-- หญิงแก่เจ้าของบ้านซอมซ่อมีเพียงรายได้จากเบี้ยคนชราผู้รับทุกคนเข้ามาอยู่ด้วย
-- ชายกลางคนผู้ไม่มีความรู้ใดจะสอนเด็กชายที่เขาเก็บมาเลี้ยงนอกจากการขโมย
-- หญิงรับจ้างผู้พร้อมไปจากทุกอย่างแต่แท้จริงรักเด็กทุกคนราวกับลูกในไส้
-- สาววัยรุ่นหนีจากบ้านที่ไม่เชื่อความสัมพันธ์ใดนอกจากเงินแต่เป็นคนเดียวที่กลับมาบ้านซอมซ่อนี้แม้ไม่มีใครอยู่แล้ว
-- เด็กชายผู้ไม่รู้อดีตของตัวเอง อาศัยการขโมยเป็นทางในการสะสมสิ่งมีค่าที่ไร้ค่าในสายตาคนทั่วไป
-- เด็กหญิงที่โดนแม่แท้ ๆ ทำร้ายผู้เข้ามาเปลี่ยนครอบครัวนี้และชีวิตของเธอเองไปตลอดกาล
นี่คือตัวละครหลักทั้งหมดของเรื่อง แต่สามารถแทนถึงชีวิตคนชายขอบของสังคมที่ไม่มีใครต้องการได้หมดจด ทั้งหมดไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นเพียงกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันด้วยอะไรก็ตาม เรื่องนี้ผ่านการทำการบ้านเพื่อเขียนบทและกำกับของ ที่เคยผ่านตาผมมาใน Nobody Knows (2004), After The Storm (2016), The Third Murder (2017) หนังแต่ละเรื่องของเขาล้วนหยิบประเด็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเล็ก ๆ ผ่านเหตุการณ์และจบแบบกัดกร่อนหัวใจเราให้สลายตามหนัง และครั้งนี้เขาแสดงถึงการนำประเด็นความสัมพันธ์ของครอบครัวแม้ไม่ใช่คนในสายเลือดและเป็นผู้คนที่ไร้ค่าไร้ที่ยืนในสายตาคนในสังคม มาทำให้เรายิ้มสุขซึมลึกและใจสลาย สมเป็นงานชิ้นเอกที่ได้รับรางวัลทั่วเอเชียและยุโรปรวมถึงรางวัลปาล์มทองคำของคานส์
เมื่อชมแล้วทำให้อดเปรียบเทียบหนังญี่ปุ่นอีกเรื่องที่เล่นประเด็นครอบครัวอย่างละเมียดจนได้รับรางวัลOscar ภาพยนตร์ต่างประเทศอย่าง Departures (2008) ของ Yojiro Takita หากหนังเรื่องนั้นเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องอย่างละมุนละไมให้ความหวังและจบแบบน้ำตาร่วงด้วยความอิ่มเอม หนังเรื่องนี้คงเป็นขั้วตรงข้ามที่พาให้เรายิ้มสะท้อนโลกอันแสนน่าชังไปกับชะตากรรมของตัวละครและทิ้งเราไว้กับตะกอนความรู้สึกหวานขมนั้น
ชั้นเชิงการเล่าเรื่องการกำกับและลำดับภาพโดยเฉพาะองค์สุดท้ายของเรื่องที่เฉลยปมและบทสรุปทุกตัวละคร เชื่อว่าไม่มีทางจะทำให้สมบูรณ์ไปมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่แล้ว หนังทั้งเรื่องไม่มีการบีบอารมณ์คนดูหรือตีแสกหน้า ทั้งที่พล็อตและบททั้งหมดสามารถสร้างหนังน้ำตาท่วมจอได้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงแรกด้วยซ้ำ แต่ผู้กำกับเลือกที่จะเล่าเรื่องราวให้เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวที่คอยสังเกตความเป็นไปและจมไปกับความรู้สึกทั้งหลายผ่านช่วงเวลาตามตัวละคร จนเมื่อหนังจบลง เรากลับพบว่าหัวใจเราถูกทำให้อาวรณ์ตามชีวิตของแต่ละตัวละครไปแล้ว
