บทความตามใจฉัน “Famicom Disk system” Part 2 End

บทความตามใจฉัน “Famicom Disk system” Part 2 End

Part 1: https://ppantip.com/topic/38789252

ใน Part 2 เราจะมาดูกันว่าทำไม Family Computer Disk System ถึงล้มเหลว สาเหตุต่าง ๆ แจกแจงได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. เสียเวลาโหลด

เนื่องจากกระบวนการทำงานที่ต้องอ่านข้อมูลจากแผ่นไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำของระบบก่อนทำให้เมื่อเล่นเกมไปถึงจุด ๆ หนึ่ง ผู้เล่นจะต้องรอระบบ

เคลียร์ข้อมูลที่ไม่ใช้และโหลดข้อมูลใหม่ก่อนถึงจะเล่นได้ และแน่นนอนว่าถ้าต้องเริ่มเกมใหม่ตั้งแต่ฉากเริ่มต้นผู้เล่นก็ต้องรอระบบโหลดข้อมูลใหม่

ซึ่งบางครั้งพบว่าการโหลดข้อมูลใช้เวลาถึง 10 วินาทีเลยทีเดียว

เมื่อเปรียบเทียบกับเกมแบบตลับที่ใช้เวลาโหลดเพียงกระพริบตาสองสามทีก็เสร็จจึงไม่แปลกใจที่

Nintendo จะได้รับก้อนอิฐจำนวนมากจากผู้เล่นที่ในยุคนั้นยังไม่คุ้นชินกับการรอโหลด

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการรอโหลดนี้

ผู้เขียนคาดว่ามาจากขนาดหน่วยความจำของระบบที่ให้มาแค่ 32KB ซึ่งเล็กกว่าพื้นที่เก็บข้อมูลเพียงหน้าเดียวของ Disk

เสียอีก ทำให้แม้จะเป็นเกมที่ใช้พื้นที่เพียงหน้าเดียวก็มีความเป็นไปได้ที่จะต้องรอโหลด


2. ต้องคอยสลับหน้าเปลี่ยนแผ่น

ปัญหาต่อมาของ Disk system คือเกมส่วนใหญ่ที่ออกมานั้นใช้พื้นที่มากกว่า 56KB ที่เป็นขนาดความจุสูงสุดในแต่ละหน้าของ Disk

ซึ่งโดยเฉลี่ยเกมของ NES ส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ที่ 128-324 KB ทำให้ผู้เล่นนอกจากต้องรอโหลดแล้วยังต้องคอยสลับหน้าแผ่นด้วย

เหมือนปิ้งปลาแล้วต้องคอยสลับด้านเพื่อให้สุกทั่วถึงพร้อมกิน 

จากข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่ต้องสลับหน้าเวลาจะ Save เกม และบางเกมใช้พื้นที่สอง Disk หรือมากกว่า

นั้นหมายความว่านอกจากต้องคอยสลับหน้าแล้วยังต้องสลับแผ่นด้วย

ลองสมมุติดูว่าถ้า FF7 เวลาจะ save หรือเวลาจะเข้าเมืองต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนแผ่น CD ทุกครั้งดูจะยุ่งยากแค่ไหน

ตัวอย่างการโหลดเกมและสลับหน้าแผ่นดูได้ที่วิดีโอ Zelda FDS Test #1: Let's Test Our Disk System! โดย Clyde Mandelin ได้ที่ Link ข้างล่างนี้

https://www.youtube.com/watch?v=-_eMuEQlSD0&list=PL8fufren85t_ZtP-_x0Ha7A4B4tfcaHDn

จะเห็นว่าตัวเกมใช้เวลาในการโหลดสลับฉากระหว่าง world map กับดันเจียนนานพอสมควร (ประมาณนาทีที่ 9.20)


3. สายพานเปื่อย

 Disk system มีข้อบกพร่องทาง Hardware ร้ายแรงอยู่ที่ Disk belt หรือสายพานขับแผ่น

สายพานตัวนี้เมื่อใช้งานไปนาน ๆ มักเกิดปัญหาสายพานยืด, หย่อน หรือขาดและทำให้ระบบหมุนแผ่นเพื่ออ่านข้อมูลไม่ได้

การซ่อมแซมด้วยตัวเองก็ทำแทบไม่ได้เพราะสายพานอยู่ลึกเข้าไปในตัวเครื่อง การเปลี่ยนสายพานจำเป็นต้องแยกชิ้นส่วนของ Disk system ทั้งเครื่อง

