[คำเตือน : มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วน!!]
Focus
👉 กำกับโดยคุณ นางิสะ โอชิมะ (Nagisa Oshima) ปี ค.ศ. 1983
👉 หนังถูกดัดแปลงจากนิยายเรื่อง The Seed and The Sower ประพันธ์โดย Laurens van der Post
👉 ได้นักร้องวงร็อคดังในยุคนั้นอย่าง เดวิด โบวี่ (David Bowie) มารับบทเป็น แจ็ค เซลเลียร์
👉 ริวอิจิ ซากาโมโตะ (Ryuichi Sakamoto) เป็นทั้งนักแสดงนำและผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบในภาพยนตร์
👉 ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ปึ ค.ศ. 1983
“คุณเป็นเหยื่อของคนที่คิดว่าตัวเองทำถูกต้อง
เหมือนวันที่คุณกับผู้กองโยโนอิเชื่อมั่นสุดหัวใจ
ว่าคุณทำถูกต้อง”
Merry Christmas Mr. Lawrence (Furyo) ได้หยิบยกเหตุกาารณ์ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ค่ายกักกันเชลยสงคราม ปัตตาเวีย (หรือเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน)
หนังได้บอกเล่าเรื่องราวการก่อตัวของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างผู้กองโยโนอิ นายทหารหัวก้าวหน้า (ริวอิจิ ซากาโมโตะ) กับนาวาอากาศตรี แจ็ค เซลเลียร์ (เดวิด โบวี่) และมิตรภาพของผู้หมู่ฮาระ (ทาเคชิ คิตาโน่) กับลอว์เรนส์ (ทอม คอนติ) ตัวแทนล่ามฝั่งเชลยศึก ที่ค่อยๆ เบ่งบานพัฒนาความเข้าใจกันและกันท่ามกลางไฟสงครามที่ใกล้จะสิ้นสุด
เมื่อวิถีชีวิตและแนวความคิดสุดขั้วระหว่าง 2 วัฒนธรรม ได้มาบรรจบกันซึ่งความไม่เข้าใจ จนเป็นเป็นปมเหตุของความขัดแย้งในค่ายกักกันแห่งนี้
เซลเลียร์และผู้พันฮิคสลีย์ คือตัวแทนของแนวคิดฝั่งตะวันตก ซึ่งเชื่อในเรื่องหลักปัจเจกบุคคล การมีอิสรภาพซึ่งการแสดงออกของตัวเอง ในขณะที่โยโนอิและผู้หมู่ฮาระ คือสัญลักษณ์จากฝั่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่ถวายชีวิตเพื่อองค์จักรพรรดิ อย่างไม่ต้องสงสัย
โดยมีผู้พันลอว์เรนส์เป็นตัวกลางและตัวแปรสำคัญ ที่มุ่งมั่นเรียนรู้ความแตกต่างของทุกฝ่าย และเชื่อว่าการพยายามเข้าใจซึ่งกันและกัน จะช่วยลดอคติภายในจิตใจได้มากกว่าการบังคับอีกฝ่ายให้เชื่อในสิ่งที่เราเป็น
🔴 ยอมตาย = มีเกียรติ ?
เมื่อคนญี่ปุ่นมองว่าการทำเซ็ปปูกุ (การคว้านท้องอัตวินิบาตกรรมเพื่อชดเชยความผิด) เป็นการกระทำอย่างสมศักดิ์ศรี มีเกียรติ ควรค่าแก่การยกย่อง และพวกเขาพยายามจะบอกกับเชลยศึกชาวตะวันตกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง แต่สำหรับลอว์เรนส์แล้ว การตายไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ยังค้างคาอยู่ มีแต่จะปัดไปยังคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเท่านั้น และมองว่าต้องมีชีวิตอยู่เพื่อสู้ต่อไป ซึ่งเราจะพบความเห็นต่าง จากบทสนทนาที่ผู้หมู่ฮาระได้พูดกับลอว์เรนส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผู้หมู่ฮาระ : “ลอว์เรนส์ ทำไมคุณยังมีชีวิตอยู่ ผมคงชื่นชมคุณกว่านี้ถ้าคุณฆ่าตัวตาย...ถ้าทนความอับอายไม่ไหว ทำไมถึงไม่ฆ่าตัวตาย?”
