What's not down, folks?!
บทนี้มาทำความรู้จัก verb to do กันต่อ หายไปนาน เดือนนี้จะทันครบ 10 ตอนไหมนะ??
1) Verb to do มีสองแบบคือ verb to do ที่เป็นกริยาช่วย (What
DO you do? Why
DID you do that?) กับ verb to do ที่เป็นกริยาหลัก (What do you
DO? Why did you
DO that?) จุดที่เราจะโฟกัสคือ
verb to do ที่เป็นกริยาช่วย หรือที่เราเรียกว่า
auxiliary verb นั่นเอง จะคิดง่าย ๆ ว่า
verb to do ที่เป็นกริยาช่วยคือ verb to do ที่มาก่อนประธานในประโยคคำถามก็ไม่ผิด
2) Verb to do จะโฟกัสที่เรื่อง "
mood" ของประโยค (mood ในที่นี้มีความหมายประมาณ '
จุดประสงค์ของการพูด') ว่านี่เป็นประโยคคำสั่งหรือเสนอแนะ (imperative sentence เช่น
Do not go. หรือ
Don't forget to bring your book.) หรือประโยคคำถาม (interrogative sentence เช่น
Do you wanna come? หรือ
Do they know about this?)
3) นอกจากจะบอก mood แล้ว verb to do ยังสามารถบอก tense ได้ด้วย (บอกว่ากำลังพูดถึงปัจจุบันหรืออดีต) ที่จะเจอบ่อยคือ
did นั่นเอง ส่วนมากจะเจอในประโยคคำถาม เช่น
Did you have fun last night? (เมื่อคืนมึความสุขไหม) หรือ
Did they ask about me? (พวกเขาถามถึงผมไหม) และจะเจอในประโยคปฏิเสธ เช่น I
did not have fun at all (ผมไม่สนุกเลย) หรือ They
didn't even talk to me. (พวกเขาไม่คุยกับผมด้วยซ้ำ)
4) ถามว่าในประโยคบอกเล่าเราจะเจอ did ได้ไหม? ก็เจอได้ครับ ส่วนมากจะเป็น
การย้ำว่าเป็นความจริง (ไม่ใช่แค่ did นะ สามารถใช้ do ได้ด้วย) เช่น I saw him. (ผมเห็นเขา) เน้นเป็น I
did see him! (ผมเห็นเขาจริง ๆ นะ) หรือ He forgot the book. เน้นเป็น He
did forget the book. (เขาลืมหนังสือจริง ๆ) การใช้ do ก็คล้าย ๆ กัน มันเป็นการสร้างความมั่นใจ เช่น I love you. เน้นเป็น I
do love you.
5) แต่นอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นใจแล้ว การเพิ่ม do หรือ did เข้ามาหน้ากริยา มักจะเป็นการพูดเกริ่นก่อนจะตามด้วย but... อีกด้วย ตัวอย่างเช่น I
did see him... but I didn't confront him. (ผมเน้นเขา
ก็จริง แต่ผมก็ไม่ได้เข้าไปเผชิญหน้ากับเขา) หรือ I
do like this guy but...
