...“แม้ว” นั่งไม่ติด พลังถดถอยคุมเกมตั้งรัฐบาล “หุ่นเชิด” ไม่ได้ !?...
( เผยแพร่: 29 มี.ค. 2562 01:31 ปรับปรุง: 29 มี.ค. 2562 04:06 )
เมืองไทย 360 องศา
นี่อาจเป็นครั้งแรกสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในช่วงที่ตั้งพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา และครั้งล่าสุดก็น่าจะเป็นปี 2554 ที่ผลักดันน้องสาวตัวเอง คือ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองใช้เวลาเพียงแค่ 49 วัน ก็สามารถชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายนำพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยได้สำเร็จ
แต่นั่นก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับพวกเขาที่ถูกเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” เพราะนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ผลจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “พลัง” ของ ทักษิณ ชินวัตร เริ่มมีการ “ถดถอย” ลงอย่างเห็นได้ชัด จะด้วยกติกาที่ถูกออกแบบใหม่ ความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึง “คู่ต่อสู้คนใหม่” อย่าง “บิ๊กตู่” หรือ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สะท้อนผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่ว่าจะผ่านทางพรรคพลังประชารัฐ หรืออีกด้านหนึ่งที่สะท้อนผลการเลือกตั้งผ่านทางพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงพรรคเครือข่าย
แม้ว่าเวลานี้คะแนนเสียงหรือจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรคยังไม่นิ่ง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศผลอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 9 พฤษภาคม โดยก่อนหน้านี้ได้หยุดการเผยแพร่ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเอาไว้ที่ร้อยละ 95 ยังเหลือร้อยละ 5 ซึ่งหากคิดรวมคะแนนที่ยังเหลืออีกราวเกือบสองล้านคะแนน อาจจะทำให้ผลจำนวน ส.ส.แต่ละพรรคเปลี่ยนไปทั้งเพิ่มและลด หรือบางพรรคจากที่เคยคาดหมายว่าจะได้ ส.ส.ก็อาจจะไม่ได้เลยก็เป็นไปได้
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากแนวโน้มผลคะแนนการเลือกตั้งที่ออกมา มันสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าความนิยมของฝ่ายที่ “เคยสนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร” ผ่านพรรคการเมืองของพวกเขาและพรรคเครือข่าย ที่คราวนี้สังคมรับรู้ว่าใช้รูปแบบ “แตกแบงก์พัน” รวมทั้งพรรค “ตระกูลเพื่อ” ทั้งหลาย แต่ผลที่ออกมาถือว่ามีคะแนนที่ “สูสี” กันมาก แม้ว่าในรายละเอียดอาจมีการไหลของคะแนนเสียงไปยังพรรคอนาคตใหม่ไม่น้อย หลังจากเกิดกรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งหากมองในทางการเมืองแล้วนี่ถือว่า “เป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองที่สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดก็ตามอยู่ในภาวะที่ไม่ชนะขาด”
เพราะอย่างที่ระบุไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่านับตั้งแต่ปี 2544 ในนามพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทย หรืออาจในชื่อไทยรักษาชาติ ที่ถูกยุบไป แต่คะแนนเสียงที่เคยสนับสนุนก็ไหลวนอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งผลที่ออกมาก็ใกล้เคียงสูสีกับฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเกิดขึ้นของพรรคพลังประชารัฐ ที่รณรงค์ สนับสนุน “ลุงตู่” ซึ่งหากมองกันแบบไม่ซับซ้อนจากผลที่ออกมาก็ต้องถือว่า “พลังแม้วถดถอย” ลงอย่างมาก
