คำว่าขอโทษ ขอบคุณ หรือ การเอ่ยปากชื่นชมคนอื่น สำหรับคนไทย ทำไมมันทำยากกันจังคะ

เราเป็นคนที่มีความเชื่อว่า
คำขอโทษ ขอบคุณ การชื่นชมความสำเร็จคนอื่นด้วยความยินดี
เป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนใดๆ แต่สิ่งที่ได้กลับมาก็คือ
มิตรภาพ รอยยิ้ม ความสัมพันธ์ที่ดี ได้เพื่อนไม่ใช่ศัตรู

เราทำงานสายบริการค่ะ การยกมือไหว้ ขอบคุณ บริการ
พูดจาไพเราะ หรือ ชื่นชมคนที่ทำงานดี
เราก็ได้สิ่งดีๆกลับมาตลอดนะคะ

แต่ที่เราอยู่กับผู้คนมานาน สังเกตคนนอกสายงาน
เราว่าคนไทยทั่วไปมันมีอย่างนึงที่เป็นทิฐิแปลกๆ
การพูด ขอโทษ หรือ ขอบคุณ คนที่เด็กกว่า ฐานะ
หรืออะไรน้อยกว่าเป็นการเสียศักดิศรี

การชื่นชมคนอื่น เราสังเกตน้อยมากที่คนไทยจะกล่าวชื่นชมคนอื่น(ใกล้ตัว)
แต่ชอบชื่นชมคนเก่งแบบไกลตัว เช่นนักธุรกิจคนนั้น นักกีฬาคนนี้
แต่การเอ่ยปากชื่นชมคนใกล้ตัว เช่นเพื่อน ลูกน้อง ญาติพี่น้อง คนในวงการเดียวกัน
นอกจากไม่ชื่นชม แล้วมักจะขัดขากันเองอีก

ไม่ต้องดูไกล พ่อเราเองค่ะ
เวลาใครชมเรา เขาจะพูดขัดออกมา บางทีต่อหน้าเลยค่ะ
แล้วพูดเรื่องเสียๆ ของเราให้เขาฟังแทน (ขนาดพ่อนะ)

แต่เพราะแม่เราสอนให้พูดดี และ ชื่นชมผู้คนจากใจ
เราได้ลองทำมันเป็นสิ่งดีนะคะ การชมผู้อื่นเนี่ย
อีกอย่างนึงแม่เราเคยสอนว่า
คนเรามักแสดงความเกลียด และ ความไม่ชอบออกมา
ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งดี และ ควรเก็บมันไว้ในใจ
คำพูดบางคำ มันพูดออกไปแล้วแก้ไม่ได้
บางคนสร้างมิตรภาพมานานหลายปี แต่มาเสียเพราะคำพูดไม่คิดจากปากเรา
ก็มีเยอะแยะ

อีกอย่างนึงนะคะ ขอเสริม
มนุษย์เรา มักชอบพูดคุยเรื่องตัวเอง แม้บางอย่างเราไม่เห็นด้วย
เราก็ไม่เคยไปขัดเขาค่ะ ไม่เห็นด้วยก็เงียบๆไว้
หรือ ก็แค่พูดออกไปว่า ก็ดีนะคะ
เชื่อมั้ยว่า เราเป็นคนที่มีคนโทรมาคุยปรึกษา เพื่อน น้อง เจ้านาย ลูกน้อง
แบบทั้งวันค่ะ ใครๆก็อยากมาหา มาคุย

เราทำแค่
1.ไม่ขัดเรื่องของเขา ไม่ว่าเรื่องนั้นเราจะเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย
2.ฟังเรื่องของเขา ไม่ใช่คุยเรื่องของเรา และ เสริม เขาไป เขาจะอยากคุยเรื่องของเขาค่ะ
3.ไม่เห็นด้วยก็ยิ้ม แล้วพูดแค่ค่ะ ก็ดีนะคะ เห็นด้วยเราก็เสริมเขาไป
4.และเรื่องสุดท้าย ใครเล่าอะไรมา เก็บไว้กับตัวค่ะ เพราะการเอาเรื่องคนอื่นไปเล่ามันไม่ดีค่ะ
เพราะการรู้เรื่องชาวบ้าน มันไม่ทำให้ได้เงินค่ะ เพราะมันไม่ใช่อาชีพ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่