เมื่อนิสิตวิศวะ ที่แสนจะเสรีนิยม ได้ลงวิชาเลือกเสรี เศรษฐศาสตร์ พบกับอจ.ที่สอนที่ใครๆต่างเรียกว่าแสนจะอนุรักษ์นิยม
อย่างที่เราทราบว่า อนุรักษ์นิยมคือ คนหัวเก่า หัวโบราณ ไม่ชอบเน้นการเปลี่ยนแปลงอะไรที่หวือหวา ชอบแบบค่อยเป็นค่อยไป
อะไรที่ตนเองคิดว่าดีอยู่แล้ว ก็ไม่อยากจะดิ้นรนเพื่อให้ดีขึ้น หากจะตีความให้แคบเข้า ก็เป็นคนที่ยึดติดในกรอบระเบียบเดิมๆ
ที่ตนเห็นว่าดีอยู่แล้ว และหากไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนอะไร ก็ไม่อยากเปลี่ยนแปลง สรุปง่ายๆคือคนที่ติดอยู่ใน comfort zone นั่นเอง
ส่วนเสรีนิยม คือคนที่มีอะไรตรงข้ามกับอนุรักษ์นิยมทุกอย่าง ทั้งแนวคิด และการกระทำ คนเสรีนิยมส่วนใหญ่จะเป็นเด็กยุคใหม่
ที่ชอบคิดใหม่ทำใหม่ ไม่ชอบระเบียบกรอบรัด ไม่ชอบความอึดอัดคับข้อง คนพวกนี้ชอบความท้าทายและไม่ชอบย่ำอยู่นิ่งกับที่
ชอบทำอะไรเพื่อมุ่งไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ โลกเราที่มีวิวัฒนาการและหมุนเร็วขึ้น ก็เพราะมีคนประเภทนี้แหละครับ
…………………………
ต่อไปเรามาเข้าประเด็นที่นิสิตวิศวะตอบอาจารย์เศรษฐศาสตร์
…………………………
1. จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
อาจารย์บอกว่า เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไป เช่น นิสิตบอกว่า เป็นเพราะ “ประชาธิปไตย” ...
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่มีเหตุผลและจุดหมายอะไรที่สำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชิปไตย รูปแบบของประชาธิปไตยไม่ใช่จุดหมาย
แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อนำไปสู่จุดหมายนั้น
ในความคิดผม หากคิดว่าจุดหมายการปกครอง มิมีอะไรสำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ผมอยากจะบอกว่า หากการปกครองนั้นใช้ปกครองประชากรหมู ก็คงมิมีปัญหาแต่อย่างใด เพราะหมูแค่เพียงมีอาหารให้มันกินให้อิ่ม
มีคอกให้มันหลับนอน มันก็คงมิมีความจำเป็นที่ต้องดิ้นรนไปแหกคอก
หากแต่อย่าลืมว่าที่เราคุยกันคือการปกครองประชากรมนุษย์ มนุษย์ซึ่งมีความต้องการอะไรมากกว่าแค่การกินดีอยู่ดี
มนุษย์มีพื้นฐานของความไม่เคยพอและไม่เคยอิ่ม ไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ เราจึงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆบนโลก
มนุษย์มีส่วนในการรังสรรมากกว่าธรรมชาติ
ดังนั้นในความคิดผม ระบอบที่ใช้ในการปกครองมนุษย์ คือระบอบที่ควรให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้อย่างเสรี
ไม่ว่าเสรีในการคิด พูด อ่าน เขียน และทำ
ที่ว่าเสรี มิใช่คุณเสรีจนเกินขอบเขต จะทำอะไรก็ได้ แต่เสรีของคุณก็ต้องไม่ไปกระทบความเสรีของใครๆอื่นเขาด้วย
ส่วนจะเรียกระบบเสรีนี้ว่าอะไรก็แล้วแต่ ไม่สำคัญ สำคัญแค่เพียงมันต้องมี สิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียม
………
2. ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
อาจารย์จะเน้นว่า เมื่อกินดีอยู่ดีแล้ว ไฉนต้องเปลี่ยน และอาจารย์บอกว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมมีต้นทุนเสมอ นอกจากคำนึงถึงต้นทุน
ที่เป็นตัวเงินแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ยังคำนึงถึงต้นทุนที่เราเรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” อีกด้วย หากประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลง
ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป เรียกง่ายๆ ก็คือ “ได้ไม่คุ้มเสีย”
และอจ.ให้นิสิตคิดว่าหากเรียกร้องความเท่าเทียมสำเร็จ คนจนจะอยู่ดีมีสุขขึ้นไหม
