คนเรามัวแต่หาทรัพย์ภายนอก จริงแล้วทรัพย์ที่มีค่าที่สุดคือ ทรัพย์ภายใน หรือ “อริยทรัพย์” คือ ทรัพย์อันประเสริฐ
เมื่อพูดถึงคำว่า "ทรัพย์" คุณผู้อ่านนึกถึงทรัพย์อะไรบ้างค่ะ? นอกจากทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์ศฤงคาร ทรัพย์สมบัติ บ้าน รถยนต์ คอนโด แก้วแหวนเงินทอง บริวาร หรือข้าวของเครื่องใช้มากมายที่อยู่รอบๆ ตัว...ผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ โภคทรัพย์ "ที่มีอยู่" หรือ "ที่ต้องการจะมี" เพราะโภคทรัพย์หรือทรัพย์สินเงินทอง เป็นทรัพย์ทางโลก เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต่างต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต เพราะการมีโภคทรัพย์มากๆ ดูจะสร้างความสะดวกสบายได้ไม่น้อยทีเดียว...
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้จักปฏิบัติต่อโภคทรัพย์อย่างถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ "การหาทรัพย์" หรือการได้มาของโภคทรัพย์ที่ควรเป็นไปในทางที่สุจริต ถูกต้องชอบธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น จากนั้น "การใช้จ่ายทรัพย์" ก็ควรเป็นไปเพื่อสร้างประโยชน์ให้ตนเองและควรแบ่งปันเพื่อบำรุง ดูแลบุคคลที่ควรดูแล ได้แก่ บิดามารดา ภรรยา สามี บุตรหลาน ญาติมิตร บริวาร รวมทั้งต้องทำราชพลี คือจ่ายภาษีให้ทางราชการอย่างถูกต้องและไม่ลืมที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา...พระพุทธองค์ยังทรงสอนให้เราควรพยายามเป็นอิสระ เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ให้ได้ ซึ่งหากใครปฏิบัติต่อโภคทรัพย์ถูกต้องแล้ว แม้ทรัพย์เหล่านี้จะหมดไป ก็ถือว่าได้ทำประโยชน์อย่างคุ้มค่าแล้ว ไม่มีอะไรต้องกังวล
โภคทรัพย์หรือทรัพย์ภายนอก...หามาก ก็มีมาก...ใช้มาก ก็หมดมาก...ส่วน มีมาก จะสุขมากหรือไม่ ข้อนี้ยากที่จะตอบ...เพราะเราก็เห็นกันอยู่ทั่วไปว่า เศรษฐี มหาเศรษฐี ผู้มั่งคั่ง มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ก็ใช่จะร่ำรวยความสุขกันทุกคน...
หลายคนมองหาแต่ทรัพย์ที่อยู่ไกลๆ จนอาจลืมพิจารณาทรัพย์ใกล้ๆ ที่สร้างได้ภายในตัวเราเอง หลายคนพยายามจะสร้างและรักษาทรัพย์ภายนอก จนอาจลืมของดีที่เป็นทรัพย์อยู่ภายในที่ควรดูแลรักษาไว้เช่นกัน...ทรัพย์ภายใน หรือ "อริยทรัพย์" คือ ทรัพย์อันประเสริฐ หรือ คุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ ๗ ประการ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่จะติดตัวเราไปทุกที่ ไม่มีใครมาแย่งชิงไปได้ การหมั่นพัฒนาคุณธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ จะช่วยเติมเต็มคุณภาพชีวิต ช่วยทำให้เรามีจิตใจที่หนักแน่น ไม่อ้างว้าง ไม่ยากจน เพราะอริยทรัพย์จะเป็นทุนทางใจ เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างและบริหารทรัพย์ภายนอก
อริยทรัพย์ ๗ ประการ ประกอบด้วย ๑.ศรัทธา คือ ให้เชื่อมั่นในความดี ในการทำดี ๒.ศีล ให้ประพฤติดีงาม มีวินัย รักษากาย รักษาใจให้สุจริต ไม่ประพฤติเบียดเบียนผู้อื่น ๓.หิริ มีความละอายต่อบาป ละอายต่อการทำชั่ว ๔.โอตตัปปะ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาป กลัวต่อผลของการประพฤติไม่ดี ๕.พาหุสัจจะ หมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เข้าใจ รอบรู้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ทำ ๖.จาคะ คือ การเสียสละ มีน้ำใจ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และต้องมี ๗.ปัญญา รู้จักคิด มีเหตุมีผล รู้เท่าทันโลก ใช้ชีวิตตามความจริง ไม่หลงไปตามอารมณ์หรือสิ่งเย้ายวนรอบตัว
ในการใช้ชีวิต การทำงานของเราๆ ทุกวันยังต้องพึ่งพาโภคทรัพย์เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้ "อยู่รอด" และ "อยู่ร่วม" กับผู้คนในสังคมได้ การหา การมีและการรู้จักบริหารจัดการโภคทรัพย์อย่างถูกต้อง ไม่ลุ่มหลงมัวเมาจนตกเป็นทาสของโภคทรัพย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ปุถุชนอย่างเราจะต้องเรียนรู้...ท่านพุทธทาสได้เมตตาสอนไว้ในหนังสือสรรนิพนธ์พุทธทาสว่า...การแสวงหา การเก็บรักษา และการใช้โภคทรัพย์ ต้องถูกกำกับด้วยอริยทรัพย์จึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะว่าเมื่อมีความเชื่อ (ศรัทธา) ในเรื่องบุญเรื่องบาปเรื่องกรรม ย่อมนำไปสู่กระบวนการคิดที่มุ่งมั่นในอาชีพสุจริต ทำมาหากินอย่างถูกต้อง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น (ศีล) ทำให้ทรัพย์สินที่หามาได้ก็เป็นไปในลักษณะของทรัพย์ที่บริสุทธิ์ เก็บรักษาเอาไว้ก็ไม่มีความรุ่มร้อน...
