1.
Photo credit: Churchil Angelio/Flickr
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังมากที่สุดใน
Lucerne
คือ การไปเยี่ยมชมก้อนหินแกะสลัก สิงโตแห่งลูเซิร์น
Lion of Lucerne
รุปแกะสลักนูนหินภาพสิงโตที่บาดเจ็บสาหัส
ที่มีการแกะสลักหินเข้าไปในหน้าผาหินขนาดใหญ่
แถบเหมืองหินทรายเก่าใกล้ Lucerne ใจกลาง Switzerland
อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญและการเสียสละชีวิต
ของทหารองครักษ์ชาวสวิสเซอร์แลนด์
Swiss Guards
ผู้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชวัง
Tuileries Palace ใน Paris
ในช่วงยุคการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1792
French Revolution
(เริ่มต้นปี 1789 กว่าจะสงบก็อีกหลายปีต่อมา)
ภาพสิงโตที่กำลังจะตาย คือ สัญลักษณ์ของ
ความกล้าหาญ ความแข็งแกร่ง และความตั้งใจเด็ดเดี่ยว
ของพวกทหารองครักษ์สวิสที่ยอมตายแทนการทรยศคำสาบาน
ที่ได้สาบานว่าจะจงรักภักดี/รับใช้เจ้านายที่ว่าจ้างทหารองครักษ์/ทหารรับจ้าง
ในช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่ผ่านมา
มีนักท่องเที่ยวนับได้หลายล้านคนที่มาเยี่ยมชมอนุสาวรีย์แห่งนี้
Mark Twain ได้เขียนไว้ว่า
“
ก้อนหินที่โศกเศร้ามากที่สุดและดูมีชีวิตชีวา "
แต่มีผู้คนน้อยมากที่จะสังเกตอนุสาวรีย์แล้วเห็นว่า
มีสัตว์สองชนิดที่แตกต่างกันแกะสลักอยู่บนก้อนหิน
ทหารรับจ้างชาวสวิสมีประเพณีอันยาวนาน
ในการรับใช้/รับจ้างรัฐบาลต่างประเทศ
ทั้งยังมีชื่อเสียงมายาวนานมากในเรื่องความกล้าหาญ
แบบอาสาเจ้าจนตัวตาย ยอมตายไม่ยอมเสียเกียรติยศ
ทำให้ทหารรับจ้างชาวสวิสเป็นที่ต้องการสูงมากในฝรั่งเศสและสเปน
นอกเหนือจากนครรัฐวาติกันที่จ้างเป็นประจำอยู่แล้ว
ตลอดช่วงยุคต้นของประวัติศาสตร์ยุโรป
วันที่ 10 สิงหาคม 1792
เกิดเหตุร้ายขึ้นในพระราชวัง Tuileries
เมื่อกลุ่มชนชั้นแรงงานชาวปารีสได้ยกพวกบุกเข้ามาในวัง
เกิดการต่อสู้และรบพุ่งกันจนมีการสังหารหมู่ทหารองครักษ์ชาวสวิส
ที่ป้องกันให้บรรดาราชวงศ์ได้หลบหนีเข้าไปในสวนก่อน
แล้วหลบหนีต่อไปที่สภานิติบัญญัติ Legislative Assembly
ซึ่งในเวลาต่อมามีกองกำลังรักษาความปลอดภัยปารีส
Paris National Guard คุ้มกันพวกราชวงศ์จากพวก Mob
แต่พระธิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางหนึ่งกลับตรัสว่า
ทหารองค์รักษ์สวิสบางนายฝักใฝ่พวกปฏิวัติ
(ทำให้พวกปฏิวัติจู่โจมเข้ามาได้ง่าย ๆ)
ทหารองครักษ์สวิสจำนวน 900 คน ตายในสนามรบถึง 600 คน
อีกจำนวน 60 คนถูกจับกุมเป็นนักโทษไปขังที่ Paris City Hall
ก่อนที่ฝูงชนจะฆ่าทุกคนตายที่นั่น
ประมาณการว่ามีทหารองครักษ์สวิสราว 160 คนตายในคุก
เพราะบาดแผลจากการสู้รบและถูกประหารในช่วง
September Massacres
ที่ทำสถิติใช้กิโยตินตัดคอคนได้ถึง 1,000 คนภายใน 20 ชั่วโมง
มีทหารองครักษ์สวิสน้อยกว่า 100 คนที่ล่าถอยออกจากพระราชวังTuileries ได้
และบางคนชาวบ้าน Paris สงสารให้หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านจึงรอดตาย
