หัวใจสำคัญของการแต่งประโยคภาษาอังกฤษ

What's not down, mate?!

วันนี้พูดถึง 'การแต่งประโยคภาษาอังกฤษ'

หากพูดถึงเรื่องโครงสร้างประโยค มันก็มีบอกในหนังสือแกรมมาร์หมดแล้ว ผมจะพูดถึงแค่นิดหน่อย และจะโฟกัสที่ ‘วิธีคิด’ ในการแต่งประโยคแทนนะ

ก่อนจะเริ่ม มีแกรมมาร์สองเรื่องที่ต้องเข้าใจตรงกันก่อน
1. เวลาแต่งประโยคให้เราเลือกใช้ประโยคสองแบบหลัก ๆ ได้แก่
- Active voice (S + V + O + Complement) คือประโยคที่ ‘ประธาน’ เป็น ‘ผู้กระทำเหตุการณ์
(Ex. ‘เขาขโมยเงิน’ He stole the money. / He was the one who took the money.)
- Passive voice (S + V to be + Past participle + Complement) คือประโยคที่ ‘ประธาน’ เป็น ‘ผู้ถูกกระทำ
(Ex. ‘เงินถูกขโมย’ The money was stolen. / The money was stolen by him.)

*Complement คือ วลีหรือกลุ่มคำศัพท์ที่เป็น ‘ส่วนขยาย’ ของประธานหรือกรรมในประโยค

2. หากประธานมีกริยาสองตัว สามารถเปลี่ยนเป็น Participle phrase ได้
Participle phrase มีหลักง่าย ๆ ว่า หากประธาน'ทำสองเหตุการณ์'พร้อมกัน กริยาตัวหลังสามารถเปลี่ยนเป็น v-ing ได้ เช่น
‘He walked down the road and read a newspaper.'
(มีกริยาสองตัวคือ walked และ read ซึ่งใช้ประธานคนเดียวกันคือ He)

ประโยคแบบนี้สามารถเปลี่ยนเป็น He walked down the road, reading a newspaper.
(Reading a newspaper คือสิ่งที่เราเรียกว่า Participle phrase ง่าย ๆ ก็คือเอาเวิร์บตัวที่สองมาเติม -ing แล้วตัด and ออกไป)

เกริ่นเรื่องแกรมมาร์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างไว้แค่นี้ อย่าลืมไปอ่านเพิ่มเติมด้วย ทั้ง Active/Passive voice และ Participle phreases เลย
(ทั้งสองเรื่องรวมอยู่ในกระทู้นี้ https://ppantip.com/topic/35554889)

มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการแต่งประโยค เป็นตัวช่วยที่จะทำให้เข้าใจกลไกของเรื่อง ‘verb to be’ และ ‘การเติมส่วนขยายให้ประโยค’ (Subject/Obkect complement) ได้มากขึ้น

ทีนี้มาเข้าเรื่องกันเลย
Let's roll!
_______________

กระทู้นี้เราจะพูดถึงสองเรื่องคือ ‘การหาใจความสำคัญของประโยค’ และ ‘การปรับประโยคภาษาไทยให้เป็นไปตามโครงสร้างภาษาอังกฤษ

เวลาแต่งประโยค ให้คิดแบบนี้
"Who + do what + how + where + when"
(ใคร + ทำอะไร + อย่างไร + ที่ไหน + เมื่อไหร่)

ยกตัวอย่างประโยค "เหตุใดความรักถึงได้มายากเย็น"
ชำแหละมันออกมาจะได้
- ใคร = ความรัก
- ความรักทำอะไร = ได้มา
- ได้มาอย่างไร = ยากเย็น

พอได้แบบนี้ ประโยคนี้ก็แปลง่าย ๆ ได้ว่า
"Love is hard to find." หรือ "It’s very difficult to find love."

ย้อนกลับไปดูภาษาไทย รู้สึกว่ามันยังขาด ‘เหตุใด’ อยู่ เป็นสิ่งที่ ‘แสดงความสงสัยของผู้พูด
ในภาษาไทยใช้คำว่าเหตุใด แต่ในภาษาอังกฤษอาจไม่พอ เพราะหากเอา ‘เหตุใด’ ขึ้นก่อนมันกลายเป็นคำถาม

แต่นี่คือประโยคบอกเล่า เราต้องถามหา ‘ใคร’ (ใครเป็นคนพูดนั่นเอง)
อาจจะเป็นตัวเราเองก็ได้
I don’t know why it’s so hard to find love.
I really want to know why it’s so difficult to find love.
หรือพูดอีกเป็น “I’m wondering where love has gone.

