สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต 🎵 🎶
ธรรมบรรยาย 11 เรื่อง ระหว่างกาลทรงผนวช เรื่องอริยทรัพย์
อริยทรัพย์
การสนทนาธรรมวันนี้จะได้พูดถึงอริยทรัพย์ เพราะเมื่อวันก่อนได้กล่าวไว้แล้วว่า การบวชนั้นกระทำให้บุคคลได้เข้าอยู่ใกล้อริยทรัพย์ และในลักษณะเช่นนั้นก็เปรียบเหมือนที่อยู่ใกล้บ่อน้ำ อันมีน้ำอยู่ไม่ขาด สามารถจะตักตวงเอามาให้เป็นประโยชน์แก่ตนได้ มากน้อยตามเจตนา
อริยทรัพย์เป็นทรัพย์อันประเสริฐ คือเป็นเครื่องบำรุงจิตให้เจริญ และกระทำจิตให้มั่นคง ปราศจากความหว้าเหว่เปลี่ยวเปล่า ผิดกับโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นเครื่องทำนุบำรุงแต่กายเท่านั้น เมื่อกายหิว เราก็สามารถใช้โภคทรัพย์บำบัดความหิวกระหายนั้นได้ แต่ถ้าใจหิว โภคทรัพย์จะไม่เป็นประโยชน์เลย มีแต่อริยทรัพย์เท่านั้นที่จะบำบัดความหิวแห่งใจได้ เมื่ออาการหิวของคนเรานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ อริยทรัพย์จึงเป็นของที่จำเป็นไม่น้อยไปกว่าโภคทรัพย์ ผิดกันแต่ที่ว่าอริยทรัพย์นั้นหาได้ยากกว่า และในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่พึงปรารถนายิ่งกว่าโภคทรัพย์
อริยทรัพย์นี้ ท่านแสดงไว้ว่ามี 7 อย่าง เป็นอย่างมาก ได้แก่ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตตะ จาคะ ปัญญา แต่บางแห่งท่านแสดงไว้เป็นอย่างน้อยแต่เพียง 5 โดยตัดหิริและโอตตัปปะ คือ ความละอายใจต่อความชั่ว และความหวาดกลัวต่อความชั่วนั้นออกเสีย เนื่องด้วยการสนทนาธรรมนี้มีเวลาอันจำกัด การพูดถึงอริทรัพย์ในวันนี้จะได้กล่าวถึงแต่เพียง 5
เนื่องด้วยอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์แห่งพระศาสนา สัทธาคือความวางใจ หรือความเชื่อนั้น จึงเป็นทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง เพราะสัทธาย่อมเป็นมูลแห่งการนับถือศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด พูดตามหลักในพระบาลี ที่ปรากฏเป็นพุทธภาษิตนั้น สัทธาในศาสนาพุทธก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า ได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรูชอบ เชื่อว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นความจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน และเป็นความจริงที่บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง ทุกคนสามารถรู้ได้พิสูจน์ได้ด้วยตน และความจริงนั้นจริงตลอดไปไม่มีเวลากำหนด คือไม่ขึ้นต่อกาลเวลาหรือยุคสมัย จากสัทธาเบื้องต้นนี้ พระอาจารย์ท่านได้จำแนกออกไปอีกเป็นสาม คือกรรมสัทธา เชื่อในกรรมคือการกระทำว่าย่อมบังเกิดผล และผลนั้นย่อมตรงต่อลักษณะของกรรม คือกรรมดีก็เกิดผลดี กรรมชั่วก็เกิดผลชั่ว วิปากสัทธา เชื่อในผลของกรรม และเชื่อว่าภาวะความเป็นไปต่าง ๆ ที่เราได้ประสพพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นผลของกรรม สิ่งที่ดีก็มาจากกรรมดี สิ่งที่ชั่วก็มาจากกรรมชั่ว และกัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน แต่สัทธาทั้งสามนี้ อันที่จริงก็จำแนกมาจากสัทธาอันเป็นมูลเดิม คือตถาคตโพธิสัทธานั้นทั้งสิ้น