มีทหารองครักษ์สวิสอีกจำนวน 300 คนที่ไปปฏิบัตืหน้าที่ที่ Normandy
เพื่อเป็นขบวนคุ้มกันเสบียงอาหาร/ธัญพืชจึงรอดตายในครั้งนี้
เพราะออกเดินทางไปก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 1792
นายทหารส่วนใหญ่ตายเพราะอารักขาพระราชวัง Tuileries ครั้งนี้
ผู้พัน Karl Josef von Bachmann ที่บังคับบัญชากองทหารที่พระราชวัง Tuileries
ถูกจับกุมตัวได้และถูกประหารชีวิตในช่วงเดือนกันยายน
ท่านถูกกิโยตินตัดคอพร้อมชุดนายทหารองครักษ์สีแดง
นายทหารองครักษ์สวิส 2 นายที่รอดตายในครั้งนั้น คือ
Henri de Salis กับ Joseph Zimmermann
ต่อมาได้กลับเข้ารับราชการเป็นทหารองค์รักษ์ในฝรั่งเศสอีก
ได้รับการเลื่อนขั้นระดับสูงสมัยจักรพรรดิ์ Napoleon และยุคฟื้นฟูฝรั่งเศส
หนึ่งในทหารองครักษ์ชาวสวิส
ร้อยตรี
Carl Pfyffer von Altishofen
บังเอิญเดินทางกลับบ้านใน Lucerne ช่วงก่อนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว
หลังจากเหตุร้ายในวันที่ 10 สิงหาคม 1792 สงบลงแล้ว
Carl Pfyffer von Altishofen ยังคงกลับมาปฏิบัติหน้าที่นี้จนถึงปี 1801
เพราะกองทหารองครักษ์ชาวสวิสถูกยุบ
มีการตั้งกองกำลังพิทักษ์ปารีสขึ้นมาแทน
แล้วท่านจึงกลับมาบ้านเกิดที่ Lucerne
ท่านได้เริ่มเตรียมแผนการในการสร้างอนุสาวรีย์
เพื่อให้เป็นเกียรติยศ/อนุสรณ์สถานแด่สหายร่วมรบของท่าน
ที่ได้ตายเพื่อหน้าที่ใน Paris จำนวนมากในครั้งนั้น
แต่ Carl Pfyffer von Altishofen ต้องรักษาแผนการนี้ไว้เป็นความลับ
เพราะ Switzerland ตกเป็นเมืองขึ้นของ France ในเวลานั้น
อนุสาวรีย์ที่จะอุทิศให้กับผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์
จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และทำไม่ได้เพราะเหตุผลทางการเมือง
หลังจากช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลง
และชาวสวิสได้มีเอกราช/เป็นอิสระอีกครั้ง
ท่านจึงเริ่มวางแผนที่จะลงมือทำ
ในปี 1815 Carl Pfyffer von Altishofen จีงเริ่มลงมือตามแผนลับเดิม
โดยว่าจ้างช่างแกะสลักชาวเดนมาร์กชื่อดัง
Bertel Thorvaldsen เพื่อออกแบบอนุสาวรีย์
ท่านได้ขอรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างจากชาวบ้าน
แม้ว่าจะได้รับเงินบริจาคจำนวนหนึ่งแต่ก็ไม่มากมายนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเสรีนิยมที่ไม่ชอบเจ้า
ต่างไม่เห็นด้วยกับอนุเสาวรีย์นี้แต่อย่างใด
ในที่สุด Carl Pfyffer von Altishofen ก็ถูกปล่อยเกาะ
ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ้าง Bertel Thorvaldsen ได้ตามสัญญา
การขาดแคลนเงินทุนในการสร้างอนุสาวรีย์
ไม่ได้ทำให้ Carl Pfyffer von Altishofen ท้อแท้แต่อย่างใด
แต่ยังสามารถโน้มน้าวให้ Bertel Thorvaldsen ทำงานต่อจนเสร็จได้
จากเอกสารของพิพิธภัณฑ์ Thorvaldsens Museum Archives
Carl Pfyffer von Altishofen ไม่ยอมบอกความจริง
เรื่องมีเงินไม่พอจ่ายให้กับ Bertel Thorvaldsen
ดังนั้นท่านจึงดึงเรื่องการจ่ายเงินไว้ก่อน
