ไขข้อข้องใจ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 สู่ 700 มากกว่าจบป.ตรี เป็นไปได้ไหม?
โดย ไทยรัฐออนไลน์
16 ก.ย. 2560 08:30 น.
แรงงานถึงกับร้องอู้หูว! แนวคิดปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 บาท สู่ 700 บาท กำลังเป็นข้อถกเถียงตีกันอีนุงตุงนังจากหลายภาคฝ่าย
บ้างก็ว่าเห็นควรแก่การปรับขึ้นเสียที เพราะไม่เพียงพอต่อการครองชีพในแต่ละวัน บ้างก็ว่าค่าแรง 700 บาทเป็นไปไม่ได้ เพราะอัตรานี้เท่ากับเดือนละ 2 หมื่นบาทต่อเดือน และมันสุดแสนจะไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจแบบนี้...
“ขึ้นค่าแรง 300 เป็น 700 บาท” มากไปไหม? จะเป็นไปได้หรือ? และใครจะได้ ใครจะเสีย? ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงเอาไว้ให้คุณเข้าใจง่ายๆ อย่าเพิ่งกดออก กดทิ้งเพียงแค่เห็นตัวหนังสือ เพราะเรื่องที่อยู่ตรงหน้าคุณนี้มันเกี่ยวกับตัวคุณด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะแรงงาน!
- สัปดาห์ที่ผ่านมา นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 61
โดยระบุค่าจ้างปัจจุบันควรอยู่ที่ 600-700 บาท
- นายสาวิทย์ ประธานคสรท. ระบุว่า สิ่งสำคัญต้องปรับขึ้นให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่ง
ที่ผ่านมาเคยเสนอว่า ค่าแรงขั้นต่ำต้องอยู่ที่ 360 บาทต่อวันเท่ากันทุกจังหวัด แต่เอาเข้าจริง 360 บาทก็ยังไม่เพียงพอ เพราะยังไม่ได้รวมค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทางไปทำงาน และค่าเลี้ยงดูครอบครัวรวม 3 คนโดยนับตัวแรงงานเองด้วย (ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำนั้น จะต้องเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน และต้องเท่ากันทั้งประเทศ)
-
“จากการสำรวจตัวเลขอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 560 บาทต่อวัน ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี หากคิดถึงปัจจุบัน แรงงานควรได้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณวันละ 600-700 บาทต่อวัน โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นตัวเลขนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมานั่งหารือกัน” นายสาวิทย์ ประธานคสรท. ให้ความเห็น
- นายสาวิทย์ ประธาน คสรท. ให้เหตุผลสนับสนุนอีกว่า
“ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพนั้น ยืนยันได้จากคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เคยพูดไว้ว่า เงินเพียง 1 แสนบาทต่อปีไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ หากจะให้พอก็ต้องประมาณ 3 แสนบาทต่อปี ซึ่งจะตกอยู่ที่เดือนละ 25,000 บาท ซึ่งทางแรงงานมองว่า ไม่จำเป็นต้องมากถึงจำนวนนี้ก็ได้ แต่ต้องเหมาะสมกับค่าครองชีพ"
-
“ที่สำคัญ รัฐบาลควรยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับจังหวัด เนื่องจากไม่มีประโยชน์ ซึ่งหลายแห่งไม่มีกลุ่มแรงงานเข้าร่วมเลย ส่วนใหญ่จะมีก็แต่นายจ้างเป็นอนุกรรมการ ดังนั้น ควรมีเฉพาะคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำก็เพียงพอแล้ว” นายสาวิทย์ ประธานคสรท. เสนอแนะ
- นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ให้เหตุผลสนับสนุนในเรื่องนี้ว่า
ตอนนี้ แรงงานค่อนข้างกังวล เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับนายจ้าง และนักลงทุนค่อนข้างมาก โดยล่าสุดได้ข่าวแว่วมาว่า มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 500 ราย ซึ่งรัฐบาลมีการให้ส่วนลด ของแถม เพื่อดึงดูดนักลงทุนจำนวนมาก เพราะฉะนั้น คำถามที่ตามมาคือ แรงงานหรือลูกจ้างได้ประโยชน์อะไร