ลอว์เรนส์ : “เราไม่ถือว่านี่เป็นความอับอาย การตกเป็นเชลย มันเป็นเรื่องของดวง และเราก็ไม่ได้ชอบการตกเป็นเชลยหรอก เราอยากหนี เราอยากสุ้กับคุณต่อไป...สำหรับเราค่ายไม่ใช่จุดจบ ฆ่าตัวตายมันเป็นวิธีขี้ขลาด
ผู้หมู่ฮาระ : “ก็แค่ข้ออ้าง เพราะคุณเพียงกลัวตายเท่านั้น แต่ผมไม่กลัว! ผมพร้อมถวายชีวิตให้องค์จักรพรรดิ”
ลอว์เรนส์ : “แต่คุณก็ยังไม่ตายนิ”
จากการที่ทั้งสองคนได้ลองเปิดใจพูดคุยในครั้งนี้ จะเห็นได้เลยว่าอีกฝ่ายมองชีวิตของตัวเองนั้นสามารถชดเชยซึ่งความผิด และลบเลือนความอับอายได้ทั้งมวล ในขณะที่อีกฝ่ายแย้งว่าความตายอาจไม่ใช่จุดจบ แต่การมีชีวิตอยู่เพื่อจบเรื่องทั้งหมดนั้น ควรค่าแก่การกระทำและน่ายกย่อง ซึ่งความไม่เข้าใจเหล่านี้เองที่เป็นกำแพงอากาศสูงหนาคอยบดบังจิตใจเหล่าทหารหาญในสมรภูมิมาตลอดช่วงของสงคราม
เมื่อพวกเขาต่างเชื่อมั่นในความคิดและสิ่งที่ตัวเองศรัทธา โดยที่ไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดเห็นอย่างไร ถ้าว่าแบบนี้ดีมันคือดี การทำแบบนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล ก็มีแต่จะไม่เข้าใจยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งแบบไหนจะดีหรือถูกต้อง ไม่อาจวัดได้จากวัฒนธรรมและทัศนคติที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราเหมือนกัน นั่นก็คือหัวใจของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะชาติไหนฝ่ายใด พวกเขาเองก็มีสิทธิ์เลือก, กำหนดความเป็นไป หรือแม้แต่ทำตามหัวใจของตนเอง
เพราะท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าผู้กองโยโนอิจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงอย่างไร สิ่งเดียวที่หัวใจของเขาปราถนาในตอนนี้ ก็คือความรู้สึกที่ดีต่อเซลเลียร์ นั่นคือความสัตย์จริง เช่นเดียวกันกับลอว์เรนส์ที่ไม่เคยลดละในความพยายามที่จะทำความเข้าใจทุกฝ่าย แม้สถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยก็ตามที และต่อให้ตอนนี้เขาจะตกอยู่ในสถานะของเชลยศึก แต่ความต้องการเดียวของเขาก็คือการสร้างสันติให้เกิดขึ้นบนดินแดนป่าเถื่อนแห่งนี้ก็เท่านั้น
🔴 แด่ความปราถนาดี
เมื่อสถานการณ์ในค่ายกักกันเริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ เซลเลียร์ ได้กระทำการตัดสินใจบางอย่าง แล้วรวบรวมความกล้าทั้งหมดมุ่งตรงไปหาผู้กองโยโนอิ ก่อนที่จะสวมกอดแล้วค่อยๆ บรรจงจูบบนแก้มทั้งสองข้างของโยโนอิ
เซลเลียร์ได้แสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ต่อผู้กองโยโนอิด้วยสิ่งที่เรียกว่า
ความรัก แม้ตัวเขาจะไม่ได้คิดลึกซึ้งกับผู้กองโยโนอิ แต่เขาก็ตั้งใจจะมอบการกระทำเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสื่อให้เห็นว่า แม้ทั้งตัวเขาและคนอื่นๆ จะเป็นศัตรูต่อกัน แต่ ณ ที่ตรงนี้ เวลานี้ มีเพียงความรู้สึกที่ดีต่อกันที่จะก้าวข้ามผ่านความแตกต่าง และหวังว่ามันจะเป็นประตูสู่สันติภาพได้ในที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Merry Christmas Mr. Lawrence จากปมขัดแย้งแปรเปลี่ยนสู่ความเข้าใจ พร้อมเบ่งบานท่ามกลางไฟสงคราม
👉 กำกับโดยคุณ นางิสะ โอชิมะ (Nagisa Oshima) ปี ค.ศ. 1983
👉 หนังถูกดัดแปลงจากนิยายเรื่อง The Seed and The Sower ประพันธ์โดย Laurens van der Post
👉 ได้นักร้องวงร็อคดังในยุคนั้นอย่าง เดวิด โบวี่ (David Bowie) มารับบทเป็น แจ็ค เซลเลียร์
👉 ริวอิจิ ซากาโมโตะ (Ryuichi Sakamoto) เป็นทั้งนักแสดงนำและผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบในภาพยนตร์
