บทความตามใจฉัน “Famicom Disk system” Part 1
สิ่งที่ Nintendo รู้และตระหนักมาตลอดในช่วงที่วางจำหน่ายเครื่องเกมของตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ NES และ SNES ก็คือ “ราคาตลับเกมคืออุปสรรคของธุรกิจ”
ในยุค NES ตลับเกม 1 ตลับนั้นมีราคาขายอยู่ที่ราว ๆ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของตัวเครื่องเกมเลยทีเดียว (ตัวเครื่อง NES
ขายอยู่ที่ราว ๆ 199 US) ยิ่งถ้าเป็นเกมมีความจุมากเท่าไหร่ราคาก็ยิ่งสูงเป็นเงาตามตัว
เช่นในยุค SNES ที่ Final Fantasy 6 ขายกันที่ราคาประมาณ 80 US หรือเกือบครึ่งของราคาเครื่อง SNES
เลยทีเดียว เรียกได้ว่าซื้อตลับเกม 2-3 เกมก็เกือบจะเท่ากับซื้อเครื่องใหม่ได้เครื่องนึงแล้ว สาเหตุมาจาก ROM Chip ที่ในสมัยนั้นราคายังแพงอยู่มาก
หมายเหตุ: ราคาตลับเกมอิงจากราคาขายใน USA
ดังนั้น หากสามารถเปลี่ยนสื่อเก็บข้อมูลมาเป็นชนิดที่ราคาถูกกว่าได้ละก็จะสามารถลดราคาของเกมลงมาได้
Nintendo ก็จะได้ฐานลูกค้าและบริษัทผู้พัฒนาเกมเพิ่มขึ้น
Nintendo เองก็จะขายเกมได้มากขึ้น ( Nintendo ได้ค่าผลิตตลับเกมหรือสื่อเก็บข้อมูลเพื่อบรรจุเกมด้วย) มีแต่ได้กับได้
และสื่อเก็บข้อมูลที่ Nintendo เลือกก็คือ Floppy Disk
เดือนกุมภาพันธ์ 1986 Nintendo ได้ออกวางจำหน่าย Family Computer Disk System เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น
โดย Disk System นี้เป็น Add-on ของ Famicom เชื่อมต่อผ่านช่องเสียบตลับเกม
แนวคิดของ Disk system คือ ข้อมูลของเกมจะถูกเก็บไว้ใน Disk เมื่อจะเล่นเกมก็ใส่แผ่น Disk ให้เครื่องอ่านโหลดข้อมูลจาก Disk
ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของระบบ (มีขนาด 32KB) แล้วก็จะทำตัวเองเหมือนเป็นตลับเกมให้เครื่องอ่านข้อมูลเกมจากหน่วยความจำของระบบแทนตลับ
Disk ที่ใช้นั้นเป็นการนำ “Quick Disk” ที่พัฒนาโดยบริษัท Mitsumi
มาต่อยอดอีกทีโดยทาง Nintendo ตั้งชื่อเรียกว่า “Disk
Card” ตัวแผ่นมีขนาด 3 นิ้วซึ่งเล็กกว่า Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้วที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
มีจุดเด่นที่หัวแผ่นนั้นถูกทำเป็นร่องรูปตัวอักษร Nintendo
ตัว Disk นั้นมีความจุรวมทั้งหมด 112 KB โดยแบ่งออกเป็นสองหน้า หน้าละ 56 KB ตรงจุดนี้จะไม่เหมือนกับที่เรา ๆ เคยใช้
Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้ว ที่เมื่อเสียบเข้าไปแล้วจะเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดในคราวเดียว
ในการเข้าถึงพื้นที่เก็บของมูลทั้งหมดของ Disk card ผู้ใช้ต้องสลับหน้าแผ่นด้วยตนเอง แต่จุดนี้ก็ทำให้ Disk Card นั้น
สามารถบรรจุเกมได้ถึงสองเกมในแผ่นเดียวกันได้ถ้าขนาดเกมไม่เกิน 56KB
จุดเด่นของ Disk system คือสามารถทำลายข้อจำกัดเรื่องขนาดของตัวเกมได้โดยแลกกับความไม่สะดวกในการสลับแผ่น
