ใครเห็นด้วยกับกะทู้นี้รบกวนช่วยโหวตขึ้นเป็นกะทู้แนะนำทีครับ ขอบคุณครับ
ที่มา เฟสบุ๊ค Tan Thanyaporn Chankrajang
ลิงค์
https://www.facebook.com/tan.chankrajang/posts/10156997272472744
เลือกตั้ง
2562: เมื่ออาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่ใครๆก็คิดว่าแสนจะอนุรักษ์นิยม
คุยกับนิสิตรัฐศาสตร์ ที่ใครๆก็บอกว่าลิเบอรัลตัวพ่อตัวแม่ (ตอนที่ 1:
สำหรับอ่านในระบบ iOS)
.......
เรื่องที่เราคุยกัน
• ให้มิตรภาพเป็นสะพานระหว่างเรา
• จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
• ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
• ความเหลื่อมล้ำ: แก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
• สว. 250 คน
• ค่าแรงขั้นต่ำ: เศรษฐศาสตร์บอกว่าแย่เสมอไปจริงหรือ
• Hyperinflation: เมืองไทยจะเป็นเวเนซูเอล่าเป็นเรื่องมโน
• แม่ค้าในห้างขายของไม่ออก ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจไม่ดี
............
เพื่อนๆ คงได้เห็นผลโพลเรื่องนิสิตจุฬาฯ จะเลือกพรรคไหนกันมาแล้ว
เราไม่แปลกใจผลโพลมากนัก แต่ถ้าถามว่าเข้าใจไหมว่าทำไมนิสิตถึงเลือกแบบนั้น
เด็กๆ มีกระบวนการคิดอย่างไร ส่วนตัวยอมรับว่าไม่เข้าใจ ...
แต่ก็อยากที่จะเข้าใจ …
และเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสสอนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นให้กับนิสิตรัฐศาสตร์ร้อยกว่าชีวิต
วันอังคารที่ผ่านมาจึงตัดสินใจพูดคุยเรื่องการเมืองกับเด็กๆ
โดยผ่านเนื้อหาวิชาที่สอน
ทำไมถึงตัดสินใจคุยกับเด็กๆ ทั้งๆ ที่มีคนบอกว่า “ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน อย่าได้คุยเรื่องการเมือง”?
เหตุผลคือเราเห็นนิสิตเป็นเพื่อน และเป็นเพื่อนที่น่ารัก
เกินกว่าที่เราจะยอมปล่อยให้มีช่องว่างความแตกต่างระหว่างกันไว้
แล้วถมลงไปด้วย วัย อุดมคติ หรือ อคติทางการเมืองที่ต่างกัน ...
เราไม่เคยคิดว่าอุดมคติทางการเมืองเป็นยอดของอุดมคติ …
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่มีอุดมคติใดจะสูงส่งไปกว่าความปรารถนา
และการลงมือทำให้เพื่อนมนุษย์อยู่ดีกินดีและผาสุก ... ในฐานะของครู
เรายอมไม่ได้ที่จะให้อุดมคติและอคติทางการเมืองมาเป็นกรอบจำกัดในการใช้ความสามารถที่มีของเด็กๆ
ในการใช้เหตุผล ตรรกะ และข้อมูลในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ
เมื่อเฉลยการบ้านและทำควิซประจำสัปดาห์เสร็จ จึงชวนเด็กๆ
มาคุยเรื่องประเด็นทางเศรษฐกิจที่ถูกหยิบยกมาถกกันในการเลือกตั้งครั้งนี้
แต่คราวนี้ขอแถมเรื่องการเมืองเข้าไปด้วยได้หรือเปล่า ซึ่งแน่นอน เด็กๆ
กระตือรืนร้นกันมากสมเป็นนิสิตรัฐศาสตร์
บ้างก็ว่าเราคุยกันเรื่องนี้ทั้งคาบเลยได้ไหม ... ฮ่าๆ ช่างน่าเอ็นดู ...
