การเรียนการสอนด้วยวิธีการ “เล่าเรื่อง” โดยคุณครู ที่พวกเราเรียกกันคุ้นเคยว่า เลคเชอร์ (Lecture)
เป็นวิธีการสอนที่ทำกันมาเนิ่นนาน
จนกระทั่งทุกวันนี้ ครู อาจารย์ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษาทั่วโลกก็ยังคงสอนแบบนี้กันครับ
วิธีการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional learning approach) นี้มีข้อดีหลายอย่าง เช่น
1. เป็นวิธีที่คุณครูคุ้นเคยเพราะทุกคนต่างก็เรียนมาด้วยวิธีการสอนแบบนี้
2. คุณครูที่มีประสบการณ์สอนแค่เพียงปีเดียว ก็ไม่ต้องเตรียมการสอนใหม่
เพราะเรื่องราวที่สอนก็คือเรื่องราวที่เคยเรียนมา
ถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรก็มักเป็นแค่ย้ายเนื้อหาจากบทหน้าไปไว้หลัง หรืออาจมีการเพิ่มเติม-ตัดทอนเนื้อหา
ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความยุ่งยากใดๆในการสอน
3. การสอนแบบนี้ สามารถสอนนักเรียนนักศึกษาได้ครั้งละหลายคน
เพราะเป็นการบรรยาย จะเรียนพร้อมกันห้องละ 50 คนหรือ 500 คนก็ไม่ได้ต่างกัน
4. สามารถบันทึกการสอนแล้วนำไปเผยแพร่ให้ผู้เรียนได้ทางสื่อต่างๆ เช่นวีดีโอ ยูทูบ podcast
5. การวัดผลก็ง่าย เพราะเป็นการวัดว่าผู้ที่เรียนจดจำเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้วได้มากเพียงใด
เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโจทย์แบบที่สอนไปแล้วหรือไม่
6. ด้วยการวัดผลแบบนี้จึงทำให้การให้คะแนน ตัดเกรดทำได้ง่าย รวดเร็ว ชัดเจน และเป็นธรรม
(ถ้าไม่มีการลอกกัน หรือข้อสอบรั่ว)
วิธีการสอนแบบดั้งเดิมนี้ดูแล้วก็เป็นวิธีที่ดีในการถ่ายทอดความรู้นะครับ
แต่ว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงไปมาก
ในด้านข้อมูลความรู้
เมื่อก่อน ข้อมูลต่างๆมีไม่มาก นักการศึกษาและครูก็คัดสรรข้อมูลมาทำเป็นหลักสูตรดีๆ ให้นักเรียนนักศึกษาเรียน
แค่นั้นก็เพียงพอ
แต่เดี๋ยวนี้ข้อมูลมีมากมาย เข้าถึงได้ง่ายเพราะเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ข้อมูลความรู้ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และยังมีข้อมูลมากมายที่ไม่ต้องหามันก็วิ่งมาหาลูกหลานของเราผ่านทางสื่อต่าง เช่น www Facebook SMS
ในขณะที่การเรียนแบบเดิม เราเน้นให้เด็กเชื่อ .. การเรียนแบบใหม่จึงต้องการให้เด็กคิด
การเรียนแบบเดิม เด็กมีความรู้แค่ตำรา .. การเรียนแบบใหม่จึงต้องเน้นให้ค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง
การเรียนแบบเดิม เน้นให้เด็กจำ .. การเรียนแบบใหม่อยากให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้
คือต้องแยกแยะข้อมูลได้ อะไรเป็นความคิดเห็น อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน
ซึ่งทักษะในการเรียนรู้แบบนี้ จะได้มาจากรูปแบบการสอนที่ต่างจากเดิมครับ
ในด้านอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคมโลก
ผมได้เขียนถึงสาขาอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไว้ในพอกเก็ตบุค ชื่อ “สาขาอาชีพแห่งอนาคต 3”
เป็นอาชีพที่ต่างจากที่เราเห็นและที่สำคัญเป็นอาชีพที่หางานง่าย รายได้สูง
เป็นอาชีพที่มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดสอน
อาชีพเหล่านี้นอกจากจะต้องการความรู้พื้นฐานที่เรียนในมหาวิทยาลัยแล้วยังต้องการคนที่มีทักษะที่สำคัญ
เช่น ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม และที่สำคัญ ทักษะในการคิดสร้างสรรค์
นี่แหละครับตัวการใหญ่ที่ทำให้ชาวโลกต้องหันมาชักชวนเชื้อเชิญให้บรรดาครูอาจารย์ปรับเปลี่ยนการสอน
เพราะถ้ายังสอนกันอยู่แบบเดิม คนเดือดร้อนคือลูกศิษย์เรานี่แหละครับ