ทำให้ผู้เล่นมักส่งเครื่องเข้าศูนย์เพื่อซ่อมแซมเท่านั้นและนั้นหมายถึงค่าใช้จ่ายของ after sell service ของ Nintendo ที่เพิ่มขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการเปลี่ยนสายพานของ Disk system ดูได้ที่ Link วิดีโอข้างล่าง

Nintendo Famicom Disk System Belt Replacement How To, Part 1 of 3 โดย retrogamerjapanVids

https://www.youtube.com/watch?v=DZpEn0S8J2k


4. ค่าส่วนแบ่งการตลาดที่ “ฟันหัวแบะ”

จะเห็นว่าข้อที่ 1-3 เป็นปัญหาที่เกิดกับผู้ใช้งานแต่ในข้อ 4 นี่คือปัญหาที่เกิดจาก Nintendo เอง ก็คือ ถ้าจะขายเกมแบบ

Disk Nintendo จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่น ค่าแปลงเกมจากตลับสู่ Disk และค่า License กับบริษัทเกมสูงมาก

บริษัทเกมเจอแบบนี้เข้าก็เลยหันไปทำเกมลงตลับเหมือนเดิม หนึ่งในเกมที่จะทำลง Disk

แล้วไปลงตลับแทนก็คือ Final Fantasy 1


5. ค่า Memory Chip ลดลง

ข้อนี้เป็นคอมโบกับข้อ 4 คือราคา Memory Chip ที่ลดลงและพื้นที่เก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตเกมแบบตลับไม่แพงหูฉี่อีกแล้ว

จึงสามารถขายเกมได้ในราคาที่ถูกขึ้นประกอบกับบริษัทเกมต้องการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายของเกมแบบ Disk เลยหันมาผลิตเกมแบบตลับแทน


ปัญหาจุกจิกอื่น ๆ ก็เช่น Disk เสียได้ง่ายด้วยสาเหตุฝุ่นเข้าไปจับแถบแม่เหล็ก

อันนี้ต้องโทษ Nintendo ที่งกจนไม่ใส่บานเลื่อนปิดแถบแม่เหล็กมาให้เพราะต้องการลด

Cost , Disk หักได้ง่าย, ตู้ขายเกมกินที่ในร้านเกมมากเกินไปและมีค่าบำรุงรักษาสูง เป็นต้น

แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ Nintendo คือการละเมิดลิขสิทธิ์เกม

เนื่องจากเกมถูกเก็บอยู่บน Disk ในรูปแบบของข้อมูล Digital แล้วทำให้ตัวเกมง่ายต่อการถูกก๊อปปี้อย่างมาก

วิธีการก๊อปปี้ก็มีหลายหลายเช่น

ก๊อปปี้แบบ Disk to Disk ด้วย Disk system สองเครื่องเชื่อมต่อผ่าน Hardware ที่สร้างพิเศษ

ใช้โปรแกรมที่ทำให้ Disk system ทำงานเป็น Disk copy device

หรือ ใช้เครื่องที่ถูกเรียกว่า Game Doctor ก๊อปปี้เกม เป็นต้น

ตัวแผ่น Disk เองก็หาได้ทั่วไปตามท้องตลาดเพราะ Quick Disk เป็นที่นิยมใช้ในญี่ปุ่นช่วงยุค 1980s


 
ระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของ Disk system ก็ใช้ไม่ได้ผลเพราะวิธีที่ใช้ป้องกันนั้นหลีกเลี่ยงได้ง่ายเกินไป

วิธีการตรวจสอบคือที่เครื่อง Disk system ตรงช่องเสียบแผ่นนั้นจะมีร่องกลไกอยู่

เวลาใส่แผ่นส่วนหัวของ Disk ที่ถูกทำเป็นร่องรูปตัวอักษร Nintendo นั้นจะไปกดกลไกนี้ ซึ่งหากกลไกถูกกดถูกต้อง

ระบบก็จะถือว่าเป็นแผ่นเกมที่ถูกลิขสิทธิ์และเริ่มการทำงาน

ตอนผู้เขียนหาข้อมูลยังนึกอยู่เลยว่างั้นแค่ก๊อปปี้เกมแล้วเอาอะไรมากดกลไกที่ว่าแค่นี้ก็เล่นเกมก๊อปปี้ได้แล้วสิ

ซึ่งต่อมาชุดคิทพร้อมวิธีการโมดิฟายแผ่น Quick Disk ทั่วไปให้ใช้งานกับ Disk system ได้ก็ถูกวางจำหน่ายและแพร่กระจายไปทั่ว

