บทความเรื่อง "กินเนื้อสัตว์อย่างไรไม่บาป?"

กระทู้สนทนา


คำถามยอดฮิต ของผู้ที่ยังสงสัยข้องใจในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ (เพราะคิดว่ายังไงๆมันจะต้องบาปแน่ๆ มันจะไม่เป็นบาปได้ยังไง?)
เพราะไม่รู้เงื่อนไขที่มาของเนื้อสัตว์ ว่าจะต้องมีที่มาอย่างไร ถึงจะกินเนื้อชิ้นนั้นได้โดยที่ไม่ผิดบาป (เพราะตีโจทย์ในเรื่องนี้ไม่แตก)

ถาม : "ตราบเท่าที่ยังมีการซื้อเนื้อสัตว์อยู่ หรือกินเนื้อสัตว์อยู่ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้มีการฆ่าสัตว์ทางอ้อมไม่ใช่หรือ?"
ถาม : "นี่คุณไม่รู้จริงๆเหรอว่า เมื่อคุณจ่ายเงินซื้อเนื้อชิ้นนั้นกลับบ้านไปแล้ว พ่อค้าพวกนี้ก็จะกลับบ้านไปฆ่าหมูมาขายคุณพรุ่งนี้อีก?"
ถาม : "แล้วคุณจะบอกว่าการกินเนื้อสัตว์ไม่บาปได้ไง?"



จำประโยคนี้ไว้ครับ "กรรมมันเกิดขึ้นแค่วันต่อวัน" (หรือแค่ต่อการลงมือฆ่าสัตว์1ครั้ง หรือ1ตัว) คำๆนี้จะเป็นกุญแจของคำตอบในเรื่องการกินเนื้อสัตว์นี้

จริงๆแล้วกรรมในการฆ่าสัตว์ของพ่อค้าเนื้อสัตว์นั้น "กรรมมันเกิดขึ้นแค่วันต่อวัน" เท่านั้น (เพราะว่าในวันๆนึง พ่อค้ามักจะลงมือฆ่าสัตว์แค่รอบเดียว)
เขากลับบ้านไป เขาจะไม่ทำก็ได้ เขาจะหยุดฆ่าสัตว์ลงวันไหนก็ได้ ตามแต่ใจเขา (ไม่มีใครบังคับให้เขาต้องฆ่าสัตว์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆเสียหน่อย?)

แต่ถ้าตกเย็นเขากลับบ้านไป แล้วเขาลงมือฆ่าสัตว์ตัวใหม่นั้นๆเอง ก็ถือว่า "เป็นเจตนาในการสร้างกรรมอันใหม่" ของเขาเองในแต่ละวัน

และเมื่อเขาลงมือฆ่าสัตว์นั้นให้ตายลงแล้วที่บ้านของเขา (ก็แสดงว่า กรรมมันได้เกิดขึ้นและก็จบขั้นตอน ไปตั้งแต่ที่บ้านของเขาแล้ว)
พอเช้าวันรุ่งขึ้นแล้วเขาค่อยนำเอาซากศพของสัตว์นั้นไปวางขายในตลาด


พ่อค้าเนื้อสัตว์ เขาฆ่าสัตว์และขายเนื้อสัตว์เป็นอาชีพ เขาขายให้กับใครก็ได้ที่มีเงินซื้อ 
แสดงว่าของที่เขาขาย "เขาขายเป็นการสาธารณะ" ไม่ได้จำกัดว่าฆ่ามาเพื่อใคร หรือว่ามีใครมาจ้างวานให้เขาฆ่า (ก็แสดงว่าเขา คิดเอง ทำเอง ฆ่าเอง
ในเมื่อเขา คิดเอง ทำเอง ฆ่าเอง บาปมันจึงตกอยู่ที่เขา ไม่ได้อยู่ที่เรา เพราะเราไม่ได้ไปจ้างวานให้เขาฆ่า 
(เขาฆ่าเพราะอยากจะขายของเอง เขาฆ่าเป็นปกติของเขาอยู่แล้ว เราแค่เดินไปซื้อซากศพหมูมากินเท่านั้น) 



