทพฯ จากเมืองร้อยสาย ให้เป็นเมืองแห่งอนาคต ที่มีการนำสายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคมลงใต้ดินเพื่อพลิกโฉมให้เป็น "Smart City" ตามพรบ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 2535 คือ
1. ขอความร่วมมือเอกชนไม่ให้มีการติดตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท
2. สายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้วจะต้องปลด หรือรื้อถอนออก
3. สายสื่อสารที่ติดตั้ง วาง หรือแขวนในที่สาธารณะ และยังใช้งานอยู่ เมื่อมีท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ให้ปลดหรือรื้อถอนออก
หลังจากที่ "กทม.ทุ่ม 2.7 หมื่นล้าน เร่งวางท่อร้อยสายใต้ดิน จัดระเบียบสายสื่อสารเมืองกรุง ถนนสายหลักสายรอง 2,450 กม. ออกกฎเข้มห้ามพาดสายสื่อสารบนเสา บี้ทุกโครงข่ายมุดลงดิน ดัน “กรุงเทพธนาคม” บริษัทลูกลงทุน ก่อนดึงเอกชนบริหาร ชี้ผลตอบแทนตลอดอายุสัมปทาน 5-6 หมื่นล้าน เร่งปิดดีลเจรจา “ทรู อินเตอร์เน็ต” คว้าสัญญาเช่า 30 ปี"
โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ครอบคลุมทั้ง 50 เขต คือ
1. กรุงเทพฯ ตอนเหนือ
2. กรุงเทพฯ ตะวันออก
3. กรุงธนฯ เหนือ
4. กรุงธนฯ ใต้
โดยประธานกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) รัฐวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีใบอนุญาตจาก กสทช.ยื่นข้อเสนอ ... แต่ ... มี บจ.ทรู อินเตอร์เน็ต คอปอเรชั่น ยื่นรายเดียวและผ่านการพิจารณาแล้ว ... แต่ก็อยู่ระหว่างเจรจาเงื่อนไขสัญญา ...
ส่วน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ไม่ได้เข้าร่วมเสนอราคาในโครงการนี้ก็เนื่องจาก "ประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบกับธุรกิจอื่น ๆ ของบริษัท โดยเฉพาะข้อจำกัดด้านราคาที่จะต้องประกาศเป็นอัตราค่าเช่า อาจไม่คุ้ม"
ส่วน บมจ.ทีโอที โวยกทม.จับมือเอกชนกินรวบท่อร้อยสายสื่อสาร ปิดกั้นรายได้หาเลี้ยง จากที่ทีโอที และกฟน.ได้ร่วมหารือศึกษาแนวทางในการนำสายลงใต้ดิน
ซึ่งเลขาฯ กสทช. ระบุว่า "โครงการที่กทม.ร่วมกับเอกชนนั้น ไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อนกับทีโอที ซึ่งพื้นที่ที่ทีโอทีทำอยู่แค่ 400-500 กม. ในส่วนของ กทม.จะทำพื้นที่ในส่วนที่ต่อขยายใหม่อีก 2,450 กม. คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 ในการรองรับเป็น Smart City รวมถึงการก่อให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตของคนกรุงเทพฯ และรองรับกรุงเทพมหานครสู่มหานครไร้สายแห่งอาเซียนในอนาคต
"แนวคิดเรื่อง
“สมาร์ทซิตี้” จะเป็นข่าวดีของประชาชน ไม่ใช่กลายเป็นข่าวร้ายที่มีหน่วยงานรัฐโอนสิทธิผูกขาดให้เอกชน และสร้างต้นทุนให้แก่ประเทศและประชาชน แบบที่เคยเกิดบ่อยๆ ในประเทศไทย"
ดร.สมเกียรติ ยอมรับว่า "ท่อร้อยสายดังกล่าวเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีลักษณะ “ผูกขาดโดยธรรมชาติ” และกทม. ควรเป็นผู้ให้บริการท่อร้อยสาย พร้อมระบบไฟเบอร์เอง โดยให้เอกชนสามารถมาเช่าใช้ได้ในราคาที่เหมาะสม"
แต่ก็อย่างที่พวกเรารู้ๆ กันว่า "หน่วยงานภาครัฐ" หรือ "รัฐวิสาหกิจ" มักจะทำอะไรเชื่องช้า
แบบเช้าชาม เย็นชาม จนทำให้บริการหลายๆ อย่าง ถูกบริษัทเอกชนหลายบริษัทแซงหน้าไป ไม่ว่าจะในเรื่องของการให้บริการด้านเทคโนโลยี หรือการเงิน
ซึ่งในยุคปัจจุบันหมดไปแล้วกับคำว่า "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" แต่โลกได้เปลี่ยนเป็น
"ปลาเร็วกินปลาช้า" ทำให้ธุรกิจภาคเอกชนเห็นความเสี่ยงในจุดนี้ และเริ่มเปลี่ยนแปลงก่อน
สำหรับหน่วยงานภาครัฐเอง รวมไปถึงพนักงานในรัฐวิสาหกิจนั้นยังมองไม่เห็น และยังไม่ให้ความสำคัญว่า ทำไมภาคเอกชนต่างๆ ถึงสามารถปรับตัวได้เร็ว เพราะในเมื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ยังไม่ส่งผลถึงตนเอง และครอบครัว
... ก็คงไม่ต่างอะไรกับช่วงที่เกิด ตำนาน 3G ถ้าหากให้รัฐวิสาหกิจมาทำ เวลานี้ประเทศไทยยังคงพึ่งตั้งไข่ใช้ 3G กันอยู่เลยมั้ง ...