หนังยังฉลาดในการใช้ครอบครัวนี้สะท้อนประเด็นใหญ่ได้ถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ไม่น่าแปลกใจที่ผู้กำกับใช้เวลาในการพัฒนาบทจากการเก็บข้อมูลร่วมสิบปีจนได้ผลลัพธ์สมบูรณ์ทั้งประเด็นที่ต้องการสื่อและความรู้สึกร่วม
ผมเลือกที่จะเขียนบทความนี้หลังจากดูหนังจบมาแล้วมากกว่าหนึ่งอาทิตย์ เพื่ออยากรู้ว่าตัวเองจะรู้สึกมากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยส่วนตัวนี่เป็นหนังที่ทรงพลังด้านความรู้สึกในรอบหลายปี ฉาก 'แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว' ของครอบครัวพร้อมหน้าชานบ้านเล็กล้อมด้วยตึกใหญ่ที่ได้ยินเสียงพลุเฉลิมฉลองแต่ไม่อาจมองเห็น-ฉาก 'ขอบคุณ' ของคุณยายมองทุกคนเล่นน้ำทะเล-ฉาก 'คำสารภาพ' จากการสอบสวน-ฉาก 'พ่อ' และ 'ลูกชาย' ต่างพูดโกหกกันเพื่อให้อีกฝ่ายเดินไปจากชีวิตได้ง่ายขึ้น และฉากอีกมากมายล้วนเป็นตะกอนที่อยู่ในใจรอให้สะกิดขึ้นมาพร้อมน้ำตาแม้เวลาผ่านไปเพียงใด
ขอบคุณทุกส่วนที่สร้างหนังคุณค่าเช่นนี้มาเพื่อเติมเต็มชีวิตและทำให้รู้ว่าเรายังมีหัวใจ
10/10
Shoplifters (2018): สายใยในความเว้าแหว่งของชีวิต
-- ชายกลางคนผู้ไม่มีความรู้ใดจะสอนเด็กชายที่เขาเก็บมาเลี้ยงนอกจากการขโมย
-- หญิงรับจ้างผู้พร้อมไปจากทุกอย่างแต่แท้จริงรักเด็กทุกคนราวกับลูกในไส้
-- สาววัยรุ่นหนีจากบ้านที่ไม่เชื่อความสัมพันธ์ใดนอกจากเงินแต่เป็นคนเดียวที่กลับมาบ้านซอมซ่อนี้แม้ไม่มีใครอยู่แล้ว
-- เด็กชายผู้ไม่รู้อดีตของตัวเอง อาศัยการขโมยเป็นทางในการสะสมสิ่งมีค่าที่ไร้ค่าในสายตาคนทั่วไป
-- เด็กหญิงที่โดนแม่แท้ ๆ ทำร้ายผู้เข้ามาเปลี่ยนครอบครัวนี้และชีวิตของเธอเองไปตลอดกาล
นี่คือตัวละครหลักทั้งหมดของเรื่อง แต่สามารถแทนถึงชีวิตคนชายขอบของสังคมที่ไม่มีใครต้องการได้หมดจด ทั้งหมดไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นเพียงกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกันด้วยอะไรก็ตาม เรื่องนี้ผ่านการทำการบ้านเพื่อเขียนบทและกำกับของ ที่เคยผ่านตาผมมาใน Nobody Knows (2004), After The Storm (2016), The Third Murder (2017) หนังแต่ละเรื่องของเขาล้วนหยิบประเด็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวเล็ก ๆ ผ่านเหตุการณ์และจบแบบกัดกร่อนหัวใจเราให้สลายตามหนัง และครั้งนี้เขาแสดงถึงการนำประเด็นความสัมพันธ์ของครอบครัวแม้ไม่ใช่คนในสายเลือดและเป็นผู้คนที่ไร้ค่าไร้ที่ยืนในสายตาคนในสังคม มาทำให้เรายิ้มสุขซึมลึกและใจสลาย สมเป็นงานชิ้นเอกที่ได้รับรางวัลทั่วเอเชียและยุโรปรวมถึงรางวัลปาล์มทองคำของคานส์