สัทธาในศาสนาพุทธนั้นแตกต่างกับศาสนาอื่น คือมิได้เรียกร้องให้มีแต่สัทธาโดยมิได้มีสิ่งอื่นใดประกอบ สัทธาในศาสนาพุทธ ต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอไป มิฉะนั้นก็จะเป็นความเชื่อถืองมงาย อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ ปัญญานั้นมีอยู่สามอย่างคือ สุตามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฟัง หมายถึงความรู้ที่ได้รับจากคำบอกเล่า หรือได้อ่านจากตำหรับตำรา เปรียบเหมือนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้เล่นไฟ บอกว่าไฟนั้นร้อน ก็เกิดความรู้ว่าไฟนั้นเป็นของร้อนในเบื้องต้น สัทธาอันประกอบด้วยสุตตามยปัญญา คือความเชื่อถือตามคำบอกเล่า ท่านจัดว่าเป็นอธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อไปตาม และยังจะคงน้อมใจเชื่อไปจนกว่าจะได้รับคำบอกเล่าอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่าเป็นสัทธาที่แน่นอนยังไม่ได้
ปัญญาที่สองคือจินตามยปัญญา ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิด คืออาศัยความคิดและเหตุผลของตนพิจารณาว่าสิ่งใดมีลักษณะอย่างไร สัทธาอันประกอบด้วยจินตามยปัญญา พอจะเรียกได้ว่าเป็นสัทธาที่มีได้ด้วยความคิดแลเหตุผลของตนเอง เห็นว่าสิ่งใดควรเชื่อได้ด้วยเหตุผลอันใด สิ่งใดไม่ควรเชื่อ เพราะไม่มีเหตุผลประกอบ เปรียบดังไฟ เมื่อรู้ว่าร้อนด้วยสุตตามยปัญญาแล้ว ก็ได้เห็นว่าไฟนั้นสามารถเผาวัตถุต่าง ๆ ให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านไปได้ จึงเชื่อว่าร้อนจริง แต่เนื่องด้วยเหตุผลของคนเรานั้น เปลี่ยนไปได้เสมอ สัทธาอันประกอบด้วยเหตุผลนี้ท่านจึงจัดว่าเป็นจลสัทธาความเชื่อที่หวั่นไหวได้ ยังไม่แน่นอนนัก
ปัญญาอย่างที่สามคือภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการทำให้มีเกิดขึ้น คือความรู้ที่เกิดจากความจริงที่ตนได้ประสพพบเห็นด้วยตนเอง เป็นต้นว่าเอามือใส่เข้าไปในไฟ แล้ว เกิดความรู้อันแน่นอนว่าไฟนั้นร้อน สัทธาอันประกอบด้วยภวนามยปัญญาจึงจัดว่าเป็นอจลสัทธา เป็นความเชื่อที่แน่นอนไม่หวั่นไหว
เมื่อตถาคตโพธิสัทธา มาปรับเข้ากับปัญญาทั้งสามอย่างนี้ ปรากฏว่าในขั้นแรกเราได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ เพราะเราเกิดมาในพระพุทธศาสนา เราก็ยอมรับเชื่อถือไว้ก่อน ความเชื่อของเราในขั้นนี้ จึงยังเป็นความเชื่อที่น้อมใจไปตามคำบอกเล่า ต่อมาเราได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาดูด้วยเหตุผล เห็นว่าธรรมนั้นเป็นของดีของชอบจริง บังเกิดจินตามยปัญญาและมีสัทธาอันสืบเนื่องมาจากปัญญานี้ แต่ยังเป็นจลสัทธา คือ สัทธาที่หวั่นไหวได้อยู่ เพราะยังอาจมีเหตุผลอื่น ความคิดอื่นมาทับความคิดและเหตุผลของเรา ทำให้เปลี่ยนแปลงไปได้ ครั้นเราได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงบังเกิดภวนามยปัญญา ความรู้ที่ได้ประสพด้วยตนเองว่าธรรมของพระพุทธเจ้านั้นทำให้บริสุทธ์จริง มีความสุขสงบจริงหาสิ่งใดเปรียบได้ไม่ สัทธาอันเนื่องมาจากและประกอบด้วยภาวนามยปัญญาก็เกิดขึ้น เป็นอจลสัทธา คือสัทธาที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีที่จะหวั่นไหวเปลี่ยนแปลงได้
ถึงแม้ว่าเราจะยังมิได้บรรลุมรรคผลอันเป็นที่สุด แต่เมื่อได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เพียงส่วนน้อยหรือเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเราก็มีตถาคตโพธิสัทธาอันบริบูรณ์แน่นอน คือเชื่อแน่โดยไม่หวั่นไหวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ
สีลเป็นอริยทรัพย์อีกอย่างหนึ่งแปลตามศัพท์ ตรงๆ คือ ปกติ หมายความว่า จิตเป็นปกติ ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำให้จิตนั้นคิดไปในทางที่ชั่วที่ผิด เมื่อจิตเป็นปกติ เว้นว่างจากกิเลศแล้วเช่นนี้ เมื่อจะทำการใดด้วยไตรทวาร คือกระทำทางกายก็ไม่ทำกายทุจริต เมื่อจะพูดจาสิ่งไรด้วยวาจา ก็ไม่พูดสิ่งอันเป็นวจีทุจริต และ เมื่อจะคิดสิ่งใดทางใจก็ไม่เกิดมโนทุจริต ข้อสำคัญของสิลนั้น คือจิตมีปกติเป็นที่ตั้ง ไม่มีความชั่วเข้ามาครอบงำเจือปน การรักษาศีลนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ใจ เพราะสีลทางใจนั้นเป็นสีลแท้ ยิ่งกว่าสีลทางกายหรือทางวาจา
สุตอันเป็นอริยทรัพย์อีกอย่างหนึ่งนั้นคือการฟัง ได้แก่การได้สดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นความรู้มาก ทุกวันนี้ก็ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนทั้งปวง ความเป็นผู้ฟังมากคือความมีความรู้มาก เรียกว่าเป็นพหูสูตเป็นทรัพย์อันมีค่ามากอย่างหนึ่ง
จาคะเป็นอริยทรัพย์อันสุดท้าย ที่จะพูดถึงในวันนี้ แปลว่าสละ ในทางพุทธแบ่งการสละออกเป็นสองคือทานหนึ่งและจาคะอีกหนึ่ง ทานนั้นหมายถึงการให้เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ผู้รับ เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับ ฉะนั้นการให้วัตถุสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นจึงเป็นวัตถุทาน และนอกจากนั้นถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์ด้วยกำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด หรือกำลังปัญญาก็จัดว่าเป็นทาน ข้อสำคัญที่ควรรู้ก็คือการให้สิ่งใดเพื่อสำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นทานทั้งสิ้น เพราะทานนั้นแปลว่ามุ่งผู้รับ
ส่วนจาคะนั้นแปลว่ามุ่งตัวเอง คือความปรารถนาที่จะเสียสละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ตนเป็นคนดี ในพระบาลีท่านแสดงไว้ว่า พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาองค์ คืออวัยวะ และพึงสละองค์อวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และที่สุดมีอยู่ว่า พึงสละทั้งองค์อวัยวะทั้งทรัพย์ทั้งชีวิตเพื่อรักษาธรรมทั้งหมดนี้เป็นจาคะทั้งสิ้น ฉะนั้นคนที่สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะร่างกายอันป่วยไข้ ก็ได้กระทำจาคะเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการพิรุธทิ้งไว้จะเป็นภัยต่อชีวิต ต้องตัดทิ้งเสีย การยอมให้แพทย์ตัดอวัยวะนั้นออกก็เป็นจาคะ และที่สุดเมื่อบุคคลยึดถือธรรม คือความยุติธรรมถูกต้อง ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมนั้นไว้ก็เป็นจาคะ ทหารยอมสละชีวิตเพื่อเอกราชของชาติ ก็ชื่อว่าได้กระทำจาคะ พระมหากษัตริย์ทรงมุ่งจะให้ธรรมบังเกิดขึ้นในบ้านเมือง ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ออกทรงผนวช เพื่อทรงปฏิบัติธรรมก็เป็นจาคะเช่นเดียวกัน
พระพุทธเจ้าทรงถือว่า อริยทรัพย์สำคัญเท่ากับโภคทรัพย์ ทรงตำหนิว่า ผู้ที่มิได้ทำให้โภคทรัพย์และอริยทรัพย์ที่ยังไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดมีอยู่แล้วก็ไม่ทำให้เจริญนั้นเป็นผู้มีตาบอดทั้งสองข้าง ส่วนผู้ที่ทำให้โภคทรัพย์เกิดแลเจริญแต่อย่างเดียว คือผู้ที่ยังมีตาบอดอยู่ข้างหนึ่ง ต่อเมื่อได้ทำให้ทรัพย์ทั้งสองเกิดแลเจริญด้วยกันแล้ว จึงเป็นผู้มีตาดีตาสว่างทั้งสองข้าง
เรื่อง อริ(ย)ทรัพย์ กับธรรมบรรยาย เรื่อง อริยทรัพย์.
[จากข่าว]
‘บิ๊กตู่’ สั่งสอบ 21คนไทย ลั่นผิดติดคุก เซ่นเอกสารลับ‘ฟอกเงิน’ แฉตระกูลดังชื่อโผล่เพียบ ปปง.จ่อเปิดโต๊ะแจง 8เมย.
สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต 🎵 🎶
ธรรมบรรยาย 11 เรื่อง ระหว่างกาลทรงผนวช เรื่องอริยทรัพย์
อริยทรัพย์
การสนทนาธรรมวันนี้จะได้พูดถึงอริยทรัพย์ เพราะเมื่อวันก่อนได้กล่าวไว้แล้วว่า การบวชนั้นกระทำให้บุคคลได้เข้าอยู่ใกล้อริยทรัพย์ และในลักษณะเช่นนั้นก็เปรียบเหมือนที่อยู่ใกล้บ่อน้ำ อันมีน้ำอยู่ไม่ขาด สามารถจะตักตวงเอามาให้เป็นประโยชน์แก่ตนได้ มากน้อยตามเจตนา
อริยทรัพย์เป็นทรัพย์อันประเสริฐ คือเป็นเครื่องบำรุงจิตให้เจริญ และกระทำจิตให้มั่นคง ปราศจากความหว้าเหว่เปลี่ยวเปล่า ผิดกับโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นเครื่องทำนุบำรุงแต่กายเท่านั้น เมื่อกายหิว เราก็สามารถใช้โภคทรัพย์บำบัดความหิวกระหายนั้นได้ แต่ถ้าใจหิว โภคทรัพย์จะไม่เป็นประโยชน์เลย มีแต่อริยทรัพย์เท่านั้นที่จะบำบัดความหิวแห่งใจได้ เมื่ออาการหิวของคนเรานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ อริยทรัพย์จึงเป็นของที่จำเป็นไม่น้อยไปกว่าโภคทรัพย์ ผิดกันแต่ที่ว่าอริยทรัพย์นั้นหาได้ยากกว่า และในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่พึงปรารถนายิ่งกว่าโภคทรัพย์
อริยทรัพย์นี้ ท่านแสดงไว้ว่ามี 7 อย่าง เป็นอย่างมาก ได้แก่ สัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตตะ จาคะ ปัญญา แต่บางแห่งท่านแสดงไว้เป็นอย่างน้อยแต่เพียง 5 โดยตัดหิริและโอตตัปปะ คือ ความละอายใจต่อความชั่ว และความหวาดกลัวต่อความชั่วนั้นออกเสีย เนื่องด้วยการสนทนาธรรมนี้มีเวลาอันจำกัด การพูดถึงอริทรัพย์ในวันนี้จะได้กล่าวถึงแต่เพียง 5
เนื่องด้วยอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์แห่งพระศาสนา สัทธาคือความวางใจ หรือความเชื่อนั้น จึงเป็นทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง เพราะสัทธาย่อมเป็นมูลแห่งการนับถือศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด พูดตามหลักในพระบาลี ที่ปรากฏเป็นพุทธภาษิตนั้น สัทธาในศาสนาพุทธก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า ได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรูชอบ เชื่อว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นความจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน และเป็นความจริงที่บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง ทุกคนสามารถรู้ได้พิสูจน์ได้ด้วยตน และความจริงนั้นจริงตลอดไปไม่มีเวลากำหนด คือไม่ขึ้นต่อกาลเวลาหรือยุคสมัย จากสัทธาเบื้องต้นนี้ พระอาจารย์ท่านได้จำแนกออกไปอีกเป็นสาม คือกรรมสัทธา เชื่อในกรรมคือการกระทำว่าย่อมบังเกิดผล และผลนั้นย่อมตรงต่อลักษณะของกรรม คือกรรมดีก็เกิดผลดี กรรมชั่วก็เกิดผลชั่ว วิปากสัทธา เชื่อในผลของกรรม และเชื่อว่าภาวะความเป็นไปต่าง ๆ ที่เราได้ประสพพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นผลของกรรม สิ่งที่ดีก็มาจากกรรมดี สิ่งที่ชั่วก็มาจากกรรมชั่ว และกัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน แต่สัทธาทั้งสามนี้ อันที่จริงก็จำแนกมาจากสัทธาอันเป็นมูลเดิม คือตถาคตโพธิสัทธานั้นทั้งสิ้น