เพราะหากวัดกันเฉพาะในพื้นที่ฐานเสียงหลัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน แม้ว่าพรรคเพื่อไทยของเขาจะชนะ แต่ก็ถูกเบียดแทรกสูญเสียที่นั่งเป็นจำนวนมาก หรืออีกหลายเขตที่ชนะก็ชนะแบบหืดขึ้นคอ
แม้ว่าจะ “ตัดตอน” ไม่กล่าวถึงกลไกหรือกติกามาประกอบด้วยก็ตาม แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า “กระแสของลุงตู่” ก็แรงเบียดจนสูสี อย่างที่พรรคเพื่อไทย รวมไปถึงพรรคตระกูลเพื่อที่สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อนตั้งแต่ ปี 2544 หรือในรอบ 18 ปีเลยทีเดียว
หากจะบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่ ทักษิณ ชินวัตร ได้เจอคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งที่สุด คือ “บิ๊กตู่” และส่งผลให้เห็นว่าการเลือกตั้งคราวนี้ ทักษิณ “ไม่อาจกำหนดเกม” หรือชี้นำการตั้งรัฐบาลได้อย่างเต็มร้อยเหมือนในอดีตได้อีกต่อไป ซึ่งสะท้อนผ่านการผนึกเป็นพันธมิตร 6 พรรคที่นำโดย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา ก็ยังไม่อาจดึงพรรคอื่นมาเพิ่มจนได้เสียงข้างมาก มากพอสำหรับจัดตั้งรัฐบาล
ที่สำคัญไม่ว่าจะลาก “เกมยาว” ไปนานแค่ไหน หรือหากนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป และมีอำนาจเต็มไม่ใช่รักษาการ ยังมีอำนาจ ม.44 อยู่ในมืออีกด้วย ดังนั้น อย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็น ทักษิณ ชินวัตร อยู่ในอาการ “ร้อนรน” นั่งไม่ติด ส่งเสียงโวยวายดิสเครดิต คสช. รวมไปถึง กกต. มากขึ้นเรื่อยๆ แต่คงไม่มีผลมากนัก เพราะพิสูจน์ได้แล้วว่า “พลังแผ่ว” ลงเรื่อยๆ คุมเกมไม่ได้แล้ว!!
ที่มา :
https://mgronline.com/politics/detail/9620000031197
...“แม้ว” นั่งไม่ติด พลังถดถอยคุมเกมตั้งรัฐบาล “หุ่นเชิด” ไม่ได้ !?...
( เผยแพร่: 29 มี.ค. 2562 01:31 ปรับปรุง: 29 มี.ค. 2562 04:06 )
เมืองไทย 360 องศา
นี่อาจเป็นครั้งแรกสำหรับ ทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในช่วงที่ตั้งพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา และครั้งล่าสุดก็น่าจะเป็นปี 2554 ที่ผลักดันน้องสาวตัวเอง คือ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองใช้เวลาเพียงแค่ 49 วัน ก็สามารถชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายนำพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยได้สำเร็จ
แต่นั่นก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับพวกเขาที่ถูกเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” เพราะนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารการเข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ผลจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “พลัง” ของ ทักษิณ ชินวัตร เริ่มมีการ “ถดถอย” ลงอย่างเห็นได้ชัด จะด้วยกติกาที่ถูกออกแบบใหม่ ความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึง “คู่ต่อสู้คนใหม่” อย่าง “บิ๊กตู่” หรือ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สะท้อนผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่ว่าจะผ่านทางพรรคพลังประชารัฐ หรืออีกด้านหนึ่งที่สะท้อนผลการเลือกตั้งผ่านทางพรรคเพื่อไทย รวมไปถึงพรรคเครือข่าย
