สวัสดีค่ะ
เราอยากจะมาแบ่งปัน ก้าวแรกของการไปพาตัวเองไปพบจิตแพทย์ นักจิตบำบัด ที่ รพ ศรีธัญญาค่ะ
เราคิดว่าคงมีหลายๆคน รู้สึกถึงความยากเหมือนเรา เลยอยากมาแบ่งปัน
เกริ่นยาวๆซักนิด
เราเป็นคนที่กลัว กังวลทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างโดยเฉพาะก้าวแรกเสมอ อย่างตอนที่เราเปลี่ยนจากหารพ.เอกชน ประกันไม่ต่ออายุ เราเลยไปใช้สิทธิบัตรทอง
มันน่าจะง่ายๆ แต่เราตั้งหลัก หาข้อมูลนานหลายเดือน ซื้อยากินเองไป 3 เดือน ใช้ยารพ.เดิมที่เหลืออยู่จนหมด ปาไปร่วมๆ 6 เดือน กว่าจะก้าวไปยืนหน้าเคาน์เตอร์ยื่นทำบัตรผู้ป่วยใหม่ได้
ความที่เรารู้ถึงความยากในการควบคุมอารมณ์ ความเซ็งซึมในชีวิตที่มากขึ้น เป็นๆหายๆ จนลองคุยกับหมอจิตแพทย์ท่านนึงผ่าน Inbox ของ facebook แต่ไม่ได้ปรึกษาอะไรมากไปกว่า อาการแบบนี้ ควรพบจิตแพทย์รึยัง คำตอบที่ได้มา คือ "ครับ ควรไปพบจิตแพทย์"
เราได้คำยืนยันจากคุณหมอแล้วควรไปพบจิตแพทย์ ทิ้งระยะมาพักนึง เพื่อนสนิทก็แนะนำว่าไปเถอะ แต่คนที่ไม่เห็นด้วยคือแฟน และ แม่
แฟนบอกว่าเราไม่ได้เป็นอะไร แค่ใจร้อน แม่บอกว่าไปเรียนทำสมาธิ เหตุการณ์คลี่คลายแล้ว มันจะดีขึ้น
แบบทดสอบเกือบทุกชนิดที่เจอตามสื่อ online แนะนำให้เราพบจิตแพทย์ อาการเราขึ้นๆลงๆ (ไม่ขอเล่าลักษณะอาการนะคะ เราคิดว่า ต่างคน ต่างอาการ คนที่สงสัย ทำแบบเราก็ได้นะคะ inbox ไปถาม คุณหมอจิตแพทย์เลยแต่อย่าให้ท่านวินิจฉัยนะ เรากลัวไปรบกวนเวลาคุณหมอ)
เราคาดหวังลึกๆว่าน่าจะดีขึ้น ถ้าปัญหาหมด แต่ปัญหาไม่หมด และไม่รู้จะหมดเมื่อไหร่ ตัวลั่นไกหรือปัจจัยกระตุ้น ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน นับตั้งแต่เราปักใจแล้วว่า เราต้องไปหาจิตแพทย์ มันใช้การเตรียมใจนานมาก ล่วงเลยจนผ่านมา 3 ปี
เรารู้สึกถึงความผิดปกติมาก่อนinboxไปถามคุณหมอ เกือบๆ 2 ปี
รวมๆจนถึงตอนนี้คือ 5 ปี กับการเป็นๆ หายๆ
เราหาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายตามที่ต่างๆ ในการพบจิตแพทย์ เราต้องการค่าใช้จ่ายที่เรารับได้ เพราะ การรักษาต้องต่อเนื่องแน่ๆ เราค้นเจอรพ. สมเด็จเจ้าพระยา ทุกอย่างดูดี แต่นั่นแหละค่ะ มันยากที่ก้าวแรก เรากังวลเรื่องการเดินทาง ที่จอดรถ รวมถึง คนที่บ้าน เรื่องลูก ว่าจะไปรร.ยังไง ใครไปส่ง ฯลฯ
แล้วทุกอย่างก็วนเวียนไปมากับการหาคำตอบของเรา สุดท้าย ผ่านมาอีก 1 ปี กับการหาข้อมูล และความกังวลใจ ส่วนอาการ ไม่ได้ดีขึ้นเลย มีเพียงทิ้งช่วง แต่ก็มีปัจจัยกระตุ้นเพิ่มที่เรารู้มากขึ้น