เพราะเขาต้องออกไปเผชิญกับสังคมสภาพแวดล้อมที่ต่างจากที่เราเคยเห็นและเป็นมา
ทักษะที่นักเรียนนักศึกษาของเรายังพอหาได้จากการทำกิจกรรมหรือทำงานกลุ่ม
คือทักษะในการสื่อสารและทักษะในการทำงานเป็นทีม
ดังนั้นจะเห็นได้จากเด็กที่เรียนไม่เก่งแต่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีอยู่เยอะแยะ
เด็กพวกนี้มักเป็นเด็กกิจกรรมครับ
แต่ทักษะของความคิดสร้างสรรค์นี้บ้านเรามีน้อยจริงๆ
เพราะความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก "ความแตกต่าง" ในขณะที่การศึกษาบ้านเรา เน้นให้เด็กทุกคนเหมือนกัน
แต่งตัวเหมือนกัน ตัดผมเหมือนกัน เรียนวิชาเดียวกัน ทำข้อสอบชุดเดียวกัน และต้องตอบข้อเดียวกัน
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะกลายเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่งเมื่อเรียนในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม
หลาย คนถูกคุณครูพิจารณาว่า “โง่ เกินกว่าจะเรียน” (คุณ โทมัส แอลวา เอดิสัน นักคิดระดับโลก ก็ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถม เพราะครูแนะนำให้ไปเรียนในโรงเรียนพิเศษที่สอนเด็กสมาธิสั้น)
เมื่อก่อนเราแยกแยะไม่ออกระหว่างเด็กเรียนเก่ง กับเด็กคิดเก่ง
และไม่รู้จักเรื่องราวของความคิดสร้างสรรค์กันหรอกครับ
จนกระทั่ง ประมาณ 50 ปีที่แล้ว นักจิตวิทยา ชื่อดัง อาจารย์ Torrance ได้ทำการวิจัยเพื่อยืนยันว่า
ความคิดสร้างสรรค์ มีความสำคัญเท่าเทียมกับความคิดเชิงวิเคราะห์
และความคิดสร้างสรรค์จำเป็นสำหรับคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก แพทย์ วิศวกร ตำรวจ หรือแม่บ้าน
มาถึงวันนี้ เป็นที่ชัดเจนว่า ทุกสาขาอาชีพต้องการคนที่มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์
แต่ปัญหาคือ การศึกษาแบบบอกเล่า และการสอบแบบท่องจำ นอกจากจะไม่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แล้ว
ยังเป็นการทำลายมันอีกด้วย
(จากงานวิจัย James Catterall, sir Ken Robinson และงานวิจัยของนักการศึกษาอีกหลายท่าน)
หลายประเทศในโลกจึงได้ใช้ความพยายามเพื่อที่จะให้คุณครูปรับเปลี่ยนการสอน
เพื่อสร้างให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้
โดยเฉพาะ อเมริกา ต้นแบบการศึกษาที่เราไปลอกเขามาใช้นี่แหละครับ
อยู่ในช่วงปวดหัวกับการจูงใจครูให้เปลี่ยนรูปแบบการสอน
ล่าสุดได้มีการนำเสนอ “21st century skills” จากการรวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาระดับแนวหน้าของอเมริกาเพื่อเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างจริงจัง
ความจริงแล้ว เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ไทยเราเองก็ทำการปฏิรูปการศึกษา
จากแนวคิดของนักการศึกษาไทยซึ่งเป็นแนวคิดที่ชัดเจนและดีมากๆครับ
แต่จากวันนั้นถึงวันนี้เรามีการเปลี่ยนแค่ เปลือก คือโครงสร้างต่างๆ
เช่นเปลี่ยน ครูใหญ่เป็นผู้อำนวยการ แต่ผู้อำนวยการก็ยังต้องรอคำสั่งจากกระทรวงเหมือนเดิม
เรามีการจัดตั้ง สถาบันทางการทดสอบแห่งชาติ แต่ สทศ. ก็กลายมาเป็น องค์กรออกข้อสอบคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
เรามีการจัดตั้ง สมศ. ซึ่งกลายเป็นปัญหากระดาษล้นโรงเรียน
ส่วนแก่นแท้ที่เราต้องการจริงๆ คือ การเปลี่ยนแปลงการสอน
ครูของเราส่วนใหญ่ยังคงสอนแบบเดิมครับ
เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงการสอนไปในแนวทาง “ผู้เรียนเป็นสำคัญ”
แต่ทุกวันนี้ ครูส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่า สอนอย่างไร “ผู้เรียนเป็นสำคัญ”
นอกจากไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ครูของเรายังต้องมาปวดหัวกับการทำรายงาน ส่ง สมศ.