รวมถึง การใช้ทรัพย์นั้นก็จะเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เพราะมีความละอายต่อบาป (หิริ) และความเกรงกลัวต่อผลของบาป (โอตตัปปะ) ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและผู้อื่น เพราะมีความรู้ความเข้าใจในโภคทรัพย์อย่างถูกต้องตามจริง (พาหุสัจจะ) รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ด้อยโอกาสกว่า (จาคะ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกโดยรวมได้ว่าเป็นการใช้ "ปัญญา" ในการบริหารจัดการโภคทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและส่วนรวม...
ดังนี้แล้ว...ใครขยันหมั่นสร้างและรักษาทรัพย์ภายในอันประเสริฐทั้ง ๗ ประการนี้ไว้ได้ ความทุกข์จากการดิ้นรน แสวงหาเพื่อให้ได้ครอบครองทรัพย์ภายนอกก็จะลดลงได้...
เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด...การดิ้นรน ไขว่คว้า แสวงหาเพื่อครอบครองจึงเป็นความทุกข์แสนสาหัสอย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญ...การสร้างอริยทรัพย์ถือเป็นหนทางในการดับทุกข์จากโภคทรัพย์...ความสุขที่ยั่งยืนจึงเพิ่มขึ้นได้จากการเร่งเพิ่มทรัพย์ภายใน...เพราะว่า...อริยทรัพย์...ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม...ยิ่งมี ยิ่งสุข...
Tags : ทรัพย์สินเงินทอง • อริยทรัพย์ • โภคทรัพย์ • ดำรงชีพ • สุจริต
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20131013/535825/ทรัพย์อะไร--ยิ่งใช้-ยิ่งเพิ่ม-ยิ่งมี-ยิ่งสุข.html
ทรัพย์อะไร? ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม ยิ่งมี ยิ่งสุข
เมื่อพูดถึงคำว่า "ทรัพย์" คุณผู้อ่านนึกถึงทรัพย์อะไรบ้างค่ะ? นอกจากทรัพย์สินเงินทอง ทรัพย์ศฤงคาร ทรัพย์สมบัติ บ้าน รถยนต์ คอนโด แก้วแหวนเงินทอง บริวาร หรือข้าวของเครื่องใช้มากมายที่อยู่รอบๆ ตัว...ผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ โภคทรัพย์ "ที่มีอยู่" หรือ "ที่ต้องการจะมี" เพราะโภคทรัพย์หรือทรัพย์สินเงินทอง เป็นทรัพย์ทางโลก เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต่างต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต เพราะการมีโภคทรัพย์มากๆ ดูจะสร้างความสะดวกสบายได้ไม่น้อยทีเดียว...
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้จักปฏิบัติต่อโภคทรัพย์อย่างถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ "การหาทรัพย์" หรือการได้มาของโภคทรัพย์ที่ควรเป็นไปในทางที่สุจริต ถูกต้องชอบธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น จากนั้น "การใช้จ่ายทรัพย์" ก็ควรเป็นไปเพื่อสร้างประโยชน์ให้ตนเองและควรแบ่งปันเพื่อบำรุง ดูแลบุคคลที่ควรดูแล ได้แก่ บิดามารดา ภรรยา สามี บุตรหลาน ญาติมิตร บริวาร รวมทั้งต้องทำราชพลี คือจ่ายภาษีให้ทางราชการอย่างถูกต้องและไม่ลืมที่จะทำนุบำรุงพระศาสนา...พระพุทธองค์ยังทรงสอนให้เราควรพยายามเป็นอิสระ เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ให้ได้ ซึ่งหากใครปฏิบัติต่อโภคทรัพย์ถูกต้องแล้ว แม้ทรัพย์เหล่านี้จะหมดไป ก็ถือว่าได้ทำประโยชน์อย่างคุ้มค่าแล้ว ไม่มีอะไรต้องกังวล
โภคทรัพย์หรือทรัพย์ภายนอก...หามาก ก็มีมาก...ใช้มาก ก็หมดมาก...ส่วน มีมาก จะสุขมากหรือไม่ ข้อนี้ยากที่จะตอบ...เพราะเราก็เห็นกันอยู่ทั่วไปว่า เศรษฐี มหาเศรษฐี ผู้มั่งคั่ง มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ก็ใช่จะร่ำรวยความสุขกันทุกคน...
