พฤศจิกายน 2559
ณ โรงพยาบาลศรีธัญญา
การเข้ามาที่นี่ทำให้คนรอบข้างตกใจ
บางคนได้ยินเพียงแค่เอ่ยชื่อโรงพยาบาลก็ตัดสินแล้วว่าเราเป็นบ้า !?
นี่คือดูละครมากไป? หรือฝังหัวมาจากไหนว่าคนที่ป่วยไข้ทางอารมณ์คือคนบ้า?
แต่จะว่าใครได้ ในเมื่อคนในครอบครัวเรายังอยากทำร้ายและไล่ให้เราไปตายไกลๆ
แต่ช่างมันนะ เรามารักษาตัวเอง
จงช่างมันกับความคิดคนอื่น
เอาใจกายตัวเองให้ดีก็พอ..
*การพบคุณหมอจิตแพทย์และนักบำบัดนั้นมีขั้นตอนดังนี้
• สำหรับผู้มาครั้งแรก ต้องทำบัตรผู้ป่วยใหม่ ควรมาถึงโรงพยาบาลประมาณ7-8โมงเช้า
พร้อมบัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา 1ชุด (ที่ข้างห้องจ่ายยามีที่ถ่ายเอกสารและตู้เอทีเอมหนึ่งตู้ค่ะ)
• แจ้งชื่อผู้ป่วยใหม่ รับใบกรอกประวัติ แล้วรอรับคิว
ระหว่างรอเรียกคัดกรองผู้ป่วยให้เข้าไปวัดความดันและชั่งน้ำหนักด้วยตัวเอง*
โดยเครื่องมือจะอยู่ข้างเคาเตอร์คัดกรอง *(สอดแขนขวาเข้าเครื่องแล้วนั่งนิ่งๆกดปุ่มstart จากนั้นชั่งน้ำหนักแล้วจดเอาไว้)
ซึ่งเมื่อพยาบาลคัดกรองถามอาการผู้ป่วยคร่าวๆแล้ว จะส่งให้ไปรอพบคุณหมอหรือนักบำบัด
(หากมาครั้งแรกจะต้องพบนักสังคมสงเคราะห์ก่อนค่ะ)
• เมื่อพบสังคมสงเคราะห์หรือนักบำบัดจะค่อนข้างใช้เวลา เพื่อซักถามรายละเอียดเบื้องต้น
ความเป็นอยู่ทั่วไป อาการ ปัญหาในชีวิต ความคิด ความรู้สึกและรายละเอียดที่ค่อนข้างอ่อนไหว
*หากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองหรือสื่อสารได้ควรมีญาติหรือคนใกล้ชิดไปด้วยค่ะ *
การพบนักบำบัดก็จะใช้เวลาประมาณ1-2ชั่วโมง ในการพูดคุยความป่วยไข้ อาการที่เป็นปัญหา
อาจจะเหนื่อยใจหรืองอแงก็ตอนนี้..
คุณหมอจะค่อยๆสอนให้หายใจ มีคำพูดให้สบายใจ ซึ่งคงเป็นวิธีสากล
ที่หากถ้าเราเปิดใจรับฟัง มันก็อาจจะเข้าหัวเราบ้างไม่เข้าบ้าง
แต่เมื่อผ่านไปได้สักครั้งสองครั้งแน่ใจได้ว่าจะได้กำลังใจดีๆกลับมาจริงๆค่ะ
(ห้องบำบัดอยู่ที่ชั้น2 มีที่นั่งรอสงบๆ )
เมื่อจากห้องบำบัดก็จะออกมารอคิวพบคุณหมอจิตเวช ซึ่งต้องนั่งรอหน้าห้องตามหมายเลขที่ได้มา
หมอจะเป็นผู้วิเคราะห์และจ่ายยาให้
ซึ่งระยะเวลาในการรอพบหมออาจให้เวลามาก
แต่ได้เจอหน้าพบคุยกันจริงๆแสนสั้น หมอคงมีคนไข้รอเยอะ
(จริงๆหมอดูรีบร้อนทุกครั้งเลย หมอน่าจะได้พักบ้างนะ ..)
คุณหมอพักเวลา12:00-13:00น.
