วัดพระมหาธาตุ หรือวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมใจของเมืองใหญ่มาแต่โบราณ
วันนี้จะพาไปยัง วัดพระธาตุวรวิหารจังหวัดราชบุรี
เมืองชยราชบุรี เมืองโบราณมาแต่สมัยทวารวดีตั้งอยู่ที่คูบัว เรียกคูเบัวเพราะคูเมืองมีบัวขึ้น
เมื่อเส้นทางสัญจรทางน้ำตื้นเขินจึงย้ายเมืองมายังบริเวณวัดมหาธาตุวรวิหาร สร้างวัดศูนย์รวมใจขึ้น
เมื่อวัฒนธรรมขอมเรืองอำนาจ ได้สร้างศาสนสถานทับศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีเป็นปรางค์ปราสาท มีกำแพงแลงล้อมรอบ
เมื่ออยุธยาเรืองอำนาจ ได้ปรับเป็นพระปรางค์แบบอยุธยา
วันที่ไปมีการสอบของพระ มีพระมากมายที่มาทำการสอบ จึงเดินหลบกลุ่มพระสงฆ์ไปเรื่อย ผ่านอุโบสถ ผ่านมณฑปพระบาท
ซุ้มพระบนกำแพงแก้วของวัดพระมหาธาตุ
ทำให้คิดถึงซุ้มพระบนกำแพงปราสาทและเสานางเรียง ปราสาทพระขรรค์ที่เสียมราฐ
ซุ้มพระบนกำแพงปราสาทพระขรรค์ ในรัชกาลถัดมากษัตริย์ได้กลับไปนับถือศาสนาฮินดูจึงกะเทาะรูปพระพุทธรูปออกหมด หรือแปลงเป็นรูปอื่นตอนนั้นที่และเขาว่าเหลือพระพุทธรูปที่เสานางเรียงต้นหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นของเดิมหรือทำขึ้นใหม่เพื่อให้คนไปเที่ยวได้ตามหา
พระพุทธรูปเก่าจากวัดร้างต่าง ๆ มาเก็บไว้ที่ระเบีบงแก้วขององค์พระปรางค์
เปลวพระเกศก็แหลมสูงเหมือนกันหมด
ระฆังหิน เขาว่าอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดี ใช้ตีให้เกิดเสียงเพื่อ ... พิธีกรรมบางอย่าง
ธรรมจักร บอกถึงวัฒนธรรมทวารวดี
หมายถึง พระธรรมคือเป็นความจริงที่อนันต์คือไม่มีที่สิ้นสุด หมุนไปเหมือนล้อรถ
หมายถึง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปัตนมฤคทายวัน บางทีจะพบคู่กับรูปกวางหมอบ
พระปรางค์แบบอยุธยา และพระปรางค์บริวาร อีก 3 องค์บนฐานเดียวกัน
ทางตะวันออกของปรางค์ประธานเป็นมุขบันไดทางขึ้น
หน้าบันเหนือประตูเป็นรูป ... ดูไม่ออก ไม่ชัด
ดูอีกทีเหมือนมีรูปช้างสองตัวชูงวงสองช้างของภาพประธาน หรือจะเป็นภาพอภิเษกพระศรี
ด้านในเบื้องหลังประตูเหล็กหลังโต๊ะหมู่บูชาเป็นพระพุทธรูปยืน ทวารวดี และพระชัยพุทธมหานาคเขาให้ไหว้ ไม่ได้ให้เห็นก็เลยไม่เห็น
มาดูปูนปั้นกันดีกว่า
ภาพประธานเป็นครุฑยุดนาค ในซุ้มมกรคายนาค 5 เศียร ในใบระกาเหนือมกรมีเทพพนม
ตรงย่อมุมมีท่อนมาลัย และพวงอุบะ ลายกนกใบไม้ กลีบบัวฟันยักษ์ และลายสี่เหลี่ยม
กลีบขนุนเป็นรูปเทวดา ทั้งหญิงชาย
ซุ้มแก้วด้านอื่นมีพระพุทธรูปประจำซุ้มเหมือนกันทั้ง 3 ด้าน หรือจะเป็นอดีตพระพุทธเจ้า?
