วันนี้ พี่ๆนักเรียน ม.2 คนหนึ่งถามผมว่า “สมองคนเราทำงานอย่างไรครับ”
ผมถามกลับ ว่า “แล้วสมองจริงๆ ของคนอยู่ตรงไหน รู้ไหม”
“นี่ไง ในหัวเรา”
“ทำไมถึงรู้ว่าสมองอยู่ตรงนั้น” ผมถามอย่างอยากรู้
“ก็ดูตามรูปในหนังสือ ในคลิปก็มีนี่ครับ”
“เห็นแค่รูปในหนังสือ แค่ภาพในคลิปแล้วทำไม่ต้องเชื่อว่าจริงตามนั้น”
“เคยเห็นกับตาตัวเองด้วยครับตอนไปดูอาจารย์ใหญ่(ศพ)ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์”
“ทำไมแน่ใจกับตาตัวเองนักล่ะ ว่าสิ่งที่เห็นนั่นจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ” ผมทำสีหน้าไม่แน่ใจ
“เอ้า ถ้าไม่เชื่อตาตัวเองแล้วจะไปเชื่อใครครับครูใหญ่”
“ก็เชื่อคนอื่นมั้ง” ผมบอก
พี่ ม.2 แย้ง “ทำไมเราต้องเชื่อคนอื่นกว่าตัวเองล่ะ”
“อาจเพราะคนอื่นมีหลาย แต่ตัวเองมีเพียงคนเดียว ประจักษ์พยานหลายคนน่าจะเป็นจริงกว่าไหม”
พี่ ม.2 คนนั้น งง งง 😱😱 ส่วนผมสบายใจที่ได้ก่อกวนเด็กๆ
...
เราจะเห็นคนจบปริญญาตกงาน เตร็ดเตร่ล่องลอยไร้เป้าหมาย มากขึ้นทุกที หลักสูตร ที่พวกเขาผ่านตั้งแต่เล็กจนโต
หลักสูตรการศึกษาทุกระดับกำหนด ให้ผู้เรียนต้องรู้ K ต้องมีทักษะS ต้องมีคุณลักษณะ A
_นึกแย้งว่าถ้าเกิดผลได้อย่างนั้นจริงแล้วยังจะช่วยให้เด็กๆ ดำเนินชีวิตในยุค Dataism ได้อย่างมีคุณภาพจริงหรือ?
#KSA ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจเป็นคนกำหนดขึ้น ผู้กำหนดเองก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่กลับอยากให้คนอื่นเป็น?
หลักสูตรบีบให้พวกเขาเชื่อ แต่ไม่ได้สร้างให้พวกเขาเป็น
ถ้า..ผู้เรียน ไม่เชื่อ ไม่ตามหลักสูตร ก็บีบบังคับให้เขาไม่จบไม่มีแผ่นกระดาษการันตี😭
การจัดการเรียนรู้จึงเป็นไปแนวทางการยัดเยียดเสียมากกว่า
ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้สร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นมาเอง
เขาจะใช้ความรู้หรือทักษะเหล่านั้นไม่ได้ ทั้งยังไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ครูเปลี่ยนตัวเองเป็น Facilitator เริ่มที่ Mindset
โดยต้องตระหนักว่าความรู้ไม่ใช่สิ่งตายตัวที่จะเอาไปแปะไว้ในหัวเด็ก
แต่เด็กคือผู้สร้างความเข้าใจต่อความรู้ขึ้นมา เขาเป็นผู้ใช้ และ
เป็นสิ่งที่เขาเข้าใจ ส่วนครูเป็นเพียงผู้เกื้อหนุน
เป็นผู้จัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่ครอบงำ ไม่ตัดสิน
(สองอย่างนี่ยากยิ่ง)
....