แม้ว่าเวลานี้คะแนนเสียงหรือจำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรคยังไม่นิ่ง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศผลอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 9 พฤษภาคม โดยก่อนหน้านี้ได้หยุดการเผยแพร่ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการเอาไว้ที่ร้อยละ 95 ยังเหลือร้อยละ 5 ซึ่งหากคิดรวมคะแนนที่ยังเหลืออีกราวเกือบสองล้านคะแนน อาจจะทำให้ผลจำนวน ส.ส.แต่ละพรรคเปลี่ยนไปทั้งเพิ่มและลด หรือบางพรรคจากที่เคยคาดหมายว่าจะได้ ส.ส.ก็อาจจะไม่ได้เลยก็เป็นไปได้
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากแนวโน้มผลคะแนนการเลือกตั้งที่ออกมา มันสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าความนิยมของฝ่ายที่ “เคยสนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร” ผ่านพรรคการเมืองของพวกเขาและพรรคเครือข่าย ที่คราวนี้สังคมรับรู้ว่าใช้รูปแบบ “แตกแบงก์พัน” รวมทั้งพรรค “ตระกูลเพื่อ” ทั้งหลาย แต่ผลที่ออกมาถือว่ามีคะแนนที่ “สูสี” กันมาก แม้ว่าในรายละเอียดอาจมีการไหลของคะแนนเสียงไปยังพรรคอนาคตใหม่ไม่น้อย หลังจากเกิดกรณียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งหากมองในทางการเมืองแล้วนี่ถือว่า “เป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองที่สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะใช้ชื่อใดก็ตามอยู่ในภาวะที่ไม่ชนะขาด”
เพราะอย่างที่ระบุไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่านับตั้งแต่ปี 2544 ในนามพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทย หรืออาจในชื่อไทยรักษาชาติ ที่ถูกยุบไป แต่คะแนนเสียงที่เคยสนับสนุนก็ไหลวนอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งผลที่ออกมาก็ใกล้เคียงสูสีกับฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเกิดขึ้นของพรรคพลังประชารัฐ ที่รณรงค์ สนับสนุน “ลุงตู่” ซึ่งหากมองกันแบบไม่ซับซ้อนจากผลที่ออกมาก็ต้องถือว่า “พลังแม้วถดถอย” ลงอย่างมาก
เพราะหากวัดกันเฉพาะในพื้นที่ฐานเสียงหลัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน แม้ว่าพรรคเพื่อไทยของเขาจะชนะ แต่ก็ถูกเบียดแทรกสูญเสียที่นั่งเป็นจำนวนมาก หรืออีกหลายเขตที่ชนะก็ชนะแบบหืดขึ้นคอ
แม้ว่าจะ “ตัดตอน” ไม่กล่าวถึงกลไกหรือกติกามาประกอบด้วยก็ตาม แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า “กระแสของลุงตู่” ก็แรงเบียดจนสูสี อย่างที่พรรคเพื่อไทย รวมไปถึงพรรคตระกูลเพื่อที่สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อนตั้งแต่ ปี 2544 หรือในรอบ 18 ปีเลยทีเดียว
หากจะบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่ ทักษิณ ชินวัตร ได้เจอคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งที่สุด คือ “บิ๊กตู่” และส่งผลให้เห็นว่าการเลือกตั้งคราวนี้ ทักษิณ “ไม่อาจกำหนดเกม” หรือชี้นำการตั้งรัฐบาลได้อย่างเต็มร้อยเหมือนในอดีตได้อีกต่อไป ซึ่งสะท้อนผ่านการผนึกเป็นพันธมิตร 6 พรรคที่นำโดย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา ก็ยังไม่อาจดึงพรรคอื่นมาเพิ่มจนได้เสียงข้างมาก มากพอสำหรับจัดตั้งรัฐบาล
ที่สำคัญไม่ว่าจะลาก “เกมยาว” ไปนานแค่ไหน หรือหากนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป และมีอำนาจเต็มไม่ใช่รักษาการ ยังมีอำนาจ ม.44 อยู่ในมืออีกด้วย ดังนั้น อย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็น ทักษิณ ชินวัตร อยู่ในอาการ “ร้อนรน” นั่งไม่ติด ส่งเสียงโวยวายดิสเครดิต คสช. รวมไปถึง กกต. มากขึ้นเรื่อยๆ แต่คงไม่มีผลมากนัก เพราะพิสูจน์ได้แล้วว่า “พลังแผ่ว” ลงเรื่อยๆ คุมเกมไม่ได้แล้ว!!
ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9620000031197