..." สังคมไทยก้าวสู่สองนครายุคใหม่! ดร.นิพนธ์ ชี้ผลเลือกตั้ง สะท้อนความแตกต่างคน 3 กลุ่ม "...

..." สังคมไทยก้าวสู่สองนครายุคใหม่! ดร.นิพนธ์ ชี้ผลเลือกตั้ง สะท้อนความแตกต่างคน 3 กลุ่ม "...

( เขียนวันจันทร์ ที่ 01 เมษายน 2562 เวลา 15:47 น. เขียนโดย Thaireform )

             
'นิพนธ์' เผยไม่ใช่เรื่องเเปลก เกิดบรรยากาศเจรจา วิ่งเต้น รวมเสียงตั้งรัฐบาล เหตุรธน.ถูกออกเเบบให้มี รบ.ผสม เชื่อ
พปชร. เป็นเเกนนำได้ ไร้เสถียรภาพ ผ่านงบฯ ประจำปี อาจไม่ได้ ยกเว้นดึง 'งูเห่า' 6 พันธมิตร 'เพื่อไทย ขณะที่อนาคต
ไทยก้าวสู่ยุค 'สองนครา' ผู้สูงอายุ-หนุ่มสาว 

วันที่ 1 เม.ย. 2562 ที่ม.ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อ -
การพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถอดบทเรียนการเลือกตั้ง 2562 ในเวทีเสวนา เรื่อง " เดินหน้าเศรษฐกิจ
หลังการเลือกตั้ง " จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ภายใต้กิจกรรมเสวนาชุดก้าวเข้าสู่ 70 ปี เศรษฐศาสตร์
ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 5

รศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า เวลานี้เป็นการช่วงชิงความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล ถึงแม้รู้ว่า ตนเองจะไม่ได้
เป็นรัฐบาลแน่นอน แต่ต้องช่วงชิงความเป็นธรรมกันไว้ก่อน ซึ่งเวลานี้มีการเจรจา กดดัน วิ่งเต้น ทุกรูปแบบ เกิดแน่นอน
โดยไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เนื่องจากรัฐธรรมนูญออกแบบมาให้มีรัฐบาลผสมที่ต้องเจรจากันอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายอนาคตเก่า) คาดไม่ถึงคือ พรรคอนาคตใหม่ได้คะแนนเสียงมาก
จนกระทั่งกลายเป็นก้างขวางคอในการจัดตั้งรัฐบาล

ทั้งนี้ แม้พรรคเพื่อไทยและพันธมิตรจะมีคะแนนเสียง 252 เสียง แต่คงจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ยกเว้นจะได้รับเสียง
สนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรืองูเห่า 144 เสียง แม้จะได้เสียง ส.ว. ก็ไม่มีเสถียรภาพยกเว้นว่า
พรรคภูมิใจไทย (52 เสียง) ชาติไทยพัฒนา (10 เสียง) และชาติพัฒนา (3 เสียง) จะมาร่วมตั้งรัฐบาลด้วยเท่านั้น
และยืนยันว่า แม้จะจัดตั้งรัฐบาลได้อีกก็ยังไม่มีเสถียรภาพ

“ตัวแปรสำคัญ คือ พรรคอนาคตใหม่ (87 เสียง) อาจมีมติไม่รับกฎหมายหลายฉบับ อาจมีปัญหาทุจริต ถ้า
พรรคอนาคตใหม่ไม่ค้าน อนาคตจะดับ เพราะฉะนั้นจะต้องค้านแน่นอน หากมีการทุจริต เหมือนเช่น
กรณี สปก. พรรคพลังธรรม”

ส่วนพรรคพลังประชารัฐ และพรรคที่เหลือ นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า อาจตั้งรัฐบาลได้ แต่คะแนน
ในสภาล่างมีเพียง 248 เสียง เพราะฉะนั้น สมมติพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาล หรือเป็นฝ่ายค้านอิสระ แล้วโหวตให้
พรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาล จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องไปดึง ส.ส. จาก 6 พรรคพันธมิตร (งูเห่า) ของพรรคเพื่อไทย
มิฉะนั้นไปไม่รอด แม้กระทั่งผ่านงบประมาณประจำปี ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องง่าย อาจจะผ่านไม่ได้

ทางออกสุดท้ายเวลานี้ กรณีตั้งรัฐบาลไม่ได้ รัฐบาลปัจจุบันจะบริหารประเทศไปเรื่อย ๆ จนกว่าพรรคการเมืองจะตกลง
กันได้ ซึ่งคิดว่า น่าจะไม่มีระยะเวลากำหนด

รศ.ดร.นิพนธ์ ยังกล่าวว่า เรากำลังก้าวสู่สองนครายุคใหม่

เนื่องจากผลการเลือกตั้งแตกต่างจากผลสำรวจและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็น โดยสะท้อนความแตกต่างของ
คน 3 กลุ่ม คือ

▪ ผู้จงรักภักดีต่อพรรคเพื่อไทย (ทักษิณ)

▪ กลุ่มคนมีอายุจงรักภักดีต่อพรรคพลังประชารัฐ (อนาคตเก่า) และ

▪ กลุ่มคนหนุ่มสาวจงรักภักดีต่อพรรคอนาคตใหม่

แต่ในอนาคต 2 กลุ่มหลังจะมีความสำคัญมากในประเทศไทย และนับวันอนาคตกลุ่มคนสูงอายุจะมากขึ้น ดังนั้น
ความต้องการและโลกทัศน์ของคนสองกลุ่มหลังจึงต่างกันมาก

คนสูงอายุมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางการเมือง ทำให้พรรคพลังประชารัฐมีคะแนนถล่มทลาย และในอนาคตคนกลุ่มนี้
จะมีมากขึ้น เกิดความแตกต่างทางความคิดระหว่างคนหนุ่มสาวกับคนสูงอายุ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องใหญ่

และงานวิจัยพบว่า สังคมยิ่งชราภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลิตภาพแรงงานจะต่ำ เพราะคนสูงอายุไม่มี
ความรู้ใหม่ และการศึกษาพบว่า ในองค์กรที่มีผู้สูงอายุมาก ทุกคนรวมทั้งคนหนุ่มสาวจะมีค่าจ้างต่ำ เนื่องจากองค์กร
ไม่อยากใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้คนหนุ่มสาวที่อยู่ในองค์กรพวกนี้ได้รับผลกระทบไปด้วย

“สังคมที่ขาดแคลนคนหนุ่มสาวจำนวนมาก มากถึงระดับหนึ่ง จะเริ่มใช้หุ่นยนต์มาทดแทน ผลิตภาพจะเพิ่มขึ้น
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูงขึ้น แต่รอวันนั้นไม่ได้

เมื่อรอไม่ได้ นโยบายการเมืองต้องเตรียมสร้างความรู้ให้คนรุ่นใหม่ และอาศัยประสบการณ์ คิดวิเคราะห์ จากคนรุ่นเก่า
พร้อมให้ติดตามเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นโจทย์ให้กับพรรคการเมืองในอนาคต เวลานี้จึงเป็นเวลาของสองนครารุ่นใหม่
ต้องคิดให้มาก ๆ” นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ ระบุ

ที่มา   :  https://www.isranews.org/main-issue/75221-news-75221.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่