อยู่มาวันนึง เรานั่ง MRT สีม่วง ผ่านกระทรวงสาธารณะสุข แล้วเห็นป้านไกลๆ เหมือนจะเขียน(เดา)ว่า รพ.ศรีธัญญา แต่มาดูอีกกี่ครั้งเราว่า ครั้งแรกที่เห็นเหมือนเราจะคิดไปเองอย่างเดียว (ดวงล้วนๆ)
เราเลยไปหาข้อมูล ถึงได้รู้ว่า รพ.ศรีธัญญา อยู่ในกระทรวงสาธารณะสุข และมีสถานี MRT สายสีม่วงผ่าน ทุกอย่างดูง่ายขึ้น เราน่าจะไปโดยรถไฟฟ้าได้
เราเริ่มเตรียมแผน หาข้อมูลอีกครั้ง แต่เมื่อวันที่เราเตรียมพร้อม เตรียมเอกสาร เตรียมลูก เตรียมเคลียร์งาน เราเกิดความรู้สึกว่า เราดีขึ้นแล้ว มันกลับมาอีกแล้วความรู้แบบนี้ ความรู้สึกว่า ไม่ต้องการจิตแพทย์ เดี๋ยวก็หาย มันจะมาทุกครั้งที่เราสงบขึ้น อารมณ์นิ่งขึ้น เป็นความรู้สึกที่ล้มเลิกความตั้งใจในการไปพบจิตแพทย์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ก่อนหน้านั้น อีก 2 ปีไม่นับเพราะไม่รุ้ตัวว่าต้องพบจิตแพทย์)
เราหาตัวช่วย โทรไปหาเพื่อนที่เคยแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อนบอกว่าไปเถอะ อย่างน้อยก็จะได้รู้ตัว ป่วย ไม่ป่วย หมอจะบอกได้
การเดินทาง
เมื่อทุกอย่างพร้อม เราไปจอดรถที่จอดแล้วจร นั่งรถไฟฟ้าไปลงสถานีกระทรวงสาธารณะสุข ลงประตูที่เขียนว่า กระทรวงสาธารณะสุข ก่อนลง เราจะเห็น ซุ้มประตูใหญ่ของกระทรวง พอลงมาเราเดินไปทางนั้นลอดซุ้มประตูเข้าไป เดินผ่านซุ้มรปภ จะมองเห็น อาคารมีป้ายว่า เพื่อน โรงพยาลบาล ศรีธัญญา อยู่ด้านหน้า ด้านข้างมีลานจอดรถ เดินผ่านไป จะเห็น อาคารใหญ่ สูงหลายชั้น เขียนว่า โรงพยาบาลศรีธัญญา เดินขึ้นบันได ผ่านประตูหน้าเข้าไป ในอาคาร
ระหว่างทาง ถามทิศ ถามทางจากรปภได้ตลอดทาง แต่เรากลัว และ คิดว่า google map ที่ดูมาน่าจะถูกต้องเลยไม่ถามใคร ใช้การชะเง้ออย่างเดียว
การเริ่มต้นเป็นคนป่วย
เมื่อเข้ามาในอาคาร เคาน์เตอร์ตรงหน้าประตู เดินไปถามเรื่องทำบัตรใหม่ เจ้าหน้าที่จะให้ใบสมัครมาเขียน เมื่อเขียนประวัติเสร็จ ส่งคืนเจ้าหน้าที่คนเดิม รับบัตรคิว แล้วมานั่งรอ
เรามาถึงรพ. 7:30 พอดีกับที่เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เรียกผู้ป่วยใหม่ไปรับเอกสารมากรอกประวัติ ถ้ามาถึงก่อนก็นั่งรอจนกว่า เจ้าหน้าที่จะเรียกไปรับเอกสารมากรอก เจ้าหน้าที่จะให้ไปวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ที่ริมหน้าต่าง