ผมอ่านและสรุปโดยรวมว่า อาจารย์เหมือนกำลังให้นิสิตคิดว่า ที่นิสิตกำลังเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ อาจจะได้ไม่คุ้มเสียนั่นเอง
ผมก็ได้ตอบในข้อ 1 . ไว้ชัดแล้วครับ ว่ากินดีอยู่ดี มิอาจตอบโจทย์ได้ว่าการปกครองนั้นดี หากแต่สิทธิเสรีภาพต่างหาก
ที่เราควรให้ความสำคัญในการปกครอง
ผมคงต้องต้องแยกแยะก่อนครับว่า ระบอบการปกครองกับความสามารถในการทำมาหากินของ ปชช.และบริหารจัดการของรัฐบาล
ให้ปชช.อยู่ดีกินดีนั้น มันคนละเรื่อง อย่าเอามาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะระบอบไหนก็ตาม สิ่งที่ผู้ปกครองบ้านเมืองควรคิดทำคือ
ทำให้คนใต้ปกครองอยู่ดีกินดี ไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีกดขี่ข่มเหง ไม่มีทุจริตคอรับชั่น มีขบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม
และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทั่วๆไป อันนี้ต่างหากครับ
ดังนั้นการที่นิสิตเขาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นั่นก็เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งถึงความต้องการของเขา
คนเรามักโหยหาสิ่งที่ตัวเองขาด เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จงอย่าแปลกใจเหตุใดนิสิตถึงเรียกหาสิทธิเสรีภาพ
ประเทศไทยเสียโอกาสมามากแล้วครับ
..........
3. ความเหลื่อมล้ำ: จะแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
อาจารย์พูดถึงความเหลื่อมล้ำต่างๆไม่ว่าทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำทางเพศ ศาสนา และชาติพันธ์ พูดถึง การแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ
จะนำไปสู่การล้มล้างห้ำหั่นกัน และอาจารย์พูดถึง บางพรรคมีนโยบายที่จะไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆ
สุดท้ายอาจารย์สรุปว่า ถ้าแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้วยทัศนคติที่ติดลบ ก็อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกัน การล้มล้าง ห้ำหั่น จนถึงขั้นล้มตายได้
แต่ถ้าแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่เป็นบวก ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ ก็จะนำความเจริญมาสู่ทุกฝ่าย
ในความคิดผม ประเทศไทยเรามีศาสนาประจำชาติที่ระบุในบัตรประจำตัว ประชาชน ด้วยว่า ศาสนาพุทธ
ผมคิดว่าประเทศไทยโชคดีที่เลือกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ที่พูดเช่นนี้มิได้หมายถึงว่า ศาสนาอื่นไม่ดี
การที่เราเลือกและชูสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์แห่งความภูมิใจที่แสดงความเป็นไทย
มิว่าจะเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือศาสนาและการที่เราจะสนับสนุนสิ่งที่เราเชิดชู
ก็หาได้แสดงออกถึงความมิเท่าเทียมแต่ประการใดไม่ ตราบใดที่เรายังมิไปกีดกันหรือบังคับให้เขาต้องเลือกศาสนา
ฉะนั้นหากจะพูดถึงความเหลื่อมล้ำทางศาสนา ประเทศไทยผมว่าให้สิทธิเสรีภาพมากในการนับถือและประกอบกิจกรรมทางศาสนาของทุกเขื้อชาติ
และที่บางพรรคเสนอไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆก็น่าจะดีแล้วครับ เพราะหากไปสนับสนุนและให้ไม่ให้เท่ากัน
มันก็จะกลายเป็นเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นมาได้
อาจารย์ พูดถึงความเหลื่อมล้ำในข้อนี้ แต่ข้อสองที่ผ่านมา อาจารย์ให้นิสิตฉุกคิดเรื่องเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ผมอยากจะบอกว่า…
ความเท่าเทียมมิอาจเกิดขึ้นได้ในเมื่อเรายังมิให้ความสำคัญเรื่องสิทธิเสรีภาพ
ทัศนคติที่เป็นบวกก็เช่นกันมิอาจเกิดขึ้นในคนที่คิดลบ
..........