- ภายหลังจากที่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกมาเคลื่อนไหว นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ก็ออกมาแทงสวนทันทีว่า การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเป็น 700 บาทต่อวัน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในสภาพเศรษฐกิจขณะนี้
เพราะหากคิดรวมรายเดือนเท่ากับเกือบ 20,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าค่าจ้างแรงงานผู้ที่จบปริญญาตรีที่มีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มนายจ้างอาชีพบริการ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรืองานบริการอื่นๆ เพราะใช้คนงานจำนวนมาก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง หันไปใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นแล้ว ดังนั้น หากจะมีการปรับขึ้นค่าแรงอีกรอบกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจะไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แสดงมุมมองในมุมนายจ้าง
- จากนั้น ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ออกมาแสดงท่าทีของทางภาครัฐในทันทีว่า
การเรียกร้องขอปรับค่าจ้างมากถึง 700 บาท เป็นไปไม่ได้ การปรับค่าจ้างจะต้องอยู่บนความเป็นจริง ต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
- ในปี 2559 กลุ่มผู้ใช้แรงงานเรียกร้องปรับขึ้น 360 บาท แต่สภาพเศรษฐกิจไม่ดีจึงปรับไม่ได้มาก โดยครั้งแรก ทางรัฐบาลคาดว่าจะปรับขึ้นได้ถึง 320 บาท แต่เมื่อนำข้อมูลการปรับค่าจ้างและปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจมาเข้าสูตรคำนวณ สามารถปรับขึ้นได้ 5-10 บาท ใน 69 จังหวัด
ค่าจ้างจาก 300 บาทขยับไปเป็น 305, 308 และ 310 บาท ส่วนอีก 8 จังหวัด ไม่ปรับขึ้น ยังคงที่ 300 บาท เพราะสูตรกำหนดให้ปรับขึ้นไม่ถึง 1 บาท
“ส่วนการปรับครั้งนี้จะได้เท่าไร จะไปแตะที่ 360 บาท ตามที่เคยร้องขอหรือไม่ ก็ต้องรอดูผลการพิจารณาของบอร์ดค่าจ้าง ที่มีเหตุผลพิจารณาบนความเป็นจริง ไม่ใช่เอาคนหมู่มากมาเรียกร้องกดดัน” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
- อย่างไรก็ตามใน 8 จังหวัดที่ปีก่อนไม่ได้ปรับ ทางกระทรวงแรงงาน จะนำตัวเลขมาทบกับปีนี้เพื่อให้ค่าจ้างขั้นต่ำขยับขึ้น ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างจะต้องประชุมพิจารณาปรับค่าจ้างในเดือน ต.ค. เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และประกาศใช้พร้อมกันทั่วประเทศ 1 ม.ค.61
- ส่วนในภาคนักวิชาการนั้น อาจารย์ สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงทรรศนะต่อเรื่องนี้กับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า
การทำให้ประชาชนคนทำงานสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ โดยที่แรงงานไม่จำเป็นต้องแบมือขอเงินจากภาครัฐ นี่คือสุดยอดการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จ
“การขึ้นค่าแรง 5 บาท 10 บาทต่อปีนั้น ไม่สามารถตอบโจทย์หลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เลย เพราะเขาระบุไว้ชัดเจนว่า แรงงาน 1 คน จะต้องดูแลครอบครัวอีก 2 คน และต้องเท่ากันทั้งประเทศ เพราะสินค้าราคาเดียวกันหมดทั้งประเทศ ยกตัวอย่างเช่น คนจนที่อยู่ต่างจังหวัด ส่งลูกมาเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ คนจนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าๆ กันกับคนกรุงเทพฯ หรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ โดยที่ค่าแรงขั้นต่ำของเขาต่ำกว่าคนกรุงเทพฯ คุณว่าตลกไหมล่ะ” อาจารย์สุนี แสดงทรรศนะพร้อมกับหัวเราะอยู่ในคอ
“ส่วนที่บอกว่า ค่าแรง 700 บาทนั้น สูงเกินไป ในกรณีนี้ คุณต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา และอย่ามาพูดเพียงแค่ว่า แรงงานเรียกร้องกันสูงจัง จนลืมพูดถึงเรื่องอื่น ดังนั้น ควรไตร่ตรองดูเถิดว่า ค่าจ้างของแรงงานนั้น เขาต้องดูแลลูก ดูแลพ่อแม่เขาได้ เพราะคนทำงานเขาไม่ได้ทำงานได้เงินมาแล้วมากินคนเดียวนะคะ” อาจารย์สุนี กล่าวแทนใจคนทำงาน