ข้างๆห้องคุณหมอมีร้านกาแฟ มาม่า น้ำดื่มพร้อม มีโรงอาหารอยู่หลังตึก
(ที่นั่งข้างเสามีที่เสียบชาจไฟด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าคนไข้ใช้ได้หรือไม่)
• จากนั้นถึงเวลานั่งรอจ่ายเงินและรับยา
หากมีบัตรทองจะเสียแค่30บาท
ซึ่งสามารถขอจดหมายส่งตัวโอนย้ายประวัติมาจากรพ.ในเขตของท่านมาใช้ที่นี่ได้
หากจ่ายเองค่าพบแพทย์ประมาณ50-300บาท
ค่ายาราคาตามโรงพยาบาลรัฐทั่วไป
นี่เป็นประสบการณ์เบื้องต้นที่พบเจอมา
ซึ่งมันค่อนข้างซับซ้อนและเจ็บปวดในบางที
แต่ก็อยากจะแบ่งปัน
และอยากส่งต่อให้คนที่กำลังกังวลว่าตัวเองมีอาการของโรคซึมเศร้า หรืออาการทางจิตเวชหรือไม่
อีกทั้งอยากฝากถึงคนที่ตัดสินคนอื่นเพียงแค่ชื่อ ฐานะ หรือรูปลักษณ์ภายนอกนั้น มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่สังคมตั้งขึ้นมาเท่านั้น..
ขอจงอย่าใส่ใจ
อย่าให้ค่ากับคนที่ไม่รู้จักเรา.
รักษาใจของเธอเถิด
อย่าลืมยิ้มให้ตัวเองด้วยนะ
ขอบคุณที่เข้าใจและไม่เข้าใจค่ะ
เบญจวรรณ.
ป.ล. พาญาติไปด้วยหรือพกหนังสือเบาๆสักเล่มจะดีมากค่ะ
บรรยากาศรอบด้านนั้นซึมเซาและค่อนข้างชวนหดหู่พาลทำใจแย่ไปพอสมควร..
ไว้ในคราวหน้าจะมาเล่าถึงอาการของเราค่ะ
ขอบคุณพันทิปค่ะ
ณ ขณะนั้นฉันเศร้า * โรงพยาบาลศรีธัญญา
ณ โรงพยาบาลศรีธัญญา
การเข้ามาที่นี่ทำให้คนรอบข้างตกใจ
บางคนได้ยินเพียงแค่เอ่ยชื่อโรงพยาบาลก็ตัดสินแล้วว่าเราเป็นบ้า !?
นี่คือดูละครมากไป? หรือฝังหัวมาจากไหนว่าคนที่ป่วยไข้ทางอารมณ์คือคนบ้า?
แต่จะว่าใครได้ ในเมื่อคนในครอบครัวเรายังอยากทำร้ายและไล่ให้เราไปตายไกลๆ
แต่ช่างมันนะ เรามารักษาตัวเอง
จงช่างมันกับความคิดคนอื่น
เอาใจกายตัวเองให้ดีก็พอ..
*การพบคุณหมอจิตแพทย์และนักบำบัดนั้นมีขั้นตอนดังนี้
• สำหรับผู้มาครั้งแรก ต้องทำบัตรผู้ป่วยใหม่ ควรมาถึงโรงพยาบาลประมาณ7-8โมงเช้า
พร้อมบัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา 1ชุด (ที่ข้างห้องจ่ายยามีที่ถ่ายเอกสารและตู้เอทีเอมหนึ่งตู้ค่ะ)
• แจ้งชื่อผู้ป่วยใหม่ รับใบกรอกประวัติ แล้วรอรับคิว
ระหว่างรอเรียกคัดกรองผู้ป่วยให้เข้าไปวัดความดันและชั่งน้ำหนักด้วยตัวเอง*
โดยเครื่องมือจะอยู่ข้างเคาเตอร์คัดกรอง *(สอดแขนขวาเข้าเครื่องแล้วนั่งนิ่งๆกดปุ่มstart จากนั้นชั่งน้ำหนักแล้วจดเอาไว้)
ซึ่งเมื่อพยาบาลคัดกรองถามอาการผู้ป่วยคร่าวๆแล้ว จะส่งให้ไปรอพบคุณหมอหรือนักบำบัด
(หากมาครั้งแรกจะต้องพบนักสังคมสงเคราะห์ก่อนค่ะ)
• เมื่อพบสังคมสงเคราะห์หรือนักบำบัดจะค่อนข้างใช้เวลา เพื่อซักถามรายละเอียดเบื้องต้น
ความเป็นอยู่ทั่วไป อาการ ปัญหาในชีวิต ความคิด ความรู้สึกและรายละเอียดที่ค่อนข้างอ่อนไหว
*หากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองหรือสื่อสารได้ควรมีญาติหรือคนใกล้ชิดไปด้วยค่ะ *
การพบนักบำบัดก็จะใช้เวลาประมาณ1-2ชั่วโมง ในการพูดคุยความป่วยไข้ อาการที่เป็นปัญหา
อาจจะเหนื่อยใจหรืองอแงก็ตอนนี้..