เมื่อถามถึงผลโพลก็ยิ่งมีเสียงฮือฮา ยิ่งบอกว่ามีผู้ใหญ่ฝากถามมาด้วย
เสียงฮือฮาก็เพิ่มขึ้นอีก นิสิตคนหนึ่งที่ชอบถามและตอบคำถาม
ก็ถามขึ้นมาพร้อมกับสีหน้าน้อยใจว่า
“อาจารย์ไปอ่านที่เค้าว่าพวกผมมาใช่ไหมครับ” เราอดยิ้มอย่างเอ็นดูไม่ได้
พร้อมกับตอบนิสิตว่า “อาจารย์ไม่ได้อ่าน
ที่อาจารย์ถามเพราะอยากที่จะเข้าใจพวกเราจริงๆ”
แต่คนเราคงจะเข้าใจกันได้ยากหากไม่เปิดใจให้แก่กัน จึงลองให้เด็กๆ
ทายกลับบ้างว่าเราเลือกพรรคอะไร เด็กๆ
ทายกันอย่างสนุกสนานบรรยากาศครื้นเครง แต่ที่ทายมานั้นไม่ถูกเลย จึงเฉลยว่า
“พลังประชารัฐค่ะ” ปฎิกิริยาของเด็กๆ ทำให้เราอดหัวเราะออกมาไม่ได้จริงๆ
เด็กๆ พิโอดพิครวญกันเสียยกใหญ่ (แบบน่ารักและใสๆ มาก) เอ็นดูในความจริงใจ
เสียงเซ็งแซ่คร่ำครวญถามย้ำๆ กันว่า “ไม่จริงใช่ไหมคะอาจารย์”
“อาจารย์ล้อเล่นแน่ๆ” “ไม่ๆๆ” “อาจารย์ทำอย่างนี้ได้ยังไง”
และที่พีคมากก็คือ นิสิตคนหนึ่งถึงกับชี้นิ้วไปที่ประตู แล้วตะโกนซ้ำๆว่า
“อาจารย์ออกจากห้องไปเลยค่ะ ออกไปเลยนะคะ” แล้วก็ทำท่าแสนงอน
ถึงแม้คำพูดเหล่านี้จะออกจากปากของเด็กๆ เด็กๆ
ก็ยังคงยิ้มและหัวเราะกันกับเรา ในแววตาไม่มีความโกรธเคืองกันสักนิด
บรรยากาศความเป็นมิตรและครื้นเครงยังมีอยู่เต็มเปี่ยม
แม้แต่นิสิตที่ชี้นิ้วไปที่ประตู
พูดไปก็ทำเหมือนจะหัวเราะก็ไม่ใช่ร้องไห้ก็ไม่เชิง
ก็ยิ่งทำให้หัวเราะกันเข้าไปใหญ่
หลังจากเด็กๆ เริ่มสงบลง เราบอกเด็กๆ
ว่า
เป็นที่รู้กันดีว่าพูดอย่างนี้ที่คณะรัฐศาสตร์เท่ากับเอาตัวมาตายในถ้ำเสือชัดๆ
แต่ทำไมเรายังทำ เพราะเราเชื่อว่าเหลือเกินว่า
คนเราสามารถเห็นต่างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นมิตรได้ ซึ่งเด็กๆ
ก็เห็นด้วย
จึงขอให้นิสิตลองบอกเหตุผลเพื่อโน้มน้าวให้เราเปลี่ยนใจไปเป็นแบบในโพลบ้าง
นิสิตคนหนึ่งบอกว่า เหตุผลคือประชาธิปไตย และอีกหลายคนบอกว่า “หนู
ไม่ได้อยากเปลี่ยนใจอาจารย์
แต่หนูอยากรู้ว่าทำไมอาจารย์ถึงเลือกพลังประชารัฐคะ” “ใช่ๆๆ” “ใช่ครับ”
“ใช่ๆ ทำไมคะอาจารย์”
ยอมรับว่าเหตุผลที่เด็กๆ
พูดมาไม่ได้ทำให้แปลกใจ แต่การที่เด็กๆ
ก็อยากรู้อยากเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายและเตรียมใจมาเลย
แต่มันทำให้เกิดความชุ่มชื่นฉ่ำใจได้อย่างประหลาด ...
นี่เรากับเด็กๆมาถึงจุดนี้กันได้อย่างไรท่ามกลางการเมืองที่ร้อนระอุแบบนี้
จุดที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยากให้อีกฝ่ายฟังเรา เข้าใจอย่างเรา ...
