หลังจาก Documentary Club นำภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ตำนานที่สุดแสนคราสสิกอย่างThe Last Emperor กลับมาให้ชม เมื่อช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา เดือนมีนาคมนี้เขาจึงนำหนังเก่าคุณภาพดีอีกเรื่อง คือ Merry Christmas Mr.Lawrence (1983) ผลงานกำกับการแสดงของ Nagisa Oshima กลับมาให้พวกเราได้ชมอีกครั้งเช่นกัน แม้ว่าจะเข้าแค่ 2 โรง คือ เซนทรัลเวิลด์ และเมญ่าเชียงใหม่ เวลา 19.00 น.เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ดูหนังดีดีแบบนี้ใครอยู่ไกลก็พยายามหาโอกาสลองมาดูสักครั้งนะคะ ฉายระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 3 เมษายน เท่านั้นค่ะ
Merry Christmas Mr.Lawrence สร้างมาจากเรื่องจริงของ Sir Laurens van der Post เล่าถึงค่ายกักกันแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นโดยเชลยจะเป็นชาวยุโรปซะส่วนใหญ่ ค่ายกักกันแห่งนี้มีผู้กองโยโนอิ และผู้หมวดฮาระเป็นผู้ดูแล มิสเตอร์ลอเลนส์เชลยผู้ที่พยายามมองเห็นความดีและเชื่อในความเป็นมนุษย์ของพวกญี่ปุ่นที่แสนจะประหลาด เขาทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้รู้ของเรื่องนี้ และเนื่องจากในค่ายทหารล้วนมีแต่ผู้ชาย การที่ผู้ชายจะตกหลุมรักกันเองจึงไม่น่าจะใช่เรื่องแปลก หากการตกหลุมรักในครั้งนี้ไม่ใช่ผู้กองโยโนอิชายผู้มีเกียรติ ทหารหนุ่มผู้ซื่อตรงในระเบียบวินัยกับแจ๊ค เซลเลอร์ นายทหารอากาศสุดกวนประสาท เราจะได้เห็นความรักและการปกป้องของโยโนอิที่มีต่อแจ๊คมันทำให้คนดูแบบเราสงสัยเหมือนกันนะ ว่าทำไมเขาถึงชอบผู้ชายคนนี้ได้ขนาดนี้ (เอาตัวบังกระสุนให้เลยอ่ะ) หลายครั้งที่แจ๊คทำเรื่องวุ่นวายจนโดนขังคุก โยโนอิก็จะเอาพรมเปอร์เซียไปให้ปูนอน แต่ตัวโยโนอิเองก็รู้ว่าตนไม่สามารถรักกับแจ๊คได้เพราะตนต้องรักษาระเบียบกองทัพ และสิ่งที่แจ๊คทำกับตน (ฉากจูบแก้มในตำนาน) ก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าอับอาย
นอกจากเรื่องความรักของทหารแล้วอีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ ความเชื่อและพิธีกรรมที่แปลกประหลาดของคนญี่ปุ่น ความเชื่อว่าวิถีของพวกเขาจะทำให้คนกลายเป็นเทพ ในเรื่องเราจะได้เห็นวัฒนธรรมการทำ “เกียว” คือ อดอาหารเพื่อถือศีลพิจารณาตนเองหรือการทำเซมปูกุ (ฮาราคีรี) คว้านท้อง เมื่อทำความผิดถือว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติ เพราะพวกเขาถือว่าตนคือทหารของพระจักรพรรดิเท่านั้น เราจะได้เห็นมุมมองที่คนยุโรปมองว่าการฆ่าตัวตายเมื่อถูกจับได้หรือแพ้สงครามไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องชีวิตนั้นมีคุณค่า เมื่อวันหนึ่งยุโรป (สหราชอาณาจักร) ต่างหากที่กลายเป็นผู้ชนะ
