เมื่อวันอังคารที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมาเป็นวันสำคัญสำหรับคริสตชนชาวไทย เนื่องด้วยเป็นวันที่ครบรอบ 350 ปี แห่งการสถาปนามิสซังสยาม (350th Anniversary of the Mission of Siam) หรือเป็นวันครบรอบ 350 ปีของพระศาสนจักร คาทอลิกไทยอย่างเป็นทางการ ทางสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทยและหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ จึงจัดงาน “350 ปีแห่งการสถาปนามิสซังสยาม” โดยมีวจนพิธีกรรม การเสวนา และนิทรรศการ “มรดกตกทอดจากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส” ขึ้นที่วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา
ตัวผมในฐานะที่เป็นผู้สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผมขออนุญาตนำเรื่องราวและรายละเอียดต่างๆ จากงานในครั้งนี้นำมาเผยแพร่ต่อ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจอยู่บ้าง สำหรับตัวผมนั้นผมไม่ได้เป็นคาทอลิก ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ว่าแล้วก็ไปชมกันดีกว่าครับ ในบางส่วนผมขออนุญาตใช้ภาพถ่ายช่วยเล่าเรื่องตามไปด้วยนะครับ
ประวัติ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา
วัดนักบุญยอแซฟ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่คณะธรรมทูตรุ่นแรกแห่งปารีส คือ ฯพณฯ ท่านลังแบรต์ เดอ ลาม็อต กับพระสงฆ์อีก 2 องค์ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) ท่านและคณะได้ทำประโยชน์แก่กรุงศรีอยุธยาจนเป็นที่พอพระทัย พร้อมกันนั้นท่านได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทูลขอที่ดินสำหรับสร้างวัดและโรงเรียนขึ้น เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาและให้การศึกษาแก่เด็ก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งริมแม่น้ำ เพื่อสร้างวัดและโรงเรียนซึ่งเรียกชื่อในสมัยนั้นว่า “ค่ายนักบุญยอแซฟ”
(คัดลอกมาเพียงบางส่วน จากป้ายจัดแสดงประวัติของวัดนักบุญยอแซฟ)
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัดนักบุญยอแซฟคือบ้านแห่งแรกของเหล่ามิสซังสยาม ที่ถือเป็นต้นกำเนิดของความรุ่งเรืองในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ในราชอาณาจักรไทย
สำหรับคำว่า “มิสซัง” ที่ปรากฏใช้อยู่ในประเทศไทยนั้น มีรากฐานมาจากคำศัพท์ว่า Mission ที่มีความหมายว่า “การส่งออกไป” อันได้แก่การส่งผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปา (Apostolic Vicars) ออกไปทำงานในนามของพระสันตะปาปาเพื่อการเผยแพร่พระวรสาร
จริงๆ แล้วการเข้ามาครั้งแรกของคริสต์ศาสนาในสยาม(ประเทศไทย) คือการเข้ามาพร้อมกับฝรั่งชาติแรกคือชาวโปรตุเกส ที่ชื่ออัลฟองโซ ดาลบูเคอร์ค Alfonso d’Albouguergue (ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำภูมิภาคเอเชีย) ที่ยึดครองมะละกาได้ในปี ค.ศ. 1511 และได้ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระมาหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นับแต่นั้นมาชาวโปรตุเกสได้รับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และมีกลุ่มชาวโปรตุเกสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาด้วย ชาวโปรตุเกสนับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้นจึงมีความเป็นได้อย่างมากที่จะมีมิชชันนารีติดตามกลุ่มชาวคริสตชนเข้ามาทำหน้าที่อภิบาลในท่ามกลางชาวโปรตุเกส แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ยืนยันถึงเรื่องนี้