แต่อยากฟังอีกฝ่าย เข้าใจอีกฝ่าย ... เข้าใจว่าทำไมเราถึงต่างกัน
.........................
ต่อไปนี้เป็นสรุปประเด็นที่เราคุยกันกับนิสิต ทั้งนี้ได้ขออนุญาตนิสิตนำเรื่องราวเหล่านี้มาแชร์ในเฟสบุคแล้ว
..................…
1. จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไป
เช่น นิสิตบอกว่า เป็นเพราะ “ประชาธิปไตย” ... ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์
ไม่มีเหตุผลและจุดหมายอะไรที่สำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน
รูปแบบของประชาธิปไตยไม่ใช่จุดหมาย
แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อนำไปสู่จุดหมายนั้น
ฉะนั้นในสถานการณ์ที่ต่างกัน ในบริบทแวดล้อมที่ต่างกัน จุดหมายยังคงเดิม
แต่เครื่องมือสามารถปรับเปลี่ยนได้
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
(development economist)
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงมือทำนโยบายที่ดีต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้และโอกาสน้อยอย่างจริงจัง
หลายเรื่องเป็นเรื่องที่เราศึกษาและทำวิจัยโดยตรง
จึงทำให้ทราบว่ารัฐบาลเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง
มีการศึกษางานวิชาการและนำมาประยุกต์และปฎิบัติจริง
อย่างเช่นการขยายสิทธิชุมชนในป่า
การให้เอกสารสิทธิในที่ดินทำกินเกษตรกรรมในรูปแบบต่างๆ
มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึง แม่แจ่มโมเดล เป็นต้น
และมีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถเข้าไปร่วมงานด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
นอกจากนี้พรรคที่เป็นพันธมิตรกันก็มี หม่อมเต่า อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ
ที่นำแบงค์ชาติผ่านวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งมาได้ นอกจากนี้
ผลการวิจัยก็ไม่ได้ชี้ว่าประชาธิปไตยเป็นสาเหตุของความเจริญของประเทศทางเศรษฐกิจ
เช่น ความสำเร็จของจีนและสิงค์โปร์ เป็นต้น
........
2. ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
บางพรรคการเมืองได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของประชาธิปไตย
แต่เราไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนั้น
เราชัดเจนมาตลอดว่าสนับสนุนประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของเหตุผล
สำหรับเรา สองส่วนนี้มิได้ขัดกัน
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมมีต้นทุนเสมอ
นอกจากคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นตัวเงินแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ยังคำนึงถึงต้นทุนที่เราเรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” อีกด้วย
หากประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป
เรียกง่ายๆ ก็คือ “ได้ไม่คุ้มเสีย”
นักเศรษฐศาสตร์ถือว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้
หากจุดมุ่งหมายคือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
เมื่อไตร่ตรองตามเหตุและผล ประโยชน์และต้นทุนแล้ว
เราไม่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของประชาธิปไตยตามที่บางพรรคการเมืองเรียกร้องและนำมาเป็นประเด็นในการหาเสียง
จะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นแต่อย่างไร
เราถามนิสิตว่า “นิสิตคิดว่า
ถ้าทำสำเร็จ จะทำให้คนที่นิสิตกำลังเรียกร้องความเท่าเทียมให้แก่เขา
คนที่ยากจนกว่าเรา อยู่ดีกินดีหรือมีความสุขขึ้นหรือคะ
ประเทศจะเจริญขึ้นด้วยสิ่งนั้นหรือ” เด็กๆ อึ้งไป
เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่เคยคำนึงถึงมาก่อน แต่ก็มิได้โต้แย้ง
เราหวังว่าตรรกะทางเศรษฐศาสตร์ที่เด็กๆ
เคยเรียนมาแล้วในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค
จะถูกนำมาใช้ในการไตร่ตรองและช่วยการตัดสินใจในชีวิตประจำวันต่อไป
..........