จนกว่าช่างแกะสลักหินได้ส่งมอบประติมากรรมให้ก่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองต่างขัดแย้งกันอย่างแรง
ในช่วงเวลาต่อมาที่กำหนดระยะเวลาแกะสลักหินประติมากรรมชิ้นนี้
ที่ Bertel Thorvaldsens ไม่สามารถส่งมอบงานได้ในเวลาที่กำหนด
Carl Pfyffer von Altishofen ก็รู้สึกหงุดหงิด/ไม่พอใจกับความล่าช้า
ซึ่งท่านอ้างว่า
Bertel Thorvaldsens ทำให้ชาวบ้านที่รอดูงานชิ้นนี้
ต่างโกรธแค้นกับความเฉื่อยชาและไม่เอาการเอางานในการแกะสลัก
แต่ Bertel Thorvaldsen ก็รู้สึกหงุดหงิดเหมือนกันเมื่อถูกสั่งเร่งให้ทำงาน
ยิ่งเมื่อท่านรู้ว่าท่านจะไม่ได้รับเงินเต็มตามสัญญาที่ว่าจ้าง
ศิลปินผู้ขุ่นเคืองหมองใจจึงตัดสินใจทำก่อนที่จะรับเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย
ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปประติมากรรมบางส่วนเป็นการแก้แค้น
ภาพสิงโตที่กำลังจะตายด้วยหอกที่ถูกเสียบ
หอกเป็นสัญลักษณ์อาวุธของทหารสวิสที่ร่วงหล่น
อุ้งเท้าสิงโตที่แตะโล่สัญลักษณ์ราชวงศ์ฝรั่งเศส
fleur-de-lis
ข้าง ๆ สิงโตยังมีตราอาร์มสวิสเซอร์แลนด์
Bertel Thorvaldsen ไม่ได้ทำลายหรือดัดแปลงประติมากรรมรูปนี้เลย
เพราะยังให้ความเคารพกับบรรดาทหารองครักษ์สวิสที่เสียชีวิตไปแล้ว
แต่ท่านเปลี่ยนรูปถ้ำที่สิงโตกำลังจะนอนตาย
ให้ดูคล้าย ๆ กับ
รูปหมูขนาดใหญ่ ครอบตัวประติมากรรม
ให้ลองสังเกตอนุสาวรีย์อีกครั้งหนึ่ง
ช่างแกะสลักชาวสวิส Pankraz Eggenschwyler
ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จริงในการแกะสลักอนุสาวรีย์สิงโต
ในหน้าผาตามรูปแบบของ Bertel Thorvaldsen
ในขณะที่ทำงานวันหนึ่ง Pankraz Eggenschwyler
ได้พลัดตกลงจากนั่งร้านและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ช่างแกะสลักจากเยอรมันชื่อ Lucas Ahorn
จึงถูกนำตัวมาเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้น
ซึ่งท่านได้แกะสลักจนสำเร็จในปี 1821
เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่าไม่มีใครสังเกตเห็นรูปหมู
จนกระทั่งงานประติมากรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดย Bertel Thorvaldsen ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย
และได้รับเงินจาก Carl Pfyffer von Altishofen แล้ว
จนถึงทุกวันนี้จะสามารถเห็นรูปร่างของหมูได้อย่างชัดเจน
นั่นคือ
การฝากด่า ด้วยสัญรูปที่ชัดเจน
จาก Bertel Thorvaldsens ที่แสดงความรังเกียจ
กับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เรื่องค่าตอบแทนที่ควรจะได้รับ
หมูเป็นสัตว์สกปรกที่ฝรั่งบางพวกเกลียดมากกับคำ ๆ นี้
เพราะถือว่า ตะกละ สกปรก เกียจคร้าน กินทุกอย่างไม่เลือก
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2UuWSww
https://bit.ly/2u9guvk
https://bit.ly/2IGT0pV
https://bit.ly/1MeZx7g
2.
ภาพร่างช่วงแรก ๆ ของนักแกะสลักหิน Bertel Thorvaldsen ท่านไม่เคยเห็นสิงโตมาก่อนในชีวิต
จึงพยายามจับแพะชนแกะจากภาพร่างของคนอื่น ๆ ไปก่อน Photo credit: The Thorvaldsens Museum Archives
3.