👉 ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ปึ ค.ศ. 1983
Merry Christmas Mr. Lawrence (Furyo) ได้หยิบยกเหตุกาารณ์ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ค่ายกักกันเชลยสงคราม ปัตตาเวีย (หรือเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน)
เมื่อวิถีชีวิตและแนวความคิดสุดขั้วระหว่าง 2 วัฒนธรรม ได้มาบรรจบกันซึ่งความไม่เข้าใจ จนเป็นเป็นปมเหตุของความขัดแย้งในค่ายกักกันแห่งนี้
เซลเลียร์และผู้พันฮิคสลีย์ คือตัวแทนของแนวคิดฝั่งตะวันตก ซึ่งเชื่อในเรื่องหลักปัจเจกบุคคล การมีอิสรภาพซึ่งการแสดงออกของตัวเอง ในขณะที่โยโนอิและผู้หมู่ฮาระ คือสัญลักษณ์จากฝั่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่ถวายชีวิตเพื่อองค์จักรพรรดิ อย่างไม่ต้องสงสัย
โดยมีผู้พันลอว์เรนส์เป็นตัวกลางและตัวแปรสำคัญ ที่มุ่งมั่นเรียนรู้ความแตกต่างของทุกฝ่าย และเชื่อว่าการพยายามเข้าใจซึ่งกันและกัน จะช่วยลดอคติภายในจิตใจได้มากกว่าการบังคับอีกฝ่ายให้เชื่อในสิ่งที่เราเป็น
🔴 ยอมตาย = มีเกียรติ ?
เมื่อคนญี่ปุ่นมองว่าการทำเซ็ปปูกุ (การคว้านท้องอัตวินิบาตกรรมเพื่อชดเชยความผิด) เป็นการกระทำอย่างสมศักดิ์ศรี มีเกียรติ ควรค่าแก่การยกย่อง และพวกเขาพยายามจะบอกกับเชลยศึกชาวตะวันตกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง แต่สำหรับลอว์เรนส์แล้ว การตายไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ยังค้างคาอยู่ มีแต่จะปัดไปยังคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเท่านั้น และมองว่าต้องมีชีวิตอยู่เพื่อสู้ต่อไป ซึ่งเราจะพบความเห็นต่าง จากบทสนทนาที่ผู้หมู่ฮาระได้พูดกับลอว์เรนส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่งแบบไหนจะดีหรือถูกต้อง ไม่อาจวัดได้จากวัฒนธรรมและทัศนคติที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราเหมือนกัน นั่นก็คือหัวใจของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะชาติไหนฝ่ายใด พวกเขาเองก็มีสิทธิ์เลือก, กำหนดความเป็นไป หรือแม้แต่ทำตามหัวใจของตนเอง
เพราะท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าผู้กองโยโนอิจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงอย่างไร สิ่งเดียวที่หัวใจของเขาปราถนาในตอนนี้ ก็คือความรู้สึกที่ดีต่อเซลเลียร์ นั่นคือความสัตย์จริง เช่นเดียวกันกับลอว์เรนส์ที่ไม่เคยลดละในความพยายามที่จะทำความเข้าใจทุกฝ่าย แม้สถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยก็ตามที และต่อให้ตอนนี้เขาจะตกอยู่ในสถานะของเชลยศึก แต่ความต้องการเดียวของเขาก็คือการสร้างสันติให้เกิดขึ้นบนดินแดนป่าเถื่อนแห่งนี้ก็เท่านั้น
🔴 แด่ความปราถนาดี
เมื่อสถานการณ์ในค่ายกักกันเริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ เซลเลียร์ ได้กระทำการตัดสินใจบางอย่าง แล้วรวบรวมความกล้าทั้งหมดมุ่งตรงไปหาผู้กองโยโนอิ ก่อนที่จะสวมกอดแล้วค่อยๆ บรรจงจูบบนแก้มทั้งสองข้างของโยโนอิ
เซลเลียร์ได้แสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ต่อผู้กองโยโนอิด้วยสิ่งที่เรียกว่าความรัก แม้ตัวเขาจะไม่ได้คิดลึกซึ้งกับผู้กองโยโนอิ แต่เขาก็ตั้งใจจะมอบการกระทำเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสื่อให้เห็นว่า แม้ทั้งตัวเขาและคนอื่นๆ จะเป็นศัตรูต่อกัน แต่ ณ ที่ตรงนี้ เวลานี้ มีเพียงความรู้สึกที่ดีต่อกันที่จะก้าวข้ามผ่านความแตกต่าง และหวังว่ามันจะเป็นประตูสู่สันติภาพได้ในที่สุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้