3. ความเหลื่อมล้ำ: จะแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
นอกจากความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เป็น ความเหลื่อมล้ำแนวดิ่ง (vertical
inequality) นักเศรษฐศาสตร์ยังสนใจ ความเหลื่อมล้ำแนวราบ (horizontal
inequality) อย่างเช่น ความเหลื่อมล้ำทางเพศ ศาสนา และชาติพันธุ์ อีกด้วย
เพื่อความเท่าเทียมกันทางศาสนา
บางพรรคมีนโยบายที่จะไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆเลย ... อันที่จริง
สังคมไทยตระหนักถึงเรื่องความเท่าเทียมและเสรีภาพในการนับถือศาสนาอยู่แล้วมาช้านาน
แต่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ เพื่อให้เท่าเทียมกัน
รัฐได้ให้การสนับสนุนแก่ทุกศาสนา
พระมหากษัตริย์เองก็ทรงทำให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่าง
โดยทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (ซึ่งอันนี้ถูกต้องตามหลักตรรกะ
เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ศาสนาที่คนนับถือน้อยในประเทศก็อาจถูกเบียดเบียนจากคนส่วนใหญ่) ถึงตอนนี้
มีนิสิตบอกขึ้นมาว่า “มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เลยครับอาจารย์”
เราจึงเน้นย้ำกับนิสิตว่า “เห็นไหมว่าปัญหาอย่างเดียวกัน เจอเหมือนกัน
อีกคนมองบวก ก็แก้ปัญหาอย่างบวก อีกคนมองลบ ก็แก้ปัญหาอย่างลบ
จะเลือกเป็นคนแบบไหน เราสามารถเรียนรู้จากตัวอย่างนี้ได้”
เหตุผลหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องของรายได้
เพราะความเหลื่อมล้ำมักถูกนำมาเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและสังคม
ประวัติศาสตร์จากประเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งจากประเทศไทยเอง
ได้แสดงให้เห็นถึงการนำความไม่เท่าเทียมมาเป็นข้ออ้าง ข้อยุยงให้คนแตกแยก
เกลียดชังกัน ไม่ต่างอะไรกับความพยายามจากบางพรรค บางสื่อ
และกลุ่มการเมืองในขณะนี้
ถ้าแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้วยทัศนคติที่ติดลบ
ก็อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกัน การล้มล้าง ห้ำหั่น จนถึงขั้นล้มตายได้
แต่ถ้าแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่เป็นบวก ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เช่น
ด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคม ก็จะนำความเจริญมาสู่ทุกฝ่าย ...
ประวัติศาสตร์จากประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในช่วงสงครามเย็น
แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในกระบวนการการแก้ปัญหา
และผลลัพธ์ต่อการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี
..........
4. สว. 250 คน
“ผมอยากถามอาจารย์เรื่องที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ด้วยได้ไหมครับ
ถ้าเป็นเรื่องการปกครอง เรื่องสว. 250 คนที่เลือกเข้ามา
แล้วก็เลือกคนที่รู้จักกัน ซึ่งมีผลต่อการเลือกนายกฯ
และการบริหารประเทศต่อไปหน่ะครับ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรครับ”
นิสิตคนหนึ่งถามขึ้น
การที่สว.มีส่วนในการเลือกนายกฯ
เรายอมรับว่าอาจเป็นการไม่ยุติธรรม ... แต่ในการบริหารประเทศ
การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ ก็ยังคงต้องผ่านสภาล่างก่อน แล้วจึงค่อยไปสภาสูง
เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งก็ยังมีผลเต็มที่ต่อการผ่านร่างกฎหมายในสภาล่าง
และการบริหารประเทศผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ
เราเล่าให้เด็กๆ ฟังว่า
สมัยเราเด็กๆ สว.ก็มาจากการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณากฎหมาย .... ในอังกฤษ
ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแม่แบบของประชาธิปไตย สภาสูงก็มาจากการแต่งตั้งเช่นกัน
เพราะฉะนั้นการที่สว.มาจากการแต่งแต่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกในระบอบประชาธิปไตย
เลือกตั้ง 2562: เมื่ออาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬา ที่ใครๆก็คิดว่าแสนจะอนุรักษ์นิยม คุยกับนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬา ในห้องเรียน
ที่มา เฟสบุ๊ค Tan Thanyaporn Chankrajang
ลิงค์
https://www.facebook.com/tan.chankrajang/posts/10156997272472744
เลือกตั้ง
2562: เมื่ออาจารย์เศรษฐศาสตร์ ที่ใครๆก็คิดว่าแสนจะอนุรักษ์นิยม
คุยกับนิสิตรัฐศาสตร์ ที่ใครๆก็บอกว่าลิเบอรัลตัวพ่อตัวแม่ (ตอนที่ 1:
สำหรับอ่านในระบบ iOS)
.......
