https://www.share2trade.com/index.php?mod=news&file=view&id=1793
VNG ปรับโมเดลธุรกิจ รับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนจากปัญหาสงครามการค้า ปั้น “วนชัย วู้ดสมิตร” พัฒนาสินค้าใหม่เจาะค้าปลีก ผ่านการจับมือกลุ่ม “ไดนาสตี้” ผู้นำในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิค วางจำหน่ายสินค้าทั่วประเทศ ประเดิมปีนี้ 20 สาขา คาดกวาดยอดขายกว่า 300 ล้านบาท วางเป้าปี 66 ทะลุ 9,000 ล้านบาท ดันสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ-ในประเทศขยับเป็น 50:50 จากปัจจุบันอยู่ที่ 80:20 พร้อมเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล-โซลาร์รูฟท็อป หวังลดต้นทุนค่าไฟ ด้านผู้บริหาร “วรรธนะ เจริญนวรัตน์” มั่นใจโมเดลใหม่ จะช่วยกระจายความเสี่ยง และสร้างกำไรที่ยั่งยืนในอนาคต วางเป้าหมายปี 65 รายได้พุ่งแตะ 2 หมื่นล้านบาท
นายวรรธนะ เจริญนวรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (VNG) เปิดเผยว่า ปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ กระทบการค้าขายทั่วโลก ตลอดจนการเดินเรือและบริษัทฯก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากยอดขายกว่า 80% มาจากการส่งออก รวมไปถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าว่าเงินสกุลอื่นๆ ทำให้ราคาขายสินค้าลดต่ำลง อีกทั้งผลพวงปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้จีนต้องชะลอการผลิตอุตสาหกรรมไม้ และชะลอการซื้อไม้แปรรูปจากประเทศไทย อุตสาหกรรมโรงเลื่อยในประเทศไทยจึงชะลอตัวลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการชะลอการโค่นไม้ยางพาราจากสวนยางพาราที่หมดอายุการกรีด ทำให้ซัพพลายของไม้หายไปจำนวนมาก กดดันผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปีที่ผ่านมาประสบปัญหาขาดทุน และคาดว่าปีหน้าจะไม่ขาดทุนแล้ว
“ในช่วงเวลาไม่ถึง 5 ปีนี้ มีทั้งปีที่บริษัทฯกำไรมากที่สุดและปีที่ขาดทุนมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากำไรของบริษัทฯผันผวนตามตลาดคอมโมดิตี้ส์โลก ซึ่งในช่วงนี้เศรษฐกิจโลกอาจจะจะมีความผันผวนมากกว่านี้ ทำให้เรามีความจำเป็นต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ ให้มีความเชื่อมโยงกับตลาดคอมโมดิตี้ส์ของโลกลดลง แต่จะพัฒนาให้ขายสินค้าในตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งตลาดปลายน้ำใหม่ๆ ตลาดค้าปลีก และ ตลาด Finished Products การปรับโมเดลครั้งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของ VNG สามารถสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืนสม่ำเสมอและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคต โดยในปี 2565 ได้วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท”
สำหรับโมเดลธุรกิจใหม่ของบริษัทฯ จะเพิ่มการขายสินค้าในประเทศเป็น 50% จากเดิมที่มีเพียง 20% โดยยอดขายประเทศไทย 50% จะเป็น Finished Products ที่บริษัทฯกำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยดำเนินการผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท วนชัย วู้ดสมิธ จำกัด โดยจะใช้แบรนด์สินค้าคือ “วนชัย วู้ดสมิตร” ซึ่งโมเดลใหม่นี้จะทำให้บริษัทฯสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจโลก
เขากล่าวต่อว่าตลาดปลายน้ำและตลาดค้าปลีก การใช้ไม้อัด wood-based panel ในประเทศไทยไม่ได้เจริญเติบโตขึ้นเหมือนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าการใช้ไม้ในการก่อสร้างในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาเลย บริษัทฯ มีความตั้งใจจะพัฒนาตลาดการใช้ไม้อัด wood-based panel ในประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ ด้วยเนื่องจากไม้เป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเมื่อเทียบกับ เหล็ก ซีเมนต์ และ พลาสติก การผลิตไม้ wood-based panel ของบริษัทฯมีกระบวนการผลิตที่มีความ sustainable สมบูรณ์ครบวงจร นอกจากนี้ VNG ยังมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างกำไรเติบโตอย่างยั่งยืนและสม่ำเสมอ ด้วยสามกลยุทธ์หลัก คือ 1.การบริหารวัตถุดิบไม้แบบครบทั้งสวนทั้งต้น 2.การพัฒนาสินค้าใหม่ แผ่นไม้ OSB และ แผ่นวีเนียร์ และ 3. การทำธุรกิจพลังงานทดแทน
การบริหารวัตถุดิบไม้แบบครบทั้งต้นครบทั้งสวนนั้น จะทำให้ บริษัทฯ ไม่ต้องพึ่งพาเศษไม้จากอุตสาหกรรมโรงเลื่อย ซึ่งจะมีปริมาณมากน้อยขึ้นลงตามเศรษฐกิจโลกเพียงอย่างเดียว โดยจะสามารถใช้ไม้ยางพาราได้ทั้งสวนทั้งต้น ซึ่งจะลดต้นทุนไม้ได้มาก เพราะสวนยางพาราที่มีอายุเกินกรีดยางได้แล้วยังไม่ถูกโค่นมีจำนวนมาก โดยการใช้ไม้ของบริษัทฯ นั้น ส่วนกิ่งก้านนั้นจะเอาไปผลิตแผ่น MDF และ แผ่น OSB ส่วนตรงกลางลำต้น หรือ ไม้ท่อนจะนำมาปอกเป็นแผ่นวีเนียร์ เศษจากการปอกวีเนียร์ก็จะนำไปทำ Particleboard และ รากไม้ก็จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
ส่วนการพัฒนาสินค้าใหม่ แผ่น OSB และ แผ่นวีเนียร์ ทำให้สามารถใช้ไม้ยางพาราได้ทั้งสวนทั้งต้น และ สินค้าใหม่สองตัวยังมีราคาขายที่สูงที่สุดในกลุ่มสินค้า wood-based panel ซึ่ง “วนชัย กรุ๊ป” จะเป็นผู้นำคนแรกในการผลิตสินค้าสองชนิดนี้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยโรงงาน OSB แห่งใหม่ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีจะก่อสร้างเสร็จภายในปีนี้ มีมูลค่าการลงทุน 2,300 ล้านบาท
นอกจากนี้ VNG ยังได้จัดตั้งบริษัทฯใหม่เพื่อเข้ามาบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ จะเห็นความชัดเจนในปีนี้เพื่อรองรับการสเติบโตของ “วนชัย วู้ดสมิตร” และการขายสินค้าภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กับการลดต้นทุนและช่วยให้ “วนชัย กรุ๊ป”และ “วนชัย วู้ดสมิตร” สามารถบริการลูกค้าผู้บริโภคทั่วประเทศได้ดีสมบูรณ์
เขากล่าวต่อในช่วงท้ายว่าปัจจุบันบริษัทฯ ได้เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ โดยวัตถุดิบก็คือเศษเปลือกไม้ที่เหลือจากการผลิตในโรงงาน และรากไม้ที่เหลือจากโค่นไม้ยางพาราที่หมดอายุ และ จะดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดชลบุรี และ จังหวัดสระบุรีด้วย นอกจากนี้ ยังได้เริ่มใช้พลังงานไฟฟ้า solar roof ที่โรงงานสระบุรีแล้วในปีนี้ มีกำลังการผลิต 3.5 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมากเช่นกัน และ จะดำเนินโครงการ solar roof ที่โรงงานชลบุรี และ สุราษฎร์ธานี ต่อไปด้วย
ด้านนางสาวภัทรา สหวัฒน์ กรรมการ บริษัท วนชัย วู้ดสมิธ จำกัด บริษัทย่อยของ VNG ระบุว่าบริษัทฯมีเป้าหมายพัฒนาตลาดการค้าปลีก และสินค้า finished products โดยบริษัทฯมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพที่สะพานพระราม 7 เป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการได้ทดสอบและเรียนรู้การใช้ finished products ของบริษัทฯ นอกจากนั้น “วนชัย วู้ดสมิตร” จะเปิด flagship store ตามหัวเมืองใหญ่เป็นลำดับต่อไป โดยจะมีทั้ง standalone store และ partner store โดยร่วมมือกับพันธมิตรของเรา เริ่มต้นด้วยการจับมือกับกลุ่ม Dynasty ผู้นำในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิค
“เราตั้งเป้าหมายจะมีสาขา 20 สาขาร่วมกับกลุ่ม Dynasty ภายในสิ้นปีนี้ ภายในปี 2564 ตั้งเป้าจะมี 60 สาขา พร้อมมีการขายออนไลน์ และภายในปี 2566 จะมี 100 สาขาทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งได้ตั้งเป้าหมายยอดขายในปีนี้จำนวน 300 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2564 จะมียอดขาย 4,000 ล้านบาท และภายในปี 2566 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านบาท ตามการขยายตัวของสาขา”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการวางจำหน่ายสินค้าให้กับโมเดิร์นเทรดที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ก็จะทำต่อไป ทั้งสินค้าใน brand Vanachai และ สินค้า OEM ต่างๆ แต่การเปิดตัว “วนชัย วู้ดสมิตร” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาสินค้าแบบใหม่ที่ตลาดยังไม่คุ้นเคย แต่เมื่อได้รับการตอบรับแล้วสินค้าของ “วนชัย วู้ดสมิตร” จะช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ตอบสนองไลฟ์ไสตล์ใหม่ๆได้ ในราคาที่เหมาะสม
อนึ่ง บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ VNG ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 โดยเริ่มจากธุรกิจโรงเลื่อยจักร ก่อนจะพัฒนาเป็นผู้ผลิตไม้อัด และ ก้าวมาเป็นผู้ผลิตแผ่นไม้ทดแทนไม้ธรรมชาติ wood-based panel มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ Particleboard MDF Board OSB Laminate Flooring บานประตูไม้ HDF ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนัง ผลิตภัณฑ์ไม้พื้นและบัว และ ผลิตภัณฑ์ไม้พื้นบันไดและไม้ราวจับ
VNG ปั้น “วู้ดสมิตร” พัฒนาค้าปลีก
VNG ปรับโมเดลธุรกิจ รับมือเศรษฐกิจโลกผันผวนจากปัญหาสงครามการค้า ปั้น “วนชัย วู้ดสมิตร” พัฒนาสินค้าใหม่เจาะค้าปลีก ผ่านการจับมือกลุ่ม “ไดนาสตี้” ผู้นำในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิค วางจำหน่ายสินค้าทั่วประเทศ ประเดิมปีนี้ 20 สาขา คาดกวาดยอดขายกว่า 300 ล้านบาท วางเป้าปี 66 ทะลุ 9,000 ล้านบาท ดันสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ-ในประเทศขยับเป็น 50:50 จากปัจจุบันอยู่ที่ 80:20 พร้อมเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล-โซลาร์รูฟท็อป หวังลดต้นทุนค่าไฟ ด้านผู้บริหาร “วรรธนะ เจริญนวรัตน์” มั่นใจโมเดลใหม่ จะช่วยกระจายความเสี่ยง และสร้างกำไรที่ยั่งยืนในอนาคต วางเป้าหมายปี 65 รายได้พุ่งแตะ 2 หมื่นล้านบาท
นายวรรธนะ เจริญนวรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (VNG) เปิดเผยว่า ปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ กระทบการค้าขายทั่วโลก ตลอดจนการเดินเรือและบริษัทฯก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากยอดขายกว่า 80% มาจากการส่งออก รวมไปถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าว่าเงินสกุลอื่นๆ ทำให้ราคาขายสินค้าลดต่ำลง อีกทั้งผลพวงปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้จีนต้องชะลอการผลิตอุตสาหกรรมไม้ และชะลอการซื้อไม้แปรรูปจากประเทศไทย อุตสาหกรรมโรงเลื่อยในประเทศไทยจึงชะลอตัวลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการชะลอการโค่นไม้ยางพาราจากสวนยางพาราที่หมดอายุการกรีด ทำให้ซัพพลายของไม้หายไปจำนวนมาก กดดันผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปีที่ผ่านมาประสบปัญหาขาดทุน และคาดว่าปีหน้าจะไม่ขาดทุนแล้ว
