พระราชปริยัติเวที (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9) รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (กทม.) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า จากกรณีพระภิกษุสามเณรที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และเห็นว่าไม่สมควรให้บุคคลเหล่านี้บวชเป็นพระภิกษุสามเณรนั้น การป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมาบวชทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะสังเกตกิริยาแล้วในเบื้องต้น บางคนก็ดูเป็นปกติ แต่พอเข้ามาบวชได้ระยะหนึ่งก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ดังนั้น ปีนี้ทางเจ้าคณะใหญ่หนกลางจึงร่วมกับเจ้าคณะ กทม.จัดอบรมพระอุปัชฌาย์ โดยเน้นหนักเรื่องการสืบสวนบุคคลที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะพระอุปัชฌาย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าพระอุปัชฌาย์เข้มแข็งและมีการตรวจสอบที่ดีงาม ก็ถือว่าได้ป้องกันส่วนหนึ่งแล้ว
"สำหรับพระตุ๊ดเณรแต๋วนั้น ถ้าพูดกันตามหลักความจริง บางรูปอาจจะยังไม่ถึงขั้นปาราชิกตามที่พระวินัยกำหนดไว้ เพราะต้องเป็นบุคคลที่เพศกำกวม หรือมีสองเพศถึงจะเรียกว่าเป็นบัณเฑาะก์ ถ้าตัวเป็นชายใจเป็นหญิง ทางพระวินัยไม่ได้กำหนดห้ามบวชไว้ แต่สังคมปัจจุบันไม่ยอมรับเพศที่สาม จึงต้องตรวจสอบกันให้ดีก่อนที่จะให้อุปสมบท ขั้นต้นต้องให้พระอุปัชฌาย์สืบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน ถ้าพบว่ามีลักษณะที่เบี่ยงเบน แต่งกายเลียนแบบฆราวาส แนะให้พระอุปัชฌาย์ทำการสึกพระหรือเณรรูปนั้น เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาไว้ แม้ในปัจจุบันจะมีผู้มาบวชน้อยก็จริง แต่ถ้าเราไม่คัดสรรหรือไม่ขจัดคนที่เป็นภัย ก็จะทำให้ศาสนาเสื่อมลง" พระราชปริยัติเวทีกล่าว
พระครูวรกิจจาทร (ถวัลย์ จกฺกวโร) เจ้าคณะเขตสวนหลวง เจ้าอาวาสวัดปากบ่อ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นพระอุปัชฌาย์ได้คัดกรองผู้ที่เข้าบวชพอสมควร ก่อนจะให้บวชต้องดูคุณสมบัติผู้บวชตามพระธรรมวินัยเสียก่อน ขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบดูแล้วว่าผู้บวชมีลักษณะไม่พึงประสงค์ ทางวัดได้ยืดหยุ่นในการบวชให้ แต่ต้องบวชแบบมีเงื่อนไข โดยระบุว่าบวชกี่วัน และสึกวันไหน ถ้าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามพระวินัยทุกข้อ ทางวัดจะตั้งกำแพงไว้สูงมาก บางคนเห็นแล้วถอดใจถึงขั้นยกเลิกงานบวชก็มี
"กำแพงที่ว่าเป็นกติกาของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ถ้าพระนวกะปีนขึ้นได้ แสดงว่ามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แต่ถ้ายังปฏิบัติตนไม่เหมาะสมแก่สมณเพศ ทางเราจะงัดแผนสุดท้าย โดยให้ผู้นั้นเข้าอบรมปฏิบัติกรรมฐานแบบเข้มข้น 3 เดือน ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ได้ ถึงจะให้การยอมรับ พูดกันตามตรงว่าการให้คนที่เป็นกะเทยมาบวชไม่หนักใจเท่าคนที่ติดยา เพราะคนติดยาสังเกตอาการยากกว่า ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์ กทม.ระบุว่าผู้ที่รับเลือกเป็นพระสังฆาธิการต้องไม่เป็นบัณเฑาะก์ หรือตุ๊ด ถ้าตรวจสอบพบจะตัดสิทธิทันที ส่วนแนวทางแก้ไขควรมีบัญญัติที่ชัดเจนในกฎหมายสงฆ์ว่า ผู้มีลักษณะ หรือพฤติกรรมแบบไหนห้ามบวช และควรจะพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ" พระครูวรกิจจาทรกล่าว