Photo credit: justrookie69/Flickr
4.
Photo credit: David Casteel/Flickr
5.
Photo credit: Soon Koon/Flickr
6.
Photo credit: jpellgen/Flickr
หมูแห่งลูเซิร์น vs สิงโตแห่งลูเซิร์น
คือ การไปเยี่ยมชมก้อนหินแกะสลัก สิงโตแห่งลูเซิร์น Lion of Lucerne
รุปแกะสลักนูนหินภาพสิงโตที่บาดเจ็บสาหัส
ที่มีการแกะสลักหินเข้าไปในหน้าผาหินขนาดใหญ่
แถบเหมืองหินทรายเก่าใกล้ Lucerne ใจกลาง Switzerland
อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญและการเสียสละชีวิต
ของทหารองครักษ์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ Swiss Guards
ผู้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องพระราชวัง Tuileries Palace ใน Paris
ในช่วงยุคการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1792 French Revolution
(เริ่มต้นปี 1789 กว่าจะสงบก็อีกหลายปีต่อมา)
ภาพสิงโตที่กำลังจะตาย คือ สัญลักษณ์ของ
ความกล้าหาญ ความแข็งแกร่ง และความตั้งใจเด็ดเดี่ยว
ของพวกทหารองครักษ์สวิสที่ยอมตายแทนการทรยศคำสาบาน
ที่ได้สาบานว่าจะจงรักภักดี/รับใช้เจ้านายที่ว่าจ้างทหารองครักษ์/ทหารรับจ้าง
ในช่วงเวลา 2 ศตวรรษที่ผ่านมา
มีนักท่องเที่ยวนับได้หลายล้านคนที่มาเยี่ยมชมอนุสาวรีย์แห่งนี้
Mark Twain ได้เขียนไว้ว่า
“ ก้อนหินที่โศกเศร้ามากที่สุดและดูมีชีวิตชีวา "
แต่มีผู้คนน้อยมากที่จะสังเกตอนุสาวรีย์แล้วเห็นว่า
มีสัตว์สองชนิดที่แตกต่างกันแกะสลักอยู่บนก้อนหิน
ทหารรับจ้างชาวสวิสมีประเพณีอันยาวนาน
ในการรับใช้/รับจ้างรัฐบาลต่างประเทศ
ทั้งยังมีชื่อเสียงมายาวนานมากในเรื่องความกล้าหาญ
แบบอาสาเจ้าจนตัวตาย ยอมตายไม่ยอมเสียเกียรติยศ
ทำให้ทหารรับจ้างชาวสวิสเป็นที่ต้องการสูงมากในฝรั่งเศสและสเปน
นอกเหนือจากนครรัฐวาติกันที่จ้างเป็นประจำอยู่แล้ว
ตลอดช่วงยุคต้นของประวัติศาสตร์ยุโรป
วันที่ 10 สิงหาคม 1792
เกิดเหตุร้ายขึ้นในพระราชวัง Tuileries
เมื่อกลุ่มชนชั้นแรงงานชาวปารีสได้ยกพวกบุกเข้ามาในวัง
เกิดการต่อสู้และรบพุ่งกันจนมีการสังหารหมู่ทหารองครักษ์ชาวสวิส
ที่ป้องกันให้บรรดาราชวงศ์ได้หลบหนีเข้าไปในสวนก่อน
แล้วหลบหนีต่อไปที่สภานิติบัญญัติ Legislative Assembly
ซึ่งในเวลาต่อมามีกองกำลังรักษาความปลอดภัยปารีส
Paris National Guard คุ้มกันพวกราชวงศ์จากพวก Mob
แต่พระธิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางหนึ่งกลับตรัสว่า
ทหารองค์รักษ์สวิสบางนายฝักใฝ่พวกปฏิวัติ
(ทำให้พวกปฏิวัติจู่โจมเข้ามาได้ง่าย ๆ)
ทหารองครักษ์สวิสจำนวน 900 คน ตายในสนามรบถึง 600 คน
อีกจำนวน 60 คนถูกจับกุมเป็นนักโทษไปขังที่ Paris City Hall
ก่อนที่ฝูงชนจะฆ่าทุกคนตายที่นั่น
ประมาณการว่ามีทหารองครักษ์สวิสราว 160 คนตายในคุก
เพราะบาดแผลจากการสู้รบและถูกประหารในช่วง September Massacres
ที่ทำสถิติใช้กิโยตินตัดคอคนได้ถึง 1,000 คนภายใน 20 ชั่วโมง
มีทหารองครักษ์สวิสน้อยกว่า 100 คนที่ล่าถอยออกจากพระราชวังTuileries ได้