“ในช่วงเวลาไม่ถึง 5 ปีนี้ มีทั้งปีที่บริษัทฯกำไรมากที่สุดและปีที่ขาดทุนมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากำไรของบริษัทฯผันผวนตามตลาดคอมโมดิตี้ส์โลก ซึ่งในช่วงนี้เศรษฐกิจโลกอาจจะจะมีความผันผวนมากกว่านี้ ทำให้เรามีความจำเป็นต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ ให้มีความเชื่อมโยงกับตลาดคอมโมดิตี้ส์ของโลกลดลง แต่จะพัฒนาให้ขายสินค้าในตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งตลาดปลายน้ำใหม่ๆ ตลาดค้าปลีก และ ตลาด Finished Products การปรับโมเดลครั้งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของ VNG สามารถสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืนสม่ำเสมอและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคต โดยในปี 2565 ได้วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท”
สำหรับโมเดลธุรกิจใหม่ของบริษัทฯ จะเพิ่มการขายสินค้าในประเทศเป็น 50% จากเดิมที่มีเพียง 20% โดยยอดขายประเทศไทย 50% จะเป็น Finished Products ที่บริษัทฯกำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยดำเนินการผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท วนชัย วู้ดสมิธ จำกัด โดยจะใช้แบรนด์สินค้าคือ “วนชัย วู้ดสมิตร” ซึ่งโมเดลใหม่นี้จะทำให้บริษัทฯสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนตามเศรษฐกิจโลก
เขากล่าวต่อว่าตลาดปลายน้ำและตลาดค้าปลีก การใช้ไม้อัด wood-based panel ในประเทศไทยไม่ได้เจริญเติบโตขึ้นเหมือนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าการใช้ไม้ในการก่อสร้างในประเทศไทยไม่ได้รับการพัฒนาเลย บริษัทฯ มีความตั้งใจจะพัฒนาตลาดการใช้ไม้อัด wood-based panel ในประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ ด้วยเนื่องจากไม้เป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเมื่อเทียบกับ เหล็ก ซีเมนต์ และ พลาสติก การผลิตไม้ wood-based panel ของบริษัทฯมีกระบวนการผลิตที่มีความ sustainable สมบูรณ์ครบวงจร นอกจากนี้ VNG ยังมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างกำไรเติบโตอย่างยั่งยืนและสม่ำเสมอ ด้วยสามกลยุทธ์หลัก คือ 1.การบริหารวัตถุดิบไม้แบบครบทั้งสวนทั้งต้น 2.การพัฒนาสินค้าใหม่ แผ่นไม้ OSB และ แผ่นวีเนียร์ และ 3. การทำธุรกิจพลังงานทดแทน
การบริหารวัตถุดิบไม้แบบครบทั้งต้นครบทั้งสวนนั้น จะทำให้ บริษัทฯ ไม่ต้องพึ่งพาเศษไม้จากอุตสาหกรรมโรงเลื่อย ซึ่งจะมีปริมาณมากน้อยขึ้นลงตามเศรษฐกิจโลกเพียงอย่างเดียว โดยจะสามารถใช้ไม้ยางพาราได้ทั้งสวนทั้งต้น ซึ่งจะลดต้นทุนไม้ได้มาก เพราะสวนยางพาราที่มีอายุเกินกรีดยางได้แล้วยังไม่ถูกโค่นมีจำนวนมาก โดยการใช้ไม้ของบริษัทฯ นั้น ส่วนกิ่งก้านนั้นจะเอาไปผลิตแผ่น MDF และ แผ่น OSB ส่วนตรงกลางลำต้น หรือ ไม้ท่อนจะนำมาปอกเป็นแผ่นวีเนียร์ เศษจากการปอกวีเนียร์ก็จะนำไปทำ Particleboard และ รากไม้ก็จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
ส่วนการพัฒนาสินค้าใหม่ แผ่น OSB และ แผ่นวีเนียร์ ทำให้สามารถใช้ไม้ยางพาราได้ทั้งสวนทั้งต้น และ สินค้าใหม่สองตัวยังมีราคาขายที่สูงที่สุดในกลุ่มสินค้า wood-based panel ซึ่ง “วนชัย กรุ๊ป” จะเป็นผู้นำคนแรกในการผลิตสินค้าสองชนิดนี้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยโรงงาน OSB แห่งใหม่ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีจะก่อสร้างเสร็จภายในปีนี้ มีมูลค่าการลงทุน 2,300 ล้านบาท