หลายคนมองหาแต่ทรัพย์ที่อยู่ไกลๆ จนอาจลืมพิจารณาทรัพย์ใกล้ๆ ที่สร้างได้ภายในตัวเราเอง หลายคนพยายามจะสร้างและรักษาทรัพย์ภายนอก จนอาจลืมของดีที่เป็นทรัพย์อยู่ภายในที่ควรดูแลรักษาไว้เช่นกัน...ทรัพย์ภายใน หรือ "อริยทรัพย์" คือ ทรัพย์อันประเสริฐ หรือ คุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ ๗ ประการ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่จะติดตัวเราไปทุกที่ ไม่มีใครมาแย่งชิงไปได้ การหมั่นพัฒนาคุณธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ จะช่วยเติมเต็มคุณภาพชีวิต ช่วยทำให้เรามีจิตใจที่หนักแน่น ไม่อ้างว้าง ไม่ยากจน เพราะอริยทรัพย์จะเป็นทุนทางใจ เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างและบริหารทรัพย์ภายนอก
อริยทรัพย์ ๗ ประการ ประกอบด้วย ๑.ศรัทธา คือ ให้เชื่อมั่นในความดี ในการทำดี ๒.ศีล ให้ประพฤติดีงาม มีวินัย รักษากาย รักษาใจให้สุจริต ไม่ประพฤติเบียดเบียนผู้อื่น ๓.หิริ มีความละอายต่อบาป ละอายต่อการทำชั่ว ๔.โอตตัปปะ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาป กลัวต่อผลของการประพฤติไม่ดี ๕.พาหุสัจจะ หมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เข้าใจ รอบรู้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ทำ ๖.จาคะ คือ การเสียสละ มีน้ำใจ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และต้องมี ๗.ปัญญา รู้จักคิด มีเหตุมีผล รู้เท่าทันโลก ใช้ชีวิตตามความจริง ไม่หลงไปตามอารมณ์หรือสิ่งเย้ายวนรอบตัว
ในการใช้ชีวิต การทำงานของเราๆ ทุกวันยังต้องพึ่งพาโภคทรัพย์เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้ "อยู่รอด" และ "อยู่ร่วม" กับผู้คนในสังคมได้ การหา การมีและการรู้จักบริหารจัดการโภคทรัพย์อย่างถูกต้อง ไม่ลุ่มหลงมัวเมาจนตกเป็นทาสของโภคทรัพย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ปุถุชนอย่างเราจะต้องเรียนรู้...ท่านพุทธทาสได้เมตตาสอนไว้ในหนังสือสรรนิพนธ์พุทธทาสว่า...การแสวงหา การเก็บรักษา และการใช้โภคทรัพย์ ต้องถูกกำกับด้วยอริยทรัพย์จึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะว่าเมื่อมีความเชื่อ (ศรัทธา) ในเรื่องบุญเรื่องบาปเรื่องกรรม ย่อมนำไปสู่กระบวนการคิดที่มุ่งมั่นในอาชีพสุจริต ทำมาหากินอย่างถูกต้อง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น (ศีล) ทำให้ทรัพย์สินที่หามาได้ก็เป็นไปในลักษณะของทรัพย์ที่บริสุทธิ์ เก็บรักษาเอาไว้ก็ไม่มีความรุ่มร้อน...
รวมถึง การใช้ทรัพย์นั้นก็จะเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เพราะมีความละอายต่อบาป (หิริ) และความเกรงกลัวต่อผลของบาป (โอตตัปปะ) ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและผู้อื่น เพราะมีความรู้ความเข้าใจในโภคทรัพย์อย่างถูกต้องตามจริง (พาหุสัจจะ) รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ด้อยโอกาสกว่า (จาคะ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกโดยรวมได้ว่าเป็นการใช้ "ปัญญา" ในการบริหารจัดการโภคทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและส่วนรวม...
ดังนี้แล้ว...ใครขยันหมั่นสร้างและรักษาทรัพย์ภายในอันประเสริฐทั้ง ๗ ประการนี้ไว้ได้ ความทุกข์จากการดิ้นรน แสวงหาเพื่อให้ได้ครอบครองทรัพย์ภายนอกก็จะลดลงได้...
เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด...การดิ้นรน ไขว่คว้า แสวงหาเพื่อครอบครองจึงเป็นความทุกข์แสนสาหัสอย่างหนึ่งที่เราต้องเผชิญ...การสร้างอริยทรัพย์ถือเป็นหนทางในการดับทุกข์จากโภคทรัพย์...ความสุขที่ยั่งยืนจึงเพิ่มขึ้นได้จากการเร่งเพิ่มทรัพย์ภายใน...เพราะว่า...อริยทรัพย์...ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม...ยิ่งมี ยิ่งสุข...
Tags : ทรัพย์สินเงินทอง • อริยทรัพย์ • โภคทรัพย์ • ดำรงชีพ • สุจริต
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20131013/535825/ทรัพย์อะไร--ยิ่งใช้-ยิ่งเพิ่ม-ยิ่งมี-ยิ่งสุข.html