ต้องมาทำงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
ต้องมาอบรมฝึกฝนความรู้ใหม่ๆ ต้องเตรียมรับการประเมินผล
และล่าสุดต้องมาเร่งให้เด็กสอบโอเนตได้คะแนนมากๆ
ส่วนเด็กนักเรียนระดับประถมต้องเรียน 8 สาระการเรียนรู้... หนักเลยครับ
จากเด็กร่าเริง สนุกสนาน ต้องกลายเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกป้อนข้อมูลตั้งแต่เช้าจรดเย็น
ใครรับได้ ก็กลายเป็นเด็กเรียนเก่ง ส่วนใครไม่ชอบก็กลายเป็นเด็กไม่รักเรียน เด็กเกเร
เด็ก 70% ของเราไม่ได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรอกครับ
และสิ่งที่เขาได้รับจากระบบการศึกษาแบบเดิมนี้ คือ การถูกประเมินว่า โง่
และวิชาต่างๆที่เขาต้องใช้เวลาเรียนมามากมายหลายเรื่องเขาก็ไม่สามารถใช้มันเพื่อพัฒนาชีวิตเขาเลย
ทำไมเราไม่ทำการศึกษาให้ชีวิตเขาดีขึ้น มีความสุขขึ้น มีความหวังขึ้น
หรือเราไม่รักเขาเพียงเพราะเขาเบื่อเรียน เรียนไม่เก่ง
สำหรับเด็กอีก 30% ที่มุ่งจะเอาปริญญา ก็ต้องท่องจำไปสอบแข่งขันกันเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง
ซึ่งใช้ระบบคัดเลือกแบบโบราณ คือวัดคนด้านเดียว คือด้านการทำข้อสอบ
(ต้องขอขอบคุณหลายคณะหลายมหาวิทยาลัยที่เริ่มใช้การรับเข้าแบบอื่นๆซึ่งวัดคุณสมบัติที่นอกเหนือจากการสอบแข่งขัน)
ทุกวันนี้ การศึกษาจึงกลายเป็นเครื่องมือในการแข่งขัน
แทนที่จะจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน
ในส่วนของผู้ปกครอง เราจะเห็นผู้ปกครองมากมายที่ต้องทุ่มเทให้ลูกกวดวิชา
แย่งกันเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยในบ้านเรามีมากกว่า 150 แห่ง เพียงพอต่อทุกคน (ยกเว้นบางคณะ)
การศึกษาของเรามันเข้าขั้นวิกฤติจริงๆครับ ถ้าเป็นคนไข้ ก็อาการหนัก
ผมจะไม่ติติงใครหรือองค์กรหน่วยงานใดๆ ถ้าไม่มีแนวทางที่ดีกว่ามานำเสนอ
นี่คือแนวทางที่ผมยึดถือมาตลอดครับ
เรื่องทั้งหมดมีทางแก้ แต่ไม่ใช่อยู่ที่กระทรวง หรือผู้นำคนใด
การแก้ปัญหาการศึกษาของเรานี้ต้องร่วมมือกันครับ ทุกคนทุกฝ่ายต้องเปลี่ยนแปลง
ในช่วงสองปีมานี้ ผมเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้คุณครูฟังและนำเสนอแนวทางใหม่ รูปแบบการสอนใหม่
คือ การสอนแบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL Creativity-based learning
การสอนแบบนี้แหละครับที่จะสร้างทักษะแห่งอนาคต
นอกจากเด็กจะได้มีความคิดวิเคราะห์ (เหมือนเดิม)
แล้วเขายังจะได้ฝึกฝนทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ทักษะในการเรียนรู้
และที่สำคัญที่สุด คือทักษะในการคิดสร้างสรรค์
ครูจะสนุกและเรียนรู้ไปกับผู้เรียน นักเรียนจะมีความสุขและสนใจใฝ่รู้