ซักพักใหญ่ๆ โต๊ะที่อยู่ข้างห้องน้ำ เขียนป้ายว่า ผู้ป่วยใหม่/บัตรใหม่ มี 2 โต๊ะติดกันเรียกประกาศออกไมค์ตามบัตรคิวที่ได้มา ไปที่โต๊ะแรก ตรวจสอบสิทธิ เจ้าหน้าที่จะแนะนำเรื่องสิทธิต่างๆ เช่น เบิกตรง บัตรทอง ชำระเอง
เมื่อระบุสิทธิได้ จะย้ายมาโต๊ะคัดกรอง พยาบาลจะถามอาการที่มาวันนี้คร่าวๆ แปะสติ๊กเกอร์ลงในบัตรคิวที่เหมือนกัน 3 ใบ แล้วให้เราถือบัตรคิวไปรอที่หน้าห้องนักสังคมสงเคราะห์ เดินผ่านหน้าห้องน้ำไป มีร้านน้ำเล็กๆ อยู่ติดกัน
นั่งรอเจ้าหน้าที่เรียกไปพบนักสังคมสงเคราะห์ได้ไม่นาน ก็ได้พบตามใบคิวที่ได้มา
นักสังคมสงเคราะห์จะสอบถามอาการ รายละเอียดอาการที่มากขึ้น และให้ทำแบบทดสอบ
หลับจากนั้น ทางนักสังคมสงเคราะห์ จะให้ บัตรคิวห้องตรวจ มาเพิ่มอีกใบ และให้ไปรอหน้าห้องตรวจตามที่รับบัตรมา
ระหว่ารอพบคุณหมอ ซึ่งใช้เวลาพอประมาณ ตั้งใจฟังนิดนึง เพราะ มีประกาศทั้ง ออกไมค์ สำหรับคนที่ตรวจเสร็จแล้ว กับประกาศ ปากเปล่า สำหรับคนมารอตรวจ
เมื่อพบคุณหมอ ไม่ต้องกังวล เราไม่ถูกตัดสินใดๆ คุณหมอถาม เราตอบ อยากเล่าอะไรก็ตอบไป หาทิชชู่ติดตัวไปด้วยก็ดี สำหรับเรา น้ำตาออกมาตั้งแต่ เจอพยาบาลคัดกรอง ;___; กว่าจะมาเจอคุณหมอก็หมดไปเยอะอยู่
คุณหมอจะสรุปอากาศ สรุปยา และ การรักษา
ของเราคุณหมอให้ไปพบนักจิตบำบัด ที่ชั้น 2
พอออกมาจากห้องตรวจ ก็รอเจ้าหน้าที่เรียกบัตรคิว รอนานพอๆ กับรอเข้าห้องตรวจ
เคาน์เตอร์นี้จะบอกให้ไปไหนต่อที่ไหน ยังไงต่อไป เวลาที่เคาน์เจอร์นี้จบที่ 11:30
เราต้องไปพบนักจิตบำบัดที่ชั้น 2 เราเห็นบันไดแค่อันเดียว คืออันนั้นแหละ
แต่ใกล้เที่ยงแล้วทางนักจิตวิทยาให้มาทานข้าวก่อน แล้วค่อนขึ้นไปพบยาวๆ
โรงอาหารอยู่ด้านหลังเปิดประตูออกไป ราคาเป็นกันเอง หรือด้านหน้าปากซอย ระหว่าง สถานีรถไฟฟ้า มาที่รพ. ก็มีทั้งร้านอาหาร และ 7-11
สำหรับเรา พอ 13:00 ขึ้นไปพบนักจิตวิทยา รอในโถง จนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาเรียก ตอนที่เราขึ้นไป มีคนรอ ราวๆ 6-8 คน รวมญาติด้วย ห้องโล่งๆ มีโซฟา
เราใช้เวลาราว 2 ชั่วโมงกับนักจิตบำบัด แล้วลงมาติดต่อ การเงิน เพื่อจ่ายเงิน
ของเรา มีพบคุณหมอ และคุยกับนักจิตวิทยา ค่ายา ค่าบริการ รพ. ราคาประมาณ 49x บาท
และไปรับยาที่ห้องรับยา สงสัยอะไรเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ หรือยาที่กำลังได้มาใหม่ ถามเภสัชกรได้เลย เราสงสัยเรื่องบริจาคเลือด เภสัชกรบอกว่าไม่ได้ แต่ทำบุญทางอื่นได้ เช่นเสื้อของรพ. พร้อมกับหันไปหยิบเสื้อมาโชว์ หน้าเคาน์เตอร์รับยา น่ารักมากๆเลย ^^ หมายถึงเภสัชกรนะคะ