นอกจากนี้ อาจารย์สุนี ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า
“ปีที่แล้ว อนุกรรมการค่าจ้างกว่าสิบจังหวัดลงมติว่า จะไม่ขึ้นค่าจ้าง ซึ่งอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดนั้น ต้องประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ แต่มติกลับออกมาว่า ลูกจ้างก็เห็นด้วยที่จะไม่ขึ้นค่าจ้าง ซึ่งเราแปลกใจมากว่า ทำไมลูกจ้างถึงออกเสียงให้ไม่ขึ้นค่าจ้างตัวเอง หรือเป็นเพราะว่า ตัวแทนรัฐก็เข้าข้างนายทุน ลูกจ้างก็ไม่ใช่ลูกจ้างที่แท้จริง”
ส่วนจำนวนเงินที่เหมาะสมในการปรับขึ้นค่าแรงนั้น อาจารย์สุนี ประเมินว่า
ควรจะอยู่ที่ 400 บาทขึ้นไป ซึ่งจำนวนนี้ ถือว่าเป็นขั้นต่ำที่ควรจะเป็น
https://www.thairath.co.th/content/1070275
แรงงานเตรียมเฮ! บอร์ดค่าจ้าง จ่อปรับขึ้นค่าแรงใหม่ เดือนมี.ค.นี้ลุ้น 360 บาท
14 ก.พ. 2019 - 06:47 น.
บอร์ดค่าจ้างเตรียมเคาะค่าแรงขั้นต่ำปี 2562 เดือนมี.ค.นี้ ลุ้นระทึกเพิ่มสูงสุดถึง 360 บาทหรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน ย้ำปรับตามสภาพเศรษฐกิจ ทุกจังหวัดปรับขึ้นไม่เท่ากัน
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยผลการประชุม คณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2562 ว่า คณะกรรมการไตรภาคี ได้เข้าประชุมครบทุกฝ่าย และอนุกรรม การค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด ได้ส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดเข้ามาครบแล้ว
โดยคาดว่า อนุกรรมการค่าจ้างฯ น่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้ เพราะการปรับค่าจ้างใหม่ปี 2562 นั้นต้องทำให้เสร็จก่อน 30 มี.ค.นี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.
ส่วนที่ผู้นำแรงงานเรียกร้องให้ปรับขึ้นในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ 360 บาท นั้นเป็นเพียงพูดกันเหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่จะปรับเท่าไร จะต้องดูข้อเท็จจริงด้วย แต่ยืนยันว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดจะไม่เท่ากัน เพราะค่าครองชีพไม่เท่ากัน
เพิ่มเราเป็นเพื่อน ข่าว ข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ทุกวัน @springnews
รายงานแจ้งว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการแบ่งเป็น 7 กลุ่มจังหวัด โดยปรับขึ้นอัตราสูงสุด 330 บาท ซึ่งการพิจารณาปรับค่าจ้างในปี 2562 คาดว่าจะยังใช้เกณฑ์การพิจารณาเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติว่าแต่ละจังหวัดจะได้ปรับขึ้นเท่าใด
https://money.kapook.com/view206288.html
ลูกจ้างเก้อ! บอร์ดค่าจ้าง ยืดเวลาปรับค่าแรงขั้นต่ำปี 62 คาดถกใหม่ปลาย เม.ย.
https://www.posttoday.com/social/general/583141
หมัดเด็ด! พปชร.ประกาศ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท ป.ตรี 2 หมื่น อาชีวะ 1.8 หมื่น
ลองอ่านดูสิคะ แล้วจะเห็นว่าพรรคพลังประชารัฐไม่ได้คิดเอง
แต่นำมาจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานในประเทศไทย
ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ
ตามที่นำเสนอ
จำนวนเงินที่เหมาะสมในการปรับขึ้นค่าแรงนั้น อาจารย์สุนี ประเมินว่า
ควรจะอยู่ที่ 400 บาทขึ้นไป ซึ่งจำนวนนี้ ถือว่าเป็นขั้นต่ำที่ควรจะเป็น
ถ้าทำไม่ได้คงไม่กล้าออกมาเป็นนโยบายของพรรค
อยากบ่นรวยกระจุก จนกระจาย
ถึงเวลาที่รวยกระจุก จากนายทุน คงต้องแบ่งมาให้จนกระจายคนขายแรงงานบ้างแล้วค่ะ
🎋🎋🎋มาลาริน/จากการเจรจาการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ควรจะเป็น 400 บาทขึ้นไป...พปชร.ประกาศ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท
โดย ไทยรัฐออนไลน์
16 ก.ย. 2560 08:30 น.
