ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถคือการที่มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยทางชีวภาพและผลจากสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู จริงอยู่ที่มนุษย์สามารถฝึกฝนเพื่อเพิ่มความสามารถได้ แต่ถึงจะพยายามอย่างไรก็มีขีดจำกัด รวมถึงอัตราเร็วการพัฒนาความสามารถก็ไม่เท่ากัน ความถนัด พรสวรรค์ อัจฉริยภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความไม่เท่าเทียมทางความสามารถ
ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถนี้อาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากผู้คนจำนวนมากยังเชื่อว่าถ้าพยายามมากพอด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็จะสามารถเพิ่มความสามารถของตนได้อย่างมหาศาล แต่ความจริงแล้วขีดจำกัดนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน หากไม่เป็นเช่นนั้น เพียงแค่มนุษย์พยายามมากพอก็คงหายใจใต้น้ำเหมือนปลาและบินบนฟ้าได้เหมือนนก และปัจจัยด้านชีวภาพที่ผู้คนไม่อาจเลือกแก้ไขได้ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะหากไม่มีการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมเลย มนุษย์ก็คงมีลูกเป็นสัตว์ชนิดอื่นได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมมีผลในแง่ที่ว่า ถ้าถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ก็จะไม่สามารถเพิ่มความสามารถหรือดึงความสามารถของคนคนนั้นให้ไปถึงจุดสูงสุดที่เขาจะเป็นได้
เหตุผลที่ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขนั้นเป็นเพราะเรื่องของความสามารถเป็นสิ่งที่แต่ละคนเลือกไม่ได้ แต่กลับส่งผลกระทบมากมายต่อชีวิตของคนคนนั้น ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ สังคมที่ตัดสินมนุษย์ด้วยผลลัพธ์และความสำเร็จไม่ได้หมายถึงสังคมที่ตัดสินมนุษย์ด้วยการกระทำของพวกเขาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสังคมที่ตัดสินมนุษย์โดยมีเกณฑ์ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่ผู้คนเลือกไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ต่างอะไรกับการตัดสินคนคนหนึ่งด้วยเพศ สีผิว ฐานะของพ่อแม่ หรือชาติกำเนิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมปัจจุบันไม่ยอมรับ
ตัวอย่างเช่นคนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขก็ต้องมีความสามารถในระดับหนึ่งเพื่อไขว่คว้างานที่หาเงินได้มาก ถ้าเกิดมาโดยความสามารถไม่เพียงพอก็ยากจะได้รับการศึกษาที่ดีหรืองานที่ดี ทำให้ความสามารถกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเลื่อนชนชั้นเพื่อหลุดพ้นจากสภาวะยากลำบาก สังคมของเรายังมองว่าความสามารถเป็นความรับผิดชอบของปัจเจกผู้นั้นอยู่ ทำให้ไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่มีความสามารถไม่เพียงพออย่างจริงจัง ทำให้คนจำนวนมากต้องมีชีวิตที่ยากลำบาก
หากสามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ำในด้านนี้ได้ มนุษย์ก็จะเท่าเทียมกันมากขึ้น มีอิสระในการไขว่ขว้าความฝันมากขึ้น ความสามารถโดยรวมของมนุษย์ทุกคนจะเพิ่มขึ้น หรือหากแก้ไขโครงสร้างสังคมโดยคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำทางความสามารถและรู้ว่าความสามารถไม่ใช่ความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่หลายอย่างเกิดจากปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ สังคมก็จะกลายเป็นสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ชีวิตของคนจำนวนมากจะดีขึ้นเนื่องจากมีการสร้างตาข่ายรองรับทางสังคม ซึ่งถ้าไม่มีตาข่ายนี้ ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจนหลายคนต้องลำบาก
วิธีแก้ไขที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ 1การตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งจะแก้ไขในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถเลือกความสามารถได้และได้รับความสามารถมาไม่เท่ากัน 2การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการทำสิ่งต่างๆ 3การดูแลในช่วงปฐมวัย ซึ่งจะช่วยเหลือในด้านความสามารถที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก 4การศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพสูงและราคาย่อมเยาว์ซึ่งได้รับการสนับสนุนวันหยุดจากองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนพัฒนาความสามารถของตนโดยไม่มีกำแพงเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการไม่มีเวลา 5การสร้างตาข่ายสังคม สร้างมาตรการรองรับผู้ที่ไม่สามารถตามมารตฐานของสังคมได้ ซึ่งมาจากแนวคิดที่ว่า ความสามารถไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกได้อย่างอิสระ
ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถ
ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถนี้อาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากผู้คนจำนวนมากยังเชื่อว่าถ้าพยายามมากพอด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็จะสามารถเพิ่มความสามารถของตนได้อย่างมหาศาล แต่ความจริงแล้วขีดจำกัดนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน หากไม่เป็นเช่นนั้น เพียงแค่มนุษย์พยายามมากพอก็คงหายใจใต้น้ำเหมือนปลาและบินบนฟ้าได้เหมือนนก และปัจจัยด้านชีวภาพที่ผู้คนไม่อาจเลือกแก้ไขได้ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะหากไม่มีการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมเลย มนุษย์ก็คงมีลูกเป็นสัตว์ชนิดอื่นได้ ส่วนสิ่งแวดล้อมมีผลในแง่ที่ว่า ถ้าถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ก็จะไม่สามารถเพิ่มความสามารถหรือดึงความสามารถของคนคนนั้นให้ไปถึงจุดสูงสุดที่เขาจะเป็นได้
เหตุผลที่ความไม่เท่าเทียมทางความสามารถเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขนั้นเป็นเพราะเรื่องของความสามารถเป็นสิ่งที่แต่ละคนเลือกไม่ได้ แต่กลับส่งผลกระทบมากมายต่อชีวิตของคนคนนั้น ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ สังคมที่ตัดสินมนุษย์ด้วยผลลัพธ์และความสำเร็จไม่ได้หมายถึงสังคมที่ตัดสินมนุษย์ด้วยการกระทำของพวกเขาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสังคมที่ตัดสินมนุษย์โดยมีเกณฑ์ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่ผู้คนเลือกไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ต่างอะไรกับการตัดสินคนคนหนึ่งด้วยเพศ สีผิว ฐานะของพ่อแม่ หรือชาติกำเนิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมปัจจุบันไม่ยอมรับ
ตัวอย่างเช่นคนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขก็ต้องมีความสามารถในระดับหนึ่งเพื่อไขว่คว้างานที่หาเงินได้มาก ถ้าเกิดมาโดยความสามารถไม่เพียงพอก็ยากจะได้รับการศึกษาที่ดีหรืองานที่ดี ทำให้ความสามารถกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเลื่อนชนชั้นเพื่อหลุดพ้นจากสภาวะยากลำบาก สังคมของเรายังมองว่าความสามารถเป็นความรับผิดชอบของปัจเจกผู้นั้นอยู่ ทำให้ไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่มีความสามารถไม่เพียงพออย่างจริงจัง ทำให้คนจำนวนมากต้องมีชีวิตที่ยากลำบาก
หากสามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ำในด้านนี้ได้ มนุษย์ก็จะเท่าเทียมกันมากขึ้น มีอิสระในการไขว่ขว้าความฝันมากขึ้น ความสามารถโดยรวมของมนุษย์ทุกคนจะเพิ่มขึ้น หรือหากแก้ไขโครงสร้างสังคมโดยคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำทางความสามารถและรู้ว่าความสามารถไม่ใช่ความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่หลายอย่างเกิดจากปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ สังคมก็จะกลายเป็นสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ชีวิตของคนจำนวนมากจะดีขึ้นเนื่องจากมีการสร้างตาข่ายรองรับทางสังคม ซึ่งถ้าไม่มีตาข่ายนี้ ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจนหลายคนต้องลำบาก
วิธีแก้ไขที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ 1การตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งจะแก้ไขในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถเลือกความสามารถได้และได้รับความสามารถมาไม่เท่ากัน 2การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการทำสิ่งต่างๆ 3การดูแลในช่วงปฐมวัย ซึ่งจะช่วยเหลือในด้านความสามารถที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก 4การศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพสูงและราคาย่อมเยาว์ซึ่งได้รับการสนับสนุนวันหยุดจากองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนพัฒนาความสามารถของตนโดยไม่มีกำแพงเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการไม่มีเวลา 5การสร้างตาข่ายสังคม สร้างมาตรการรองรับผู้ที่ไม่สามารถตามมารตฐานของสังคมได้ ซึ่งมาจากแนวคิดที่ว่า ความสามารถไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกได้อย่างอิสระ