จบวันแรก เราออกมาจาก รพ.ประมาณ 16:00 กับการร้องไห้จนตาบวม
อีกส่วนหนึ่งของใจที่พองโตกว่า ความพยายามในการต่อสู้กับใจตัวเอง มันถึงเส้นชัยแล้ว ที่เหลือคือการเดินทางตามใบนัดที่ได้มา
บรรยากาศ รพ. สดวก สบาย แอร์เย็น โซฟาเยอะ เก้าอี้แยะ สอาด สว่าง ไม่เอะอะ ตกแต่งสวยงาม
และที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ทุกคนใจดีหมดเลย
จบการไปครั้งแรกด้วยใจพองโตขึ้น
ครั้งที่2 คือการไปตามนัดกับนักจิตบำบัด
ใบนัดกระดาษใบใหญ่สีขาว
ยื่นใบนัดก่อนเวลาเล็กน้อยที่เคาน์เตอร์ชั้น 1
ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง กับนักจิตบำบัด แล้วลงมาชำระเงินที่ช่องการเงินชั้น 1
ค่าใช้จ่ายครั้งนี้ คือค่าพบนักจิตบำบัด รวม 3×× บาท
ครั้งที่ 3 ผ่านมาจากครั้งแรกร่วมๆ1 เดือน
คือการไปพบจิตแพทย์ หลายอย่างในชีวิตดีขึ้น ถ้าไม่นับว่าต้องพึ่งยาเพื่อการนอน
เริ่มรู้จักวิธีการจัดการอารมณ์ จากนักจิตบำบัด การวนความคิดกับความผิดต่อตัวเองน้อยลง คุณหมอจ่ายยา และนัดอีกครั้ง อีก 1 เดือน
ค่าใช้จ่ายการพบจิตแพทย์ และ ยาเพิ่มเติม 13× บาท
ครั้งนี้เราพาลูกสาว 6 ขวบไปด้วย พกของเล่นสมุดระบายสี หาโซฟาให้เธอนั่งเล่น ระหว่างที่เรารอ รอคิวคัดกรอง และรอพบหมอ ลูกสาวเราอยู่คนเดียวได้ มีที่ให้เธอนั่งระบายสี และไม่ร้อน รวมเวลาในรพ. 4 ชั่วโมงครึ่ง
ครั้งที่ 4 คือการนัดพบนักจิตบำบัดอีกครั้ง
ครั้งนี้เราได้ใบนัดสีฟ้าใบเล็ก
เราพาลูกสาวมาพบนักจิตบำบัดด้วย
เราเป็นเหตุ ลูกสาวเราได้ผลกระทบโดยตรงจากเรา และอย่างที่บอก เราใช้เวลาเกือบ 5 ปี พาตัวเองมารักษา ลูกสาวที่อยู่ข้างเรา อยู่กับแม่ที่ต้องการการรักษาแต่พาตัวเองมาไม่ได้ อยู่กับแม่ที่ป่วยมากกว่า 70% ของเวลาทั้งชีวิตของเขา
ครั้งนี้เราใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงครึ่งกับนักจิตบำบัด และได้กำลังใจกลับไป เรายิ้มมากขึ้น นักจิตบำบัดบอกมา ได้รู้ถึงแผลในใจของลูกสาว แม้ว่ามันผ่านมานาน แต่มันยังคงเป็นแผลในใจเค้าอยู่ และเรายังต้องเดินหน้าต่อไป
ค่าใช้จ่ายในครั้งนี้ ไม่มี
เรายังต้องพบนักจิตบำบัด พบจิตแพทย์ต่อ แต่เริ่มมีระยะห่างมาขึ้น
หวังว่าข้อมูลเริ่มการเดินทาง ค่าใช้จ่าย อาจจะพอช่วยใครหลายคนที่เคยเป็นเหมือนเราได้บ้างนะคะ