และเรายังสามารถเติม "ที่ไหน" (เช่น in this world, in our society etc.) หรือ "เมื่อไหร่" (เช่น nowadays, these days etc.) เข้าไปอีกด้วย

นี่คือเบสิคของการแต่งประโยคเลย เราต้องเปลี่ยนที่วิธีคิดก่อน! จำไว้ว่า "ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมี ‘ประธาน’ เสมอ"
แต่ประธานอาจจะไม่ใช่ ‘ใคร’ เสมอไป เพราะบางประโยคอาจขึ้นต้นด้วย There is/are ... หรือ It is .... ก็ได้
ในประโยคแบบนี้เราก็ถือว่า ‘there’ และ ‘it’ เป็น subject ของประโยค
_________________

ลองมาดูวิธีคิดอีกแบบ โดยการ "มองที่สถานการณ์" ไม่ใช่ตัวประโยค

เหตุการณ์คือ “ในบริษัท เราไว้ใจเพื่อนให้ทำงานสำคัญ แต่เขากลับไม่ทำ จนส่งไม่ทันกำหนด ทำให้แผนกของเราโดนต่อว่า

พอเจอเพื่อนคนนั้น เราจึง'มีสิ่งที่อยากพูด'กับเขาคือ
"ไม่อยากเชื่อว่าคุณจะทำแบบนี้!"

ใจความสำคัญของประโยคคือ เราที่รู้สึก ‘ผิดหวัง’ จนไม่อยากจะเชื่อว่าเพื่อนจะ ‘ทำแบบนี้’ กับเขา จึงได้ประโยคง่าย ๆ ว่า
I can’t believe you do this.

กริยาคือ ‘can’t believe’ และ ‘do this
ถึงตรงนี้หลายคนคงรู้แล้วว่าในภาษาอังกฤษเราต้องคำคำนึงถึงเรื่อง ‘เวลา’ หรือ tense ด้วย

‘Can’t believe’ เกิดขึ้นตอนนี้ ใช้กริยาที่ present ปกติได้ (ไม่ต้องเปลี่ยนเป็น couldn’t หรือ believed)

‘Do this’ เกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นต้องทำให้เป็น past คือ ‘Did this’

เราก็จะได้ประโยคที่ถูกหลักตามภาษาอังกฤษ
‘I can’t believe you did this.’

หรือจะลองพูดแบบอื่นก็ได้ ย้อนกลับไปที่ 'ใจความสำคัญ' ของประโยคด้านบน
เราอาจพูดว่า “I’m really disappointed by what you did.” ก็ได้
(ใช้วลี disappointed by (something) แทน can’t believe / What you did คือ ‘Noun clause’ ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จึงเอามาตามหลัง by ได้)

หรือ “I really wish you hadn’t done this to me!
(คำนึกถึงแกรมมาร์ของ wish คือประโยคที่ตามหลังมันต้องเป็น past simple)
_______________

ดูอีกสักเหตุการณ์ “ลูกชายโกหกแม่ว่าเขาจะเอาเงินไปจ่ายค่าหอพัก แต่ว่าเขากลับเอาเงินไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน

เราที่เป็นบุคคลที่สาม จะเล่าเหตุการณ์นี้อย่างไร?

เพื่อความง่ายในการแต่งประโยค ให้เราคิดถึง tense ก่อนเลย ลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในอดีต หรือเกิดขึ้นตอนนี้

ประโยคนี้น่าจะเกิดขึ้นในอดีต เราก็อาจบอกว่า
"He lied to his mom that he would use the money to pay his apartment rent, but instead he used it to travel to another province with his friends."
(ทำให้กริยาทุกตัวเป็น past tense - lie to เปลี่ยนเป็น lied to / will use เปลี่ยนเป็น would use / use it เปลี่ยนเป็น used it)

เป็นการเล่าเรื่องที่ค่อนข้างยาว ลองแต่งใหม่ โดยตัดบางวลีที่ไม่สำคัญออก
"He lied to his mom about the money, and went up-country instead of paying his rent."

สิ่งที่ผมทำในประโยคที่สองคือ ‘ให้บริบทช่วยสื่อความหมาย’ ไม่ต้องเล่าทุกอย่างทั้งหมด ซึ่งเป็นสกิลสำคัญที่เราต้องฝึกไว้
_______________

บริบทมันก็คือเหตุการณ์ของประโยคนั้น ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือบริบทของประโยคนี้คือ
เขาโกหกแม่เรื่องเงิน เขาไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน เขาไม่ได้จ่ายค่าหอพัก (และแน่นอนว่ามันต้องเป็นหอพัก ‘ของเขา’ his apartment = his rent)

พอเราชำแหละบริบทได้ครบความหมายแล้ว เราก็สามารถตัดส่วนที่ไม่สำคัญในประโยคออกไปได้ ทำให้แต่งประโยคง่ายขึ้น

ในประโยคภาษาอังกฤษของเราต้องมี content สำคัญทั้งสามเรื่องคือ
(1) Lie to his mom
(2) Use the money his mom gave’ ‘Go to another province / go up-country
และ (3) Pay his rent

Content หรือ ‘ใจความสำคัญ’ ทั้งสามนี้เราจะเอาอันไหนขึ้นก่อนหรือตามหลังก็ได้ เพียงแค่ต้องคำนึงถึงหลักโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษ

เช่น "He went up-country with his friends using the money his mom gave him to pay his rent. This is not the first time he lied."