อีกเรื่องคือความโหดร้ายของสถานกักกันเชลยญีปุ่นนอกจากจะต้องถูกใช้แรงงานแล้ว ทหารญี่ปุ่นมักจะทุบตี และออกคำสั่งให้ทำนู่นนี่เสมอ ผู้กองโยโนอิเองก็ยังสับสนในความรู้สึกที่ตนเองมีต่อแจ๊ค หลายครั้งเขามักจะออกคำสั่งอะไรที่แปลกประหลาดบังคับให้เชลมาดูพิธีฮาราคีรีบ้าง ให้ออกมาตั้งแถวทุกคนไม่เว้นแม้แต่คนป่วย และลงไม้ลงมือกับคนป่วยด้วย แน่นอนการกระทำเหล่านี้เกิดจากวัฒนธรรมล้าสมัยของคนญี่ปุ่นสมัยนั้น และความเป็นเอกเทศที่คิดว่าสิ่งที่ตนเองทำคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
ในยุค 80s ที่คนญี่ปุ่นยังคงมีแนวความคิดอนุรักษ์นิยมอย่างเข้มข้นผู้กำกับนางิสะ (ที่ชอบทำหนังฉาวๆ อยู่แล้ว) กลับทำภาพยนตร์ที่เผยแง่มุมสุดดาร์คของประเทศตนเองออกมาเผยให้ชาวโลกได้เห็น เขามองว่าประเทศของตนเองมีส่วนผิดเป็นอย่างมากในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในญี่ปุ่นพวกชาตินิยมจึงไม่ค่อยจะนิยมภาพยนตร์เรื่องนี้ซะเท่าไหร่
ท้ายนี้หากจะไม่ให้พูดถึงที่มาของชื่อเรื่องไม่ได้แน่นอน เพราะตอนแรกก็สงสัยว่าทำไมถึงชื่อนี้เพราะว่าผู้หมู่ฮาระกับมิสเตอร์ลอเลนส์มีมิตรภาพที่ดีแบบแมนๆ ให้แก่กันแม้ว่าจะเป็นวันที่หนักหนาและไม่เคยยืนข้างเดียวกันเลย แต่ผู้หมู่ก็บอกกับมิสเตอร์ลอเลนส์ว่า“แมรี่คริสมาส มิสเตอร์ลอเลนส์” แม้ว่าจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตฮาระก็ตาม
6.5 คะแนน วิธีการเล่าเรื่องอาจจะยังไม่คมชัด
มุมกล้องก็แปลกๆ แต่มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ และกล้าจะแสดงมุมมืดของประเทศญี่ปุ่น(บ้านของผู้กำกับ) ออกมาได้เป็นอย่างดี
Merry Christmas Mr.Lawrence : คุณพ่อวันคริสมาสต์
Merry Christmas Mr.Lawrence สร้างมาจากเรื่องจริงของ Sir Laurens van der Post เล่าถึงค่ายกักกันแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นโดยเชลยจะเป็นชาวยุโรปซะส่วนใหญ่ ค่ายกักกันแห่งนี้มีผู้กองโยโนอิ และผู้หมวดฮาระเป็นผู้ดูแล มิสเตอร์ลอเลนส์เชลยผู้ที่พยายามมองเห็นความดีและเชื่อในความเป็นมนุษย์ของพวกญี่ปุ่นที่แสนจะประหลาด เขาทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้รู้ของเรื่องนี้ และเนื่องจากในค่ายทหารล้วนมีแต่ผู้ชาย การที่ผู้ชายจะตกหลุมรักกันเองจึงไม่น่าจะใช่เรื่องแปลก หากการตกหลุมรักในครั้งนี้ไม่ใช่ผู้กองโยโนอิชายผู้มีเกียรติ ทหารหนุ่มผู้ซื่อตรงในระเบียบวินัยกับแจ๊ค เซลเลอร์ นายทหารอากาศสุดกวนประสาท เราจะได้เห็นความรักและการปกป้องของโยโนอิที่มีต่อแจ๊คมันทำให้คนดูแบบเราสงสัยเหมือนกันนะ ว่าทำไมเขาถึงชอบผู้ชายคนนี้ได้ขนาดนี้ (เอาตัวบังกระสุนให้เลยอ่ะ) หลายครั้งที่แจ๊คทำเรื่องวุ่นวายจนโดนขังคุก โยโนอิก็จะเอาพรมเปอร์เซียไปให้ปูนอน แต่ตัวโยโนอิเองก็รู้ว่าตนไม่สามารถรักกับแจ๊คได้เพราะตนต้องรักษาระเบียบกองทัพ และสิ่งที่แจ๊คทำกับตน (ฉากจูบแก้มในตำนาน) ก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าอับอาย