คุณหมอจะค่อยๆสอนให้หายใจ มีคำพูดให้สบายใจ ซึ่งคงเป็นวิธีสากล
ที่หากถ้าเราเปิดใจรับฟัง มันก็อาจจะเข้าหัวเราบ้างไม่เข้าบ้าง
แต่เมื่อผ่านไปได้สักครั้งสองครั้งแน่ใจได้ว่าจะได้กำลังใจดีๆกลับมาจริงๆค่ะ
(ห้องบำบัดอยู่ที่ชั้น2 มีที่นั่งรอสงบๆ )
เมื่อจากห้องบำบัดก็จะออกมารอคิวพบคุณหมอจิตเวช ซึ่งต้องนั่งรอหน้าห้องตามหมายเลขที่ได้มา
หมอจะเป็นผู้วิเคราะห์และจ่ายยาให้
ซึ่งระยะเวลาในการรอพบหมออาจให้เวลามาก
แต่ได้เจอหน้าพบคุยกันจริงๆแสนสั้น หมอคงมีคนไข้รอเยอะ
(จริงๆหมอดูรีบร้อนทุกครั้งเลย หมอน่าจะได้พักบ้างนะ ..)
คุณหมอพักเวลา12:00-13:00น.
ข้างๆห้องคุณหมอมีร้านกาแฟ มาม่า น้ำดื่มพร้อม มีโรงอาหารอยู่หลังตึก
(ที่นั่งข้างเสามีที่เสียบชาจไฟด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าคนไข้ใช้ได้หรือไม่)
• จากนั้นถึงเวลานั่งรอจ่ายเงินและรับยา
หากมีบัตรทองจะเสียแค่30บาท
ซึ่งสามารถขอจดหมายส่งตัวโอนย้ายประวัติมาจากรพ.ในเขตของท่านมาใช้ที่นี่ได้
หากจ่ายเองค่าพบแพทย์ประมาณ50-300บาท
ค่ายาราคาตามโรงพยาบาลรัฐทั่วไป
นี่เป็นประสบการณ์เบื้องต้นที่พบเจอมา
ซึ่งมันค่อนข้างซับซ้อนและเจ็บปวดในบางที
แต่ก็อยากจะแบ่งปัน
และอยากส่งต่อให้คนที่กำลังกังวลว่าตัวเองมีอาการของโรคซึมเศร้า หรืออาการทางจิตเวชหรือไม่
อีกทั้งอยากฝากถึงคนที่ตัดสินคนอื่นเพียงแค่ชื่อ ฐานะ หรือรูปลักษณ์ภายนอกนั้น มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่สังคมตั้งขึ้นมาเท่านั้น..
ขอจงอย่าใส่ใจ
อย่าให้ค่ากับคนที่ไม่รู้จักเรา.
รักษาใจของเธอเถิด
อย่าลืมยิ้มให้ตัวเองด้วยนะ
ขอบคุณที่เข้าใจและไม่เข้าใจค่ะ
เบญจวรรณ.
ป.ล. พาญาติไปด้วยหรือพกหนังสือเบาๆสักเล่มจะดีมากค่ะ
บรรยากาศรอบด้านนั้นซึมเซาและค่อนข้างชวนหดหู่พาลทำใจแย่ไปพอสมควร..
ไว้ในคราวหน้าจะมาเล่าถึงอาการของเราค่ะ
ขอบคุณพันทิปค่ะ