ผมดองเรื่องนี้มาหลายเดือน แต่คิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์จึงอยากแบ่งปัน ยาวหน่อยครับ
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ผมวิ่งออกกำลังกายตามปกติ ตั้งเป้าไว้แค่ 3 – 5 กิโลเมตร บริเวณสนามกีฬาภูติอนันต์กองทัพเรือ และกรมอุตุนิยมวิทยา ขณะวิ่งกิโลเมตรที่ 3 ด้วย pace เนิบๆ ประมาณ 8 ก็มีอาการขณะวิ่งแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผมปวดเมื่อยไหล่ บ่า หลัง ขึ้นไปที่คอ สักพักหายใจลำบาก และหน่วงที่หน้าอก รู้สึกผิดปกติแน่ๆ แต่คิดว่าเป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบ ผมเดินย้อนกลับไปที่จอดรถอีกประมาณ 1 กิโลเมตร เหนื่อยผิดปกติมากขึ้น หายใจลำบากขึ้น เมื่อถึงรถ นั่งหอบ มึนสักพัก แล้วรีบขับรถกลับมาที่บ้าน เพราะห่างจากตรงนั้นไม่เกิน 10 นาที ถึงหน้าบ้าน ผมลงจากรถแทบไม่ไหว ตะโกนเรียกภรรยา ให้ช่วยขับรถไปโรงพยาบาล
ขณะอยู่บนรถ อีก 1 กิโลเมตรจะถึงโรงพยาบาล ผมปวดหน้าอกแบบถูกของหนักทับ แน่นปวดลามจากหน้าอกไปทั่วตัว แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แขนขาหมดแรง ภรรยาผมยังใจเด็ดเดี่ยว ประคองสติรีบต่อไปจนถึงที่หมาย
ข้อคิด: ถ้ามีอาการอย่างผมข้างต้น ควรโทรเรียกฉุกเฉินให้มารับ ไม่ควรขับรถเอง ถ้าขณะผมขับกลับบ้านแล้วปวดแบบนี้ขึ้นมา จะเกิดอันตรายต่อผู้อื่นบนท้องถนน และตัวเราเอง จะไปถึง ร.พ. ช้าไปอีก หรือตายไปเลย
ผมถึงห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ อาการปวดหายไปเสียเฉยๆ เหลือแค่หายใจไม่คล่อง ผมเล่าอาการให้คุณหมอฟัง ถูกเอาเครื่อง EKG วัด หมอดูกราฟแล้ว ยังไม่พบอาการผิดปกติ ผมก็บอกว่าน่าจะแค่กล้ามเนื้ออักเสบ แล้วคุณหมอก็ผละไปรักษาคนที่น่าจะอาการหนักกว่า ภรรยาผมจอดรถเสร็จก็เข้ามาหา สักพักใหญ่อาการปวดหน้าอกก็กลับมาอีก กลับมาครั้งนี้หนักกว่าเดิมมาก ปวดไปทั้งร่างเลย น้ำตาเริ่มไหล ดิ้นบนเตียงทรมานมาก ปวดแบบคิดว่าไม่น่ารอดแล้ว รู้สึกได้ว่าภรรยาจับมือแน่น ผมได้แต่นึกว่าเพิ่งแต่งงานมาแค่ปีกว่า เพิ่งมีลูกอายุ 5 เดือนเอง จะจบแค่นี้หรือ คุณหมอรีบเอาเครื่อง EKG มาตรวจอีกรอบ พบว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ รีบโทรหาแผนกโรคหัวใจ สักพักอาการผมเหมือนจะดีขึ้น ความปวดลดลง
คุณหมอบอกว่าต้องผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจด่วน ผมอึ้ง ไม่อยากเชื่อเลย ผมกับภรรยานึกถึงโรงพยาบาลตำรวจที่มีประกันสังคมอยู่ บอกหมอไปว่าอยากไปที่ โรงพยาบาลตำรวจ เพราะจะได้ไม่ต้องออกเงินไปก่อนจำนวนมาก หมอบอกให้ใจเย็น และบอกว่าผมน่าจะมีสิทธิ UCEP ขอให้หมอติดต่อไปที่ศูนย์ก่อน ผมยังดื้อ อยากจะไป ร.พ.ที่มีประกันสังคมให้ได้ เพราะตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสิทธินี้คืออะไร พยาบาลให้ภรรยากับผมเซ็นต์เอกสารเตรียมผ่าตัด ผมยังอิดออดไม่อยากเซ็นต์ ได้ยินเสียงหมอดังมาว่าได้สิทธิ UCEP และผมก็ถูกย้ายไปห้องผ่าตัดหัวใจ ทั้งที่ยังพึมพำว่า ไม่อยากเลย ไม่อยากผ่าเลย ทำไมต้องเป็นตอนนี้ด้วย ...
