เม็ดเงินโฆษณาละคร 2 หมื่นล้าน “ทีวีดิจิทัล” เปิดศึกชิงเค้กไพรม์ไทม์ครึ่งปีหลัง


ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณาสื่อ “ทีวี” ยังครองสัดส่วนสูงสุดกว่า 50%  มีเดียเอเยนซี MI ประเมินมูลค่าอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้อยู่ที่ 90,422 ล้านบาท เติบโตราว 1.49% เปรียบเทียบปี 2561 และทีวี มีส่วนแบ่งสูงสุด แม้จะอยู่ในภาวะถดถอย” มาตั้งแต่ยุคทีวีดิจิทัลก็ตาม  
ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI กล่าวว่าข้อมูลที่ประเมินโดย MI  ปี 2562 เม็ดโฆษณาสื่อทีวี มีสัดส่วน 51% หรือมูลค่าเกือบ 50,000 ล้านบาท
หากวิเคราะห์เฉพาะเม็ดเงินโฆษณาทีวี คอนเทนต์ที่ครองงบสูงสุดคือ “ละคร” สัดส่วน 40%  นั่นหมายถึงมูลค่าราว 20,000 ล้านบาท  รองลงมาคือ ข่าว 30%  วาไรตี้และอื่นๆ อีก 30%
โฟกัสเฉพาะ “ละคร” ก็ต้องบอกว่า ทีวีดิจิทัล กลุ่มผู้นำเรตติ้งละคร อย่าง ช่อง 3 ช่อง 7  ช่องวัน  รายได้จากละครคิดเป็นสัดส่วนราว 50% ละครที่อยู่ในช่วงไพรม์ไทม์ 20.00 น. ของทุกช่อง จะมีราคาโฆษณา Rate Card (ราคาเสนอขายยังไม่หักส่วนลด) สูงสุดของสถานี
ราคาโฆษณา Rate Card ละครไพรม์ไทม์ของแต่ละสถานีทีวี  ช่อง 7 ราคา 500,000 บาทต่อนาที  ละคร จันทร์-อาทิตย์
ช่อง 3 ราคา 480,000 บาทต่อนาที  ละคร  จันทร์-อาทิตย์
ช่องวัน ราคา 450,000 บาทต่อนาที  ละคร  จันทร์-ศุกร์
ช่อง 8 ราคา 200,000 บาทต่อนาที  ละคร  จันทร์-ศุกร์
พีพีทีวี ราคา 350,000 บาทต่อนาที  ละคร  พุธ-ศุกร์ (เริ่ม 19 มิ.ย.2562)
จีเอ็มเอ็ม 25  ราคา 350,000 บาทต่อนาที ละคร จันทร์-พฤหัสบดี
อมรินทร์ทีวี  ราคา 300,000 บาทต่อนาที ละคร เสาร์-อาทิตย์ (เวลา 22.00-23.00 น. เริ่ม 13 ก.ค.2562)
ทรูโฟร์ยู  ราคา 250,000 บาทต่อนาที ละคร จันทร์-อังคาร

“ช่อง7-ช่อแต่ทั้งช่อง 3 และ ช่อง  7 ที่ทำละครมากว่า 30 ปี สะสมฐานคนดูประจำ และนักแสดงในสังกัดที่มีจำนวนมากก็ยังเป็น 2 ช่อง ที่มีแต้มต่อละครดีกว่าช่องใหม่ๆ  หากละครมีนักแสดงนำที่คนไทยชื่นชอบ อย่าง ช่อง 7  หากมี เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศหรือ  อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ  ส่วน  ช่อง 3 มี ณเดชน์ คูกิมิยะ หรือ ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์  หากมีชื่อนักแสดงชื่อดังเหล่านี้ “ละคร” ก็จะเรียกความสนใจจากลูกค้าและเอเยนซีได้ก่อน  หลังจากออนแอร์แล้วก็ต้องมาลุ้นกระแสจากผู้ชมอีกครั้งว่าจะได้รับความสนใจหรือไม่
 “คอนเทนต์ละครวันนี้ ต้องบอกว่าแข่งขันกันเหนื่อย ทั้งช่องผู้นำเดิมและช่องใหม่ยิ่งเหนื่อยมากขึ้นไปอีก” “ช่อง 3”เข็นฟอร์มยักษ์ลงจอ เปิดคุยทำตลาดทุกรูปแบบ 
ในกลุ่มผู้นำละครเรตติ้งสูง ก็ต้องยกให้ช่อง 7 และ ช่อง 3  ที่ครองตำแหน่งนี้ตั้งแต่ยุคแอนะล็อก มาถึงทีวีดิจิทัล