และบางคนชาวบ้าน Paris สงสารให้หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านจึงรอดตาย
มีทหารองครักษ์สวิสอีกจำนวน 300 คนที่ไปปฏิบัตืหน้าที่ที่ Normandy
เพื่อเป็นขบวนคุ้มกันเสบียงอาหาร/ธัญพืชจึงรอดตายในครั้งนี้
เพราะออกเดินทางไปก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 1792
นายทหารส่วนใหญ่ตายเพราะอารักขาพระราชวัง Tuileries ครั้งนี้
ผู้พัน Karl Josef von Bachmann ที่บังคับบัญชากองทหารที่พระราชวัง Tuileries
ถูกจับกุมตัวได้และถูกประหารชีวิตในช่วงเดือนกันยายน
ท่านถูกกิโยตินตัดคอพร้อมชุดนายทหารองครักษ์สีแดง
นายทหารองครักษ์สวิส 2 นายที่รอดตายในครั้งนั้น คือ
Henri de Salis กับ Joseph Zimmermann
ต่อมาได้กลับเข้ารับราชการเป็นทหารองค์รักษ์ในฝรั่งเศสอีก
ได้รับการเลื่อนขั้นระดับสูงสมัยจักรพรรดิ์ Napoleon และยุคฟื้นฟูฝรั่งเศส
หนึ่งในทหารองครักษ์ชาวสวิส
ร้อยตรี Carl Pfyffer von Altishofen
บังเอิญเดินทางกลับบ้านใน Lucerne ช่วงก่อนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว
หลังจากเหตุร้ายในวันที่ 10 สิงหาคม 1792 สงบลงแล้ว
Carl Pfyffer von Altishofen ยังคงกลับมาปฏิบัติหน้าที่นี้จนถึงปี 1801
เพราะกองทหารองครักษ์ชาวสวิสถูกยุบ
มีการตั้งกองกำลังพิทักษ์ปารีสขึ้นมาแทน
แล้วท่านจึงกลับมาบ้านเกิดที่ Lucerne
ท่านได้เริ่มเตรียมแผนการในการสร้างอนุสาวรีย์
เพื่อให้เป็นเกียรติยศ/อนุสรณ์สถานแด่สหายร่วมรบของท่าน
ที่ได้ตายเพื่อหน้าที่ใน Paris จำนวนมากในครั้งนั้น
แต่ Carl Pfyffer von Altishofen ต้องรักษาแผนการนี้ไว้เป็นความลับ
เพราะ Switzerland ตกเป็นเมืองขึ้นของ France ในเวลานั้น
อนุสาวรีย์ที่จะอุทิศให้กับผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์
จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และทำไม่ได้เพราะเหตุผลทางการเมือง
หลังจากช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลง
และชาวสวิสได้มีเอกราช/เป็นอิสระอีกครั้ง
ท่านจึงเริ่มวางแผนที่จะลงมือทำ
ในปี 1815 Carl Pfyffer von Altishofen จีงเริ่มลงมือตามแผนลับเดิม
โดยว่าจ้างช่างแกะสลักชาวเดนมาร์กชื่อดัง Bertel Thorvaldsen เพื่อออกแบบอนุสาวรีย์
ท่านได้ขอรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างจากชาวบ้าน
แม้ว่าจะได้รับเงินบริจาคจำนวนหนึ่งแต่ก็ไม่มากมายนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเสรีนิยมที่ไม่ชอบเจ้า
ต่างไม่เห็นด้วยกับอนุเสาวรีย์นี้แต่อย่างใด
ในที่สุด Carl Pfyffer von Altishofen ก็ถูกปล่อยเกาะ
ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ้าง Bertel Thorvaldsen ได้ตามสัญญา
การขาดแคลนเงินทุนในการสร้างอนุสาวรีย์
ไม่ได้ทำให้ Carl Pfyffer von Altishofen ท้อแท้แต่อย่างใด
แต่ยังสามารถโน้มน้าวให้ Bertel Thorvaldsen ทำงานต่อจนเสร็จได้
จากเอกสารของพิพิธภัณฑ์ Thorvaldsens Museum Archives
Carl Pfyffer von Altishofen ไม่ยอมบอกความจริง