เหนือซุ้มพระ เป็นวิมาณ 6 ชั้น ดูได้จากจำนวนช่องหน้าต่างเรียกกุฑุ 6 ชั้น ในกุฑุและระหว่างกุฑู มีรูปปูนปั้นพระพุทธประวัติ
กลีบขนุน ครุฑยุดนาค ด้านหลังเป็นประตูออกจากกำแพงแก้วไปสู่วิหารหลวง
วิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ ยังเหลือฐานอิฐเดิม
ขนาด 9 ห้อง ฐานปัทม์ มีมุขเด็ด มีบันไดทางขึ้นสองข้างของมุขเด็ด
พระประธาน พระพุทธรูปปูนปั้นสององค์หันหลังชนกันเป็นพระประจำเมืองนัยว่า ระวังหน้า ระวังหลัง คือพระมงคลบุรี พระศรีนัคร์
พระพุทธรูปซ้อนกันอยู่ ดูจากพระกรรณของพระพุทธรูปเหลื่อมกันอยู่
ศิลปะอู่ทองยุคหลัง หรือ หรือต้นอยูธยา
ปิดท้ายด้วยร่องรอยของ
วัดพระธาตุวรวิหาร - ราชบุรี
วันนี้จะพาไปยัง วัดพระธาตุวรวิหารจังหวัดราชบุรี
เมืองชยราชบุรี เมืองโบราณมาแต่สมัยทวารวดีตั้งอยู่ที่คูบัว เรียกคูเบัวเพราะคูเมืองมีบัวขึ้น
เมื่อเส้นทางสัญจรทางน้ำตื้นเขินจึงย้ายเมืองมายังบริเวณวัดมหาธาตุวรวิหาร สร้างวัดศูนย์รวมใจขึ้น
เมื่อวัฒนธรรมขอมเรืองอำนาจ ได้สร้างศาสนสถานทับศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีเป็นปรางค์ปราสาท มีกำแพงแลงล้อมรอบ
เมื่ออยุธยาเรืองอำนาจ ได้ปรับเป็นพระปรางค์แบบอยุธยา
วันที่ไปมีการสอบของพระ มีพระมากมายที่มาทำการสอบ จึงเดินหลบกลุ่มพระสงฆ์ไปเรื่อย ผ่านอุโบสถ ผ่านมณฑปพระบาท
ทำให้คิดถึงซุ้มพระบนกำแพงปราสาทและเสานางเรียง ปราสาทพระขรรค์ที่เสียมราฐ
เปลวพระเกศก็แหลมสูงเหมือนกันหมด
หมายถึง พระธรรมคือเป็นความจริงที่อนันต์คือไม่มีที่สิ้นสุด หมุนไปเหมือนล้อรถ
หมายถึง ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร อันเป็นปฐมเทศนา ที่ป่าอิสิปัตนมฤคทายวัน บางทีจะพบคู่กับรูปกวางหมอบ
หน้าบันเหนือประตูเป็นรูป ... ดูไม่ออก ไม่ชัด
ดูอีกทีเหมือนมีรูปช้างสองตัวชูงวงสองช้างของภาพประธาน หรือจะเป็นภาพอภิเษกพระศรี
ภาพประธานเป็นครุฑยุดนาค ในซุ้มมกรคายนาค 5 เศียร ในใบระกาเหนือมกรมีเทพพนม
เหนือซุ้มพระ เป็นวิมาณ 6 ชั้น ดูได้จากจำนวนช่องหน้าต่างเรียกกุฑุ 6 ชั้น ในกุฑุและระหว่างกุฑู มีรูปปูนปั้นพระพุทธประวัติ
ขนาด 9 ห้อง ฐานปัทม์ มีมุขเด็ด มีบันไดทางขึ้นสองข้างของมุขเด็ด
พระพุทธรูปซ้อนกันอยู่ ดูจากพระกรรณของพระพุทธรูปเหลื่อมกันอยู่
ศิลปะอู่ทองยุคหลัง หรือ หรือต้นอยูธยา