มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา กับ มนุษย์ที่พัฒนาแล้ว
“มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา
จะมีความสุขจากสิ่งที่ชอบและชัง
ได้สุขจากสิ่งที่ชอบ
และ ทุกข์จากสิ่งที่ชัง
วนเวียนอยู่ในวังวน
แห่งความสุขและความทุกข์
แต่เมื่อไหร่เริ่มพัฒนา
จะได้ความสุขแบบอิสระทางปัญญา
รู้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
-------------------------------------
มนุษย์ที่พัฒนาแล้ว รู้จักสัมพันธ์
ทำให้ทั้ง ทรัพย์ภายนอก และ ทรัพย์ภายใน เป็นปัจจัยแก่กัน
"ถ้าคนเราปฏิบัติถูกต้อง ก็จะทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นทั้งสองประการ คือทั้งทรัพย์ภายนอก และทรัพย์ภายใน และทรัพย์ทั้งภายนอกและภายในนี้ ก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
คนที่มีทรัพย์ภายใน คือ ความรู้ และความดี ก็สร้างทรัพย์ภายนอกให้เกิดขึ้น
คนที่มีทรัพย์ภายนอก เมื่อมีปัญญาและคุณธรรม คือมีความรู้และความดี ที่ทำให้รู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ได้ถูกต้อง ก็อาศัยทรัพย์ภายนอกนั้น สร้างอริยทรัพย์ คือทรัพย์ภายในขึ้นอีก เช่น ใช้ทรัพย์บำเพ็ญความเสียสละ ทำให้เกิดประโยชน์ สร้างสรรค์ทำความดี อาศัยทรัพย์นั้นเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการสร้างความดียิ่งๆ ขึ้นไป ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็เกิดมีอริยทรัพย์ขึ้นมาเป็นคู่กัน
เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญทั้งสองอย่าง คือ ทั้งทรัพย์ภายนอก และ ทรัพย์ภายใน แต่ท่านเน้นความสำคัญของทรัพย์ภายใน คือ "อริยทรัพย์"
คนเรานี้มีชีวิตที่เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ทรัพย์ภายนอกเป็นวัตถุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายไป เป็นของกลางๆ จะทำให้เกิดคุณก็ได้ เกิดโทษก็ได้
เพราะฉะนั้น จึงจะต้องปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้อง คือ ทำให้เกิดผลในทางที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่า แต่การที่จะทำให้สำเร็จผลได้อย่างนี้ ก็คือการที่จะต้องมีทรัพย์ภายในขึ้นมาเป็นฐาน
เมื่อเรามีทรัพย์ภายใน คือ มีศรัทธา มีศีล มีหิริ มี โอตตัปปะ มีความรู้ มีความเสียสละมีน้ำใจ และมีปัญญาแล้ว ก็สามารถจะปฏิบัติต่อทรัพย์ภายนอกได้อย่างถูกต้อง และการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องนี้ ก็จะทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ชีวิตทั้งตนเองและผู้อื่น คือทั้งส่วนบุคคลและแก่สังคม จนกระทั่งให้คุณค่าที่สูงสุด คือการเข้าถึงสิ่งที่ทางพระเรียกว่าโลกุตรธรรม
คนที่อยู่ในโลกนั้น เป็นธรรมดาว่า ถึงแม้มีทรัพย์แล้ว ก็จะต้องตกอยู่ในกระแสความผันผวนปรวนแปรของสิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง
นั่นก็คือ การที่แสวงหาสร้างสมทรัพย์ขึ้นมาแล้ว ต่อมาทรัพย์นั้นก็อาจจะเสื่อมลงไป มีจำนวนลดน้อยลง แต่ถ้าเรามีอริยทรัพย์ เช่น มีความขยันหมั่นเพียร และมีความรู้ความสามารถ ก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถจะรื้อฟื้นฐานะ สร้างสรรค์ทรัพย์ภายนอกขึ้นใหม่อีกได้"
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมบรรยาย เรื่อง "ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ เลื่อนลอย หรือเพื่ออะไร?"
