ฉบับที่๘๗วันเสาร์ที่๒๕พฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๖๒
เรื่องพระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา?
ก่อนอื่นต้องขอบอกที่มาของหัวข้อเรื่องวันนี้ว่าเกิดจากผู้ชมรายการได้ขอให้Book Story ช่วยวิเคราะห์บทความหนึ่งที่ได้เขียนไว้ในwebที่ชื่อว่า
https://thestandard.co/monk-and-sexual-diversity/โดยมีหัวข้อเรื่องว่า“ พระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา”
ในบทความนี้ได้ไฮไลท์3 ประเด็น
1.สังคมไทยส่วนใหญ่มีอคติกับพระที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเกิดขึ้นจากอคติที่มีอยู่แล้วกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
2.ยิ่งกว่านั้นในทางศาสนายังพยายามสร้างพื้นที่ที่เรียกว่า‘ควรปราศจากความหลากหลายทางเพศ’ โดยพยายามปิดกันการเข้าถึงการบวชและการบรรลุธรรมของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ
3.แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไปกว่าผลงานหรือความดีเพียงอย่างเดียวที่เราควรจะยอมรับเขาคือการยอมรับเขาในฐานะ‘มนุษย์คนหนึ่ง’ ที่มีสิทธิมีเสรีภาพที่จะเข้าถึงการบวชเข้าถึงธรรมที่เป็นแกนของศาสนาอย่างเท่าเทียมกับเพศชายเพศหญิงได้
รายการbook story ได้อ่านจบแล้วก่อนอื่นขอชื่นชมผู้เขียนบทความที่กล้าเขียนประเด็นเรื่องแบบนี้ซึ่งก่อนจะวิเคราะห์อยากรู้approach ของผู้เขียนว่าทางสายไหนเมื่อพิจารณาดูแล้วคงเป็นสายสังคมศาสตร์
ในฐานะBook Story เป็นผู้เขียนที่เลื่อมใสในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงต้องการหาคำตอบว่าบทความนี้สะท้อนถึงหลักธรรมใดได้บ้างแล้วข้อมูลครบถ้วนเพียงใด
ผู้เขียนพบว่าประเด็นที่บทความนี้นำเสนอเพื่อบอกว่า
1.มายาคติในกระแสหลักของพุทธศาสนามองว่าพระตุ๊ดเณรแต๋วไม่ดีโดยอ้างพระวินัยและข่าวที่ไม่ดี
2.ทางสังคมชาวบ้านชื่นชมในข้อดีของพระตุ๊ดเณรแต๋ว
เมื่อวิเคราะห์ในมุมมองของสายศาสนา
1.พระธรรมวินัยคือศาสดา
2.สามารถยืดหยุ่นพระวินัยข้อเล็กๆได้ถ้าสงฆ์เห็นสมควร
3.ศาสนาในสังคมแปรเปลี่ยนไปตามสังคมนั้นๆไม่ได้มองว่าถูกผิดควรไม่ควรถ้าทำให้สังคมดีศาสนาดี
กล่าวคือเรื่องความหลากหลายทางเพศนี้ตามพระวินัยพระอุปัชฌาย์จะมีความผิดตามพระวินัยหากพบผู้ที่ยังมีราคะผิดเพศ(ใช้คำนี้น่ะครับถ้าทางศาสนาจะกล่าวถึงผู้ที่ไม่ใช่ชาย5 จำพวกที่บวชไม่ได้รวมถึงผู้ชายที่ยังชอบดู18+ก็ไม่ให้บวช)
ถ้าบวชแล้วมีอาการราคะที่ผิดปกติทางเพศพระอุปัชฌาย์เป็นผู้พิจารณาให้ทำการลาสิกขาตามพระธรรมวินัย
เมื่อขยายความพระวินัยมีไว้เพื่อ10 อย่าง
1.เพื่อความดีแห่งหมู่สงฆ์
2.เพื่อความสำราญ(ไม่เดือดร้อน) แห่งหมู่
3.เพื่อกำจัดบุคคลเก้อยาก(หน้าด้าน, ไม่ละอาย)
4.เพื่อความอยู่เย็นผาสุกแห่งผู้มีศีลเป็นที่รัก
5.เพื่อระวังอาสวะ(กิเลสที่หมักหมมนอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต)
6.เพื่อระวังอาสวะ(กิเลสที่หมักหมมนอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต) ที่จะมีต่อไปวันข้างหน้า
7.เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
8.เพื่อความเจริญยิ่งๆของผู้เลื่อมใสแล้ว
9.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม(ธรรมอันดี)
10.เพื่อเอื่อเฟื้อพระวินัย...