แรงงานถึงกับร้องอู้หูว! แนวคิดปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 300 บาท สู่ 700 บาท กำลังเป็นข้อถกเถียงตีกันอีนุงตุงนังจากหลายภาคฝ่าย บ้างก็ว่าเห็นควรแก่การปรับขึ้นเสียที เพราะไม่เพียงพอต่อการครองชีพในแต่ละวัน บ้างก็ว่าค่าแรง 700 บาทเป็นไปไม่ได้ เพราะอัตรานี้เท่ากับเดือนละ 2 หมื่นบาทต่อเดือน และมันสุดแสนจะไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจแบบนี้...
“ขึ้นค่าแรง 300 เป็น 700 บาท” มากไปไหม? จะเป็นไปได้หรือ? และใครจะได้ ใครจะเสีย? ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงเอาไว้ให้คุณเข้าใจง่ายๆ อย่าเพิ่งกดออก กดทิ้งเพียงแค่เห็นตัวหนังสือ เพราะเรื่องที่อยู่ตรงหน้าคุณนี้มันเกี่ยวกับตัวคุณด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะแรงงาน!
- สัปดาห์ที่ผ่านมา นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 61 โดยระบุค่าจ้างปัจจุบันควรอยู่ที่ 600-700 บาท
- นายสาวิทย์ ประธานคสรท. ระบุว่า สิ่งสำคัญต้องปรับขึ้นให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งที่ผ่านมาเคยเสนอว่า ค่าแรงขั้นต่ำต้องอยู่ที่ 360 บาทต่อวันเท่ากันทุกจังหวัด แต่เอาเข้าจริง 360 บาทก็ยังไม่เพียงพอ เพราะยังไม่ได้รวมค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทางไปทำงาน และค่าเลี้ยงดูครอบครัวรวม 3 คนโดยนับตัวแรงงานเองด้วย (ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำนั้น จะต้องเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน และต้องเท่ากันทั้งประเทศ)
- “จากการสำรวจตัวเลขอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 560 บาทต่อวัน ซึ่งอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี หากคิดถึงปัจจุบัน แรงงานควรได้ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณวันละ 600-700 บาทต่อวัน โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นตัวเลขนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมานั่งหารือกัน” นายสาวิทย์ ประธานคสรท. ให้ความเห็น
- นายสาวิทย์ ประธาน คสรท. ให้เหตุผลสนับสนุนอีกว่า “ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพนั้น ยืนยันได้จากคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เคยพูดไว้ว่า เงินเพียง 1 แสนบาทต่อปีไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ หากจะให้พอก็ต้องประมาณ 3 แสนบาทต่อปี ซึ่งจะตกอยู่ที่เดือนละ 25,000 บาท ซึ่งทางแรงงานมองว่า ไม่จำเป็นต้องมากถึงจำนวนนี้ก็ได้ แต่ต้องเหมาะสมกับค่าครองชีพ"
- “ที่สำคัญ รัฐบาลควรยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำระดับจังหวัด เนื่องจากไม่มีประโยชน์ ซึ่งหลายแห่งไม่มีกลุ่มแรงงานเข้าร่วมเลย ส่วนใหญ่จะมีก็แต่นายจ้างเป็นอนุกรรมการ ดังนั้น ควรมีเฉพาะคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำก็เพียงพอแล้ว” นายสาวิทย์ ประธานคสรท. เสนอแนะ
- นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ให้เหตุผลสนับสนุนในเรื่องนี้ว่า ตอนนี้ แรงงานค่อนข้างกังวล เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับนายจ้าง และนักลงทุนค่อนข้างมาก โดยล่าสุดได้ข่าวแว่วมาว่า มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 500 ราย ซึ่งรัฐบาลมีการให้ส่วนลด ของแถม เพื่อดึงดูดนักลงทุนจำนวนมาก เพราะฉะนั้น คำถามที่ตามมาคือ แรงงานหรือลูกจ้างได้ประโยชน์อะไร
