[สาระ]ทุกคนเอาแต่ตั้งกระทู้พูดฟองสบู่แตก แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อเหตุการณ์ ขณะนี้กับปี 40 มันคนละเรื่องกัน

สวัสดีครับ กระผมหน่องแพททริคขายหมูคนเดิม เพิ่มเติมคือ สาระนิดหน่อย

วันนี้ผมจะมาแบบสาระล้วนๆ ปกติสาระไม่มี 555555555555 (จะพยายามครับ)

ผมขอประกาศชัดๆๆๆๆตรงหัวกระทู้นี่เลยว่า นี่ไม่ใช่ภาวะฟองสบู่กำลังจะแตกอย่างแน่นอน!!!!!!!!

ในปี 40 มันเกิดอะไรขึ้นผมจะขอสรุปเหตุการณ์คร่าวๆให้ฟังตามนี้ ถ้าสมมติผิดพลาดตรงไหนรบกวนท่านผู้ใหญ่บอกด้วยนะครับ สมัยนั้นผมเด็กมาก (ยังเรียนอยู่อนุบาล)

และผมจะมาบอกทุกคนเกี่ยวกับการลงทุนอสังหา และเผยข้อเท็จจริงว่าทำไมรายใหญ่ต้องตั้งโปรลด 20 % โปร 0 % ในช่วงนี้

ในยุคก่อนปี 40

การกู้ยืมเงินดอลล่าร์

-มีการกู้ยืมเงินดอลล่าร์ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก 1-3% โดย ณ ขณะนั้น 1 ดอลล่าร์ เท่ากับ 25 บาท และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารอยู่ที่ 7-8 % เพราะฉะนั้น เพียงแค่กู้เงินมาฝากธนาคาร ทำ Arbitage เฉยๆ ก็รวยแล้ว และเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ Broker & Trust ทำกันเยอะมากๆ โดยจะเกิดเป็น 2 กรณีหลักๆ คือ 

1. กู้มาเพื่อปล่อยมาร์จิ้นให้กับลูกค้าที่ซื้อขายหุ้น ดอกเบี้ยมาร์จิ้นน่าจะเกิน 10 % ครับ
2. กู้มาฝากธนาคารในไทย อัตราดอกเบี้ยประมาณ 7-8 % อย่างที่กล่าวไป

อสังหาในยุคก่อนปี 40

-อสังหาเฟื่องฟูมาก เนื่องจากดอกเบี้ยจากการกู้เงินดอลล่าร์ค่อนข้างต่ำ ดอกเบี้ยต่ำกับ การเจริญเติบโตของการลงทุนอสังหามัน Directly proportional กัน มีการซื้อขายเกิดขึ้นกันทุกวัน เรื่องซื้อวันนี้ขายพรุ่งนี้มันเป็นเรื่องเด็กๆ สำหรับบ้านผมเคยเจอกรณี ลูกค้ามามัดจำตอนเช้า 5 แสนกับที่ดิน 20 ล้าน ตอนบ่าย ลูกค้าคนดังกล่าวนัดลูกค้าอีกรายและเปลี่ยนมือไปในราคา 25 ล้าน -_,-+

สมัยนั้นซื้อที่เก็บเป็น Backlog โดยไม่มีค่าเช่ากันเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะธนาคารสามารถปล่อยกู้ Overdraft ได้ และ ปล่อยแบบมีพรีเมี่ยมกันเยอะด้วย เช่น สมัยนั้นมูลค่าที่ดินของบ้านผมแปลงหนึ่งควรจะเป็น 8 ล้าน แต่ธนาคารพิจารณาวงเงินให้ 12 ล้าน ;)

-Developer หลาย เกือบทุกรายใช้เงินกู้จาก Offshore เพราะทำให้เกิด Margin สูงสุด ยิ่งดอกต่ำก็ยิ่งกำไรเยอะถูกต้องไหมครับ แล้วเราจะกู้ในประเทศทำไมในเมื่อดอกมันแพงตั้ง 10-20 %

หนี้สินต่างประเทศต่อ GDP

-เอาล่ะสิครับ พอกู้เงินกันถูกๆกู้เงินกันง่ายๆขนาดนี้ สภาวะดังกล่าวย่อมหนีไม่พ้นการ มีหนี้ต่างประเทศต่อ GDP สูงอยู่แล้ว หนี้สินต่อ GDP ของเรา เริ่มไต่ระดับไปเรื่อยๆ จาก 100 % ไปจนถึงจุดพีคที่ราวๆ 136 %

การตั้งสำรองในยุคนั้น

การประกาศลอยตัวค่าเงินบาท

NPL

เดี๋ยวมาเขียนต่อนะขอรับ

ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะและให้อภัยด้วยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่