นอกจากนี้ VNG ยังได้จัดตั้งบริษัทฯใหม่เพื่อเข้ามาบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ จะเห็นความชัดเจนในปีนี้เพื่อรองรับการสเติบโตของ “วนชัย วู้ดสมิตร” และการขายสินค้าภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กับการลดต้นทุนและช่วยให้ “วนชัย กรุ๊ป”และ “วนชัย วู้ดสมิตร” สามารถบริการลูกค้าผู้บริโภคทั่วประเทศได้ดีสมบูรณ์
เขากล่าวต่อในช่วงท้ายว่าปัจจุบันบริษัทฯ ได้เริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ โดยวัตถุดิบก็คือเศษเปลือกไม้ที่เหลือจากการผลิตในโรงงาน และรากไม้ที่เหลือจากโค่นไม้ยางพาราที่หมดอายุ และ จะดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดชลบุรี และ จังหวัดสระบุรีด้วย นอกจากนี้ ยังได้เริ่มใช้พลังงานไฟฟ้า solar roof ที่โรงงานสระบุรีแล้วในปีนี้ มีกำลังการผลิต 3.5 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมากเช่นกัน และ จะดำเนินโครงการ solar roof ที่โรงงานชลบุรี และ สุราษฎร์ธานี ต่อไปด้วย
ด้านนางสาวภัทรา สหวัฒน์ กรรมการ บริษัท วนชัย วู้ดสมิธ จำกัด บริษัทย่อยของ VNG ระบุว่าบริษัทฯมีเป้าหมายพัฒนาตลาดการค้าปลีก และสินค้า finished products โดยบริษัทฯมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพที่สะพานพระราม 7 เป็นศูนย์เรียนรู้ให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการได้ทดสอบและเรียนรู้การใช้ finished products ของบริษัทฯ นอกจากนั้น “วนชัย วู้ดสมิตร” จะเปิด flagship store ตามหัวเมืองใหญ่เป็นลำดับต่อไป โดยจะมีทั้ง standalone store และ partner store โดยร่วมมือกับพันธมิตรของเรา เริ่มต้นด้วยการจับมือกับกลุ่ม Dynasty ผู้นำในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิค
“เราตั้งเป้าหมายจะมีสาขา 20 สาขาร่วมกับกลุ่ม Dynasty ภายในสิ้นปีนี้ ภายในปี 2564 ตั้งเป้าจะมี 60 สาขา พร้อมมีการขายออนไลน์ และภายในปี 2566 จะมี 100 สาขาทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งได้ตั้งเป้าหมายยอดขายในปีนี้จำนวน 300 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2564 จะมียอดขาย 4,000 ล้านบาท และภายในปี 2566 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านบาท ตามการขยายตัวของสาขา”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการวางจำหน่ายสินค้าให้กับโมเดิร์นเทรดที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ก็จะทำต่อไป ทั้งสินค้าใน brand Vanachai และ สินค้า OEM ต่างๆ แต่การเปิดตัว “วนชัย วู้ดสมิตร” มีเป้าหมายที่จะพัฒนาสินค้าแบบใหม่ที่ตลาดยังไม่คุ้นเคย แต่เมื่อได้รับการตอบรับแล้วสินค้าของ “วนชัย วู้ดสมิตร” จะช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ตอบสนองไลฟ์ไสตล์ใหม่ๆได้ ในราคาที่เหมาะสม
อนึ่ง บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ VNG ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 โดยเริ่มจากธุรกิจโรงเลื่อยจักร ก่อนจะพัฒนาเป็นผู้ผลิตไม้อัด และ ก้าวมาเป็นผู้ผลิตแผ่นไม้ทดแทนไม้ธรรมชาติ wood-based panel มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ Particleboard MDF Board OSB Laminate Flooring บานประตูไม้ HDF ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผนัง ผลิตภัณฑ์ไม้พื้นและบัว และ ผลิตภัณฑ์ไม้พื้นบันไดและไม้ราวจับ