เรื่องที่เราคุยกัน
• ให้มิตรภาพเป็นสะพานระหว่างเรา
• จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
• ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
• ความเหลื่อมล้ำ: แก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
• สว. 250 คน
• ค่าแรงขั้นต่ำ: เศรษฐศาสตร์บอกว่าแย่เสมอไปจริงหรือ
• Hyperinflation: เมืองไทยจะเป็นเวเนซูเอล่าเป็นเรื่องมโน
• แม่ค้าในห้างขายของไม่ออก ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจไม่ดี
............
เพื่อนๆ คงได้เห็นผลโพลเรื่องนิสิตจุฬาฯ จะเลือกพรรคไหนกันมาแล้ว
เราไม่แปลกใจผลโพลมากนัก แต่ถ้าถามว่าเข้าใจไหมว่าทำไมนิสิตถึงเลือกแบบนั้น
เด็กๆ มีกระบวนการคิดอย่างไร ส่วนตัวยอมรับว่าไม่เข้าใจ ...
แต่ก็อยากที่จะเข้าใจ …
และเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสสอนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นให้กับนิสิตรัฐศาสตร์ร้อยกว่าชีวิต
วันอังคารที่ผ่านมาจึงตัดสินใจพูดคุยเรื่องการเมืองกับเด็กๆ
โดยผ่านเนื้อหาวิชาที่สอน
ทำไมถึงตัดสินใจคุยกับเด็กๆ ทั้งๆ ที่มีคนบอกว่า “ถ้าไม่อยากเสียเพื่อน อย่าได้คุยเรื่องการเมือง”?
เหตุผลคือเราเห็นนิสิตเป็นเพื่อน และเป็นเพื่อนที่น่ารัก
เกินกว่าที่เราจะยอมปล่อยให้มีช่องว่างความแตกต่างระหว่างกันไว้
แล้วถมลงไปด้วย วัย อุดมคติ หรือ อคติทางการเมืองที่ต่างกัน ...
เราไม่เคยคิดว่าอุดมคติทางการเมืองเป็นยอดของอุดมคติ …
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่มีอุดมคติใดจะสูงส่งไปกว่าความปรารถนา
และการลงมือทำให้เพื่อนมนุษย์อยู่ดีกินดีและผาสุก ... ในฐานะของครู
เรายอมไม่ได้ที่จะให้อุดมคติและอคติทางการเมืองมาเป็นกรอบจำกัดในการใช้ความสามารถที่มีของเด็กๆ
ในการใช้เหตุผล ตรรกะ และข้อมูลในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ
เมื่อเฉลยการบ้านและทำควิซประจำสัปดาห์เสร็จ จึงชวนเด็กๆ
มาคุยเรื่องประเด็นทางเศรษฐกิจที่ถูกหยิบยกมาถกกันในการเลือกตั้งครั้งนี้
แต่คราวนี้ขอแถมเรื่องการเมืองเข้าไปด้วยได้หรือเปล่า ซึ่งแน่นอน เด็กๆ
กระตือรืนร้นกันมากสมเป็นนิสิตรัฐศาสตร์
บ้างก็ว่าเราคุยกันเรื่องนี้ทั้งคาบเลยได้ไหม ... ฮ่าๆ ช่างน่าเอ็นดู ...