- ภายหลังจากที่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกมาเคลื่อนไหว นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ก็ออกมาแทงสวนทันทีว่า การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเป็น 700 บาทต่อวัน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในสภาพเศรษฐกิจขณะนี้ เพราะหากคิดรวมรายเดือนเท่ากับเกือบ 20,000 บาทต่อเดือน สูงกว่าค่าจ้างแรงงานผู้ที่จบปริญญาตรีที่มีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มนายจ้างอาชีพบริการ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรืองานบริการอื่นๆ เพราะใช้คนงานจำนวนมาก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง หันไปใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นแล้ว ดังนั้น หากจะมีการปรับขึ้นค่าแรงอีกรอบกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจะไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แสดงมุมมองในมุมนายจ้าง
- จากนั้น ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ออกมาแสดงท่าทีของทางภาครัฐในทันทีว่า การเรียกร้องขอปรับค่าจ้างมากถึง 700 บาท เป็นไปไม่ได้ การปรับค่าจ้างจะต้องอยู่บนความเป็นจริง ต้องพิจารณาสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
- ในปี 2559 กลุ่มผู้ใช้แรงงานเรียกร้องปรับขึ้น 360 บาท แต่สภาพเศรษฐกิจไม่ดีจึงปรับไม่ได้มาก โดยครั้งแรก ทางรัฐบาลคาดว่าจะปรับขึ้นได้ถึง 320 บาท แต่เมื่อนำข้อมูลการปรับค่าจ้างและปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจมาเข้าสูตรคำนวณ สามารถปรับขึ้นได้ 5-10 บาท ใน 69 จังหวัด ค่าจ้างจาก 300 บาทขยับไปเป็น 305, 308 และ 310 บาท ส่วนอีก 8 จังหวัด ไม่ปรับขึ้น ยังคงที่ 300 บาท เพราะสูตรกำหนดให้ปรับขึ้นไม่ถึง 1 บาท
“ส่วนการปรับครั้งนี้จะได้เท่าไร จะไปแตะที่ 360 บาท ตามที่เคยร้องขอหรือไม่ ก็ต้องรอดูผลการพิจารณาของบอร์ดค่าจ้าง ที่มีเหตุผลพิจารณาบนความเป็นจริง ไม่ใช่เอาคนหมู่มากมาเรียกร้องกดดัน” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
- อย่างไรก็ตามใน 8 จังหวัดที่ปีก่อนไม่ได้ปรับ ทางกระทรวงแรงงาน จะนำตัวเลขมาทบกับปีนี้เพื่อให้ค่าจ้างขั้นต่ำขยับขึ้น ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างจะต้องประชุมพิจารณาปรับค่าจ้างในเดือน ต.ค. เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และประกาศใช้พร้อมกันทั่วประเทศ 1 ม.ค.61
- ส่วนในภาคนักวิชาการนั้น อาจารย์ สุนี ไชยรส ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงทรรศนะต่อเรื่องนี้กับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า การทำให้ประชาชนคนทำงานสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้ โดยที่แรงงานไม่จำเป็นต้องแบมือขอเงินจากภาครัฐ นี่คือสุดยอดการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จ
“การขึ้นค่าแรง 5 บาท 10 บาทต่อปีนั้น ไม่สามารถตอบโจทย์หลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เลย เพราะเขาระบุไว้ชัดเจนว่า แรงงาน 1 คน จะต้องดูแลครอบครัวอีก 2 คน และต้องเท่ากันทั้งประเทศ เพราะสินค้าราคาเดียวกันหมดทั้งประเทศ ยกตัวอย่างเช่น คนจนที่อยู่ต่างจังหวัด ส่งลูกมาเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ คนจนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าๆ กันกับคนกรุงเทพฯ หรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ โดยที่ค่าแรงขั้นต่ำของเขาต่ำกว่าคนกรุงเทพฯ คุณว่าตลกไหมล่ะ” อาจารย์สุนี แสดงทรรศนะพร้อมกับหัวเราะอยู่ในคอ
“ส่วนที่บอกว่า ค่าแรง 700 บาทนั้น สูงเกินไป ในกรณีนี้ คุณต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา และอย่ามาพูดเพียงแค่ว่า แรงงานเรียกร้องกันสูงจัง จนลืมพูดถึงเรื่องอื่น ดังนั้น ควรไตร่ตรองดูเถิดว่า ค่าจ้างของแรงงานนั้น เขาต้องดูแลลูก ดูแลพ่อแม่เขาได้ เพราะคนทำงานเขาไม่ได้ทำงานได้เงินมาแล้วมากินคนเดียวนะคะ” อาจารย์สุนี กล่าวแทนใจคนทำงาน