มติชน
ปัญหาเดิมๆ การคัดสรรบุคคลาการและการฝึกอบรม
เจ้าคณะกทม.สั่งเข้ม"ตุ๊ด-แต๋ว"บวช รับสังเกตยาก-พระวินัยก็ไม่ได้ห้ามไว้
"สำหรับพระตุ๊ดเณรแต๋วนั้น ถ้าพูดกันตามหลักความจริง บางรูปอาจจะยังไม่ถึงขั้นปาราชิกตามที่พระวินัยกำหนดไว้ เพราะต้องเป็นบุคคลที่เพศกำกวม หรือมีสองเพศถึงจะเรียกว่าเป็นบัณเฑาะก์ ถ้าตัวเป็นชายใจเป็นหญิง ทางพระวินัยไม่ได้กำหนดห้ามบวชไว้ แต่สังคมปัจจุบันไม่ยอมรับเพศที่สาม จึงต้องตรวจสอบกันให้ดีก่อนที่จะให้อุปสมบท ขั้นต้นต้องให้พระอุปัชฌาย์สืบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน ถ้าพบว่ามีลักษณะที่เบี่ยงเบน แต่งกายเลียนแบบฆราวาส แนะให้พระอุปัชฌาย์ทำการสึกพระหรือเณรรูปนั้น เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาไว้ แม้ในปัจจุบันจะมีผู้มาบวชน้อยก็จริง แต่ถ้าเราไม่คัดสรรหรือไม่ขจัดคนที่เป็นภัย ก็จะทำให้ศาสนาเสื่อมลง" พระราชปริยัติเวทีกล่าว
พระครูวรกิจจาทร (ถวัลย์ จกฺกวโร) เจ้าคณะเขตสวนหลวง เจ้าอาวาสวัดปากบ่อ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นพระอุปัชฌาย์ได้คัดกรองผู้ที่เข้าบวชพอสมควร ก่อนจะให้บวชต้องดูคุณสมบัติผู้บวชตามพระธรรมวินัยเสียก่อน ขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบดูแล้วว่าผู้บวชมีลักษณะไม่พึงประสงค์ ทางวัดได้ยืดหยุ่นในการบวชให้ แต่ต้องบวชแบบมีเงื่อนไข โดยระบุว่าบวชกี่วัน และสึกวันไหน ถ้าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามพระวินัยทุกข้อ ทางวัดจะตั้งกำแพงไว้สูงมาก บางคนเห็นแล้วถอดใจถึงขั้นยกเลิกงานบวชก็มี
"กำแพงที่ว่าเป็นกติกาของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ถ้าพระนวกะปีนขึ้นได้ แสดงว่ามีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แต่ถ้ายังปฏิบัติตนไม่เหมาะสมแก่สมณเพศ ทางเราจะงัดแผนสุดท้าย โดยให้ผู้นั้นเข้าอบรมปฏิบัติกรรมฐานแบบเข้มข้น 3 เดือน ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ได้ ถึงจะให้การยอมรับ พูดกันตามตรงว่าการให้คนที่เป็นกะเทยมาบวชไม่หนักใจเท่าคนที่ติดยา เพราะคนติดยาสังเกตอาการยากกว่า ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์ กทม.ระบุว่าผู้ที่รับเลือกเป็นพระสังฆาธิการต้องไม่เป็นบัณเฑาะก์ หรือตุ๊ด ถ้าตรวจสอบพบจะตัดสิทธิทันที ส่วนแนวทางแก้ไขควรมีบัญญัติที่ชัดเจนในกฎหมายสงฆ์ว่า ผู้มีลักษณะ หรือพฤติกรรมแบบไหนห้ามบวช และควรจะพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ" พระครูวรกิจจาทรกล่าว
มติชน
ปัญหาเดิมๆ การคัดสรรบุคคลาการและการฝึกอบรม