ภาษากลุ่ม Khoisan ใช้เป็นภาษาพูดในกลุ่มชนทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในแถบตะวันตกอย่างประเทศนามิเบีย บอตสวาน่า หรือทางตะวันออกหย่อมหนึ่งในแทนซาเนีย
มีตระกูลภาษาแยกย่อยกันไปอีกตามความต่างของคำพูดอาทิเช่น ตระกูลภาษา Khoe, ตระกูลภาษา Kx'a, ตระกูลภาษา Tuu เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ยังมีความเลื่อนไหลในการจำแนกอยู่มาก อย่างเช่นภาษา Sandawe ที่พูดในแทนซาเนียก็ยังไม่รู้ว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มไหนดี บ้างบอกว่าใกล้เคียงกับตระกูล Khoe แต่โดยรวม ๆ ก็จะบอกว่าเป็นภาษาอิสระกลุ่ม Khoisan
ภาษากลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ภาษาอื่นไม่มี (กลุ่มภาษา Bantu ที่อยู่ใกล้เคียงนั้นยืมเอกลักษณ์นี้ไปอีกทีจาก Khoisan) คือมีการใช้การกระทบกันของอวัยวะภายในปากเพื่อทำให้เกิดเสียง อันเป็นส่วนประกอบของคำพูด อันเรียกว่า "click consonant" ซึ่งมีวิธีการออกเสียงแตกต่างกันไปตามตำแหน่งอวัยวะที่ไปสัมผัสกับส่วนต่างๆ ในปาก แทนสัญลักษณ์ในทางสัทศาสตร์ได้อย่างเช่น
ʘ : ริมฝีปากกระทบกัน
ǀ : ปลายลิ้นกระแทกฟันบน (เสียง "จิ๊" แบบที่เราแสดงอาการรำคาญ)
ǃ : ปลายลิ้นกระแทกปุ่มเหงือก (Alveolar )
ǂ : กลางลิ้นกระแทกเพดานแข็ง (Palatal)
ǁ : ดูดกระพุ้งแก้ม (Lateral) พร้อมกัยปลายลิ้นกระแทกปุ่มเหงือก (เสียง "แจ๊บ" เวลาเคี้ยวข้าว )
...ฯ
เกริ่นมาอย่างยาว ทีนี้คำถามคือ ทำไมถึงพบวิธีการออกเสียงแบบนี้เฉพาะในกลุ่มภาษา Khoisan นี้เท่านั้น ? กลุ่มภาษาอื่นในแอฟริกาอาทิเช่น Nilo-saharan, Niger-congo หรืออย่าง Bantu ที่ก็รับมาอีกทีอย่างที่กล่าวข้างต้น พวกนี้ดั้งเดิมไม่มีเสียง "คลิ้ก" หรืออาจจะมีกลุ่มชนเผ่าในออสเตรเลียกลุ่มหนึ่งที่ใช้พูด รู้สึกจะชื่อ Damin แต่นั่นก็ไม่ได้ใช้พูดปกติ หากแต่ใช้เฉพาะในการประกอบพิธีกรรม
คือถ้าพิจารณาจากวิถีชีวิต กลุ่มชนที่ใช้ภาษานี้มักจะมีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์ แล้วไอ้เสียงพูดแบบ "คลิ้กๆๆ" นี้คือดังมาก สัตว์ได้ยินมาแต่ไกลแน่ ๆ คือมันไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตตัวเองเลย
ที่สำคัญคือออกเสียงยากด้วย ผมลองฝึกออกเสียงเล่นดูแทบทุกเสียง ผลคือตอนนี้ระบมเพดานปากมากและออกเสียงได้ไม่ลื่นไหลเลย บางข้อสันนิษฐานบอกว่าเสียงนี้เกิดจากการเชื่อมคำระหว่างการออกเสียงสองแบบติดกัน แต่การปฏิบัติจริงมันค่อนข้างขัด ทว่าลิ้นเรากับลิ้นคนที่พูดประจำก็ต่างกันอยู่
มันก็ควรจะมีสาเหตุอะไรบางอย่าง อยากลองฟังความคิดเห็นในนี้ดูครับว่ามันมาจากสาเหตุอะไร
ทำไมภาษากลุ่ม Khoisan ถึงพัฒนาสียง "คลิ้ก" มาเป็นภาษาพูด ?