และที่สำคัญ เด็กที่ได้เรียนไม่ว่าเขาจะจบ ป.4 หรือ ม.3
ไม่ว่าเขาจะได้เรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปหรือไม่ แนวทางการสอนแบบนี้จะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นแน่นอนครับ
หลังจากบรรยายและนำเสนอแนวทางให้คุณครูและอาจารย์หลายมหาวิทยาลัย
ทั้งวิธีการสอน และการออกข้อสอบ แนวทางใหม่
น่าดีใจครับ
คุณครูแทบทุกคนเห็นด้วยและอยากเปลี่ยนแปลงครับ
หลายท่านเรียนรู้และเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว
แต่ก็มีครูอาจารย์อีกมากที่เห็นด้วยแต่ยังกังวลกับความยุ่งยากที่ต้องเปลี่ยนแปลง
มาถึงตรงนี้ คิดว่าหลายท่านคงสนใจอยากรู้เรื่อง CBL กันบ้าง
ผมจะนำเสนอ หลักการ วิธีการ และการนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ของการสอนแบบCBL ต่อไป
ใครสนใจก็ติดตามนะครับ
https://www.facebook.com/notes/wiriyah-eduzones/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95/589621407725859
สอนอย่างไรให้ผู้เรียนมีทักษะแห่งอนาคต
เป็นวิธีการสอนที่ทำกันมาเนิ่นนาน
จนกระทั่งทุกวันนี้ ครู อาจารย์ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษาทั่วโลกก็ยังคงสอนแบบนี้กันครับ
วิธีการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional learning approach) นี้มีข้อดีหลายอย่าง เช่น
1. เป็นวิธีที่คุณครูคุ้นเคยเพราะทุกคนต่างก็เรียนมาด้วยวิธีการสอนแบบนี้
2. คุณครูที่มีประสบการณ์สอนแค่เพียงปีเดียว ก็ไม่ต้องเตรียมการสอนใหม่
เพราะเรื่องราวที่สอนก็คือเรื่องราวที่เคยเรียนมา
ถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรก็มักเป็นแค่ย้ายเนื้อหาจากบทหน้าไปไว้หลัง หรืออาจมีการเพิ่มเติม-ตัดทอนเนื้อหา
ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความยุ่งยากใดๆในการสอน
3. การสอนแบบนี้ สามารถสอนนักเรียนนักศึกษาได้ครั้งละหลายคน
เพราะเป็นการบรรยาย จะเรียนพร้อมกันห้องละ 50 คนหรือ 500 คนก็ไม่ได้ต่างกัน
4. สามารถบันทึกการสอนแล้วนำไปเผยแพร่ให้ผู้เรียนได้ทางสื่อต่างๆ เช่นวีดีโอ ยูทูบ podcast
5. การวัดผลก็ง่าย เพราะเป็นการวัดว่าผู้ที่เรียนจดจำเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้วได้มากเพียงใด
เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโจทย์แบบที่สอนไปแล้วหรือไม่
6. ด้วยการวัดผลแบบนี้จึงทำให้การให้คะแนน ตัดเกรดทำได้ง่าย รวดเร็ว ชัดเจน และเป็นธรรม
(ถ้าไม่มีการลอกกัน หรือข้อสอบรั่ว)
วิธีการสอนแบบดั้งเดิมนี้ดูแล้วก็เป็นวิธีที่ดีในการถ่ายทอดความรู้นะครับ
แต่ว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงไปมาก
ในด้านข้อมูลความรู้