เวลาเราเดินไปซื้อเนื้อหมูในตลาด เราเดินไปซื้อ "ซากศพ" ของหมูมากินเท่านั้น (เราไม่ได้ซื้อหมูตัวเป็นๆที่มันยังมีชีวิต ร้องอู๊ดๆได้อยู่มากิน)
และเราก็ไม่ได้สั่งออเดอร์จ้างวานเขาเอาไว้ล่วงหน้า ว่าให้เขาช่วยฆ่าหมูมาเพื่อให้เรากินโดยเฉพาะ เราจึงไม่บาปไปกับเขาด้วย
(ถ้าคุณไปสั่งเอาไว้ล่วงหน้า ว่าช่วยฆ่าลูกหมูตัวเล็กๆให้ซักตัวนึงสิ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเอาไปทำหมูหัน อย่างนี้คุณบาปแน่ เพราะไปจ้างให้เขาฆ่าหมูเพื่อคุณ)



ในเมื่อเราไม่ได้สั่งออร์เดอร์เนื้อสัตว์เอาไว้ล่วงหน้าเฉพาะเรา
ช่วงเวลาที่เราจะมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ชิ้นนั้น ก็มีแค่ช่วงเวลาที่เราไปยืนซื้อเนื้อสัตว์ชิ้นนั้นอยู่เท่านั้น (เราซื้อซากศพ)
ถ้าพ้นจากขณะนั้นไปแล้ว เหตุการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นในภายหลัง ก็ถือว่าเป็นกรรมอันใหม่ที่พ่อค้า "ตั้งใจกระทำบาปใหม่" ของเขาเอง ไม่เกี่ยวข้องกับเรา
(พ่อค้ามันกลับบ้านไป มันไปคิดฆ่าของมันเอง) (กรรมมันจบไปทีละวันๆ ทีละครั้งๆที่พ่อค้ามันลงมือ)

เพราะว่าเราไม่ได้ไปจ้างวานให้เขาทำ แต่เขาก็ทำของเขาเอง เขาลงมือฆ่าสัตว์ทุกๆวัน ด้วยเจตนาอันใหม่ของเขาเอง เพราะเขาอยากจะได้เงิน
(เพราะว่าจริงๆแล้ว เขามีสิทธิที่จะเลือกได้ ว่าเขาจะทำหรือไม่ทำ แต่เขาก็เจตนาเลือกที่จะลงมือฆ่าสัตว์นั้นๆเอง)

จะบาปหรือไม่บาป ขึ้นอยู่กับเจตนา ว่าใครมีเจตนาในการฆ่า และลงมือฆ่า เขาก็จะได้รับกรรมปาณาติบาตนั้นไป (พ่อค้าเขาได้รับกรรมไปคนเดียว)



แต่คนที่ตีโจทย์ในเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่แตก มักจะมองว่ามันต่อเนื่องกัน !?
เพราะคิดว่า "เงินที่ได้จากเราไป เอาไปต่อชีวิตของพ่อค้าเนื้อสัตว์ ให้ฆ่าสัตว์มาขายอยู่เรื่อยๆ ก็เท่ากับเป็นการจ้างวานฆ่าทางอ้อมไม่ใช่หรือ?"
(เราไม่ได้จ้างวานเขา เพียงแต่ว่าเมื่อเราเดินออกมาจากร้านแล้ว เราจะไปบังคับให้พ่อค้ามันทำตามเราได้หรือ? ว่าอย่ากลับบ้านไปฆ่าหมูมาขายอีกนะ?)

