สธ.แจ้งความเอาผิดผู้ป่วยต่อย "พยาบาล" รพ.ปลวกแดง เหตุรอคิวนาน
7 มิ.ย. 2562
สธ.ดำเนินคดีเอาผิด ผู้ป่วยชายต่อยพยาบาล รพ.ปลวกแดง เหตุรอคิวนาน ไม่ทันใจ พร้อมให้พยาบาลที่ถูกทำร้ายหยุดพักงานชั่วคราว ฟื้นฟูจิตใจ ยอมรับสร้างความตระหนก และเสียขวัญแก่เจ้าหน้าที่ ขออย่าใช้พื้นที่ รพ.มาทะเลาะ ทำร้ายร่างกาย ลั่นพร้อมใช้กฎหมายเอาผิดผู้ก่อเหตุ คุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
วันนี้ (7 มิ.ย.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยชายต่อยพยาบาล รพ.ปลวกแดง จ.ระยอง ขณะกำลังปฏิบัติงานบริเวณหน้าห้องฉุกเฉิน เหตุรอคิวนาน ว่า เรื่องนี้ได้สร้างความตระหนกและเสียขวัญแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนที่รอรับบริการ ตนได้มอบผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่ดูแลขวัญกำลังใจพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานแล้ว ซึ่งได้ให้พยาบาลที่ถูกทำร้ายร่างกายหยุดพักชั่วคราวเพื่อรักษาจิตใจ แต่ทราบว่ายังมีกำลังใจที่ดี จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ส่วนผู้ก่อเหตุทางโรงพยาบาลได้เข้าแจ้งความแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามกฎหมาย
"ขอความเห็นใจประชาชน อย่าใช้พื้นที่โรงพยาบาล ทะเลาะก่อเหตุ ทำร้ายกัน หรือทำร้ายเจ้าหน้าที่ผู้กำลังปฏิบัติงานให้กับผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยอื่นๆ เพียงเพื่อระบายอารมณ์ หรือไม่พอใจการบริการที่ไม่ทันใจ ทำให้เจ้าหน้าที่เสียขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานบริการประชาชน และขอย้ำมาตรการความปลอดภัยห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการก่อเหตุความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สินในสถานพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลมีสิทธิในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ก่อเหตุทันที โดยมีข้อกฎหมาย ม.360 ม.364 และม.365 โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี" นพ.สุขุมกล่าว
นพ.สุขุมกล่าวว่า สธ.ได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เป็นห้องฉุกเฉินคุณภาพ มีการสื่อสารข้อมูลกับญาติผู้ป่วย ติดป้ายแสดงคิวการรับบริการหน้าห้อง และเพิ่มมาตรการความปลอดภัยห้องฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีเวรยามรักษาความปลอดภัยประจำห้องฉุกเฉินตลอด 24 ตรวจ สอบกล้องวงจรปิดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และติดตั้งเพิ่มในจุดเสี่ยง เช่น บริเวณโถงทางเดิน ทางเข้า-ออกโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยทุกแผนก จัดระบบคัดกรองผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยห้องฉุกเฉินทุกรายเพื่อการให้บริการที่เหมาะสม กริ่งสัญญาณเตือนภัย หรืออุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน มีระบบการเข้า-ออกห้องฉุกเฉินที่ปลอดภัยอย่างน้อย 2 ทางและคัดกรองเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น มีช่องทางการสื่อสารรายงานเหตุด่วนแก่ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร มูลนิธิต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่ม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ และเน้นความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินต้องไม่ถูกคุกคาม
ด้าน นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัด สธ. กล่าวว่า ได้ดำเนินคดีกับผู้ป่วยคนดังกล่าวแล้ว แม้จะอ้างว่ามีอาการทางจิตก็ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากเป็นการทำร้ายร่างกายขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน ตนมองว่าเดี๋ยวนี้สภาพจิตใจคนเปลี่ยนไป ความอดทนต่ำลง แต่ละคนไม่เหมือนกัน ได้มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายคนไข้ถึงการรอคิวรับบริการในห้องฉุกเฉิน ซึ่งทุกอย่างมีหลักเกณฑ์การให้บริการ และอยากให้เข้าใจด้วยว่า ปริมาณคนไข้ที่มารับบริการมีมากกว่าเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นธรรมดาที่อาจจะรอคิวนาน ส่วนการทะเลาะวิวาทในห้องฉุกเฉิน ยอมรับว่า ยิ่งเป็นกระแสเหมือนกับการเลียนแบบ ยิ่งห้ามยิ่งเหมือนมีเรื่องถี่ขึ้น ทางปลัด สธ.ก็ย้ำให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง เพราะแม้แต่ศึกสงคราม หากเห็นเครื่องหมายกาชาด ทุกฝ่ายก็จะหยุดโจมตี และไม่ทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับปรุงสร้างมาตรการป้องกัน ทั้งประตูภายในห้องฉุกเฉิน ติดตั้งกล้องวรจรปิด ซึ่งออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
https://mgronline.com/qol/detail/9620000054368