การเรียนรู้ผ่าน Problem Based Learning
(PBL) และ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำค้นคว้าอิสระ
เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังประเชิญอยู่ เป็นการฝึกฝนการแสวงหาความจริง
และเพื่อความเข้าใจจริงๆ ต่อเรื่องที่สนใจหรือสนเท่ห์ ซึ่งจะได้คุณลักษณะ
ทักษะการเรียนรู้เยอะแยะมากมาย ที่สำคัญเด็กๆ ได้สร้างความเข้าใจขึ้นเอง
ซึ่งจะใช้และเป็นสิ่งนั้น
#PBL
ข้อมูล โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
บทความจาก เพจ วิเชียรไชยบัง
https://www.facebook.com/wichian.chaiyabang/
การเรียนรู้ผ่าน Problem Based Learning (PBL) เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำค้นคว้าอิสระ
ผมถามกลับ ว่า “แล้วสมองจริงๆ ของคนอยู่ตรงไหน รู้ไหม”
“นี่ไง ในหัวเรา”
“ทำไมถึงรู้ว่าสมองอยู่ตรงนั้น” ผมถามอย่างอยากรู้
“ก็ดูตามรูปในหนังสือ ในคลิปก็มีนี่ครับ”
“เห็นแค่รูปในหนังสือ แค่ภาพในคลิปแล้วทำไม่ต้องเชื่อว่าจริงตามนั้น”
“เคยเห็นกับตาตัวเองด้วยครับตอนไปดูอาจารย์ใหญ่(ศพ)ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์”
“ทำไมแน่ใจกับตาตัวเองนักล่ะ ว่าสิ่งที่เห็นนั่นจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ” ผมทำสีหน้าไม่แน่ใจ
“เอ้า ถ้าไม่เชื่อตาตัวเองแล้วจะไปเชื่อใครครับครูใหญ่”
“ก็เชื่อคนอื่นมั้ง” ผมบอก
พี่ ม.2 แย้ง “ทำไมเราต้องเชื่อคนอื่นกว่าตัวเองล่ะ”
“อาจเพราะคนอื่นมีหลาย แต่ตัวเองมีเพียงคนเดียว ประจักษ์พยานหลายคนน่าจะเป็นจริงกว่าไหม”
พี่ ม.2 คนนั้น งง งง 😱😱 ส่วนผมสบายใจที่ได้ก่อกวนเด็กๆ
...
เราจะเห็นคนจบปริญญาตกงาน เตร็ดเตร่ล่องลอยไร้เป้าหมาย มากขึ้นทุกที หลักสูตร ที่พวกเขาผ่านตั้งแต่เล็กจนโต
หลักสูตรการศึกษาทุกระดับกำหนด ให้ผู้เรียนต้องรู้ K ต้องมีทักษะS ต้องมีคุณลักษณะ A
_นึกแย้งว่าถ้าเกิดผลได้อย่างนั้นจริงแล้วยังจะช่วยให้เด็กๆ ดำเนินชีวิตในยุค Dataism ได้อย่างมีคุณภาพจริงหรือ?
#KSA ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจเป็นคนกำหนดขึ้น ผู้กำหนดเองก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่กลับอยากให้คนอื่นเป็น?
หลักสูตรบีบให้พวกเขาเชื่อ แต่ไม่ได้สร้างให้พวกเขาเป็น
ถ้า..ผู้เรียน ไม่เชื่อ ไม่ตามหลักสูตร ก็บีบบังคับให้เขาไม่จบไม่มีแผ่นกระดาษการันตี😭
การจัดการเรียนรู้จึงเป็นไปแนวทางการยัดเยียดเสียมากกว่า
ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้สร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นมาเอง
เขาจะใช้ความรู้หรือทักษะเหล่านั้นไม่ได้ ทั้งยังไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ครูเปลี่ยนตัวเองเป็น Facilitator เริ่มที่ Mindset
โดยต้องตระหนักว่าความรู้ไม่ใช่สิ่งตายตัวที่จะเอาไปแปะไว้ในหัวเด็ก
แต่เด็กคือผู้สร้างความเข้าใจต่อความรู้ขึ้นมา เขาเป็นผู้ใช้ และ
เป็นสิ่งที่เขาเข้าใจ ส่วนครูเป็นเพียงผู้เกื้อหนุน
เป็นผู้จัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่ครอบงำ ไม่ตัดสิน
(สองอย่างนี่ยากยิ่ง)
....
การเรียนรู้ผ่าน Problem Based Learning
(PBL) และ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำค้นคว้าอิสระ
เพื่อแก้ปัญหาที่กำลังประเชิญอยู่ เป็นการฝึกฝนการแสวงหาความจริง
และเพื่อความเข้าใจจริงๆ ต่อเรื่องที่สนใจหรือสนเท่ห์ ซึ่งจะได้คุณลักษณะ
ทักษะการเรียนรู้เยอะแยะมากมาย ที่สำคัญเด็กๆ ได้สร้างความเข้าใจขึ้นเอง
ซึ่งจะใช้และเป็นสิ่งนั้น
#PBL
ข้อมูล โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
บทความจาก เพจ วิเชียรไชยบัง https://www.facebook.com/wichian.chaiyabang/