มาปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมกันเถอะ


โรคออฟฟิศซินโดรมคือกลุ่มอาการที่มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศทั้งวัน ไม่มีการออกกำลังกาย และมีสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสมอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ดังนี้


1. ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมงโดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอนอ่อนเพลีย
2. ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรังเกิดจากความเครียดในการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย
3. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้

โรคออฟฟิศซินโดรม ยังรวมไปถึงกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ เนื่องจากการอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก รวมไปถึงสารเคมีจากหมึกของเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ ซึ่งวนเวียนอยู่ภายในห้องทำงานอีกด้วย


1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดสถานที่ทำงานให้เหมาะสมแก่การทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย
2. ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอกข้อมือที่ใช้เมาส์ให้พักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่

3. ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง
4. ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์
5. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่
6. ควรเปิดหน้าต่างที่ทำงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้าง อย่างน้อยในตอนเช้าและพักกลางวัน
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี


การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับเปลี่ยนอิริยาบถขณะทำงานสม่ำเสมอรวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับการทำงานมากเกินไปก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างแน่นอนครับ...

แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่