แบ่งปัน ก้าวแรกของการพาตัวเองไป รพ.ศรีธัญญา
เราอยากจะมาแบ่งปัน ก้าวแรกของการไปพาตัวเองไปพบจิตแพทย์ นักจิตบำบัด ที่ รพ ศรีธัญญาค่ะ
เราคิดว่าคงมีหลายๆคน รู้สึกถึงความยากเหมือนเรา เลยอยากมาแบ่งปัน
เกริ่นยาวๆซักนิด
เราเป็นคนที่กลัว กังวลทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างโดยเฉพาะก้าวแรกเสมอ อย่างตอนที่เราเปลี่ยนจากหารพ.เอกชน ประกันไม่ต่ออายุ เราเลยไปใช้สิทธิบัตรทอง
มันน่าจะง่ายๆ แต่เราตั้งหลัก หาข้อมูลนานหลายเดือน ซื้อยากินเองไป 3 เดือน ใช้ยารพ.เดิมที่เหลืออยู่จนหมด ปาไปร่วมๆ 6 เดือน กว่าจะก้าวไปยืนหน้าเคาน์เตอร์ยื่นทำบัตรผู้ป่วยใหม่ได้
ความที่เรารู้ถึงความยากในการควบคุมอารมณ์ ความเซ็งซึมในชีวิตที่มากขึ้น เป็นๆหายๆ จนลองคุยกับหมอจิตแพทย์ท่านนึงผ่าน Inbox ของ facebook แต่ไม่ได้ปรึกษาอะไรมากไปกว่า อาการแบบนี้ ควรพบจิตแพทย์รึยัง คำตอบที่ได้มา คือ "ครับ ควรไปพบจิตแพทย์"
เราได้คำยืนยันจากคุณหมอแล้วควรไปพบจิตแพทย์ ทิ้งระยะมาพักนึง เพื่อนสนิทก็แนะนำว่าไปเถอะ แต่คนที่ไม่เห็นด้วยคือแฟน และ แม่
แฟนบอกว่าเราไม่ได้เป็นอะไร แค่ใจร้อน แม่บอกว่าไปเรียนทำสมาธิ เหตุการณ์คลี่คลายแล้ว มันจะดีขึ้น
แบบทดสอบเกือบทุกชนิดที่เจอตามสื่อ online แนะนำให้เราพบจิตแพทย์ อาการเราขึ้นๆลงๆ (ไม่ขอเล่าลักษณะอาการนะคะ เราคิดว่า ต่างคน ต่างอาการ คนที่สงสัย ทำแบบเราก็ได้นะคะ inbox ไปถาม คุณหมอจิตแพทย์เลยแต่อย่าให้ท่านวินิจฉัยนะ เรากลัวไปรบกวนเวลาคุณหมอ)
เราคาดหวังลึกๆว่าน่าจะดีขึ้น ถ้าปัญหาหมด แต่ปัญหาไม่หมด และไม่รู้จะหมดเมื่อไหร่ ตัวลั่นไกหรือปัจจัยกระตุ้น ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน นับตั้งแต่เราปักใจแล้วว่า เราต้องไปหาจิตแพทย์ มันใช้การเตรียมใจนานมาก ล่วงเลยจนผ่านมา 3 ปี
เรารู้สึกถึงความผิดปกติมาก่อนinboxไปถามคุณหมอ เกือบๆ 2 ปี
รวมๆจนถึงตอนนี้คือ 5 ปี กับการเป็นๆ หายๆ
เราหาข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายตามที่ต่างๆ ในการพบจิตแพทย์ เราต้องการค่าใช้จ่ายที่เรารับได้ เพราะ การรักษาต้องต่อเนื่องแน่ๆ เราค้นเจอรพ. สมเด็จเจ้าพระยา ทุกอย่างดูดี แต่นั่นแหละค่ะ มันยากที่ก้าวแรก เรากังวลเรื่องการเดินทาง ที่จอดรถ รวมถึง คนที่บ้าน เรื่องลูก ว่าจะไปรร.ยังไง ใครไปส่ง ฯลฯ