"เพราะเราไม่สามารถที่จะไปบังคับให้คนทุกคนมีศีลเหมือนเราได้" (เป็นเหตุสุดวิสัยชนิดหนึ่งในวัฏสงสาร ไม่อย่างนั้นเป็นพระอริยะเจ้ากันไปหมดแล้ว)
ถ้าคุณบังคับให้คนทุกคนเชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรมได้ และบังคับให้คนทุกคนถือศีลเคร่งครัดได้ ก็คงจะไม่มีใครฆ่าสัตว์
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณบังคับให้คนทุกคนมีศีลตามคุณไม่ได้ (และคนส่วนมากในสังคม มักจะเป็นผู้ที่ไม่มีศีล)



เพราะฉนั้น ไม่ใช่ว่าพอคุณไม่ซื้อเนื้อสัตว์ แล้วพ่อค้าทุกคนก็จะเลิกฆ่าสัตว์โยนปังตอทิ้งกันเลยทันทีเสียเมื่อไร ไม่ใช่อย่างนั้น
แม้ว่าคุณจะไม่ซื้อ แต่พวกเขาก็ยังคงฆ่าสัตว์เพื่อเอาไปขายให้กับคนอื่นอยู่ดี
(เพราะว่าเขาไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม จึงไม่เห็นโทษของการฆ่าสัตว์ จึงไม่รู้จะหยุดทำอาชีพนี้ไปทำไม เขาจึงทำต่อไป เขาจึงฆ่าต่อไป)

(แม่ค้าขายปลา เวลามีคนมาขอซื้อปลาไปปล่อยทำบุญ แม่ค้าบางคนเขาก็อาจจะรู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นมันเป็นบาป แต่นั่นมันเป็นอาชีพของเขา)
(แต่แม่ค้าบางคน ไม่ว่าจะมีใครมาขอซื้อปลาไปปล่อยมากเพียงไรก็ตาม เขาก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปทำอาชีพอื่น เพราะว่าเขาไม่เชื่อในเรื่องบาปกรรม)
(เขาก็สับหัวปลาทุกวันๆไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่คิดอะไร เพราะว่าเขาไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม ถ้าเขาเชื่อ เขาจะไม่มีทางมาทำอาชีพนี้แน่)

"คุณไปบังคับเขาให้เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรมได้หรือ?"

(ในเมื่อคุณไม่สามารถที่จะไปบังคับให้คนทุกคนเชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรมได้ นั่นแสดงว่าจะต้องมีคนที่หันมาทำอาชีพเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายปลาอยู่เสมอ)
(คุณจะต้องรู้ว่าคนที่มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมจะมีอยู่ในสังคมเสมอ และมักจะเป็นคนส่วนมากของสังคมเสมอ คุณห้ามเขาไม่ได้)



และ คนที่มีมิจฉาทิฏฐินั้น ไม่ได้มีแต่พ่อค้าฆ่าสัตว์ที่ไม่สนใจในเรื่องบาปกรรม แต่ยังรวมถึง ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่สนใจในเรื่องบาปกรรมด้วย
(เช่น ผู้บริโภคประเภทที่เอานิ้วชี้เลือกลูกหมูได้เลย ว่าอยากจะกินตัวไหน ไม่สนใจในเรื่องบาปกรรม) คนทั้ง 2 ประเภทนี้มีมากในสังคม

เพราะว่าคนที่มีมิจฉาทิฏฐิมาก มักจะเป็นคนส่วนมากของสังคม (เพราะความมีมิจฉาทิฏฐิ จะเป็นบาทฐานรากของวัฏสงสาร)
เพราะฉนั้น พ่อค้าที่ไม่สนใจในเรื่องบาปกรรม กับ ผู้บริโภคที่ไม่สนใจในเรื่องบาปกรรม จึงมีอยู่คู่กันเสมอ (จึงมีอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เกิดขึ้นอยู่เสมอ)



และ การเกิดขึ้นมาของสัตว์เพื่อชดใช้กรรม ก็เป็นเหตุสุดวิสัยชนิดหนึ่ง
คุณไม่สามารถที่จะไปหยุดวงจรการเกิดของสัตว์ที่จะมาชดใช้กรรมได้ เพราะว่ามันมีกรรมของมันอยู่ มันถึงต้องเกิดมาเป็นสัตว์
การเกิดเป็นสัตว์ เป็นวงจรของการเกิดมาชดใช้หนี้กรรมในวัฏสงสาร คุณไม่สามารถที่จะหยุดวัฏฏะนี้ได้ (แรงกรรมจะทำให้มีสัตว์เกิดขึ้นเสมอ)
และสัตว์ที่จะต้องเกิดมาชดใช้กรรมนั้น จะมีเป็นส่วนมากของวัฏสงสาร และเป็นบาทฐานรากของวัฏสงสาร






เพราะฉนั้น.....