เมื่อก่อน ข้อมูลต่างๆมีไม่มาก นักการศึกษาและครูก็คัดสรรข้อมูลมาทำเป็นหลักสูตรดีๆ ให้นักเรียนนักศึกษาเรียน
แค่นั้นก็เพียงพอ
แต่เดี๋ยวนี้ข้อมูลมีมากมาย เข้าถึงได้ง่ายเพราะเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ข้อมูลความรู้ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และยังมีข้อมูลมากมายที่ไม่ต้องหามันก็วิ่งมาหาลูกหลานของเราผ่านทางสื่อต่าง เช่น www Facebook SMS
ในขณะที่การเรียนแบบเดิม เราเน้นให้เด็กเชื่อ .. การเรียนแบบใหม่จึงต้องการให้เด็กคิด
การเรียนแบบเดิม เด็กมีความรู้แค่ตำรา .. การเรียนแบบใหม่จึงต้องเน้นให้ค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง
การเรียนแบบเดิม เน้นให้เด็กจำ .. การเรียนแบบใหม่อยากให้เด็กมีทักษะในการเรียนรู้
คือต้องแยกแยะข้อมูลได้ อะไรเป็นความคิดเห็น อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน
ซึ่งทักษะในการเรียนรู้แบบนี้ จะได้มาจากรูปแบบการสอนที่ต่างจากเดิมครับ
ในด้านอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคมโลก
ผมได้เขียนถึงสาขาอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไว้ในพอกเก็ตบุค ชื่อ “สาขาอาชีพแห่งอนาคต 3”
เป็นอาชีพที่ต่างจากที่เราเห็นและที่สำคัญเป็นอาชีพที่หางานง่าย รายได้สูง
เป็นอาชีพที่มหาวิทยาลัยยังไม่เปิดสอน
อาชีพเหล่านี้นอกจากจะต้องการความรู้พื้นฐานที่เรียนในมหาวิทยาลัยแล้วยังต้องการคนที่มีทักษะที่สำคัญ
เช่น ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม และที่สำคัญ ทักษะในการคิดสร้างสรรค์
นี่แหละครับตัวการใหญ่ที่ทำให้ชาวโลกต้องหันมาชักชวนเชื้อเชิญให้บรรดาครูอาจารย์ปรับเปลี่ยนการสอน
เพราะถ้ายังสอนกันอยู่แบบเดิม คนเดือดร้อนคือลูกศิษย์เรานี่แหละครับ
เพราะเขาต้องออกไปเผชิญกับสังคมสภาพแวดล้อมที่ต่างจากที่เราเคยเห็นและเป็นมา
ทักษะที่นักเรียนนักศึกษาของเรายังพอหาได้จากการทำกิจกรรมหรือทำงานกลุ่ม
คือทักษะในการสื่อสารและทักษะในการทำงานเป็นทีม
ดังนั้นจะเห็นได้จากเด็กที่เรียนไม่เก่งแต่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีอยู่เยอะแยะ
เด็กพวกนี้มักเป็นเด็กกิจกรรมครับ
แต่ทักษะของความคิดสร้างสรรค์นี้บ้านเรามีน้อยจริงๆ
เพราะความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก "ความแตกต่าง" ในขณะที่การศึกษาบ้านเรา เน้นให้เด็กทุกคนเหมือนกัน
แต่งตัวเหมือนกัน ตัดผมเหมือนกัน เรียนวิชาเดียวกัน ทำข้อสอบชุดเดียวกัน และต้องตอบข้อเดียวกัน
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะกลายเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่งเมื่อเรียนในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม
หลาย คนถูกคุณครูพิจารณาว่า “โง่ เกินกว่าจะเรียน” (คุณ โทมัส แอลวา เอดิสัน นักคิดระดับโลก ก็ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถม เพราะครูแนะนำให้ไปเรียนในโรงเรียนพิเศษที่สอนเด็กสมาธิสั้น)
เมื่อก่อนเราแยกแยะไม่ออกระหว่างเด็กเรียนเก่ง กับเด็กคิดเก่ง
และไม่รู้จักเรื่องราวของความคิดสร้างสรรค์กันหรอกครับ
จนกระทั่ง ประมาณ 50 ปีที่แล้ว นักจิตวิทยา ชื่อดัง อาจารย์ Torrance ได้ทำการวิจัยเพื่อยืนยันว่า
ความคิดสร้างสรรค์ มีความสำคัญเท่าเทียมกับความคิดเชิงวิเคราะห์
และความคิดสร้างสรรค์จำเป็นสำหรับคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก แพทย์ วิศวกร ตำรวจ หรือแม่บ้าน
มาถึงวันนี้ เป็นที่ชัดเจนว่า ทุกสาขาอาชีพต้องการคนที่มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์
แต่ปัญหาคือ การศึกษาแบบบอกเล่า และการสอบแบบท่องจำ นอกจากจะไม่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แล้ว
ยังเป็นการทำลายมันอีกด้วย
(จากงานวิจัย James Catterall, sir Ken Robinson และงานวิจัยของนักการศึกษาอีกหลายท่าน)
หลายประเทศในโลกจึงได้ใช้ความพยายามเพื่อที่จะให้คุณครูปรับเปลี่ยนการสอน
เพื่อสร้างให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้
โดยเฉพาะ อเมริกา ต้นแบบการศึกษาที่เราไปลอกเขามาใช้นี่แหละครับ
อยู่ในช่วงปวดหัวกับการจูงใจครูให้เปลี่ยนรูปแบบการสอน
ล่าสุดได้มีการนำเสนอ “21st century skills” จากการรวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาระดับแนวหน้าของอเมริกาเพื่อเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างจริงจัง
ความจริงแล้ว เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ไทยเราเองก็ทำการปฏิรูปการศึกษา
จากแนวคิดของนักการศึกษาไทยซึ่งเป็นแนวคิดที่ชัดเจนและดีมากๆครับ
แต่จากวันนั้นถึงวันนี้เรามีการเปลี่ยนแค่ เปลือก คือโครงสร้างต่างๆ
เช่นเปลี่ยน ครูใหญ่เป็นผู้อำนวยการ แต่ผู้อำนวยการก็ยังต้องรอคำสั่งจากกระทรวงเหมือนเดิม
เรามีการจัดตั้ง สถาบันทางการทดสอบแห่งชาติ แต่ สทศ. ก็กลายมาเป็น องค์กรออกข้อสอบคัดเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
เรามีการจัดตั้ง สมศ. ซึ่งกลายเป็นปัญหากระดาษล้นโรงเรียน
ส่วนแก่นแท้ที่เราต้องการจริงๆ คือ การเปลี่ยนแปลงการสอน
ครูของเราส่วนใหญ่ยังคงสอนแบบเดิมครับ
เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงการสอนไปในแนวทาง “ผู้เรียนเป็นสำคัญ”
แต่ทุกวันนี้ ครูส่วนใหญ่ยังไม่รู้เลยว่า สอนอย่างไร “ผู้เรียนเป็นสำคัญ”
นอกจากไม่รู้ว่าจะสอนอย่างไร ครูของเรายังต้องมาปวดหัวกับการทำรายงาน ส่ง สมศ.