เช่น บางเกมที่มีขนาดใหญ่จนต้องใช้พื้นที่ทั้งสองหน้าของ Disk นั้น ผู้เล่นอาจจะต้องสลับหน้าของ Disk
เมื่อเกมดำเนินไปจนถึงจุดหนึ่งหรือในบางกรณีที่เกมมีขนาดใหญ่มากจนต้องใช้ Disk ถึงสองแผ่นในการเล่น
ผู้เล่นนอกจากต้องสลับหน้าแผ่นแล้วยังต้องคอยสลับแผ่นอีกด้วย
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Disk system คือวิธีการจำหน่ายเกม
โดยทาง Nintendo ได้สร้างตู้ขายเกมขึ้นมา โดยลักษณะจะคล้าย ๆ ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติติดตั้งไว้ตามร้านขายเกมต่าง
ๆ เมื่อผู้เล่นต้องการจะซื้อเกมใหม่ก็เพียงเอา Disk เสียบเข้าไป, เลือกเกมและใส่เงิน เกมก็จะถูกบันทึกลงไปใน Disk
ตู้นี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อเกมใหม่ลดลงไปได้อีกเพราะผู้เล่นสามารถนำแผ่น
Disk ที่มีอยู่มาบันทึกเกมใหม่ลงไปได้
แต่สิ่งที่สำคัญและดู WOW ในยุคนั้นก็คือเกมบน Disk system สามารถ Save
ได้ บอกลา Password ยาว ๆ ที่ต้องเสียเวลาจดและเวลาพิมพ์ใส่ได้เลย
ไอเดียทั้งหมดที่กล่าวมานั้นดูดี
Nintendo เองก็คาดหวังกับอนาคตการขายเกมแบบแผ่น Disk มาก
แต่ผลลัพธ์คือ Family Computer Disk System กลับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จและสร้างกระทบให้แก่
Nintendo ในอนาคตอย่างอย่างคาดไม่ถึง
To be continue in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “Famicom Disk system” Part 1
สิ่งที่ Nintendo รู้และตระหนักมาตลอดในช่วงที่วางจำหน่ายเครื่องเกมของตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ NES และ SNES ก็คือ “ราคาตลับเกมคืออุปสรรคของธุรกิจ”
ในยุค NES ตลับเกม 1 ตลับนั้นมีราคาขายอยู่ที่ราว ๆ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของตัวเครื่องเกมเลยทีเดียว (ตัวเครื่อง NES
ขายอยู่ที่ราว ๆ 199 US) ยิ่งถ้าเป็นเกมมีความจุมากเท่าไหร่ราคาก็ยิ่งสูงเป็นเงาตามตัว
เช่นในยุค SNES ที่ Final Fantasy 6 ขายกันที่ราคาประมาณ 80 US หรือเกือบครึ่งของราคาเครื่อง SNES
เลยทีเดียว เรียกได้ว่าซื้อตลับเกม 2-3 เกมก็เกือบจะเท่ากับซื้อเครื่องใหม่ได้เครื่องนึงแล้ว สาเหตุมาจาก ROM Chip ที่ในสมัยนั้นราคายังแพงอยู่มาก
หมายเหตุ: ราคาตลับเกมอิงจากราคาขายใน USA
ดังนั้น หากสามารถเปลี่ยนสื่อเก็บข้อมูลมาเป็นชนิดที่ราคาถูกกว่าได้ละก็จะสามารถลดราคาของเกมลงมาได้
Nintendo ก็จะได้ฐานลูกค้าและบริษัทผู้พัฒนาเกมเพิ่มขึ้น
Nintendo เองก็จะขายเกมได้มากขึ้น ( Nintendo ได้ค่าผลิตตลับเกมหรือสื่อเก็บข้อมูลเพื่อบรรจุเกมด้วย) มีแต่ได้กับได้
และสื่อเก็บข้อมูลที่ Nintendo เลือกก็คือ Floppy Disk
เดือนกุมภาพันธ์ 1986 Nintendo ได้ออกวางจำหน่าย Family Computer Disk System เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น
โดย Disk System นี้เป็น Add-on ของ Famicom เชื่อมต่อผ่านช่องเสียบตลับเกม