เรื่องมีเงินไม่พอจ่ายให้กับ Bertel Thorvaldsen
ดังนั้นท่านจึงดึงเรื่องการจ่ายเงินไว้ก่อน
จนกว่าช่างแกะสลักหินได้ส่งมอบประติมากรรมให้ก่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองต่างขัดแย้งกันอย่างแรง
ในช่วงเวลาต่อมาที่กำหนดระยะเวลาแกะสลักหินประติมากรรมชิ้นนี้
ที่ Bertel Thorvaldsens ไม่สามารถส่งมอบงานได้ในเวลาที่กำหนด
Carl Pfyffer von Altishofen ก็รู้สึกหงุดหงิด/ไม่พอใจกับความล่าช้า
ซึ่งท่านอ้างว่า Bertel Thorvaldsens ทำให้ชาวบ้านที่รอดูงานชิ้นนี้
ต่างโกรธแค้นกับความเฉื่อยชาและไม่เอาการเอางานในการแกะสลัก
แต่ Bertel Thorvaldsen ก็รู้สึกหงุดหงิดเหมือนกันเมื่อถูกสั่งเร่งให้ทำงาน
ยิ่งเมื่อท่านรู้ว่าท่านจะไม่ได้รับเงินเต็มตามสัญญาที่ว่าจ้าง
ศิลปินผู้ขุ่นเคืองหมองใจจึงตัดสินใจทำก่อนที่จะรับเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย
ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปประติมากรรมบางส่วนเป็นการแก้แค้น
ภาพสิงโตที่กำลังจะตายด้วยหอกที่ถูกเสียบ
หอกเป็นสัญลักษณ์อาวุธของทหารสวิสที่ร่วงหล่น
อุ้งเท้าสิงโตที่แตะโล่สัญลักษณ์ราชวงศ์ฝรั่งเศส fleur-de-lis
ข้าง ๆ สิงโตยังมีตราอาร์มสวิสเซอร์แลนด์
Bertel Thorvaldsen ไม่ได้ทำลายหรือดัดแปลงประติมากรรมรูปนี้เลย
เพราะยังให้ความเคารพกับบรรดาทหารองครักษ์สวิสที่เสียชีวิตไปแล้ว
แต่ท่านเปลี่ยนรูปถ้ำที่สิงโตกำลังจะนอนตาย
ให้ดูคล้าย ๆ กับ รูปหมูขนาดใหญ่ ครอบตัวประติมากรรม
ให้ลองสังเกตอนุสาวรีย์อีกครั้งหนึ่ง
ช่างแกะสลักชาวสวิส Pankraz Eggenschwyler
ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จริงในการแกะสลักอนุสาวรีย์สิงโต
ในหน้าผาตามรูปแบบของ Bertel Thorvaldsen
ในขณะที่ทำงานวันหนึ่ง Pankraz Eggenschwyler
ได้พลัดตกลงจากนั่งร้านและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ช่างแกะสลักจากเยอรมันชื่อ Lucas Ahorn
จึงถูกนำตัวมาเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้น
ซึ่งท่านได้แกะสลักจนสำเร็จในปี 1821
เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่าไม่มีใครสังเกตเห็นรูปหมู
จนกระทั่งงานประติมากรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดย Bertel Thorvaldsen ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย
และได้รับเงินจาก Carl Pfyffer von Altishofen แล้ว
จนถึงทุกวันนี้จะสามารถเห็นรูปร่างของหมูได้อย่างชัดเจน
นั่นคือ การฝากด่า ด้วยสัญรูปที่ชัดเจน
จาก Bertel Thorvaldsens ที่แสดงความรังเกียจ
กับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เรื่องค่าตอบแทนที่ควรจะได้รับ
หมูเป็นสัตว์สกปรกที่ฝรั่งบางพวกเกลียดมากกับคำ ๆ นี้
เพราะถือว่า ตะกละ สกปรก เกียจคร้าน กินทุกอย่างไม่เลือก
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2UuWSww
https://bit.ly/2u9guvk
https://bit.ly/2IGT0pV
https://bit.ly/1MeZx7g