เมื่อถามถึงผลโพลก็ยิ่งมีเสียงฮือฮา ยิ่งบอกว่ามีผู้ใหญ่ฝากถามมาด้วย
เสียงฮือฮาก็เพิ่มขึ้นอีก นิสิตคนหนึ่งที่ชอบถามและตอบคำถาม
ก็ถามขึ้นมาพร้อมกับสีหน้าน้อยใจว่า
“อาจารย์ไปอ่านที่เค้าว่าพวกผมมาใช่ไหมครับ” เราอดยิ้มอย่างเอ็นดูไม่ได้
พร้อมกับตอบนิสิตว่า “อาจารย์ไม่ได้อ่าน
ที่อาจารย์ถามเพราะอยากที่จะเข้าใจพวกเราจริงๆ”
แต่คนเราคงจะเข้าใจกันได้ยากหากไม่เปิดใจให้แก่กัน จึงลองให้เด็กๆ
ทายกลับบ้างว่าเราเลือกพรรคอะไร เด็กๆ
ทายกันอย่างสนุกสนานบรรยากาศครื้นเครง แต่ที่ทายมานั้นไม่ถูกเลย จึงเฉลยว่า
“พลังประชารัฐค่ะ” ปฎิกิริยาของเด็กๆ ทำให้เราอดหัวเราะออกมาไม่ได้จริงๆ
เด็กๆ พิโอดพิครวญกันเสียยกใหญ่ (แบบน่ารักและใสๆ มาก) เอ็นดูในความจริงใจ
เสียงเซ็งแซ่คร่ำครวญถามย้ำๆ กันว่า “ไม่จริงใช่ไหมคะอาจารย์”
“อาจารย์ล้อเล่นแน่ๆ” “ไม่ๆๆ” “อาจารย์ทำอย่างนี้ได้ยังไง”
และที่พีคมากก็คือ นิสิตคนหนึ่งถึงกับชี้นิ้วไปที่ประตู แล้วตะโกนซ้ำๆว่า
“อาจารย์ออกจากห้องไปเลยค่ะ ออกไปเลยนะคะ” แล้วก็ทำท่าแสนงอน
ถึงแม้คำพูดเหล่านี้จะออกจากปากของเด็กๆ เด็กๆ
ก็ยังคงยิ้มและหัวเราะกันกับเรา ในแววตาไม่มีความโกรธเคืองกันสักนิด
บรรยากาศความเป็นมิตรและครื้นเครงยังมีอยู่เต็มเปี่ยม
แม้แต่นิสิตที่ชี้นิ้วไปที่ประตู
พูดไปก็ทำเหมือนจะหัวเราะก็ไม่ใช่ร้องไห้ก็ไม่เชิง
ก็ยิ่งทำให้หัวเราะกันเข้าไปใหญ่
หลังจากเด็กๆ เริ่มสงบลง เราบอกเด็กๆ
ว่า
เป็นที่รู้กันดีว่าพูดอย่างนี้ที่คณะรัฐศาสตร์เท่ากับเอาตัวมาตายในถ้ำเสือชัดๆ
แต่ทำไมเรายังทำ เพราะเราเชื่อว่าเหลือเกินว่า
คนเราสามารถเห็นต่างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นมิตรได้ ซึ่งเด็กๆ
ก็เห็นด้วย
จึงขอให้นิสิตลองบอกเหตุผลเพื่อโน้มน้าวให้เราเปลี่ยนใจไปเป็นแบบในโพลบ้าง
นิสิตคนหนึ่งบอกว่า เหตุผลคือประชาธิปไตย และอีกหลายคนบอกว่า “หนู
ไม่ได้อยากเปลี่ยนใจอาจารย์
แต่หนูอยากรู้ว่าทำไมอาจารย์ถึงเลือกพลังประชารัฐคะ” “ใช่ๆๆ” “ใช่ครับ”
“ใช่ๆ ทำไมคะอาจารย์”
ยอมรับว่าเหตุผลที่เด็กๆ
พูดมาไม่ได้ทำให้แปลกใจ แต่การที่เด็กๆ
ก็อยากรู้อยากเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายและเตรียมใจมาเลย
แต่มันทำให้เกิดความชุ่มชื่นฉ่ำใจได้อย่างประหลาด ...
นี่เรากับเด็กๆมาถึงจุดนี้กันได้อย่างไรท่ามกลางการเมืองที่ร้อนระอุแบบนี้
จุดที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้อยากให้อีกฝ่ายฟังเรา เข้าใจอย่างเรา ...
แต่อยากฟังอีกฝ่าย เข้าใจอีกฝ่าย ... เข้าใจว่าทำไมเราถึงต่างกัน
.........................