's a bit crazy. (ผมก็ชอบเขานะ แต่เขาดูหลุด ๆ ไปหน่อย)
6) นอกจาก do, did แล้วเรายังมี does อีก อันนี้จะใช้ในกรณีที่ประธานประโยคเป็น "
บุคคลที่สาม" เอาจริงนักเรียนหลายคนยังไม่รู้ว่า บุคคล คืออะไร ขออธิบายแบบง่าย ๆ ก่อนละกัน บุคคลที่หนึ่งคือตัวเรา (I, we) บุคคลที่สองคือคนที่เราคุยด้วย (you) และบุคคลที่สามคือคนที่เราพูดถึง (he, she, it, they) เหล่านี้จะอยู่ในหัวข้อเรื่อง "point of view" (มุมมอง) ในบทสนทนาเรามักจะมีสามมุมมองคือ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ถูกกล่าวถึง
7) ซึ่ง pronouns (
I, we, you, they, , she, it) เนี่ยมันก็จะแยกไปตามมุมมองนี้
first-person pronoun ก็ได้แก่
I, we ส่วน
second-person pronoun ก็คือ
you และ
third-person pronoun ก็คือ
they, , she, it นั่นเอง นอกจากนี้เรายังแบ่งด้วยว่า pronoun แต่ละตัวเป็นเอกพจน์ (singular) (เช่น I, *you,
, she, it) หรือพหูพจน์ (plural) (เช่น *you, we, they)
เราจะใช้ does กับ , she, it (บุคคลที่สามที่เป็นเอกพจน์)
8) คำนี้จะเจอก็ต่อเมื่อเราแต่งประโยค (ทั้งประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ และประโยคคำถาม) ใน present simple tense และมีรูปแบบการใช้งานเหมือนกัน do และ did ในเรื่องการเน้นย้ำความจริงด้วย ตัวอย่างเช่น He
DOES know what's he doing. (เขารู้ดีว่าทำอะไรอยู่) / She
doesn't care what he's up to. (เธอไม่สนว่าเขาจะทำอะไร) /
Does it make you feel good? (มันทำให้คุณรู้สึกดีไหม)
9) ในข้อสอบ พยายามจับผิดกริยาช่วยกับกริยาหลัก ว่ามัน "
ซ้ำ tense" กันอยู่หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น Does he knows about this? ประโยคนี้ผิดยังไง ผิดตรงที่มี does ในประโยคแล้วยังไป s ให้กริยาอีก ต้องแก้ไขใหม่เป็น
Does he
know about this? อีกตัวอย่าง (ในรูป past simple) เช่น Did you saw what happened? ประโยคนี้ผิดไหม แน่นอน ผิดตรงที่มี did ในประโยคแล้วยังไปผันกริยาหลักให้เป็น past-tense อีก ต้องแก้เป็น
Did you
see what happened?
10) สุดท้าย Did you see this coming? ตัว s ใน does ต้องออกเสียงเป็น.......
/dʌz/
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.
พื้นฐานหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Part 5) - The "to do"
บทนี้มาทำความรู้จัก verb to do กันต่อ หายไปนาน เดือนนี้จะทันครบ 10 ตอนไหมนะ??
1) Verb to do มีสองแบบคือ verb to do ที่เป็นกริยาช่วย (What DO you do? Why DID you do that?) กับ verb to do ที่เป็นกริยาหลัก (What do you DO? Why did you DO that?) จุดที่เราจะโฟกัสคือ verb to do ที่เป็นกริยาช่วย หรือที่เราเรียกว่า auxiliary verb นั่นเอง จะคิดง่าย ๆ ว่า verb to do ที่เป็นกริยาช่วยคือ verb to do ที่มาก่อนประธานในประโยคคำถามก็ไม่ผิด
2) Verb to do จะโฟกัสที่เรื่อง "mood" ของประโยค (mood ในที่นี้มีความหมายประมาณ 'จุดประสงค์ของการพูด') ว่านี่เป็นประโยคคำสั่งหรือเสนอแนะ (imperative sentence เช่น Do not go. หรือ Don't forget to bring your book.) หรือประโยคคำถาม (interrogative sentence เช่น Do you wanna come? หรือ Do they know about this?)
3) นอกจากจะบอก mood แล้ว verb to do ยังสามารถบอก tense ได้ด้วย (บอกว่ากำลังพูดถึงปัจจุบันหรืออดีต) ที่จะเจอบ่อยคือ did นั่นเอง ส่วนมากจะเจอในประโยคคำถาม เช่น Did you have fun last night? (เมื่อคืนมึความสุขไหม) หรือ Did they ask about me? (พวกเขาถามถึงผมไหม) และจะเจอในประโยคปฏิเสธ เช่น I did not have fun at all (ผมไม่สนุกเลย) หรือ They didn't even talk to me. (พวกเขาไม่คุยกับผมด้วยซ้ำ)
4) ถามว่าในประโยคบอกเล่าเราจะเจอ did ได้ไหม? ก็เจอได้ครับ ส่วนมากจะเป็นการย้ำว่าเป็นความจริง (ไม่ใช่แค่ did นะ สามารถใช้ do ได้ด้วย) เช่น I saw him. (ผมเห็นเขา) เน้นเป็น I did see him! (ผมเห็นเขาจริง ๆ นะ) หรือ He forgot the book. เน้นเป็น He did forget the book. (เขาลืมหนังสือจริง ๆ) การใช้ do ก็คล้าย ๆ กัน มันเป็นการสร้างความมั่นใจ เช่น I love you. เน้นเป็น I do love you.