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การเข้ามาของคริสต์ศาสนาที่มาพร้อมกับชาวโปรตุเกสในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น ชาวฝรั่งโปรตุเกสนั้นมาเพื่อทำการยึดครองอาณานิคมเป็นหลัก ในสมัยนั้นโปรตุเกสและสเปน เป็นสองประเทศที่ได้รับอภิสิทธิ์จากพระศาสนจักรที่จะครอบครองดินแดนใหม่ๆ (การล่าอาณานิคม)
แต่สำหรับการเข้ามาของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) โดยพระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต (Mgr.Lambert de la Motte) เป็นพระสังฆราชองค์แรกที่เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1662 พร้อมกับคุณพ่อฌาคส์ เดอ บูร์ซ (Jaegues de Bourges) และคุณพ่อหลุยส์ เดดีเอร์ (Louis Deydier) และอีก 2 ปีต่อมา พระสังฆราชฟรังซัว ปัลลือ (Mgr.Francois Pallu) พร้อมกับคุณพ่อหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) คุณพ่ออองตวน แฮงค์ (Antoin Haingues) คุณพ่อปิแอร์ แบรงโด (Pierre Brindeau) และฆราวาสผู้ช่วยคนหนึ่งชื่อ ฟิลลิป เดอ ชาแมสซอง ฟัวซี (Philippe de Chamesson Foissy) ทุกท่านเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1664
หลังจากได้ปรึกษาหารือกันแล้วเกี่ยวกับสถานการณ์ในดินแดนที่พวกท่านต้องเดินทางไปรับผิดชอบ (ประเทศจีน ในขณะนั้นเกิดสงครามอยู่) ทุกท่านเห็นว่าให้รอคอยโอกาสที่ดีที่สยามนี้ดีกว่า การปกครองของสยามไม่เบียดเบียนศาสนาอื่น ทั้งหมดจึงตัดสินใจอยู่ในสยามเพื่อทำงานเผยแพร่ธรรมทันที เมื่อพวกท่านมาถึงกรุงศรีอยุธยานั้น มีพระสงฆ์มิชชันนารีชาวโปรตุเกส 10 องค์ ชาวสเปน 1 องค์ อยู่ในสยาม และมีคริสตชนอยู่ประมาณ 2,000 คน
พระสังฆราชทั้งสองและบรรดามิชชันนารีจึงได้จัดสัมมนาที่เรียกว่า ประชุมพระสังฆราช (Synod) ขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา การประชุมตกลงวางแผนการทำงานดังนี้คือ
1.วางแผนที่จะก่อตั้งคณะนักบวชแห่งอัครสาวกขึ้น (คณะรักไม้กางเขน)
2.ตัดสินใจที่จะจัดพิมพ์คำสั่งสอนของปรอปากันดา ฟีเด
3.ตกลงที่จะก่อตั้งบ้านเณร เพื่อผลิตพระสงฆ์พื้นเมือง
หลังจากนั้นคณะมิสซังสยาม จึงได้รับอนุญาตจากกรุงโรมให้มีอำนาจในการปกครองท้องถิ่นนี้ คณะมิสซังสยามจึงถูกก่อตั้งขึ้นด้วยเอกสารอย่างเป็นทางการที่ชื่อว่า “Cum sicut accepimus” ลงวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1669 โดยมีผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาผู้ทำหน้าที่ดูแลมิสซังแห่งใหม่นี้ ได้แก่ พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน เป็นพระสังฆราชองค์แรกแห่งมิสซังสยาม
(ผมเรียบเรียงโดยตัดย่อบางส่วนมาจาก บทความชื่อ “ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิกไทย” โดยคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ในหนังสือ “350 ปี สถาปนามิสซังสยาม ค.ศ. 1669-2019”)
350 ปี แห่งการสถาปนามิสซังสยาม
ตัวผมในฐานะที่เป็นผู้สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผมขออนุญาตนำเรื่องราวและรายละเอียดต่างๆ จากงานในครั้งนี้นำมาเผยแพร่ต่อ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจอยู่บ้าง สำหรับตัวผมนั้นผมไม่ได้เป็นคาทอลิก ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
(คัดลอกมาเพียงบางส่วน จากป้ายจัดแสดงประวัติของวัดนักบุญยอแซฟ)
สำหรับคำว่า “มิสซัง” ที่ปรากฏใช้อยู่ในประเทศไทยนั้น มีรากฐานมาจากคำศัพท์ว่า Mission ที่มีความหมายว่า “การส่งออกไป” อันได้แก่การส่งผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปา (Apostolic Vicars) ออกไปทำงานในนามของพระสันตะปาปาเพื่อการเผยแพร่พระวรสาร