แล้วทุกอย่างก็วนเวียนไปมากับการหาคำตอบของเรา สุดท้าย ผ่านมาอีก 1 ปี กับการหาข้อมูล และความกังวลใจ ส่วนอาการ ไม่ได้ดีขึ้นเลย มีเพียงทิ้งช่วง แต่ก็มีปัจจัยกระตุ้นเพิ่มที่เรารู้มากขึ้น
อยู่มาวันนึง เรานั่ง MRT สีม่วง ผ่านกระทรวงสาธารณะสุข แล้วเห็นป้านไกลๆ เหมือนจะเขียน(เดา)ว่า รพ.ศรีธัญญา แต่มาดูอีกกี่ครั้งเราว่า ครั้งแรกที่เห็นเหมือนเราจะคิดไปเองอย่างเดียว (ดวงล้วนๆ)
เราเลยไปหาข้อมูล ถึงได้รู้ว่า รพ.ศรีธัญญา อยู่ในกระทรวงสาธารณะสุข และมีสถานี MRT สายสีม่วงผ่าน ทุกอย่างดูง่ายขึ้น เราน่าจะไปโดยรถไฟฟ้าได้
เราเริ่มเตรียมแผน หาข้อมูลอีกครั้ง แต่เมื่อวันที่เราเตรียมพร้อม เตรียมเอกสาร เตรียมลูก เตรียมเคลียร์งาน เราเกิดความรู้สึกว่า เราดีขึ้นแล้ว มันกลับมาอีกแล้วความรู้แบบนี้ ความรู้สึกว่า ไม่ต้องการจิตแพทย์ เดี๋ยวก็หาย มันจะมาทุกครั้งที่เราสงบขึ้น อารมณ์นิ่งขึ้น เป็นความรู้สึกที่ล้มเลิกความตั้งใจในการไปพบจิตแพทย์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ก่อนหน้านั้น อีก 2 ปีไม่นับเพราะไม่รุ้ตัวว่าต้องพบจิตแพทย์)
เราหาตัวช่วย โทรไปหาเพื่อนที่เคยแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อนบอกว่าไปเถอะ อย่างน้อยก็จะได้รู้ตัว ป่วย ไม่ป่วย หมอจะบอกได้
การเดินทาง
เมื่อทุกอย่างพร้อม เราไปจอดรถที่จอดแล้วจร นั่งรถไฟฟ้าไปลงสถานีกระทรวงสาธารณะสุข ลงประตูที่เขียนว่า กระทรวงสาธารณะสุข ก่อนลง เราจะเห็น ซุ้มประตูใหญ่ของกระทรวง พอลงมาเราเดินไปทางนั้นลอดซุ้มประตูเข้าไป เดินผ่านซุ้มรปภ จะมองเห็น อาคารมีป้ายว่า เพื่อน โรงพยาลบาล ศรีธัญญา อยู่ด้านหน้า ด้านข้างมีลานจอดรถ เดินผ่านไป จะเห็น อาคารใหญ่ สูงหลายชั้น เขียนว่า โรงพยาบาลศรีธัญญา เดินขึ้นบันได ผ่านประตูหน้าเข้าไป ในอาคาร
ระหว่างทาง ถามทิศ ถามทางจากรปภได้ตลอดทาง แต่เรากลัว และ คิดว่า google map ที่ดูมาน่าจะถูกต้องเลยไม่ถามใคร ใช้การชะเง้ออย่างเดียว
การเริ่มต้นเป็นคนป่วย
เมื่อเข้ามาในอาคาร เคาน์เตอร์ตรงหน้าประตู เดินไปถามเรื่องทำบัตรใหม่ เจ้าหน้าที่จะให้ใบสมัครมาเขียน เมื่อเขียนประวัติเสร็จ ส่งคืนเจ้าหน้าที่คนเดิม รับบัตรคิว แล้วมานั่งรอ
เรามาถึงรพ. 7:30 พอดีกับที่เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เรียกผู้ป่วยใหม่ไปรับเอกสารมากรอกประวัติ ถ้ามาถึงก่อนก็นั่งรอจนกว่า เจ้าหน้าที่จะเรียกไปรับเอกสารมากรอก เจ้าหน้าที่จะให้ไปวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก ที่ริมหน้าต่าง