4. สว. 250 คน
มีนิสิตถามอาจราย์เรื่อง สว.250 คนที่มีสิทธิเลือกนายกอาจารย์คิอชดอย่างไร
อาจารย์ตอบว่า การที่สว.มีส่วนในการเลือกนายกฯ เรายอมรับว่าอาจเป็นการไม่ยุติธรรม ...
และอาจาาย์บอกว่า : สว.มาจากการแต่งแต่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกในระบอบประชาธิปไตย
อาจารย์บอกไม่แปลกที่เลือกคนใกล้ชิดใกล้ตัว ด้วยข้ออ้างว่าเพราะรู้ว่าเป็นคนยังไง
ครับอาจารย์ สำหรับผม การมี สว.มิใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกคือการได้มาซึ่งสว.
ส่วนเหตุผลเพราะอะไรคงมิสามารถขยายความได้มากกว่านี้ ในที่นี้
………
:
:
แก้ไขข้อความตกหล่น
@@@เลือกตั้ง 2562 : เมื่อนิสิตวิศวะตอบอาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาที่ใครๆเขาว่าแสนจะอนุรักษ์นิยม@@@ —-ผลึกหิน—
อย่างที่เราทราบว่า อนุรักษ์นิยมคือ คนหัวเก่า หัวโบราณ ไม่ชอบเน้นการเปลี่ยนแปลงอะไรที่หวือหวา ชอบแบบค่อยเป็นค่อยไป
อะไรที่ตนเองคิดว่าดีอยู่แล้ว ก็ไม่อยากจะดิ้นรนเพื่อให้ดีขึ้น หากจะตีความให้แคบเข้า ก็เป็นคนที่ยึดติดในกรอบระเบียบเดิมๆ
ที่ตนเห็นว่าดีอยู่แล้ว และหากไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนอะไร ก็ไม่อยากเปลี่ยนแปลง สรุปง่ายๆคือคนที่ติดอยู่ใน comfort zone นั่นเอง
ส่วนเสรีนิยม คือคนที่มีอะไรตรงข้ามกับอนุรักษ์นิยมทุกอย่าง ทั้งแนวคิด และการกระทำ คนเสรีนิยมส่วนใหญ่จะเป็นเด็กยุคใหม่
ที่ชอบคิดใหม่ทำใหม่ ไม่ชอบระเบียบกรอบรัด ไม่ชอบความอึดอัดคับข้อง คนพวกนี้ชอบความท้าทายและไม่ชอบย่ำอยู่นิ่งกับที่
ชอบทำอะไรเพื่อมุ่งไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ โลกเราที่มีวิวัฒนาการและหมุนเร็วขึ้น ก็เพราะมีคนประเภทนี้แหละครับ
…………………………
ต่อไปเรามาเข้าประเด็นที่นิสิตวิศวะตอบอาจารย์เศรษฐศาสตร์
…………………………
1. จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
อาจารย์บอกว่า เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไป เช่น นิสิตบอกว่า เป็นเพราะ “ประชาธิปไตย” ...