ต่อไปนี้เป็นสรุปประเด็นที่เราคุยกันกับนิสิต ทั้งนี้ได้ขออนุญาตนิสิตนำเรื่องราวเหล่านี้มาแชร์ในเฟสบุคแล้ว
..................…
1. จุดมุ่งหมายคืออะไร: ระบอบการปกครองที่คิดว่าใช่ หรือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไป
เช่น นิสิตบอกว่า เป็นเพราะ “ประชาธิปไตย” ... ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์
ไม่มีเหตุผลและจุดหมายอะไรที่สำคัญไปกว่าความกินดีอยู่ดีของประชาชน
รูปแบบของประชาธิปไตยไม่ใช่จุดหมาย
แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อนำไปสู่จุดหมายนั้น
ฉะนั้นในสถานการณ์ที่ต่างกัน ในบริบทแวดล้อมที่ต่างกัน จุดหมายยังคงเดิม
แต่เครื่องมือสามารถปรับเปลี่ยนได้
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
(development economist)
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงมือทำนโยบายที่ดีต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้และโอกาสน้อยอย่างจริงจัง
หลายเรื่องเป็นเรื่องที่เราศึกษาและทำวิจัยโดยตรง
จึงทำให้ทราบว่ารัฐบาลเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง
มีการศึกษางานวิชาการและนำมาประยุกต์และปฎิบัติจริง
อย่างเช่นการขยายสิทธิชุมชนในป่า
การให้เอกสารสิทธิในที่ดินทำกินเกษตรกรรมในรูปแบบต่างๆ
มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึง แม่แจ่มโมเดล เป็นต้น
และมีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถเข้าไปร่วมงานด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
นอกจากนี้พรรคที่เป็นพันธมิตรกันก็มี หม่อมเต่า อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ
ที่นำแบงค์ชาติผ่านวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งมาได้ นอกจากนี้
ผลการวิจัยก็ไม่ได้ชี้ว่าประชาธิปไตยเป็นสาเหตุของความเจริญของประเทศทางเศรษฐกิจ
เช่น ความสำเร็จของจีนและสิงค์โปร์ เป็นต้น
........
2. ประชาธิปไตยในรูปแบบไหน
บางพรรคการเมืองได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของประชาธิปไตย
แต่เราไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนั้น
เราชัดเจนมาตลอดว่าสนับสนุนประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของเหตุผล
สำหรับเรา สองส่วนนี้มิได้ขัดกัน
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมมีต้นทุนเสมอ
นอกจากคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นตัวเงินแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ยังคำนึงถึงต้นทุนที่เราเรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” อีกด้วย
หากประโยชน์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป
เรียกง่ายๆ ก็คือ “ได้ไม่คุ้มเสีย”
นักเศรษฐศาสตร์ถือว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้
หากจุดมุ่งหมายคือความกินดีอยู่ดีของประชาชน
เมื่อไตร่ตรองตามเหตุและผล ประโยชน์และต้นทุนแล้ว
เราไม่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของประชาธิปไตยตามที่บางพรรคการเมืองเรียกร้องและนำมาเป็นประเด็นในการหาเสียง
จะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นแต่อย่างไร
เราถามนิสิตว่า “นิสิตคิดว่า
ถ้าทำสำเร็จ จะทำให้คนที่นิสิตกำลังเรียกร้องความเท่าเทียมให้แก่เขา
คนที่ยากจนกว่าเรา อยู่ดีกินดีหรือมีความสุขขึ้นหรือคะ
ประเทศจะเจริญขึ้นด้วยสิ่งนั้นหรือ” เด็กๆ อึ้งไป
เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่เคยคำนึงถึงมาก่อน แต่ก็มิได้โต้แย้ง
เราหวังว่าตรรกะทางเศรษฐศาสตร์ที่เด็กๆ
เคยเรียนมาแล้วในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค
จะถูกนำมาใช้ในการไตร่ตรองและช่วยการตัดสินใจในชีวิตประจำวันต่อไป
..........