แนวคิดของ Disk system คือ ข้อมูลของเกมจะถูกเก็บไว้ใน Disk เมื่อจะเล่นเกมก็ใส่แผ่น Disk ให้เครื่องอ่านโหลดข้อมูลจาก Disk
ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของระบบ (มีขนาด 32KB) แล้วก็จะทำตัวเองเหมือนเป็นตลับเกมให้เครื่องอ่านข้อมูลเกมจากหน่วยความจำของระบบแทนตลับ
Disk ที่ใช้นั้นเป็นการนำ “Quick Disk” ที่พัฒนาโดยบริษัท Mitsumi
มาต่อยอดอีกทีโดยทาง Nintendo ตั้งชื่อเรียกว่า “Disk
Card” ตัวแผ่นมีขนาด 3 นิ้วซึ่งเล็กกว่า Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้วที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
มีจุดเด่นที่หัวแผ่นนั้นถูกทำเป็นร่องรูปตัวอักษร Nintendo
ตัว Disk นั้นมีความจุรวมทั้งหมด 112 KB โดยแบ่งออกเป็นสองหน้า หน้าละ 56 KB ตรงจุดนี้จะไม่เหมือนกับที่เรา ๆ เคยใช้
Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้ว ที่เมื่อเสียบเข้าไปแล้วจะเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดในคราวเดียว
ในการเข้าถึงพื้นที่เก็บของมูลทั้งหมดของ Disk card ผู้ใช้ต้องสลับหน้าแผ่นด้วยตนเอง แต่จุดนี้ก็ทำให้ Disk Card นั้น
สามารถบรรจุเกมได้ถึงสองเกมในแผ่นเดียวกันได้ถ้าขนาดเกมไม่เกิน 56KB
จุดเด่นของ Disk system คือสามารถทำลายข้อจำกัดเรื่องขนาดของตัวเกมได้โดยแลกกับความไม่สะดวกในการสลับแผ่น
เช่น บางเกมที่มีขนาดใหญ่จนต้องใช้พื้นที่ทั้งสองหน้าของ Disk นั้น ผู้เล่นอาจจะต้องสลับหน้าของ Disk
เมื่อเกมดำเนินไปจนถึงจุดหนึ่งหรือในบางกรณีที่เกมมีขนาดใหญ่มากจนต้องใช้ Disk ถึงสองแผ่นในการเล่น
ผู้เล่นนอกจากต้องสลับหน้าแผ่นแล้วยังต้องคอยสลับแผ่นอีกด้วย
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ Disk system คือวิธีการจำหน่ายเกม
โดยทาง Nintendo ได้สร้างตู้ขายเกมขึ้นมา โดยลักษณะจะคล้าย ๆ ตู้ขายตั๋วอัตโนมัติติดตั้งไว้ตามร้านขายเกมต่าง
ๆ เมื่อผู้เล่นต้องการจะซื้อเกมใหม่ก็เพียงเอา Disk เสียบเข้าไป, เลือกเกมและใส่เงิน เกมก็จะถูกบันทึกลงไปใน Disk
ตู้นี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อเกมใหม่ลดลงไปได้อีกเพราะผู้เล่นสามารถนำแผ่น
Disk ที่มีอยู่มาบันทึกเกมใหม่ลงไปได้
แต่สิ่งที่สำคัญและดู WOW ในยุคนั้นก็คือเกมบน Disk system สามารถ Save
ได้ บอกลา Password ยาว ๆ ที่ต้องเสียเวลาจดและเวลาพิมพ์ใส่ได้เลย
ไอเดียทั้งหมดที่กล่าวมานั้นดูดี
Nintendo เองก็คาดหวังกับอนาคตการขายเกมแบบแผ่น Disk มาก
แต่ผลลัพธ์คือ Family Computer Disk System กลับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จและสร้างกระทบให้แก่
Nintendo ในอนาคตอย่างอย่างคาดไม่ถึง
To be continue in Part 2
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น
ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/