นอกจากนี้ อาจารย์สุนี ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า “ปีที่แล้ว อนุกรรมการค่าจ้างกว่าสิบจังหวัดลงมติว่า จะไม่ขึ้นค่าจ้าง ซึ่งอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดนั้น ต้องประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ แต่มติกลับออกมาว่า ลูกจ้างก็เห็นด้วยที่จะไม่ขึ้นค่าจ้าง ซึ่งเราแปลกใจมากว่า ทำไมลูกจ้างถึงออกเสียงให้ไม่ขึ้นค่าจ้างตัวเอง หรือเป็นเพราะว่า ตัวแทนรัฐก็เข้าข้างนายทุน ลูกจ้างก็ไม่ใช่ลูกจ้างที่แท้จริง”
ส่วนจำนวนเงินที่เหมาะสมในการปรับขึ้นค่าแรงนั้น อาจารย์สุนี ประเมินว่า ควรจะอยู่ที่ 400 บาทขึ้นไป ซึ่งจำนวนนี้ ถือว่าเป็นขั้นต่ำที่ควรจะเป็น
https://www.thairath.co.th/content/1070275
แรงงานเตรียมเฮ! บอร์ดค่าจ้าง จ่อปรับขึ้นค่าแรงใหม่ เดือนมี.ค.นี้ลุ้น 360 บาท
14 ก.พ. 2019 - 06:47 น.
บอร์ดค่าจ้างเตรียมเคาะค่าแรงขั้นต่ำปี 2562 เดือนมี.ค.นี้ ลุ้นระทึกเพิ่มสูงสุดถึง 360 บาทหรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน ย้ำปรับตามสภาพเศรษฐกิจ ทุกจังหวัดปรับขึ้นไม่เท่ากัน
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยผลการประชุม คณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2562 ว่า คณะกรรมการไตรภาคี ได้เข้าประชุมครบทุกฝ่าย และอนุกรรม การค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด ได้ส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดเข้ามาครบแล้ว
โดยคาดว่า อนุกรรมการค่าจ้างฯ น่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้ เพราะการปรับค่าจ้างใหม่ปี 2562 นั้นต้องทำให้เสร็จก่อน 30 มี.ค.นี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.
ส่วนที่ผู้นำแรงงานเรียกร้องให้ปรับขึ้นในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ 360 บาท นั้นเป็นเพียงพูดกันเหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่จะปรับเท่าไร จะต้องดูข้อเท็จจริงด้วย แต่ยืนยันว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดจะไม่เท่ากัน เพราะค่าครองชีพไม่เท่ากัน
เพิ่มเราเป็นเพื่อน ข่าว ข่าวด่วน ทันเหตุการณ์ทุกวัน @springnews
รายงานแจ้งว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการแบ่งเป็น 7 กลุ่มจังหวัด โดยปรับขึ้นอัตราสูงสุด 330 บาท ซึ่งการพิจารณาปรับค่าจ้างในปี 2562 คาดว่าจะยังใช้เกณฑ์การพิจารณาเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติว่าแต่ละจังหวัดจะได้ปรับขึ้นเท่าใด
https://money.kapook.com/view206288.html
ลูกจ้างเก้อ! บอร์ดค่าจ้าง ยืดเวลาปรับค่าแรงขั้นต่ำปี 62 คาดถกใหม่ปลาย เม.ย.
https://www.posttoday.com/social/general/583141
หมัดเด็ด! พปชร.ประกาศ ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท ป.ตรี 2 หมื่น อาชีวะ 1.8 หมื่น
ลองอ่านดูสิคะ แล้วจะเห็นว่าพรรคพลังประชารัฐไม่ได้คิดเอง
แต่นำมาจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานในประเทศไทย
ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ
ตามที่นำเสนอ
จำนวนเงินที่เหมาะสมในการปรับขึ้นค่าแรงนั้น อาจารย์สุนี ประเมินว่า ควรจะอยู่ที่ 400 บาทขึ้นไป ซึ่งจำนวนนี้ ถือว่าเป็นขั้นต่ำที่ควรจะเป็น
ถ้าทำไม่ได้คงไม่กล้าออกมาเป็นนโยบายของพรรค
อยากบ่นรวยกระจุก จนกระจาย
ถึงเวลาที่รวยกระจุก จากนายทุน คงต้องแบ่งมาให้จนกระจายคนขายแรงงานบ้างแล้วค่ะ