3. ความเหลื่อมล้ำ: จะแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่ติดลบ หรือทัศนคติที่เป็นบวก
นอกจากความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เป็น ความเหลื่อมล้ำแนวดิ่ง (vertical
inequality) นักเศรษฐศาสตร์ยังสนใจ ความเหลื่อมล้ำแนวราบ (horizontal
inequality) อย่างเช่น ความเหลื่อมล้ำทางเพศ ศาสนา และชาติพันธุ์ อีกด้วย
เพื่อความเท่าเทียมกันทางศาสนา
บางพรรคมีนโยบายที่จะไม่ให้ความสนับสนุนต่อศาสนาใดๆเลย ... อันที่จริง
สังคมไทยตระหนักถึงเรื่องความเท่าเทียมและเสรีภาพในการนับถือศาสนาอยู่แล้วมาช้านาน
แต่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ เพื่อให้เท่าเทียมกัน
รัฐได้ให้การสนับสนุนแก่ทุกศาสนา
พระมหากษัตริย์เองก็ทรงทำให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่าง
โดยทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (ซึ่งอันนี้ถูกต้องตามหลักตรรกะ
เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ศาสนาที่คนนับถือน้อยในประเทศก็อาจถูกเบียดเบียนจากคนส่วนใหญ่) ถึงตอนนี้
มีนิสิตบอกขึ้นมาว่า “มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เลยครับอาจารย์”
เราจึงเน้นย้ำกับนิสิตว่า “เห็นไหมว่าปัญหาอย่างเดียวกัน เจอเหมือนกัน
อีกคนมองบวก ก็แก้ปัญหาอย่างบวก อีกคนมองลบ ก็แก้ปัญหาอย่างลบ
จะเลือกเป็นคนแบบไหน เราสามารถเรียนรู้จากตัวอย่างนี้ได้”
เหตุผลหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องของรายได้
เพราะความเหลื่อมล้ำมักถูกนำมาเป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและสังคม
ประวัติศาสตร์จากประเทศต่างๆ หรือแม้กระทั่งจากประเทศไทยเอง
ได้แสดงให้เห็นถึงการนำความไม่เท่าเทียมมาเป็นข้ออ้าง ข้อยุยงให้คนแตกแยก
เกลียดชังกัน ไม่ต่างอะไรกับความพยายามจากบางพรรค บางสื่อ
และกลุ่มการเมืองในขณะนี้
ถ้าแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้วยทัศนคติที่ติดลบ
ก็อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกัน การล้มล้าง ห้ำหั่น จนถึงขั้นล้มตายได้
แต่ถ้าแก้ปัญหาด้วยทัศนคติที่เป็นบวก ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เช่น
ด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคม ก็จะนำความเจริญมาสู่ทุกฝ่าย ...
ประวัติศาสตร์จากประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในช่วงสงครามเย็น
แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในกระบวนการการแก้ปัญหา
และผลลัพธ์ต่อการพัฒนาประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นอย่างดี
..........
4. สว. 250 คน
“ผมอยากถามอาจารย์เรื่องที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ด้วยได้ไหมครับ
ถ้าเป็นเรื่องการปกครอง เรื่องสว. 250 คนที่เลือกเข้ามา
แล้วก็เลือกคนที่รู้จักกัน ซึ่งมีผลต่อการเลือกนายกฯ
และการบริหารประเทศต่อไปหน่ะครับ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรครับ”
นิสิตคนหนึ่งถามขึ้น
การที่สว.มีส่วนในการเลือกนายกฯ
เรายอมรับว่าอาจเป็นการไม่ยุติธรรม ... แต่ในการบริหารประเทศ
การผ่านร่างกฎหมายต่างๆ ก็ยังคงต้องผ่านสภาล่างก่อน แล้วจึงค่อยไปสภาสูง
เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งก็ยังมีผลเต็มที่ต่อการผ่านร่างกฎหมายในสภาล่าง
และการบริหารประเทศผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ
เราเล่าให้เด็กๆ ฟังว่า
สมัยเราเด็กๆ สว.ก็มาจากการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพต่างๆ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณากฎหมาย .... ในอังกฤษ
ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแม่แบบของประชาธิปไตย สภาสูงก็มาจากการแต่งตั้งเช่นกัน
เพราะฉะนั้นการที่สว.มาจากการแต่งแต่งจึงไม่ใช่เรื่องแปลกในระบอบประชาธิปไตย