จริงๆ แล้วการเข้ามาครั้งแรกของคริสต์ศาสนาในสยาม(ประเทศไทย) คือการเข้ามาพร้อมกับฝรั่งชาติแรกคือชาวโปรตุเกส ที่ชื่ออัลฟองโซ ดาลบูเคอร์ค Alfonso d’Albouguergue (ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำภูมิภาคเอเชีย) ที่ยึดครองมะละกาได้ในปี ค.ศ. 1511 และได้ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระมาหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นับแต่นั้นมาชาวโปรตุเกสได้รับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และมีกลุ่มชาวโปรตุเกสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาด้วย ชาวโปรตุเกสนับถือศาสนาคริสต์ ดังนั้นจึงมีความเป็นได้อย่างมากที่จะมีมิชชันนารีติดตามกลุ่มชาวคริสตชนเข้ามาทำหน้าที่อภิบาลในท่ามกลางชาวโปรตุเกส แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ยืนยันถึงเรื่องนี้
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การเข้ามาของคริสต์ศาสนาที่มาพร้อมกับชาวโปรตุเกสในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น ชาวฝรั่งโปรตุเกสนั้นมาเพื่อทำการยึดครองอาณานิคมเป็นหลัก ในสมัยนั้นโปรตุเกสและสเปน เป็นสองประเทศที่ได้รับอภิสิทธิ์จากพระศาสนจักรที่จะครอบครองดินแดนใหม่ๆ (การล่าอาณานิคม)
แต่สำหรับการเข้ามาของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) โดยพระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต (Mgr.Lambert de la Motte) เป็นพระสังฆราชองค์แรกที่เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.1662 พร้อมกับคุณพ่อฌาคส์ เดอ บูร์ซ (Jaegues de Bourges) และคุณพ่อหลุยส์ เดดีเอร์ (Louis Deydier) และอีก 2 ปีต่อมา พระสังฆราชฟรังซัว ปัลลือ (Mgr.Francois Pallu) พร้อมกับคุณพ่อหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) คุณพ่ออองตวน แฮงค์ (Antoin Haingues) คุณพ่อปิแอร์ แบรงโด (Pierre Brindeau) และฆราวาสผู้ช่วยคนหนึ่งชื่อ ฟิลลิป เดอ ชาแมสซอง ฟัวซี (Philippe de Chamesson Foissy) ทุกท่านเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1664
หลังจากได้ปรึกษาหารือกันแล้วเกี่ยวกับสถานการณ์ในดินแดนที่พวกท่านต้องเดินทางไปรับผิดชอบ (ประเทศจีน ในขณะนั้นเกิดสงครามอยู่) ทุกท่านเห็นว่าให้รอคอยโอกาสที่ดีที่สยามนี้ดีกว่า การปกครองของสยามไม่เบียดเบียนศาสนาอื่น ทั้งหมดจึงตัดสินใจอยู่ในสยามเพื่อทำงานเผยแพร่ธรรมทันที เมื่อพวกท่านมาถึงกรุงศรีอยุธยานั้น มีพระสงฆ์มิชชันนารีชาวโปรตุเกส 10 องค์ ชาวสเปน 1 องค์ อยู่ในสยาม และมีคริสตชนอยู่ประมาณ 2,000 คน
พระสังฆราชทั้งสองและบรรดามิชชันนารีจึงได้จัดสัมมนาที่เรียกว่า ประชุมพระสังฆราช (Synod) ขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา การประชุมตกลงวางแผนการทำงานดังนี้คือ
1.วางแผนที่จะก่อตั้งคณะนักบวชแห่งอัครสาวกขึ้น (คณะรักไม้กางเขน)
2.ตัดสินใจที่จะจัดพิมพ์คำสั่งสอนของปรอปากันดา ฟีเด
3.ตกลงที่จะก่อตั้งบ้านเณร เพื่อผลิตพระสงฆ์พื้นเมือง
หลังจากนั้นคณะมิสซังสยาม จึงได้รับอนุญาตจากกรุงโรมให้มีอำนาจในการปกครองท้องถิ่นนี้ คณะมิสซังสยามจึงถูกก่อตั้งขึ้นด้วยเอกสารอย่างเป็นทางการที่ชื่อว่า “Cum sicut accepimus” ลงวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1669 โดยมีผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาผู้ทำหน้าที่ดูแลมิสซังแห่งใหม่นี้ ได้แก่ พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน เป็นพระสังฆราชองค์แรกแห่งมิสซังสยาม
(ผมเรียบเรียงโดยตัดย่อบางส่วนมาจาก บทความชื่อ “ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิกไทย” โดยคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ในหนังสือ “350 ปี สถาปนามิสซังสยาม ค.ศ. 1669-2019”)