ต้องมาทำงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
ต้องมาอบรมฝึกฝนความรู้ใหม่ๆ ต้องเตรียมรับการประเมินผล
และล่าสุดต้องมาเร่งให้เด็กสอบโอเนตได้คะแนนมากๆ
ส่วนเด็กนักเรียนระดับประถมต้องเรียน 8 สาระการเรียนรู้... หนักเลยครับ
จากเด็กร่าเริง สนุกสนาน ต้องกลายเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกป้อนข้อมูลตั้งแต่เช้าจรดเย็น
ใครรับได้ ก็กลายเป็นเด็กเรียนเก่ง ส่วนใครไม่ชอบก็กลายเป็นเด็กไม่รักเรียน เด็กเกเร
เด็ก 70% ของเราไม่ได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรอกครับ
และสิ่งที่เขาได้รับจากระบบการศึกษาแบบเดิมนี้ คือ การถูกประเมินว่า โง่
และวิชาต่างๆที่เขาต้องใช้เวลาเรียนมามากมายหลายเรื่องเขาก็ไม่สามารถใช้มันเพื่อพัฒนาชีวิตเขาเลย
ทำไมเราไม่ทำการศึกษาให้ชีวิตเขาดีขึ้น มีความสุขขึ้น มีความหวังขึ้น
หรือเราไม่รักเขาเพียงเพราะเขาเบื่อเรียน เรียนไม่เก่ง
สำหรับเด็กอีก 30% ที่มุ่งจะเอาปริญญา ก็ต้องท่องจำไปสอบแข่งขันกันเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง
ซึ่งใช้ระบบคัดเลือกแบบโบราณ คือวัดคนด้านเดียว คือด้านการทำข้อสอบ
(ต้องขอขอบคุณหลายคณะหลายมหาวิทยาลัยที่เริ่มใช้การรับเข้าแบบอื่นๆซึ่งวัดคุณสมบัติที่นอกเหนือจากการสอบแข่งขัน)
ทุกวันนี้ การศึกษาจึงกลายเป็นเครื่องมือในการแข่งขัน
แทนที่จะจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน
ในส่วนของผู้ปกครอง เราจะเห็นผู้ปกครองมากมายที่ต้องทุ่มเทให้ลูกกวดวิชา
แย่งกันเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยในบ้านเรามีมากกว่า 150 แห่ง เพียงพอต่อทุกคน (ยกเว้นบางคณะ)
การศึกษาของเรามันเข้าขั้นวิกฤติจริงๆครับ ถ้าเป็นคนไข้ ก็อาการหนัก
ผมจะไม่ติติงใครหรือองค์กรหน่วยงานใดๆ ถ้าไม่มีแนวทางที่ดีกว่ามานำเสนอ
นี่คือแนวทางที่ผมยึดถือมาตลอดครับ
เรื่องทั้งหมดมีทางแก้ แต่ไม่ใช่อยู่ที่กระทรวง หรือผู้นำคนใด
การแก้ปัญหาการศึกษาของเรานี้ต้องร่วมมือกันครับ ทุกคนทุกฝ่ายต้องเปลี่ยนแปลง
ในช่วงสองปีมานี้ ผมเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้คุณครูฟังและนำเสนอแนวทางใหม่ รูปแบบการสอนใหม่
คือ การสอนแบบความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL Creativity-based learning
การสอนแบบนี้แหละครับที่จะสร้างทักษะแห่งอนาคต
นอกจากเด็กจะได้มีความคิดวิเคราะห์ (เหมือนเดิม)
แล้วเขายังจะได้ฝึกฝนทักษะในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ทักษะในการเรียนรู้
และที่สำคัญที่สุด คือทักษะในการคิดสร้างสรรค์
ครูจะสนุกและเรียนรู้ไปกับผู้เรียน นักเรียนจะมีความสุขและสนใจใฝ่รู้
และที่สำคัญ เด็กที่ได้เรียนไม่ว่าเขาจะจบ ป.4 หรือ ม.3
ไม่ว่าเขาจะได้เรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปหรือไม่ แนวทางการสอนแบบนี้จะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นแน่นอนครับ
หลังจากบรรยายและนำเสนอแนวทางให้คุณครูและอาจารย์หลายมหาวิทยาลัย
ทั้งวิธีการสอน และการออกข้อสอบ แนวทางใหม่
น่าดีใจครับ
คุณครูแทบทุกคนเห็นด้วยและอยากเปลี่ยนแปลงครับ
หลายท่านเรียนรู้และเริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว
แต่ก็มีครูอาจารย์อีกมากที่เห็นด้วยแต่ยังกังวลกับความยุ่งยากที่ต้องเปลี่ยนแปลง
มาถึงตรงนี้ คิดว่าหลายท่านคงสนใจอยากรู้เรื่อง CBL กันบ้าง
ผมจะนำเสนอ หลักการ วิธีการ และการนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ของการสอนแบบCBL ต่อไป
ใครสนใจก็ติดตามนะครับ
https://www.facebook.com/notes/wiriyah-eduzones/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95/589621407725859