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่มีเหตุผลและจุดหมายอะไรที่สำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชิปไตย รูปแบบของประชาธิปไตยไม่ใช่จุดหมาย
แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อนำไปสู่จุดหมายนั้น
ในความคิดผม หากคิดว่าจุดหมายการปกครอง มิมีอะไรสำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ผมอยากจะบอกว่า หากการปกครองนั้นใช้ปกครองประชากรหมู ก็คงมิมีปัญหาแต่อย่างใด เพราะหมูแค่เพียงมีอาหารให้มันกินให้อิ่ม
มีคอกให้มันหลับนอน มันก็คงมิมีความจำเป็นที่ต้องดิ้นรนไปแหกคอก
หากแต่อย่าลืมว่าที่เราคุยกันคือการปกครองประชากรมนุษย์ มนุษย์ซึ่งมีความต้องการอะไรมากกว่าแค่การกินดีอยู่ดี
มนุษย์มีพื้นฐานของความไม่เคยพอและไม่เคยอิ่ม ไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ เราจึงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆบนโลก
มนุษย์มีส่วนในการรังสรรมากกว่าธรรมชาติ
ดังนั้นในความคิดผม ระบอบที่ใช้ในการปกครองมนุษย์ คือระบอบที่ควรให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้อย่างเสรี
ไม่ว่าเสรีในการคิด พูด อ่าน เขียน และทำ
ที่ว่าเสรี มิใช่คุณเสรีจนเกินขอบเขต จะทำอะไรก็ได้ แต่เสรีของคุณก็ต้องไม่ไปกระทบความเสรีของใครๆอื่นเขาด้วย
ส่วนจะเรียกระบบเสรีนี้ว่าอะไรก็แล้วแต่ ไม่สำคัญ สำคัญแค่เพียงมันต้องมี สิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียม
………
2. ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
อาจารย์จะเน้นว่า เมื่อกินดีอยู่ดีแล้ว ไฉนต้องเปลี่ยน และอาจารย์บอกว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมมีต้นทุนเสมอ นอกจากคำนึงถึงต้นทุน
ที่เป็นตัวเงินแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ยังคำนึงถึงต้นทุนที่เราเรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” อีกด้วย หากประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลง
ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป เรียกง่ายๆ ก็คือ “ได้ไม่คุ้มเสีย”
และอจ.ให้นิสิตคิดว่าหากเรียกร้องความเท่าเทียมสำเร็จ คนจนจะอยู่ดีมีสุขขึ้นไหม
ผมอ่านและสรุปโดยรวมว่า อาจารย์เหมือนกำลังให้นิสิตคิดว่า ที่นิสิตกำลังเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ อาจจะได้ไม่คุ้มเสียนั่นเอง
ผมก็ได้ตอบในข้อ 1 . ไว้ชัดแล้วครับ ว่ากินดีอยู่ดี มิอาจตอบโจทย์ได้ว่าการปกครองนั้นดี หากแต่สิทธิเสรีภาพต่างหาก
ที่เราควรให้ความสำคัญในการปกครอง
ผมคงต้องต้องแยกแยะก่อนครับว่า ระบอบการปกครองกับความสามารถในการทำมาหากินของ ปชช.และบริหารจัดการของรัฐบาล
ให้ปชช.อยู่ดีกินดีนั้น มันคนละเรื่อง อย่าเอามาโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะระบอบไหนก็ตาม สิ่งที่ผู้ปกครองบ้านเมืองควรคิดทำคือ
ทำให้คนใต้ปกครองอยู่ดีกินดี ไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีกดขี่ข่มเหง ไม่มีทุจริตคอรับชั่น มีขบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม
และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทั่วๆไป อันนี้ต่างหากครับ
ดังนั้นการที่นิสิตเขาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นั่นก็เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งถึงความต้องการของเขา
คนเรามักโหยหาสิ่งที่ตัวเองขาด เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จงอย่าแปลกใจเหตุใดนิสิตถึงเรียกหาสิทธิเสรีภาพ
ประเทศไทยเสียโอกาสมามากแล้วครับ
..........