โดย Nintendoได้พยายามปรับปรุงมาตรการและวิธีป้องกันแล้วแต่มันไม่ได้ง่ายเหมือนทำกับเกมแบบตลับ

รูปจาก Gaming Historian ที่เปิดช่องใส่แผ่นให้เห็น “กลไกป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์” และวิธีการ Mod Disk


ทำให้ความพยายามที่จะแก้ปัญหาราคาเกมแพงกลับต้องมาเจอกับปัญหาเกมละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งกลายเป็นเกมแมวจับหนูที่ไม่ว่าจะทำยังไงก็จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

ในที่สุด Nintendo ก็ยอมแพ้และกลับไปสู่แนวทางที่ตัวเองถนัดและได้ผลนั้นคือเกมแบบตลับ

Famicom Disk system ยุติการจำหน่ายในปี 2003 รวมอายุของระบบนี้ได้ 7 ปีและไม่เคยได้ออกวางจำหน่ายในต่างประเทศอย่างเป็นทางการ

แต่สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดคือ แนวคิดของ Disk system เองถูกนำไปต่อยอดและพัฒนาจนสมบูรณ์โดยคนอื่น

บริษัทพัฒนา Hardware ต่าง ๆ (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทของจีน) ได้สร้างอุปกรณ์ที่เป็น Add-on ของเครื่องเกม SNES ซึ่งเชื่อมต่อผ่านช่องเสียบตลับเกม

ของเครื่อง อุปกรณ์นี้จะทำให้ผู้เล่นสามารถ Back up เกมจากตลับลงมาเก็บไว้ในแผ่น Diskette ขนาด 3.5 นิ้วได้และยังสามารถโหลดเกมที่ถูกบรรจุไว้ใน

แผ่นมาเล่นได้ด้วยเช่นกัน ส่วนปัญหาสลับแผ่นก็ถูกแก้ไขด้วยวิธีโหลดเกมทั้งเกมลงไปในหน่วยความจำที่ถูกเพิ่มให้มากพอที่จะจุข้อมูลเกมทั้งตลับ

ลงไปได้ก่อนจะเริ่มเกมทำให้ผู้เล่นรอโหลดแค่ตอนแรกทีเดียวก็พอ

อุปกรณ์นี้มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อและชื่อเรียกต่าง ๆ นานา เช่น Super Wild card, Game doctor, Magicom แต่ในไทยมักเรียก Add-on นี้ว่า “หัวโปร”

ภาพจาก Mthai เป็นบทความที่เกี่ยวกับหัวโปรและเครื่อง Super famicom

อ่านบทความได้ที่ https://game.mthai.com/console-games/nintendo/super-famicom/43824.html


 

ด้วยอุปกรณ์นี้ทำให้เกมละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่อง SNES เป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขว้าง

แม้ Nintendo จะพยายามป้องกันไม่ให้วางขายที่หน้าร้านได้แต่ก็ไม่หยุดการขายได้เพราะผู้ผลิตจะขายผ่านทาง internet แทน

คาดว่า Nintendo น่าจะสูญเสียรายได้จากเกมละเมิดลิขสิทธิ์ไปไม่น้อยทีเดียว

แต่เนื่องจากมีประสบการณ์มาแล้ว Nintendo และค่ายเกมเลยมีการรับมือที่ดีขึ้นพอสมควร เช่น การทำให้เกมก๊อปปี้ไม่สามารถเล่นได้อย่างเต็มฟีเจอร์

ตัวอย่างที่เคยเจอมาคือ Rock man X ที่ในแผ่นก๊อปปี้เวอร์ชั่นแรก ๆ นั้นเกราะที่เก็บได้จะหายไปหลังจบฉาก ทำให้ผู้เล่นต้องเล่นแบบไม่มีเกราะช่วย  

แต่เกมส่วนใหญ่ก็ไม่รอดจากการโดนละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดี

ผลพวงจากความล้มเหลวนี้

ผู้เขียนมองว่ามันได้สร้างแผลจำฝังใจให้แก่ Nintendo ในเรื่องของ Load Time และการถูกละเมิดลิขสิทธิ์

ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการแนวทางการพัฒนาเครื่องเกมรุ่นใหม่ของ Nintendo เองหลังจากนั้น

และนำมาซึ่งยุคแห่งความตกต่ำของ Nintendo ที่กินเวลาเกือบทศวรรษ


ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”

โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น

ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ

https://www.facebook.com/uptomejournal/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่