การที่คุณพยายามจะให้คน ไม่ซื้อเนื้อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์ เพื่อที่จะไม่ให้มีการฆ่าสัตว์ เพื่อที่จะไม่ให้มีสัตว์ต้องตาย  จึงเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
(เพราะดวงจิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ย่อมจะมีมิจฉาทิฏฐิ และ มีอวิชชา(ความไม่รู้) เกิดมาเป็นปกติ)
เพราะความมีมิจฉาทิฏฐินั้นมีเป็นปกติของวัฏสงสาร อยู่คู่กับวัฏสงสาร และ มีกฏแห่งกรรมมาคอยกำหนดชะตาชีวิตของสัตว์ต่างๆให้มาชดใช้
จึงมีคนที่มีมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นมาอยู่เรื่อย และ มีสัตว์ที่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อย มาฆ่ากันอยู่เรื่อย เพราะ "มีการให้ผลของกรรมอยู่ไม่ขาดสาย" (โปรดจำคำนี้ไว้)

มันก็เลยมีการฆ่ากันเป็นปกติ เป็นของคู่กันกับวัฏสงสาร (ปกติในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ดีเป็นปกติ แต่หมายความว่า ปกติมันเป็นอย่างนั้นเอง)
เพราะความมีมิจฉาทิฏฐิ จะเป็นของคู่กันกับวัฏสงสาร เป็นธรรมชาติของวัฏสงสาร (ตราบใดที่มีมิจฉาทิฏฐิ ตราบนั้นมีวัฏสงสาร)

เพราะฉนั้น "ตราบใดที่ยังมีวัฏสงสารอยู่ ก็จะมีคนที่มีมิจฉาทิฏฐิ และ สัตว์ที่จะต้องเกิดมาชดใช้กรรม เกิดมาควบคู่กันอยู่เสมอ" (ฆ่ากันอยู่เสมอ)



เพราะฉนั้นขอแค่ที่มาของเนื้อสัตว์นั้นถูกต้องวิธี ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ยิน, ไม่ได้รังเกียจ (สงสัยว่าเขาฆ่าเนื้อนั้นเพื่อเจาะจงถวายตน)
เนื้อชิ้นนั้นเราสามารถที่จะกินได้โดยที่ไม่ผิดบาปอะไร เพราะเราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการฆ่า

"เป็นการกินเนื้อสัตว์ ที่เป็นแค่ซากศพสัตว์จากวงจรบาปในวัฏสงสาร ที่ผู้อื่นได้กระทำเอาไว้" เท่านั้น

ถ้าเราปฏิบัติตนให้อยู่ในขอบเขตของศีล และวางอารมณ์ในการกินเนื้อสัตว์ของเราให้ถูกต้อง ถือว่าเราไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงจรบาปนั้น
ใครทำ-ใครฆ่า ก็รับกรรมกันไปเอง เราไม่เกี่ยวข้อง "เราจะกินแต่เนื้อสัตว์ที่ได้มาอย่างถูกต้องวิธีเท่านั้น" (ถ้าไม่ถูกต้องวิธีเราไม่กิน)

บรรทัดนี้เองคือคำตอบของเรื่องการกินเนื้อสัตว์นี้ ว่าทำไมการกินเนื้อสัตว์ที่ได้มาอย่างถูกต้องวิธี จึงไม่ผิดบาปไปกับพ่อค้าเนื้อสัตว์ด้วย


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่