ส่วน NGO กับนักวิชาการไทย ก็ไม่ต่างกัน !!!
ก็แค่มีเส้นบางๆ กั้นอยู่ ถ้ายังใช้ข้อมูลชุดเก่าออกมาโต้เถียง ยืนกระต่ายขาเดียวบ่อยครั้ง ก็จะไร้ค่าไปในที่สุด ก็อย่างที่รู้ว่าเอกชนมีศักยภาพมากกว่า แต่ก็จะยังให้หน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้เอาไปทำ ในเมื่อของเก่าก็ยังไม่สามารถบริหารให้ดีได้ แล้วจะให้ของใหม่ไปบริหารจัดการอีกก็คงจะมีสภาพไม่ต่างจากเดิม
เหมือนกับรถไฟไทยเอง ที่สหภาพพนักงานรถไฟ ก็ยังพยายามที่ออกมาต่อต้านโครงการรถไฟความเร็วสูงที่รัฐร่วมทุนกับเอกชน ว่าจะทำให้รฟท. ไม่มีเอกภาพในการจัดการระบบต่างๆ ในระบบรางได้ ในเมื่อสหภาพฯ ก็รู้อยู่ว่า แหล่งเงินทุนก็ไม่มี ความรู้เรื่องเทคโนโลยีก็ไม่ได้ ยิ่งพนักงานไม่พัฒนาตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนยี ยังใช้แต่ระบบเดิมอยู่ แต่สหภาพฯ ก็อยากขอมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย โดยการออกมาขวางการประมูลซะงั้น !!!
แล้วตกลงว่า "ระบบรัฐวิสาหกิจ" ยังเหมาะสมกับไทยอยู่หรือไม่ ???
เมื่อนักวิชาการ / NGO / หน่วยงานรัฐบางคนก็แค่เต่าล้านปี เป็นได้แค่ไดโนเสาร์ที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์เท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"แนวคิดเรื่อง “สมาร์ทซิตี้” จะเป็นข่าวดีของประชาชน ไม่ใช่กลายเป็นข่าวร้ายที่มีหน่วยงานรัฐโอนสิทธิผูกขาดให้เอกชน และสร้างต้นทุนให้แก่ประเทศและประชาชน แบบที่เคยเกิดบ่อยๆ ในประเทศไทย"
ดร.สมเกียรติ ยอมรับว่า "ท่อร้อยสายดังกล่าวเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีลักษณะ “ผูกขาดโดยธรรมชาติ” และกทม. ควรเป็นผู้ให้บริการท่อร้อยสาย พร้อมระบบไฟเบอร์เอง โดยให้เอกชนสามารถมาเช่าใช้ได้ในราคาที่เหมาะสม"
แต่ก็อย่างที่พวกเรารู้ๆ กันว่า "หน่วยงานภาครัฐ" หรือ "รัฐวิสาหกิจ" มักจะทำอะไรเชื่องช้า แบบเช้าชาม เย็นชาม จนทำให้บริการหลายๆ อย่าง ถูกบริษัทเอกชนหลายบริษัทแซงหน้าไป ไม่ว่าจะในเรื่องของการให้บริการด้านเทคโนโลยี หรือการเงิน
ซึ่งในยุคปัจจุบันหมดไปแล้วกับคำว่า "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" แต่โลกได้เปลี่ยนเป็น "ปลาเร็วกินปลาช้า" ทำให้ธุรกิจภาคเอกชนเห็นความเสี่ยงในจุดนี้ และเริ่มเปลี่ยนแปลงก่อน
สำหรับหน่วยงานภาครัฐเอง รวมไปถึงพนักงานในรัฐวิสาหกิจนั้นยังมองไม่เห็น และยังไม่ให้ความสำคัญว่า ทำไมภาคเอกชนต่างๆ ถึงสามารถปรับตัวได้เร็ว เพราะในเมื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ยังไม่ส่งผลถึงตนเอง และครอบครัว
ก็แค่มีเส้นบางๆ กั้นอยู่ ถ้ายังใช้ข้อมูลชุดเก่าออกมาโต้เถียง ยืนกระต่ายขาเดียวบ่อยครั้ง ก็จะไร้ค่าไปในที่สุด ก็อย่างที่รู้ว่าเอกชนมีศักยภาพมากกว่า แต่ก็จะยังให้หน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้เอาไปทำ ในเมื่อของเก่าก็ยังไม่สามารถบริหารให้ดีได้ แล้วจะให้ของใหม่ไปบริหารจัดการอีกก็คงจะมีสภาพไม่ต่างจากเดิม