5) แต่นอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นใจแล้ว การเพิ่ม do หรือ did เข้ามาหน้ากริยา มักจะเป็นการพูดเกริ่นก่อนจะตามด้วย but... อีกด้วย ตัวอย่างเช่น I did see him... but I didn't confront him. (ผมเน้นเขาก็จริง แต่ผมก็ไม่ได้เข้าไปเผชิญหน้ากับเขา) หรือ I do like this guy but... 's a bit crazy. (ผมก็ชอบเขานะ แต่เขาดูหลุด ๆ ไปหน่อย)
6) นอกจาก do, did แล้วเรายังมี does อีก อันนี้จะใช้ในกรณีที่ประธานประโยคเป็น "บุคคลที่สาม" เอาจริงนักเรียนหลายคนยังไม่รู้ว่า บุคคล คืออะไร ขออธิบายแบบง่าย ๆ ก่อนละกัน บุคคลที่หนึ่งคือตัวเรา (I, we) บุคคลที่สองคือคนที่เราคุยด้วย (you) และบุคคลที่สามคือคนที่เราพูดถึง (he, she, it, they) เหล่านี้จะอยู่ในหัวข้อเรื่อง "point of view" (มุมมอง) ในบทสนทนาเรามักจะมีสามมุมมองคือ ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ถูกกล่าวถึง
7) ซึ่ง pronouns (I, we, you, they, , she, it) เนี่ยมันก็จะแยกไปตามมุมมองนี้ first-person pronoun ก็ได้แก่ I, we ส่วน second-person pronoun ก็คือ you และ third-person pronoun ก็คือ they, , she, it นั่นเอง นอกจากนี้เรายังแบ่งด้วยว่า pronoun แต่ละตัวเป็นเอกพจน์ (singular) (เช่น I, *you, , she, it) หรือพหูพจน์ (plural) (เช่น *you, we, they) เราจะใช้ does กับ , she, it (บุคคลที่สามที่เป็นเอกพจน์)
8) คำนี้จะเจอก็ต่อเมื่อเราแต่งประโยค (ทั้งประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ และประโยคคำถาม) ใน present simple tense และมีรูปแบบการใช้งานเหมือนกัน do และ did ในเรื่องการเน้นย้ำความจริงด้วย ตัวอย่างเช่น He DOES know what's he doing. (เขารู้ดีว่าทำอะไรอยู่) / She doesn't care what he's up to. (เธอไม่สนว่าเขาจะทำอะไร) / Does it make you feel good? (มันทำให้คุณรู้สึกดีไหม)
9) ในข้อสอบ พยายามจับผิดกริยาช่วยกับกริยาหลัก ว่ามัน "ซ้ำ tense" กันอยู่หรือเปล่า ตัวอย่างเช่น Does he knows about this? ประโยคนี้ผิดยังไง ผิดตรงที่มี does ในประโยคแล้วยังไป s ให้กริยาอีก ต้องแก้ไขใหม่เป็น Does he know about this? อีกตัวอย่าง (ในรูป past simple) เช่น Did you saw what happened? ประโยคนี้ผิดไหม แน่นอน ผิดตรงที่มี did ในประโยคแล้วยังไปผันกริยาหลักให้เป็น past-tense อีก ต้องแก้เป็น Did you see what happened?
10) สุดท้าย Did you see this coming? ตัว s ใน does ต้องออกเสียงเป็น....... /dʌz/
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.