นอกจากเรื่องความรักของทหารแล้วอีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ ความเชื่อและพิธีกรรมที่แปลกประหลาดของคนญี่ปุ่น ความเชื่อว่าวิถีของพวกเขาจะทำให้คนกลายเป็นเทพ ในเรื่องเราจะได้เห็นวัฒนธรรมการทำ “เกียว” คือ อดอาหารเพื่อถือศีลพิจารณาตนเองหรือการทำเซมปูกุ (ฮาราคีรี) คว้านท้อง เมื่อทำความผิดถือว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติ เพราะพวกเขาถือว่าตนคือทหารของพระจักรพรรดิเท่านั้น เราจะได้เห็นมุมมองที่คนยุโรปมองว่าการฆ่าตัวตายเมื่อถูกจับได้หรือแพ้สงครามไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องชีวิตนั้นมีคุณค่า เมื่อวันหนึ่งยุโรป (สหราชอาณาจักร) ต่างหากที่กลายเป็นผู้ชนะ
อีกเรื่องคือความโหดร้ายของสถานกักกันเชลยญีปุ่นนอกจากจะต้องถูกใช้แรงงานแล้ว ทหารญี่ปุ่นมักจะทุบตี และออกคำสั่งให้ทำนู่นนี่เสมอ ผู้กองโยโนอิเองก็ยังสับสนในความรู้สึกที่ตนเองมีต่อแจ๊ค หลายครั้งเขามักจะออกคำสั่งอะไรที่แปลกประหลาดบังคับให้เชลมาดูพิธีฮาราคีรีบ้าง ให้ออกมาตั้งแถวทุกคนไม่เว้นแม้แต่คนป่วย และลงไม้ลงมือกับคนป่วยด้วย แน่นอนการกระทำเหล่านี้เกิดจากวัฒนธรรมล้าสมัยของคนญี่ปุ่นสมัยนั้น และความเป็นเอกเทศที่คิดว่าสิ่งที่ตนเองทำคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
ในยุค 80s ที่คนญี่ปุ่นยังคงมีแนวความคิดอนุรักษ์นิยมอย่างเข้มข้นผู้กำกับนางิสะ (ที่ชอบทำหนังฉาวๆ อยู่แล้ว) กลับทำภาพยนตร์ที่เผยแง่มุมสุดดาร์คของประเทศตนเองออกมาเผยให้ชาวโลกได้เห็น เขามองว่าประเทศของตนเองมีส่วนผิดเป็นอย่างมากในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในญี่ปุ่นพวกชาตินิยมจึงไม่ค่อยจะนิยมภาพยนตร์เรื่องนี้ซะเท่าไหร่
ท้ายนี้หากจะไม่ให้พูดถึงที่มาของชื่อเรื่องไม่ได้แน่นอน เพราะตอนแรกก็สงสัยว่าทำไมถึงชื่อนี้เพราะว่าผู้หมู่ฮาระกับมิสเตอร์ลอเลนส์มีมิตรภาพที่ดีแบบแมนๆ ให้แก่กันแม้ว่าจะเป็นวันที่หนักหนาและไม่เคยยืนข้างเดียวกันเลย แต่ผู้หมู่ก็บอกกับมิสเตอร์ลอเลนส์ว่า“แมรี่คริสมาส มิสเตอร์ลอเลนส์” แม้ว่าจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตฮาระก็ตาม
มุมกล้องก็แปลกๆ แต่มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ และกล้าจะแสดงมุมมืดของประเทศญี่ปุ่น(บ้านของผู้กำกับ) ออกมาได้เป็นอย่างดี