3. ความเหลื่อมล้ำ: จะแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
อาจารย์พูดถึงความเหลื่อมล้ำต่างๆไม่ว่าทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำทางเพศ ศาสนา และชาติพันธ์ พูดถึง การแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ
จะนำไปสู่การล้มล้างห้ำหั่นกัน และอาจารย์พูดถึง บางพรรคมีนโยบายที่จะไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆ
สุดท้ายอาจารย์สรุปว่า ถ้าแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้วยทัศนคติที่ติดลบ ก็อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกัน การล้มล้าง ห้ำหั่น จนถึงขั้นล้มตายได้
แต่ถ้าแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่เป็นบวก ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ ก็จะนำความเจริญมาสู่ทุกฝ่าย
ในความคิดผม ประเทศไทยเรามีศาสนาประจำชาติที่ระบุในบัตรประจำตัว ประชาชน ด้วยว่า ศาสนาพุทธ
ผมคิดว่าประเทศไทยโชคดีที่เลือกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ที่พูดเช่นนี้มิได้หมายถึงว่า ศาสนาอื่นไม่ดี
การที่เราเลือกและชูสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์แห่งความภูมิใจที่แสดงความเป็นไทย
มิว่าจะเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือศาสนาและการที่เราจะสนับสนุนสิ่งที่เราเชิดชู
ก็หาได้แสดงออกถึงความมิเท่าเทียมแต่ประการใดไม่ ตราบใดที่เรายังมิไปกีดกันหรือบังคับให้เขาต้องเลือกศาสนา
ฉะนั้นหากจะพูดถึงความเหลื่อมล้ำทางศาสนา ประเทศไทยผมว่าให้สิทธิเสรีภาพมากในการนับถือและประกอบกิจกรรมทางศาสนาของทุกเขื้อชาติ
และที่บางพรรคเสนอไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆก็น่าจะดีแล้วครับ เพราะหากไปสนับสนุนและให้ไม่ให้เท่ากัน
มันก็จะกลายเป็นเกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นมาได้
อาจารย์ พูดถึงความเหลื่อมล้ำในข้อนี้ แต่ข้อสองที่ผ่านมา อาจารย์ให้นิสิตฉุกคิดเรื่องเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ผมอยากจะบอกว่า…
ความเท่าเทียมมิอาจเกิดขึ้นได้ในเมื่อเรายังมิให้ความสำคัญเรื่องสิทธิเสรีภาพ
ทัศนคติที่เป็นบวกก็เช่นกันมิอาจเกิดขึ้นในคนที่คิดลบ
..........
4. สว. 250 คน
มีนิสิตถามอาจราย์เรื่อง สว.250 คนที่มีสิทธิเลือกนายกอาจารย์คิอชดอย่างไร
อาจารย์ตอบว่า การที่สว.มีส่วนในการเลือกนายกฯ เรายอมรับว่าอาจเป็นการไม่ยุติธรรม ...
และอาจาาย์บอกว่า : สว.มาจากการแต่งแต่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกในระบอบประชาธิปไตย
อาจารย์บอกไม่แปลกที่เลือกคนใกล้ชิดใกล้ตัว ด้วยข้ออ้างว่าเพราะรู้ว่าเป็นคนยังไง
ครับอาจารย์ สำหรับผม การมี สว.มิใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกคือการได้มาซึ่งสว.
ส่วนเหตุผลเพราะอะไรคงมิสามารถขยายความได้มากกว่านี้ ในที่นี้
………
:
:
แก้ไขข้อความตกหล่น