ซักพักใหญ่ๆ โต๊ะที่อยู่ข้างห้องน้ำ เขียนป้ายว่า ผู้ป่วยใหม่/บัตรใหม่ มี 2 โต๊ะติดกันเรียกประกาศออกไมค์ตามบัตรคิวที่ได้มา ไปที่โต๊ะแรก ตรวจสอบสิทธิ เจ้าหน้าที่จะแนะนำเรื่องสิทธิต่างๆ เช่น เบิกตรง บัตรทอง ชำระเอง
เมื่อระบุสิทธิได้ จะย้ายมาโต๊ะคัดกรอง พยาบาลจะถามอาการที่มาวันนี้คร่าวๆ แปะสติ๊กเกอร์ลงในบัตรคิวที่เหมือนกัน 3 ใบ แล้วให้เราถือบัตรคิวไปรอที่หน้าห้องนักสังคมสงเคราะห์ เดินผ่านหน้าห้องน้ำไป มีร้านน้ำเล็กๆ อยู่ติดกัน
นั่งรอเจ้าหน้าที่เรียกไปพบนักสังคมสงเคราะห์ได้ไม่นาน ก็ได้พบตามใบคิวที่ได้มา
นักสังคมสงเคราะห์จะสอบถามอาการ รายละเอียดอาการที่มากขึ้น และให้ทำแบบทดสอบ
หลับจากนั้น ทางนักสังคมสงเคราะห์ จะให้ บัตรคิวห้องตรวจ มาเพิ่มอีกใบ และให้ไปรอหน้าห้องตรวจตามที่รับบัตรมา
ระหว่ารอพบคุณหมอ ซึ่งใช้เวลาพอประมาณ ตั้งใจฟังนิดนึง เพราะ มีประกาศทั้ง ออกไมค์ สำหรับคนที่ตรวจเสร็จแล้ว กับประกาศ ปากเปล่า สำหรับคนมารอตรวจ
เมื่อพบคุณหมอ ไม่ต้องกังวล เราไม่ถูกตัดสินใดๆ คุณหมอถาม เราตอบ อยากเล่าอะไรก็ตอบไป หาทิชชู่ติดตัวไปด้วยก็ดี สำหรับเรา น้ำตาออกมาตั้งแต่ เจอพยาบาลคัดกรอง ;___; กว่าจะมาเจอคุณหมอก็หมดไปเยอะอยู่
คุณหมอจะสรุปอากาศ สรุปยา และ การรักษา
ของเราคุณหมอให้ไปพบนักจิตบำบัด ที่ชั้น 2
พอออกมาจากห้องตรวจ ก็รอเจ้าหน้าที่เรียกบัตรคิว รอนานพอๆ กับรอเข้าห้องตรวจ
เคาน์เตอร์นี้จะบอกให้ไปไหนต่อที่ไหน ยังไงต่อไป เวลาที่เคาน์เจอร์นี้จบที่ 11:30
เราต้องไปพบนักจิตบำบัดที่ชั้น 2 เราเห็นบันไดแค่อันเดียว คืออันนั้นแหละ
แต่ใกล้เที่ยงแล้วทางนักจิตวิทยาให้มาทานข้าวก่อน แล้วค่อนขึ้นไปพบยาวๆ
โรงอาหารอยู่ด้านหลังเปิดประตูออกไป ราคาเป็นกันเอง หรือด้านหน้าปากซอย ระหว่าง สถานีรถไฟฟ้า มาที่รพ. ก็มีทั้งร้านอาหาร และ 7-11
สำหรับเรา พอ 13:00 ขึ้นไปพบนักจิตวิทยา รอในโถง จนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาเรียก ตอนที่เราขึ้นไป มีคนรอ ราวๆ 6-8 คน รวมญาติด้วย ห้องโล่งๆ มีโซฟา
เราใช้เวลาราว 2 ชั่วโมงกับนักจิตบำบัด แล้วลงมาติดต่อ การเงิน เพื่อจ่ายเงิน
ของเรา มีพบคุณหมอ และคุยกับนักจิตวิทยา ค่ายา ค่าบริการ รพ. ราคาประมาณ 49x บาท