ในห้องผ่าตัดผมพบเครื่องมือเหมือนอยู่ในยานอวกาศ เตียงคนไข้อยู่ตรงกลาง มีวงแหวนสองวงไขว้ครอบ มีจอภาพใหญ่ แล้วคุณหมอแผนกหัวใจก็ช่วยชีวิตผม โดยวิธีทำบอลลูน คุณพยาบาลฉีดยาชาที่มือ คุณหมอเจาะที่ข้อมือขวา ใส่เครื่องมือสักอย่างลงไป สักพักผมรู้สืกคลื่นไส้อย่างแรง อาเจียนของที่กินไปตอนเย็นออกจนเกลี้ยง คุณพยาบาลรีบเข้ามารับอาเจียนไว้ ผมเข้าใจแล้วทำไมต้องให้อดอาหารก่อนเข้าผ่าตัด หรือส่องกล้อง คุณหมอยังสอดท่อเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจผมแล้วดึงเอาลิ่มเลือดออกมา ตลอดการทำบอลลูน ผมรู้สึกตัวตลอด ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมค่ารักษาถึงสูง เพราะค่าเครื่องมือแพทย์ที่ได้เห็น ค่ายาที่ใช้ เครื่อง EKG ที่วัดคลื่นหัวใจที่ห้องฉุกเฉิน และแพทย์ พยาบาลทุกท่านที่มีความสามารถ (ใน ร.พ.จุฬาภรณ์ที่ผมไปรักษาทำบอลลูนเส้นเลือดที่สองก็มีเครื่องมือเหล่านี้เช่นกัน และรักษาดีมากเช่นกัน) ดังนั้นค่ารักษาคือค่ารักษาชีวิต
นี่เป็นภาพเส้นเลือดผมที่ฉีดสี ทั้งก่อนผ่าและหลังผ่า จุดที่อุดตัน รวมทั้งลิ่มเลือดที่ออกมาแล้ว จะเห็นได้ว่าลิ่มเล็กนิดเดียว
หลังผ่าตัดวันแรกคุณหมอบอกว่า ถ้ามาโรงพยาบาลไวกว่านี้จะดีกว่านี้ เซลล์บางส่วนอาจจะเสียหาย หัวใจผมยังเต้นผิดจังหวะจนถึงวันนี้ แต่ดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะนอนที่ ร.พ. ก็มีเครื่องมือติดที่ตัว เพื่อให้คุณพยาบาลดูเฝ้าดูอาการตลอด 24 ชม. ผมได้ทราบว่าค่ารักษา ค่าห้อง ICU ค่ายาต่างๆ ถูกจ่ายไปเรียบร้อยแล้วจนกระทั่งเวลาที่ผมพ้นวิกฤตในตอนเที่ยงของวันถัดมา ค่ารักษา ค่าห้อง ค่ายาที่เหลืออีก 5 วัน ผมสามารถเบิกบริษัทได้ และจ่ายส่วนเกินเองบางส่วน
ข้อคิด: เหมือนข้อแรก มีอาการแล้วให้ไป ร.พ. ให้ไวที่สุด ถ้าไปช้าโอกาสที่เซลล์จะตายจะเพิ่มขึ้น รักษาให้ไวที่สุด ผมไม่ควรเดินไปที่รถอีก 1 ก.ม. แต่ควรโทรหาฉุกเฉินเลย และถ้าวันนั้นผมดื้อมาก จะไป ร.พ.ที่มีประกันสังคมให้ได้ คงไม่ได้มาเล่าเรื่องนี้แล้ว
หลังจากรักษาเส้นเลือดแรก ก็ไปต่อเส้นที่สองที่ ร.พ.จุฬาภรณ์ คุณหมอช่วยขยายความรู้ให้ผมอีกว่า อายุผมยังไม่มาก ผมอายุน้อยที่สุดที่ทำบอลลูนในช่วงเดือนนั้นเลย แต่ต้องผ่าตัดแบบนี้ เพราะการรักษาสุขภาพของผมเอง และกรรมพันธุ์ก็มีส่วนร่วมด้วย เพราะคุณพ่อผมก็เป็นเช่นกัน คนที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ เมื่ออายุเกิน 35 แล้ว มีความเสี่ยงกว่าคนอื่นควรไปปรึกษาคุณหมอไว้ จะได้ให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพ หรือให้ยาเพื่อลด LDL หรือไขมันเลวให้ลงมาในระดับที่รับได้ ผมเองตรวจสุขภาพที่บริษัททุกปี แต่ตัวเลขโคเลสเตอรอลไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้นัก ควรตรวจ LDL ด้วย ผมเองระดับโคเลสเตอรอลไม่ได้สูงเกินมากนัก ความดันไม่สูง ไม่มีโรคอื่น ไม่มีสัญญาณมาก่อน แต่กลับมาป่วยกระทันหัน
