จำนวน สส. บัญชีรายชื่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  มาตรา 91 ข้อ 1-2 ระบุว่า

(๑) นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

(๒) นําผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้

ถ้าเอาตัวเลขเป็นทศนิยมจากข้อ (๒) ไปคำนวณ กรณีที่ไม่มีพรรรคการเมืองใดได้ สส.แบ่งเขต มากกว่า สส.พึงมี
และยึดกฎ มี สส. รวมมากกว่า สส.พึงมีไม่ได้ เราจะไม่มีทางได้ สส. บัญชีรายชื่อครบ 150 คนเลย
หรือเพียงปรับตัวเลข สส.เขต ให้ พท.ได้ 127 พปชร. ได้ 107 ก็ไม่สามารถคำนวณหา สส. บัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน

พรบ. เลือกตั้งฯ จึงมีมาตรา 128 (2) ออกมาเพื่อให้มีการคำนวณเพิ่มเติมว่า

(๒) นําผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต
จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้เบื้องต้น
และเมื่อได้คํานวณตาม (๕) (๖) หรือ (๗) ถ้ามีแล้ว จึงให้ถือว่า เป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้

ผมลองคำนวณดูแล้ว ถ้าจะคำนวณจำนวน สส. บัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน ทั้งกรณีที่ สส.เขตมากกว่า สส.พึงมี หรือ สส.เขตน้อยกว่า สส.พึงมี
ต้องหาจำนวน สส.พึงมีของแต่ละพรรค ตามข้อ (๒) เป็นจำนวนเต็มให้ครบ 150 คนก่อน
และอย่าลืมว่า ถ้ายังไม่มี สส.พึงมีตามข้อ (๒) ก็จะไม่มีพรรคไหนมี สส. เกิน สส.พึงมี ฉะนั้น การปัดเศษขึ้นจึงเป็นไปได้

ความคิดเห็นส่วนตัว ถกเถียงกันได้ครับ  smile
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่