คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
กรมบังคับคดีมีหน้าที่ ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง และอื่น ๆ
หน้าที่หลักของกรมฯ ในการบังคับคดีเงินกู้ตามกระทู้ คือ
ยึดทรัพย์ ตามที่เจ้าหนี้ฯนำชี้ให้ยึด (หรืออายัด)
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหน้าที่ไปสืบหาทรัพย์แทนเจ้าหนี้ฯแต่อย่างใด
เจ้าหนี้ฯมีหน้าที่ต้องสืบทรัพย์ ทำคำขอยึดทรัพย์ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วนำมาเสนอเจ้าพนักงานฯ เพื่อตรวจสอบและดำเนินการยึดทรัพย์
การบังคับคดี ไม่ง่าย ไม่ได้จบเพียงแค่การสืบทรัพย์
ยังต้องมีการยื่นคำร้องคำขอต่อศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อสืบได้ทรัพย์แล้ว ยังต้องลงพื้นที่จริง ทำแผนที่ที่ตั้งทรัพย์และอื่น ๆ
สรุปคือต้องทำเรื่องบังคับคดีต่าง ๆ ไม่น้อยเลย ไม่ใช่มืออาชีพอาจทำเสียการได้
ใช้บริการทนายความที่ทำบังคับคดีเป็น จะดีกว่า อย่าทำเอง เพราะอาจผิดพลาดบกพร่องได้.
หน้าที่หลักของกรมฯ ในการบังคับคดีเงินกู้ตามกระทู้ คือ
ยึดทรัพย์ ตามที่เจ้าหนี้ฯนำชี้ให้ยึด (หรืออายัด)
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหน้าที่ไปสืบหาทรัพย์แทนเจ้าหนี้ฯแต่อย่างใด
เจ้าหนี้ฯมีหน้าที่ต้องสืบทรัพย์ ทำคำขอยึดทรัพย์ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วนำมาเสนอเจ้าพนักงานฯ เพื่อตรวจสอบและดำเนินการยึดทรัพย์
การบังคับคดี ไม่ง่าย ไม่ได้จบเพียงแค่การสืบทรัพย์
ยังต้องมีการยื่นคำร้องคำขอต่อศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อสืบได้ทรัพย์แล้ว ยังต้องลงพื้นที่จริง ทำแผนที่ที่ตั้งทรัพย์และอื่น ๆ
สรุปคือต้องทำเรื่องบังคับคดีต่าง ๆ ไม่น้อยเลย ไม่ใช่มืออาชีพอาจทำเสียการได้
ใช้บริการทนายความที่ทำบังคับคดีเป็น จะดีกว่า อย่าทำเอง เพราะอาจผิดพลาดบกพร่องได้.
แสดงความคิดเห็น
กรมบังคับคดีมีหน้าที่อะไรบ้าง
ผมเคยให้กู้เงินคนหนึ่ง ซึ่งคนนั้นหนีไปก็เลยฟ้องที่ศาร ทำเป็นสัญญาพรานีพรานอมแล้วได้คำพิพากษาว่าเขาต้องจ่าย ถึงเวลากำหนดเขาไม่จ่ายแล้วไปที่กรมบังคับคดี เขาออกหมายบังคับให้แต่ทนายบอกเราต้องสืบเองว่าเขามีทรับสินอะไรบ้าง ความจริงมันเป็นหน้าที่ของกรมบังคับคดีไม่ใช่หรือ ไม่เห็นเขาบังคับอะไร ที่นี่เราต้องบังคับเอง เขาแค่ออกหมายแค่นั้นเอง
ช่วยอทิบายหน่อย