สธ.แจ้งความเอาผิดผู้ป่วยต่อย "พยาบาล" รพ.ปลวกแดง เหตุรอคิวนาน
7 มิ.ย. 2562
สธ.ดำเนินคดีเอาผิด ผู้ป่วยชายต่อยพยาบาล รพ.ปลวกแดง เหตุรอคิวนาน ไม่ทันใจ พร้อมให้พยาบาลที่ถูกทำร้ายหยุดพักงานชั่วคราว ฟื้นฟูจิตใจ ยอมรับสร้างความตระหนก และเสียขวัญแก่เจ้าหน้าที่ ขออย่าใช้พื้นที่ รพ.มาทะเลาะ ทำร้ายร่างกาย ลั่นพร้อมใช้กฎหมายเอาผิดผู้ก่อเหตุ คุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
วันนี้ (7 มิ.ย.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยชายต่อยพยาบาล รพ.ปลวกแดง จ.ระยอง ขณะกำลังปฏิบัติงานบริเวณหน้าห้องฉุกเฉิน เหตุรอคิวนาน ว่า เรื่องนี้ได้สร้างความตระหนกและเสียขวัญแก่เจ้าหน้าที่และประชาชนที่รอรับบริการ ตนได้มอบผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่ดูแลขวัญกำลังใจพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานแล้ว ซึ่งได้ให้พยาบาลที่ถูกทำร้ายร่างกายหยุดพักชั่วคราวเพื่อรักษาจิตใจ แต่ทราบว่ายังมีกำลังใจที่ดี จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ส่วนผู้ก่อเหตุทางโรงพยาบาลได้เข้าแจ้งความแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามกฎหมาย
"ขอความเห็นใจประชาชน อย่าใช้พื้นที่โรงพยาบาล ทะเลาะก่อเหตุ ทำร้ายกัน หรือทำร้ายเจ้าหน้าที่ผู้กำลังปฏิบัติงานให้กับผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยอื่นๆ เพียงเพื่อระบายอารมณ์ หรือไม่พอใจการบริการที่ไม่ทันใจ ทำให้เจ้าหน้าที่เสียขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานบริการประชาชน และขอย้ำมาตรการความปลอดภัยห้องฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการก่อเหตุความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สินในสถานพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลมีสิทธิในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ก่อเหตุทันที โดยมีข้อกฎหมาย ม.360 ม.364 และม.365 โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี" นพ.สุขุมกล่าว
นพ.สุขุมกล่าวว่า สธ.ได้ให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เป็นห้องฉุกเฉินคุณภาพ มีการสื่อสารข้อมูลกับญาติผู้ป่วย ติดป้ายแสดงคิวการรับบริการหน้าห้อง และเพิ่มมาตรการความปลอดภัยห้องฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีเวรยามรักษาความปลอดภัยประจำห้องฉุกเฉินตลอด 24 ตรวจ สอบกล้องวงจรปิดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และติดตั้งเพิ่มในจุดเสี่ยง เช่น บริเวณโถงทางเดิน ทางเข้า-ออกโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยทุกแผนก จัดระบบคัดกรองผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยห้องฉุกเฉินทุกรายเพื่อการให้บริการที่เหมาะสม กริ่งสัญญาณเตือนภัย หรืออุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน มีระบบการเข้า-ออกห้องฉุกเฉินที่ปลอดภัยอย่างน้อย 2 ทางและคัดกรองเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น มีช่องทางการสื่อสารรายงานเหตุด่วนแก่ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร มูลนิธิต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมถึงประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่ม โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ และเน้นความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินต้องไม่ถูกคุกคาม
ด้าน นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัด สธ. กล่าวว่า ได้ดำเนินคดีกับผู้ป่วยคนดังกล่าวแล้ว แม้จะอ้างว่ามีอาการทางจิตก็ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากเป็นการทำร้ายร่างกายขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงาน ตนมองว่าเดี๋ยวนี้สภาพจิตใจคนเปลี่ยนไป ความอดทนต่ำลง แต่ละคนไม่เหมือนกัน ได้มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายคนไข้ถึงการรอคิวรับบริการในห้องฉุกเฉิน ซึ่งทุกอย่างมีหลักเกณฑ์การให้บริการ และอยากให้เข้าใจด้วยว่า ปริมาณคนไข้ที่มารับบริการมีมากกว่าเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นธรรมดาที่อาจจะรอคิวนาน ส่วนการทะเลาะวิวาทในห้องฉุกเฉิน ยอมรับว่า ยิ่งเป็นกระแสเหมือนกับการเลียนแบบ ยิ่งห้ามยิ่งเหมือนมีเรื่องถี่ขึ้น ทางปลัด สธ.ก็ย้ำให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง เพราะแม้แต่ศึกสงคราม หากเห็นเครื่องหมายกาชาด ทุกฝ่ายก็จะหยุดโจมตี และไม่ทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับปรุงสร้างมาตรการป้องกัน ทั้งประตูภายในห้องฉุกเฉิน ติดตั้งกล้องวรจรปิด ซึ่งออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
https://mgronline.com/qol/detail/9620000054368