คนที่เป็นแบบนี้เส้นเลือดหัวใจจะบวม เพราะเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ไม่ใช่เพราะมีไขมันไปพอกที่หลอดเลือดตำแหน่งนั้น ยาอื่นๆที่กินไปด้วยความเชื่อว่าจะไปละลายไขมันที่เกาะพอกอยู่นั้นไม่น่าจะเป็นความจริง ดังนั้นการกินยาอะไรก็ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ และคนเราเองอาจจะมีลิ่มเลือดอันเกิดจากการหกล้ม เส้นเลือดขอด หรือบาดเจ็บอย่างอื่น ไหลเวียนอยู่ในร่างกายด้วย บางทีอาจจะวิ่งไปอุดตันที่เส้นเลือดสมอง หรือหัวใจได้ ดังนั้นถ้ามีอาการให้ไปพบแพทย์ให้ไวที่สุด
ผมขอขอบคุณคุณหมอที่ห้องฉุกเฉินมากที่แนะนำสิทธิ UCEP และพยายามให้ผมรักษาได้ทัน ขอบคุณคุณหมอโรคหัวใจ และพยาบาลที่รักษาผมทั้งที่ร.พ.ไทยนครินทร์ ร.พ.จุฬาภรณ์ ร.พ.ตำรวจ รวมถึงทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับโครงการ UCEP และโครงการสุขภาพต่างๆ
UCEP คือ นโยบายของรัฐบาล ย่อมาจาก Universal Coverage Emergency Patients หรือ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ดังนั้นแม้จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอะไรที่ไม่มีสิทธิเบิกได้เลย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ก็สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้ UCEP จะคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมง หรือเมื่อผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ใช้สิทธิ UCEP ได้
เกณฑ์ UCEP ที่ระบุว่า "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" จะคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วยดังต่อไปนี้
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
แก้ชื่อ ร.พ. เป็น ไทยนครินทร์
ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจเมื่ออายุ 39 ปี และสิทธิ UCEP
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ผมวิ่งออกกำลังกายตามปกติ ตั้งเป้าไว้แค่ 3 – 5 กิโลเมตร บริเวณสนามกีฬาภูติอนันต์กองทัพเรือ และกรมอุตุนิยมวิทยา ขณะวิ่งกิโลเมตรที่ 3 ด้วย pace เนิบๆ ประมาณ 8 ก็มีอาการขณะวิ่งแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผมปวดเมื่อยไหล่ บ่า หลัง ขึ้นไปที่คอ สักพักหายใจลำบาก และหน่วงที่หน้าอก รู้สึกผิดปกติแน่ๆ แต่คิดว่าเป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบ ผมเดินย้อนกลับไปที่จอดรถอีกประมาณ 1 กิโลเมตร เหนื่อยผิดปกติมากขึ้น หายใจลำบากขึ้น เมื่อถึงรถ นั่งหอบ มึนสักพัก แล้วรีบขับรถกลับมาที่บ้าน เพราะห่างจากตรงนั้นไม่เกิน 10 นาที ถึงหน้าบ้าน ผมลงจากรถแทบไม่ไหว ตะโกนเรียกภรรยา ให้ช่วยขับรถไปโรงพยาบาล
ขณะอยู่บนรถ อีก 1 กิโลเมตรจะถึงโรงพยาบาล ผมปวดหน้าอกแบบถูกของหนักทับ แน่นปวดลามจากหน้าอกไปทั่วตัว แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แขนขาหมดแรง ภรรยาผมยังใจเด็ดเดี่ยว ประคองสติรีบต่อไปจนถึงที่หมาย
ข้อคิด: ถ้ามีอาการอย่างผมข้างต้น ควรโทรเรียกฉุกเฉินให้มารับ ไม่ควรขับรถเอง ถ้าขณะผมขับกลับบ้านแล้วปวดแบบนี้ขึ้นมา จะเกิดอันตรายต่อผู้อื่นบนท้องถนน และตัวเราเอง จะไปถึง ร.พ. ช้าไปอีก หรือตายไปเลย
