เป็นคนที่เดินทางด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน
พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมว่า
การใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต
ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงอาจมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง
สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อน เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน
และเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
ปี พ.ศ.2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์
ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่
และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง
จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง
และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง
เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงก่อนอื่น คือ นครราชสีมา
มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้ประมูลได้ในราคาต่ำสุด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์
สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก
ปี พ.ศ.2443 การสร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย
และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443
รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร สิ้นเงินในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ 17,585,000 บาท
แท้งค์น้ำนี้ อยู่ทางตะวันตกของอาคารสถานีรถไฟ
ด้านนี้น่าจะเป็นชานชลาเก่า
บันทึกไว้เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ.2555
สถานีรถไฟ
ชะเง้อสถานีรถไฟตามรายทาง ... สถานีรถไฟนครราชสีมา