และไปรับยาที่ห้องรับยา สงสัยอะไรเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ หรือยาที่กำลังได้มาใหม่ ถามเภสัชกรได้เลย เราสงสัยเรื่องบริจาคเลือด เภสัชกรบอกว่าไม่ได้ แต่ทำบุญทางอื่นได้ เช่นเสื้อของรพ. พร้อมกับหันไปหยิบเสื้อมาโชว์ หน้าเคาน์เตอร์รับยา น่ารักมากๆเลย ^^ หมายถึงเภสัชกรนะคะ
จบวันแรก เราออกมาจาก รพ.ประมาณ 16:00 กับการร้องไห้จนตาบวม
อีกส่วนหนึ่งของใจที่พองโตกว่า ความพยายามในการต่อสู้กับใจตัวเอง มันถึงเส้นชัยแล้ว ที่เหลือคือการเดินทางตามใบนัดที่ได้มา
บรรยากาศ รพ. สดวก สบาย แอร์เย็น โซฟาเยอะ เก้าอี้แยะ สอาด สว่าง ไม่เอะอะ ตกแต่งสวยงาม
และที่สำคัญ เจ้าหน้าที่ทุกคนใจดีหมดเลย
จบการไปครั้งแรกด้วยใจพองโตขึ้น
ครั้งที่2 คือการไปตามนัดกับนักจิตบำบัด
ใบนัดกระดาษใบใหญ่สีขาว
ยื่นใบนัดก่อนเวลาเล็กน้อยที่เคาน์เตอร์ชั้น 1
ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง กับนักจิตบำบัด แล้วลงมาชำระเงินที่ช่องการเงินชั้น 1
ค่าใช้จ่ายครั้งนี้ คือค่าพบนักจิตบำบัด รวม 3×× บาท
ครั้งที่ 3 ผ่านมาจากครั้งแรกร่วมๆ1 เดือน
คือการไปพบจิตแพทย์ หลายอย่างในชีวิตดีขึ้น ถ้าไม่นับว่าต้องพึ่งยาเพื่อการนอน
เริ่มรู้จักวิธีการจัดการอารมณ์ จากนักจิตบำบัด การวนความคิดกับความผิดต่อตัวเองน้อยลง คุณหมอจ่ายยา และนัดอีกครั้ง อีก 1 เดือน
ค่าใช้จ่ายการพบจิตแพทย์ และ ยาเพิ่มเติม 13× บาท
ครั้งนี้เราพาลูกสาว 6 ขวบไปด้วย พกของเล่นสมุดระบายสี หาโซฟาให้เธอนั่งเล่น ระหว่างที่เรารอ รอคิวคัดกรอง และรอพบหมอ ลูกสาวเราอยู่คนเดียวได้ มีที่ให้เธอนั่งระบายสี และไม่ร้อน รวมเวลาในรพ. 4 ชั่วโมงครึ่ง
ครั้งที่ 4 คือการนัดพบนักจิตบำบัดอีกครั้ง
ครั้งนี้เราได้ใบนัดสีฟ้าใบเล็ก
เราพาลูกสาวมาพบนักจิตบำบัดด้วย
เราเป็นเหตุ ลูกสาวเราได้ผลกระทบโดยตรงจากเรา และอย่างที่บอก เราใช้เวลาเกือบ 5 ปี พาตัวเองมารักษา ลูกสาวที่อยู่ข้างเรา อยู่กับแม่ที่ต้องการการรักษาแต่พาตัวเองมาไม่ได้ อยู่กับแม่ที่ป่วยมากกว่า 70% ของเวลาทั้งชีวิตของเขา
ครั้งนี้เราใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงครึ่งกับนักจิตบำบัด และได้กำลังใจกลับไป เรายิ้มมากขึ้น นักจิตบำบัดบอกมา ได้รู้ถึงแผลในใจของลูกสาว แม้ว่ามันผ่านมานาน แต่มันยังคงเป็นแผลในใจเค้าอยู่ และเรายังต้องเดินหน้าต่อไป
ค่าใช้จ่ายในครั้งนี้ ไม่มี
เรายังต้องพบนักจิตบำบัด พบจิตแพทย์ต่อ แต่เริ่มมีระยะห่างมาขึ้น
หวังว่าข้อมูลเริ่มการเดินทาง ค่าใช้จ่าย อาจจะพอช่วยใครหลายคนที่เคยเป็นเหมือนเราได้บ้างนะคะ