เมื่อชมแล้วทำให้อดเปรียบเทียบหนังญี่ปุ่นอีกเรื่องที่เล่นประเด็นครอบครัวอย่างละเมียดจนได้รับรางวัลOscar ภาพยนตร์ต่างประเทศอย่าง Departures (2008) ของ Yojiro Takita หากหนังเรื่องนั้นเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องอย่างละมุนละไมให้ความหวังและจบแบบน้ำตาร่วงด้วยความอิ่มเอม หนังเรื่องนี้คงเป็นขั้วตรงข้ามที่พาให้เรายิ้มสะท้อนโลกอันแสนน่าชังไปกับชะตากรรมของตัวละครและทิ้งเราไว้กับตะกอนความรู้สึกหวานขมนั้น
ชั้นเชิงการเล่าเรื่องการกำกับและลำดับภาพโดยเฉพาะองค์สุดท้ายของเรื่องที่เฉลยปมและบทสรุปทุกตัวละคร เชื่อว่าไม่มีทางจะทำให้สมบูรณ์ไปมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่แล้ว หนังทั้งเรื่องไม่มีการบีบอารมณ์คนดูหรือตีแสกหน้า ทั้งที่พล็อตและบททั้งหมดสามารถสร้างหนังน้ำตาท่วมจอได้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงแรกด้วยซ้ำ แต่ผู้กำกับเลือกที่จะเล่าเรื่องราวให้เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวที่คอยสังเกตความเป็นไปและจมไปกับความรู้สึกทั้งหลายผ่านช่วงเวลาตามตัวละคร จนเมื่อหนังจบลง เรากลับพบว่าหัวใจเราถูกทำให้อาวรณ์ตามชีวิตของแต่ละตัวละครไปแล้ว
หนังยังฉลาดในการใช้ครอบครัวนี้สะท้อนประเด็นใหญ่ได้ถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ไม่น่าแปลกใจที่ผู้กำกับใช้เวลาในการพัฒนาบทจากการเก็บข้อมูลร่วมสิบปีจนได้ผลลัพธ์สมบูรณ์ทั้งประเด็นที่ต้องการสื่อและความรู้สึกร่วม
ผมเลือกที่จะเขียนบทความนี้หลังจากดูหนังจบมาแล้วมากกว่าหนึ่งอาทิตย์ เพื่ออยากรู้ว่าตัวเองจะรู้สึกมากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยส่วนตัวนี่เป็นหนังที่ทรงพลังด้านความรู้สึกในรอบหลายปี ฉาก 'แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว' ของครอบครัวพร้อมหน้าชานบ้านเล็กล้อมด้วยตึกใหญ่ที่ได้ยินเสียงพลุเฉลิมฉลองแต่ไม่อาจมองเห็น-ฉาก 'ขอบคุณ' ของคุณยายมองทุกคนเล่นน้ำทะเล-ฉาก 'คำสารภาพ' จากการสอบสวน-ฉาก 'พ่อ' และ 'ลูกชาย' ต่างพูดโกหกกันเพื่อให้อีกฝ่ายเดินไปจากชีวิตได้ง่ายขึ้น และฉากอีกมากมายล้วนเป็นตะกอนที่อยู่ในใจรอให้สะกิดขึ้นมาพร้อมน้ำตาแม้เวลาผ่านไปเพียงใด
ขอบคุณทุกส่วนที่สร้างหนังคุณค่าเช่นนี้มาเพื่อเติมเต็มชีวิตและทำให้รู้ว่าเรายังมีหัวใจ
10/10