ประโยคนี้เอา ‘ไปเที่ยวต่างจังหวัด’ ขึ้นก่อน และบอกด้วยว่า ‘ใช้เงินที่แม่เขาให้’ ซึ่งเป็นส่วนขยายของไอเดียแรก เราจึงเปลี่ยน ‘use’ the money his mom gave him’ เป็น ‘using’ the money ... แทน

นี่คือการ ‘โยกย้ายใจความสำคัญของประโยคโดยคำนึงถึงหลักโครงสร้าง’ หรือพูดง่าย ๆ เลยนะ มันก็คือแต่งประโยคตามหลักแกรมมาร์นั่นแหละ ฮ่า ๆ
_______________

ไหน ๆ ก็ยกประเด็นขึ้นมาแล้ว มาพูดถึงการแต่งประโยคโดย ‘คำนึงถึงหลักโครงสร้าง’ สักนิด

ตามหลักโครงสร้างของภาษาอังกฤษ ะโยคต้องเป็น S + V + (O) หรือจำง่าย ๆ ว่า ‘กริยาทุกตัวต้องมีประธาน’

ดังนั้นถ้ากริยามัน ‘มีประธานร่วมกัน’ กริยาตัวถัดไปก็ต้องกลายเป็น ’ส่วนขยาย’ นั่นเอง

หลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษก็บอกไว้ชัดว่า กริยาที่เป็นส่วนขยายต้องเติม ‘-ing’ หรือ ‘-ed’ เข้าไปด้วย (ดังที่อธิบายไว้ด้านบน)
เราเรียกเรื่องนี้ว่า “Participle phrase”

ดังนั้นในประโยคข้างบนเราจึงได้กริยาของประธานคือ
(He) 'went' up-country 'using' the money …

กริยาคือ ‘go up-country’ and ‘use the money’ สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือเปลี่ยน ‘go’ ให้เป็นอดีต ‘went’ และเปลี่ยน ‘use’ ให้เป็นส่วนขยายเป็น 'using'ตามหลัก participle phrase

หรือ ‘(He) spent the money going up-country …’
กริยาคือ ‘spend the money’ และ ‘go up-country’ ที่เปลี่ยนตาม tense เป็น spent และตามหลัก participle phrase เป็น going up

ที่เหลือเราก็แค่ยกไปแต่งประโยค เช่น
"He spent the money his mom gave him going up-country with his friends instead of paying his rent." (active voice)
หรือ "That money he spent going up-country was supposed to be paid for his rent. He’ll be in big trouble if his mother finds out."
(passive voice)

และอื่น ๆ อีกหลายประโยคเลย ลองเอาไปฝึกดู

แต่มันก็ไม่เสมอไปที่กริยาตัวที่สองของประธานเดียวกันจะเป็น v-ing เพราะถ้าเราเอา ‘use’ ขึ้นก่อน กริยาตัวที่สองต้องเป็น ‘to infinitive’
‘He used the money to go up-country’ ไม่ใช่ ‘He used the money going up-country’

ดังนั้นนอกจากจะคำนึงถึงโครงสร้างประโยคแล้ว ยังต้องคำนึงถึงตัว verb อีกด้วยว่ามันสามารถตามด้วย -ing หรือ to infinitive
________________

หากอ่านจบแล้ว มี 4 เรื่องที่ต้องเข้าใจมากขึ้นคือ
1. โครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษ
(passive และ active voice)

2. การหาใจความสำคัญของประโยค และตัดส่วนที่ไม่สำคัญออก
(Change the structure of a Thai sentence to be more like English)

3. การแต่งประโยคโดยใช้ใจความสำคัญ
(using context to construct a sentence)

4. การแต่งประโยคโดยคำนึงถึงประธานและกริยา
(verb and v-ing / participle phrase / to infinitive)

5. การใช้กริยาเล่าเรื่องตามเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้น
(tense)

และอย่าไปคิดว่าเรื่องพวกนี้ยิ่งทำให้การแต่งประโยคภาษาอังกฤษยากขึ้น เพราะหากเราฝึกมันทุกวัน ความคล่องแคล่วมันก็ต้องตามมาแน่นอน และยังได้ประโยคแบบถูกต้องและเข้าใจง่ายด้วย

วันนี้เข้าใจมากขึ้นก็ถือว่าโอเคแล้ว ใครอ่านไม่ไหวแบ่งอ่านไปทีละย่อหน้าก็ได้ ไม่ต้องรีบ อ่านและถามตัวเองว่าเข้าใจดีแล้วหรือยัง

และสำคัญที่สุดคือต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอ อย่าขาดช่วง เพราะเดี๋ยวก็ลืมหมดและต้องกลับมาเริ่มใหม่อีก
จำไว้เลยว่า "ไม่ต้องรู้ทั้งหมดในวันนี้ แค่รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ" (รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันคือ Page "พ่อผมเป็นคนอังกฤษ")
Stay tuned
JGC.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่