มีตระกูลภาษาแยกย่อยกันไปอีกตามความต่างของคำพูดอาทิเช่น ตระกูลภาษา Khoe, ตระกูลภาษา Kx'a, ตระกูลภาษา Tuu เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ยังมีความเลื่อนไหลในการจำแนกอยู่มาก อย่างเช่นภาษา Sandawe ที่พูดในแทนซาเนียก็ยังไม่รู้ว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มไหนดี บ้างบอกว่าใกล้เคียงกับตระกูล Khoe แต่โดยรวม ๆ ก็จะบอกว่าเป็นภาษาอิสระกลุ่ม Khoisan
ภาษากลุ่มนี้มีลักษณะเด่นที่ภาษาอื่นไม่มี (กลุ่มภาษา Bantu ที่อยู่ใกล้เคียงนั้นยืมเอกลักษณ์นี้ไปอีกทีจาก Khoisan) คือมีการใช้การกระทบกันของอวัยวะภายในปากเพื่อทำให้เกิดเสียง อันเป็นส่วนประกอบของคำพูด อันเรียกว่า "click consonant" ซึ่งมีวิธีการออกเสียงแตกต่างกันไปตามตำแหน่งอวัยวะที่ไปสัมผัสกับส่วนต่างๆ ในปาก แทนสัญลักษณ์ในทางสัทศาสตร์ได้อย่างเช่น
ʘ : ริมฝีปากกระทบกัน
ǀ : ปลายลิ้นกระแทกฟันบน (เสียง "จิ๊" แบบที่เราแสดงอาการรำคาญ)
ǃ : ปลายลิ้นกระแทกปุ่มเหงือก (Alveolar )
ǂ : กลางลิ้นกระแทกเพดานแข็ง (Palatal)
ǁ : ดูดกระพุ้งแก้ม (Lateral) พร้อมกัยปลายลิ้นกระแทกปุ่มเหงือก (เสียง "แจ๊บ" เวลาเคี้ยวข้าว )
...ฯ
เกริ่นมาอย่างยาว ทีนี้คำถามคือ ทำไมถึงพบวิธีการออกเสียงแบบนี้เฉพาะในกลุ่มภาษา Khoisan นี้เท่านั้น ? กลุ่มภาษาอื่นในแอฟริกาอาทิเช่น Nilo-saharan, Niger-congo หรืออย่าง Bantu ที่ก็รับมาอีกทีอย่างที่กล่าวข้างต้น พวกนี้ดั้งเดิมไม่มีเสียง "คลิ้ก" หรืออาจจะมีกลุ่มชนเผ่าในออสเตรเลียกลุ่มหนึ่งที่ใช้พูด รู้สึกจะชื่อ Damin แต่นั่นก็ไม่ได้ใช้พูดปกติ หากแต่ใช้เฉพาะในการประกอบพิธีกรรม
คือถ้าพิจารณาจากวิถีชีวิต กลุ่มชนที่ใช้ภาษานี้มักจะมีวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์ แล้วไอ้เสียงพูดแบบ "คลิ้กๆๆ" นี้คือดังมาก สัตว์ได้ยินมาแต่ไกลแน่ ๆ คือมันไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตตัวเองเลย
ที่สำคัญคือออกเสียงยากด้วย ผมลองฝึกออกเสียงเล่นดูแทบทุกเสียง ผลคือตอนนี้ระบมเพดานปากมากและออกเสียงได้ไม่ลื่นไหลเลย บางข้อสันนิษฐานบอกว่าเสียงนี้เกิดจากการเชื่อมคำระหว่างการออกเสียงสองแบบติดกัน แต่การปฏิบัติจริงมันค่อนข้างขัด ทว่าลิ้นเรากับลิ้นคนที่พูดประจำก็ต่างกันอยู่
มันก็ควรจะมีสาเหตุอะไรบางอย่าง อยากลองฟังความคิดเห็นในนี้ดูครับว่ามันมาจากสาเหตุอะไร