ผมถึงห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ อาการปวดหายไปเสียเฉยๆ เหลือแค่หายใจไม่คล่อง ผมเล่าอาการให้คุณหมอฟัง ถูกเอาเครื่อง EKG วัด หมอดูกราฟแล้ว ยังไม่พบอาการผิดปกติ ผมก็บอกว่าน่าจะแค่กล้ามเนื้ออักเสบ แล้วคุณหมอก็ผละไปรักษาคนที่น่าจะอาการหนักกว่า ภรรยาผมจอดรถเสร็จก็เข้ามาหา สักพักใหญ่อาการปวดหน้าอกก็กลับมาอีก กลับมาครั้งนี้หนักกว่าเดิมมาก ปวดไปทั้งร่างเลย น้ำตาเริ่มไหล ดิ้นบนเตียงทรมานมาก ปวดแบบคิดว่าไม่น่ารอดแล้ว รู้สึกได้ว่าภรรยาจับมือแน่น ผมได้แต่นึกว่าเพิ่งแต่งงานมาแค่ปีกว่า เพิ่งมีลูกอายุ 5 เดือนเอง จะจบแค่นี้หรือ คุณหมอรีบเอาเครื่อง EKG มาตรวจอีกรอบ พบว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ รีบโทรหาแผนกโรคหัวใจ สักพักอาการผมเหมือนจะดีขึ้น ความปวดลดลง
คุณหมอบอกว่าต้องผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจด่วน ผมอึ้ง ไม่อยากเชื่อเลย ผมกับภรรยานึกถึงโรงพยาบาลตำรวจที่มีประกันสังคมอยู่ บอกหมอไปว่าอยากไปที่ โรงพยาบาลตำรวจ เพราะจะได้ไม่ต้องออกเงินไปก่อนจำนวนมาก หมอบอกให้ใจเย็น และบอกว่าผมน่าจะมีสิทธิ UCEP ขอให้หมอติดต่อไปที่ศูนย์ก่อน ผมยังดื้อ อยากจะไป ร.พ.ที่มีประกันสังคมให้ได้ เพราะตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสิทธินี้คืออะไร พยาบาลให้ภรรยากับผมเซ็นต์เอกสารเตรียมผ่าตัด ผมยังอิดออดไม่อยากเซ็นต์ ได้ยินเสียงหมอดังมาว่าได้สิทธิ UCEP และผมก็ถูกย้ายไปห้องผ่าตัดหัวใจ ทั้งที่ยังพึมพำว่า ไม่อยากเลย ไม่อยากผ่าเลย ทำไมต้องเป็นตอนนี้ด้วย ...
ในห้องผ่าตัดผมพบเครื่องมือเหมือนอยู่ในยานอวกาศ เตียงคนไข้อยู่ตรงกลาง มีวงแหวนสองวงไขว้ครอบ มีจอภาพใหญ่ แล้วคุณหมอแผนกหัวใจก็ช่วยชีวิตผม โดยวิธีทำบอลลูน คุณพยาบาลฉีดยาชาที่มือ คุณหมอเจาะที่ข้อมือขวา ใส่เครื่องมือสักอย่างลงไป สักพักผมรู้สืกคลื่นไส้อย่างแรง อาเจียนของที่กินไปตอนเย็นออกจนเกลี้ยง คุณพยาบาลรีบเข้ามารับอาเจียนไว้ ผมเข้าใจแล้วทำไมต้องให้อดอาหารก่อนเข้าผ่าตัด หรือส่องกล้อง คุณหมอยังสอดท่อเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจผมแล้วดึงเอาลิ่มเลือดออกมา ตลอดการทำบอลลูน ผมรู้สึกตัวตลอด ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมค่ารักษาถึงสูง เพราะค่าเครื่องมือแพทย์ที่ได้เห็น ค่ายาที่ใช้ เครื่อง EKG ที่วัดคลื่นหัวใจที่ห้องฉุกเฉิน และแพทย์ พยาบาลทุกท่านที่มีความสามารถ (ใน ร.พ.จุฬาภรณ์ที่ผมไปรักษาทำบอลลูนเส้นเลือดที่สองก็มีเครื่องมือเหล่านี้เช่นกัน และรักษาดีมากเช่นกัน) ดังนั้นค่ารักษาคือค่ารักษาชีวิต
นี่เป็นภาพเส้นเลือดผมที่ฉีดสี ทั้งก่อนผ่าและหลังผ่า จุดที่อุดตัน รวมทั้งลิ่มเลือดที่ออกมาแล้ว จะเห็นได้ว่าลิ่มเล็กนิดเดียว
หลังผ่าตัดวันแรกคุณหมอบอกว่า ถ้ามาโรงพยาบาลไวกว่านี้จะดีกว่านี้ เซลล์บางส่วนอาจจะเสียหาย หัวใจผมยังเต้นผิดจังหวะจนถึงวันนี้ แต่ดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะนอนที่ ร.พ. ก็มีเครื่องมือติดที่ตัว เพื่อให้คุณพยาบาลดูเฝ้าดูอาการตลอด 24 ชม. ผมได้ทราบว่าค่ารักษา ค่าห้อง ICU ค่ายาต่างๆ ถูกจ่ายไปเรียบร้อยแล้วจนกระทั่งเวลาที่ผมพ้นวิกฤตในตอนเที่ยงของวันถัดมา ค่ารักษา ค่าห้อง ค่ายาที่เหลืออีก 5 วัน ผมสามารถเบิกบริษัทได้ และจ่ายส่วนเกินเองบางส่วน