## ท. ส. ปญฺญาวุฑฺโฒ ## รวบรวม.
ฟังธรรมตามกาล : มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา กับ มนุษย์ที่พัฒนาแล้ว
“มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา
จะมีความสุขจากสิ่งที่ชอบและชัง
ได้สุขจากสิ่งที่ชอบ
และ ทุกข์จากสิ่งที่ชัง
วนเวียนอยู่ในวังวน
แห่งความสุขและความทุกข์
แต่เมื่อไหร่เริ่มพัฒนา
จะได้ความสุขแบบอิสระทางปัญญา
รู้ เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
-------------------------------------
มนุษย์ที่พัฒนาแล้ว รู้จักสัมพันธ์
ทำให้ทั้ง ทรัพย์ภายนอก และ ทรัพย์ภายใน เป็นปัจจัยแก่กัน
"ถ้าคนเราปฏิบัติถูกต้อง ก็จะทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นทั้งสองประการ คือทั้งทรัพย์ภายนอก และทรัพย์ภายใน และทรัพย์ทั้งภายนอกและภายในนี้ ก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
คนที่มีทรัพย์ภายใน คือ ความรู้ และความดี ก็สร้างทรัพย์ภายนอกให้เกิดขึ้น
คนที่มีทรัพย์ภายนอก เมื่อมีปัญญาและคุณธรรม คือมีความรู้และความดี ที่ทำให้รู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ได้ถูกต้อง ก็อาศัยทรัพย์ภายนอกนั้น สร้างอริยทรัพย์ คือทรัพย์ภายในขึ้นอีก เช่น ใช้ทรัพย์บำเพ็ญความเสียสละ ทำให้เกิดประโยชน์ สร้างสรรค์ทำความดี อาศัยทรัพย์นั้นเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการสร้างความดียิ่งๆ ขึ้นไป ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็เกิดมีอริยทรัพย์ขึ้นมาเป็นคู่กัน
เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญทั้งสองอย่าง คือ ทั้งทรัพย์ภายนอก และ ทรัพย์ภายใน แต่ท่านเน้นความสำคัญของทรัพย์ภายใน คือ "อริยทรัพย์"
คนเรานี้มีชีวิตที่เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ทรัพย์ภายนอกเป็นวัตถุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายไป เป็นของกลางๆ จะทำให้เกิดคุณก็ได้ เกิดโทษก็ได้
เพราะฉะนั้น จึงจะต้องปฏิบัติต่อทรัพย์ให้ถูกต้อง คือ ทำให้เกิดผลในทางที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่า แต่การที่จะทำให้สำเร็จผลได้อย่างนี้ ก็คือการที่จะต้องมีทรัพย์ภายในขึ้นมาเป็นฐาน
เมื่อเรามีทรัพย์ภายใน คือ มีศรัทธา มีศีล มีหิริ มี โอตตัปปะ มีความรู้ มีความเสียสละมีน้ำใจ และมีปัญญาแล้ว ก็สามารถจะปฏิบัติต่อทรัพย์ภายนอกได้อย่างถูกต้อง และการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องนี้ ก็จะทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ชีวิตทั้งตนเองและผู้อื่น คือทั้งส่วนบุคคลและแก่สังคม จนกระทั่งให้คุณค่าที่สูงสุด คือการเข้าถึงสิ่งที่ทางพระเรียกว่าโลกุตรธรรม
คนที่อยู่ในโลกนั้น เป็นธรรมดาว่า ถึงแม้มีทรัพย์แล้ว ก็จะต้องตกอยู่ในกระแสความผันผวนปรวนแปรของสิ่งทั้งหลายที่เป็นอนิจจัง
นั่นก็คือ การที่แสวงหาสร้างสมทรัพย์ขึ้นมาแล้ว ต่อมาทรัพย์นั้นก็อาจจะเสื่อมลงไป มีจำนวนลดน้อยลง แต่ถ้าเรามีอริยทรัพย์ เช่น มีความขยันหมั่นเพียร และมีความรู้ความสามารถ ก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถจะรื้อฟื้นฐานะ สร้างสรรค์ทรัพย์ภายนอกขึ้นใหม่อีกได้"
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมบรรยาย เรื่อง "ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ เลื่อนลอย หรือเพื่ออะไร?"
## ท. ส. ปญฺญาวุฑฺโฒ ## รวบรวม.