ดังนั้นพระตุ๊ดเณรแต๋วทำงานดี ชาวบ้านชอบแต่วัตถุประสงค์หลักของการออกบวชคือสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์
ถ้าเป้าหมายการหมดกิเลสไม่ได้อยู่ในใจยังรักสวยรักงามไม่ข่มราคจริตจะเป็นการหลอกชาวบ้านว่าออกบวชมาเพื่อสิ่งใด
ถ้าบอกว่าบรรลุธรรมได้น่ะแต่ขึ้นชื่อว่าหมู่สงฆ์จะไม่สำราญแน่แท้ข้อเสียจะเกิดขึ้นตามมามากมายอาจจะมีรักพระกับพระหึงหวงข่มขืนซึ่งเรื่องแบบนี้ก็มีมาแล้วแม้ภิกษุกับภิกษุณีก็ตามจึงมีพระวินัยข้อห้ามไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้าพระอุปัชฌาย์พิจารณาแล้วปุริโสสิเห็นสมควรบวชก็ต้องป้องกันปัญหาที่ตามมาให้ดี
พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างไรเรื่องบวชสำคัญมากพระเณรแม้กษัตริย์ก็กราบไว้เป็นเพศที่สูงส่งมากจะอ้างเรื่องสิทธิความเท่าเทียมในเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆพูดไปก็หาว่าเหลื่อมล้ำแต่มันมีข้อดีข้อเสียที่มากมายจริงๆ
สรุปเรื่องพระตุ๊ดเณรแต๋วสามารถสร้างศรัทธาในการทำงานเก่งบรรลุธรรมได้ก็จริงอยู่แต่ปัญหาต่างๆจะเกิดขึ้นตามมามากกว่ามากเพราะหมู่สงฆ์สำคัญที่สุดแม้จะถูกมองว่ามายาคติเหลื่อมล้ำตัวร้ายแต่มันคือความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ตามพระธรรมวินัยถ้าเรายอมรับพระตุ๊ดเณรแต๋วในพระพุทธศาสนาหมู่สงฆ์คงปั่นป่วนไม่ใช่น้อยด้วยเพศภาวะด้วยบริบทสังฆกรรมและกิจวัตรของพระภิกษุหมู่สงฆ์ที่ทำร่วมกันคงไม่ผาสุกอย่างแน่นอนในพุทธบริษัทฝ่ายภิกษุฉันใดก็ฉันนั้น
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไรแลกเปลี่ยนความรู้กันในComment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter, pantip ...กันนะครับขอบคุณครับ
B.S.
25 พ.ค. 2562
ตอนพระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา?
เวลา14.00-14.20 น.
พระกับความหลากหลายทางเพศ และสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา?
เรื่องพระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา?
ก่อนอื่นต้องขอบอกที่มาของหัวข้อเรื่องวันนี้ว่าเกิดจากผู้ชมรายการได้ขอให้Book Story ช่วยวิเคราะห์บทความหนึ่งที่ได้เขียนไว้ในwebที่ชื่อว่า https://thestandard.co/monk-and-sexual-diversity/โดยมีหัวข้อเรื่องว่า“ พระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา”
ในบทความนี้ได้ไฮไลท์3 ประเด็น
1.สังคมไทยส่วนใหญ่มีอคติกับพระที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเกิดขึ้นจากอคติที่มีอยู่แล้วกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
2.ยิ่งกว่านั้นในทางศาสนายังพยายามสร้างพื้นที่ที่เรียกว่า‘ควรปราศจากความหลากหลายทางเพศ’ โดยพยายามปิดกันการเข้าถึงการบวชและการบรรลุธรรมของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ
3.แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไปกว่าผลงานหรือความดีเพียงอย่างเดียวที่เราควรจะยอมรับเขาคือการยอมรับเขาในฐานะ‘มนุษย์คนหนึ่ง’ ที่มีสิทธิมีเสรีภาพที่จะเข้าถึงการบวชเข้าถึงธรรมที่เป็นแกนของศาสนาอย่างเท่าเทียมกับเพศชายเพศหญิงได้
รายการbook story ได้อ่านจบแล้วก่อนอื่นขอชื่นชมผู้เขียนบทความที่กล้าเขียนประเด็นเรื่องแบบนี้ซึ่งก่อนจะวิเคราะห์อยากรู้approach ของผู้เขียนว่าทางสายไหนเมื่อพิจารณาดูแล้วคงเป็นสายสังคมศาสตร์
ในฐานะBook Story เป็นผู้เขียนที่เลื่อมใสในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงต้องการหาคำตอบว่าบทความนี้สะท้อนถึงหลักธรรมใดได้บ้างแล้วข้อมูลครบถ้วนเพียงใด