ข้อคิด: เหมือนข้อแรก มีอาการแล้วให้ไป ร.พ. ให้ไวที่สุด ถ้าไปช้าโอกาสที่เซลล์จะตายจะเพิ่มขึ้น รักษาให้ไวที่สุด ผมไม่ควรเดินไปที่รถอีก 1 ก.ม. แต่ควรโทรหาฉุกเฉินเลย และถ้าวันนั้นผมดื้อมาก จะไป ร.พ.ที่มีประกันสังคมให้ได้ คงไม่ได้มาเล่าเรื่องนี้แล้ว
หลังจากรักษาเส้นเลือดแรก ก็ไปต่อเส้นที่สองที่ ร.พ.จุฬาภรณ์ คุณหมอช่วยขยายความรู้ให้ผมอีกว่า อายุผมยังไม่มาก ผมอายุน้อยที่สุดที่ทำบอลลูนในช่วงเดือนนั้นเลย แต่ต้องผ่าตัดแบบนี้ เพราะการรักษาสุขภาพของผมเอง และกรรมพันธุ์ก็มีส่วนร่วมด้วย เพราะคุณพ่อผมก็เป็นเช่นกัน คนที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ เมื่ออายุเกิน 35 แล้ว มีความเสี่ยงกว่าคนอื่นควรไปปรึกษาคุณหมอไว้ จะได้ให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพ หรือให้ยาเพื่อลด LDL หรือไขมันเลวให้ลงมาในระดับที่รับได้ ผมเองตรวจสุขภาพที่บริษัททุกปี แต่ตัวเลขโคเลสเตอรอลไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้นัก ควรตรวจ LDL ด้วย ผมเองระดับโคเลสเตอรอลไม่ได้สูงเกินมากนัก ความดันไม่สูง ไม่มีโรคอื่น ไม่มีสัญญาณมาก่อน แต่กลับมาป่วยกระทันหัน
คนที่เป็นแบบนี้เส้นเลือดหัวใจจะบวม เพราะเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ไม่ใช่เพราะมีไขมันไปพอกที่หลอดเลือดตำแหน่งนั้น ยาอื่นๆที่กินไปด้วยความเชื่อว่าจะไปละลายไขมันที่เกาะพอกอยู่นั้นไม่น่าจะเป็นความจริง ดังนั้นการกินยาอะไรก็ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ และคนเราเองอาจจะมีลิ่มเลือดอันเกิดจากการหกล้ม เส้นเลือดขอด หรือบาดเจ็บอย่างอื่น ไหลเวียนอยู่ในร่างกายด้วย บางทีอาจจะวิ่งไปอุดตันที่เส้นเลือดสมอง หรือหัวใจได้ ดังนั้นถ้ามีอาการให้ไปพบแพทย์ให้ไวที่สุด
ผมขอขอบคุณคุณหมอที่ห้องฉุกเฉินมากที่แนะนำสิทธิ UCEP และพยายามให้ผมรักษาได้ทัน ขอบคุณคุณหมอโรคหัวใจ และพยาบาลที่รักษาผมทั้งที่ร.พ.ไทยนครินทร์ ร.พ.จุฬาภรณ์ ร.พ.ตำรวจ รวมถึงทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับโครงการ UCEP และโครงการสุขภาพต่างๆ
UCEP คือ นโยบายของรัฐบาล ย่อมาจาก Universal Coverage Emergency Patients หรือ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ดังนั้นแม้จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอะไรที่ไม่มีสิทธิเบิกได้เลย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ก็สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้ UCEP จะคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมง หรือเมื่อผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ใช้สิทธิ UCEP ได้
เกณฑ์ UCEP ที่ระบุว่า "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" จะคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วยดังต่อไปนี้
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
แก้ชื่อ ร.พ. เป็น ไทยนครินทร์