ผู้ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) หากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต - ประสบอุบัติเหตุรุนแรง
สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุด โดยแสดงเพียงแค่ 'บัตรประชาชน' ใบเดียว ด้วยสิทธิ UCEP (Universal Coverage
for Emergency Patients) เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่
✅ 6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย
✅ ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
หมายเหตุ: ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน ประชาชนที่มีข้อสงสัย ต้องการอุทธรณ์ผลการพิจารณาระดับความฉุกเฉิน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) โทร. 02-872-1669 ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สงสัยหรือสอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช. ☎️1330 กด 0 ให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง (โทรฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
เจ็บป่วย "ฉุกเฉินวิกฤต" สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิ 30 บาท
สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุด โดยแสดงเพียงแค่ 'บัตรประชาชน' ใบเดียว ด้วยสิทธิ UCEP (Universal Coverage
for Emergency Patients) เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่
✅ 6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย
✅ ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
หมายเหตุ: ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน ประชาชนที่มีข้อสงสัย ต้องการอุทธรณ์ผลการพิจารณาระดับความฉุกเฉิน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) โทร. 02-872-1669 ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สงสัยหรือสอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช. ☎️1330 กด 0 ให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง (โทรฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)