สำหรับช่อง 3 ที่ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ทั้งการแต่งตั้งแม่ทัพคนใfหม่นอกตระกูลมาลีนนท์เป็นครั้งแรก โดยได้มืออาชีพ  “อริยะ พนมยงค์” มานั่งตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)  ในเดือนเม.ย.2562  จากนั้นวันที่ 10 พ.ค.2562 ตัดสินใจคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง 13 และ ช่อง 28  เพื่อกลับมาทุ่มเทให้ช่อง 3 หรือ ช่อง 33 กลับมาผงาดอีกครั้งในอุตสาหกรรมทีวีรวมทั้งผลประกอบการต้องกลับมา “กำไร”ง3-วัน”กลุ่มท็อปละคร ช่องใหม่“เหนื่อย”

ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของสถานีทีวี ที่เริ่มตั้งแต่ 18.00 น.เป็นต้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวไทย หรือผู้ชมที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ใช้เวลาดูทีวีมากที่สุด โดยเฉพาะละคร ทำให้ราคาโฆษณาในช่วงนี้มีอัตราสูงสุดของสถานี
ภวัต บอกว่าสถานการณ์ของทีวีดิจิทัล 15 ช่องที่ตัดสินใจไปต่อ โดยไม่คืนใบอนุญาต หลายช่องเริ่มใส่เม็ดเงินลงทุนคอนเทนต์ โดยมุ่งไปที่ “ละคร” มากขึ้น  เพราะเป็นรายการที่คนได้นิยมดูมากที่สุด แต่ละครก็มี “เจ้าตลาด” อยู่แล้ว คือ ช่อง 7 ช่อง 3  ตั้งแต่ยุคฟรีทีวี แอนะล็อก มาในยุคทีวีดิจิทัล “ช่องวัน” ที่มีผู้ผลิตละคร ในนาม เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ตั้งแต่ยุคผลิตละครให้ช่อง 5  ก็ก้าวขึ้นมาอยู่ในกลุ่มผู้นำละครเช่นกัน

คอนเทนต์ไฮไลต์ทำรายได้สูงสุดของช่อง 3 ก็ยังเป็น “ละคร” ไพรม์ไทม์  โดยได้เปิดผังละครใหม่ครึ่งปีหลัง 13 เรื่อง คือ  ลิขิตรักข้ามดวงดาว, ร้อยเล่ห์มารยา, ผมอาถรรพ์, เขาวานให้หนูเป็นสายลับ, Teeใครที่มัน, แก้วกลางดง, ลิขิตแห่งจันทร์, ด้ายแดง, เพลิงรักเพลิงแค้น, ฟ้าฝากรัก, พยากรณ์ซ่อนรัก, ทิวาซ่อนดาว และลับลวงใจ
นอกจากนี้ยังมี รายการวาไรตี้ 6 รายการ อาทิ รายการเลขระทึกโลก, รายการ The Lift 5 ล้านสะท้านฟ้า, รายการ Hollywood Game Night Thailand S 3, รายการ The Red Ribbon ไฮโซโบว์เยอะ และ รายการแข่งขันวอลเล่ย์บอล FIVB NATIONS LEAGUE 2019

อริยะ ย้ำว่าหลังมาร่วมงานกับช่อง 3  เกือบ 2 เดือน  เห็นแล้วว่าธุรกิจคอนเทนต์ยังมีโอกาสรออยู่ข้างหน้า สิ่งที่เชื่อได้ในวันนี้ คือ "ทีวีไม่หายไปไหน"  เพียงแต่ผู้ชมไปย้ายไปดูในช่องทางออนไลน์มากขึ้น  แต่คอนเทนต์ 85-90% ที่บริโภคผ่านออนไลน์มาจากทีวี จึงมั่นใจว่า "ทีวี"ยังไปต่อได้  ปัจจุบันช่อง 3 มีคอนเทนต์ละครที่คนติดตามดูทั่วประเทศ การทำงานจึงต้องไปทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ด้วยบทบาทการเป็น Entertainment & Content Platform
การตัดสินค้าคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ก็เพื่อต้องการทุ่มเทกับ ช่อง 3 ธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สุดของบีอีซี  เพื่อทำให้ ช่อง 3 กลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิม ทำงานหลังจากนี้จะใกล้ชิดกับลูกค้าและเอเยนซี  มากขึ้น ด้วยการนำเสนอ Solution การสื่อสารและทำตลาด ที่ต้องเป็นมากกว่าการขายโฆษณาแบบ CPRP แต่ต้องไปมากกว่านั้น

ครึ่งปีหลังได้เปิดตัวไลน์อัพละคร 13 เรื่อง จากผู้จัดและนักแสดงชื่อดัง ที่ถือเป็น Core Asset และหัวใจสำคัญของช่อง 3  วันนี้ทั้งลูกค้าและเอเยนซี ที่สนใจเรื่องใดสามารถเลือกเรื่องที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และเริ่มวางแผนทำงานร่วมกันตั้งแต่วันนี้ ทั้งรูปแบบ Tie in, กิจกรรม ,แคมเปญออนไลน์  “สิ่งที่จะเห็นหลังจากนี้ ช่อง 3 จะเริ่มเปลี่ยนแปลงในเชิงรุก”
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่