ผู้เขียนพบว่าประเด็นที่บทความนี้นำเสนอเพื่อบอกว่า
1.มายาคติในกระแสหลักของพุทธศาสนามองว่าพระตุ๊ดเณรแต๋วไม่ดีโดยอ้างพระวินัยและข่าวที่ไม่ดี
2.ทางสังคมชาวบ้านชื่นชมในข้อดีของพระตุ๊ดเณรแต๋ว
เมื่อวิเคราะห์ในมุมมองของสายศาสนา
1.พระธรรมวินัยคือศาสดา
2.สามารถยืดหยุ่นพระวินัยข้อเล็กๆได้ถ้าสงฆ์เห็นสมควร
3.ศาสนาในสังคมแปรเปลี่ยนไปตามสังคมนั้นๆไม่ได้มองว่าถูกผิดควรไม่ควรถ้าทำให้สังคมดีศาสนาดี
กล่าวคือเรื่องความหลากหลายทางเพศนี้ตามพระวินัยพระอุปัชฌาย์จะมีความผิดตามพระวินัยหากพบผู้ที่ยังมีราคะผิดเพศ(ใช้คำนี้น่ะครับถ้าทางศาสนาจะกล่าวถึงผู้ที่ไม่ใช่ชาย5 จำพวกที่บวชไม่ได้รวมถึงผู้ชายที่ยังชอบดู18+ก็ไม่ให้บวช)
ถ้าบวชแล้วมีอาการราคะที่ผิดปกติทางเพศพระอุปัชฌาย์เป็นผู้พิจารณาให้ทำการลาสิกขาตามพระธรรมวินัย
เมื่อขยายความพระวินัยมีไว้เพื่อ10 อย่าง
1.เพื่อความดีแห่งหมู่สงฆ์
2.เพื่อความสำราญ(ไม่เดือดร้อน) แห่งหมู่
3.เพื่อกำจัดบุคคลเก้อยาก(หน้าด้าน, ไม่ละอาย)
4.เพื่อความอยู่เย็นผาสุกแห่งผู้มีศีลเป็นที่รัก
5.เพื่อระวังอาสวะ(กิเลสที่หมักหมมนอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต)
6.เพื่อระวังอาสวะ(กิเลสที่หมักหมมนอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต) ที่จะมีต่อไปวันข้างหน้า
7.เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
8.เพื่อความเจริญยิ่งๆของผู้เลื่อมใสแล้ว
9.เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม(ธรรมอันดี)
10.เพื่อเอื่อเฟื้อพระวินัย...
ดังนั้นพระตุ๊ดเณรแต๋วทำงานดี ชาวบ้านชอบแต่วัตถุประสงค์หลักของการออกบวชคือสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์
ถ้าเป้าหมายการหมดกิเลสไม่ได้อยู่ในใจยังรักสวยรักงามไม่ข่มราคจริตจะเป็นการหลอกชาวบ้านว่าออกบวชมาเพื่อสิ่งใด
ถ้าบอกว่าบรรลุธรรมได้น่ะแต่ขึ้นชื่อว่าหมู่สงฆ์จะไม่สำราญแน่แท้ข้อเสียจะเกิดขึ้นตามมามากมายอาจจะมีรักพระกับพระหึงหวงข่มขืนซึ่งเรื่องแบบนี้ก็มีมาแล้วแม้ภิกษุกับภิกษุณีก็ตามจึงมีพระวินัยข้อห้ามไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้าพระอุปัชฌาย์พิจารณาแล้วปุริโสสิเห็นสมควรบวชก็ต้องป้องกันปัญหาที่ตามมาให้ดี
พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างไรเรื่องบวชสำคัญมากพระเณรแม้กษัตริย์ก็กราบไว้เป็นเพศที่สูงส่งมากจะอ้างเรื่องสิทธิความเท่าเทียมในเรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆพูดไปก็หาว่าเหลื่อมล้ำแต่มันมีข้อดีข้อเสียที่มากมายจริงๆ
สรุปเรื่องพระตุ๊ดเณรแต๋วสามารถสร้างศรัทธาในการทำงานเก่งบรรลุธรรมได้ก็จริงอยู่แต่ปัญหาต่างๆจะเกิดขึ้นตามมามากกว่ามากเพราะหมู่สงฆ์สำคัญที่สุดแม้จะถูกมองว่ามายาคติเหลื่อมล้ำตัวร้ายแต่มันคือความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ตามพระธรรมวินัยถ้าเรายอมรับพระตุ๊ดเณรแต๋วในพระพุทธศาสนาหมู่สงฆ์คงปั่นป่วนไม่ใช่น้อยด้วยเพศภาวะด้วยบริบทสังฆกรรมและกิจวัตรของพระภิกษุหมู่สงฆ์ที่ทำร่วมกันคงไม่ผาสุกอย่างแน่นอนในพุทธบริษัทฝ่ายภิกษุฉันใดก็ฉันนั้น
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไรแลกเปลี่ยนความรู้กันในComment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter, pantip ...กันนะครับขอบคุณครับ
B.S.
25 พ.ค. 2562
ตอนพระกับความหลากหลายทางเพศและสิ่งที่ควรยอมรับมากกว่าตัวร้ายของพุทธศาสนา?
เวลา14.00-14.20 น.