สัทธาในศาสนาพุทธนั้นแตกต่างกับศาสนาอื่น คือมิได้เรียกร้องให้มีแต่สัทธาโดยมิได้มีสิ่งอื่นใดประกอบ สัทธาในศาสนาพุทธ ต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอไป มิฉะนั้นก็จะเป็นความเชื่อถืองมงาย อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ ปัญญานั้นมีอยู่สามอย่างคือ สุตามยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฟัง หมายถึงความรู้ที่ได้รับจากคำบอกเล่า หรือได้อ่านจากตำหรับตำรา เปรียบเหมือนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้เล่นไฟ บอกว่าไฟนั้นร้อน ก็เกิดความรู้ว่าไฟนั้นเป็นของร้อนในเบื้องต้น สัทธาอันประกอบด้วยสุตตามยปัญญา คือความเชื่อถือตามคำบอกเล่า ท่านจัดว่าเป็นอธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อไปตาม และยังจะคงน้อมใจเชื่อไปจนกว่าจะได้รับคำบอกเล่าอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่าเป็นสัทธาที่แน่นอนยังไม่ได้
ปัญญาที่สองคือจินตามยปัญญา ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิด คืออาศัยความคิดและเหตุผลของตนพิจารณาว่าสิ่งใดมีลักษณะอย่างไร สัทธาอันประกอบด้วยจินตามยปัญญา พอจะเรียกได้ว่าเป็นสัทธาที่มีได้ด้วยความคิดแลเหตุผลของตนเอง เห็นว่าสิ่งใดควรเชื่อได้ด้วยเหตุผลอันใด สิ่งใดไม่ควรเชื่อ เพราะไม่มีเหตุผลประกอบ เปรียบดังไฟ เมื่อรู้ว่าร้อนด้วยสุตตามยปัญญาแล้ว ก็ได้เห็นว่าไฟนั้นสามารถเผาวัตถุต่าง ๆ ให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านไปได้ จึงเชื่อว่าร้อนจริง แต่เนื่องด้วยเหตุผลของคนเรานั้น เปลี่ยนไปได้เสมอ สัทธาอันประกอบด้วยเหตุผลนี้ท่านจึงจัดว่าเป็นจลสัทธาความเชื่อที่หวั่นไหวได้ ยังไม่แน่นอนนัก
ปัญญาอย่างที่สามคือภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการทำให้มีเกิดขึ้น คือความรู้ที่เกิดจากความจริงที่ตนได้ประสพพบเห็นด้วยตนเอง เป็นต้นว่าเอามือใส่เข้าไปในไฟ แล้ว เกิดความรู้อันแน่นอนว่าไฟนั้นร้อน สัทธาอันประกอบด้วยภวนามยปัญญาจึงจัดว่าเป็นอจลสัทธา เป็นความเชื่อที่แน่นอนไม่หวั่นไหว
เมื่อตถาคตโพธิสัทธา มาปรับเข้ากับปัญญาทั้งสามอย่างนี้ ปรากฏว่าในขั้นแรกเราได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ เพราะเราเกิดมาในพระพุทธศาสนา เราก็ยอมรับเชื่อถือไว้ก่อน ความเชื่อของเราในขั้นนี้ จึงยังเป็นความเชื่อที่น้อมใจไปตามคำบอกเล่า ต่อมาเราได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาดูด้วยเหตุผล เห็นว่าธรรมนั้นเป็นของดีของชอบจริง บังเกิดจินตามยปัญญาและมีสัทธาอันสืบเนื่องมาจากปัญญานี้ แต่ยังเป็นจลสัทธา คือ สัทธาที่หวั่นไหวได้อยู่ เพราะยังอาจมีเหตุผลอื่น ความคิดอื่นมาทับความคิดและเหตุผลของเรา ทำให้เปลี่ยนแปลงไปได้ ครั้นเราได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงบังเกิดภวนามยปัญญา ความรู้ที่ได้ประสพด้วยตนเองว่าธรรมของพระพุทธเจ้านั้นทำให้บริสุทธ์จริง มีความสุขสงบจริงหาสิ่งใดเปรียบได้ไม่ สัทธาอันเนื่องมาจากและประกอบด้วยภาวนามยปัญญาก็เกิดขึ้น เป็นอจลสัทธา คือสัทธาที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีที่จะหวั่นไหวเปลี่ยนแปลงได้
ถึงแม้ว่าเราจะยังมิได้บรรลุมรรคผลอันเป็นที่สุด แต่เมื่อได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เพียงส่วนน้อยหรือเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเราก็มีตถาคตโพธิสัทธาอันบริบูรณ์แน่นอน คือเชื่อแน่โดยไม่หวั่นไหวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ
สีลเป็นอริยทรัพย์อีกอย่างหนึ่งแปลตามศัพท์ ตรงๆ คือ ปกติ หมายความว่า จิตเป็นปกติ ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำให้จิตนั้นคิดไปในทางที่ชั่วที่ผิด เมื่อจิตเป็นปกติ เว้นว่างจากกิเลศแล้วเช่นนี้ เมื่อจะทำการใดด้วยไตรทวาร คือกระทำทางกายก็ไม่ทำกายทุจริต เมื่อจะพูดจาสิ่งไรด้วยวาจา ก็ไม่พูดสิ่งอันเป็นวจีทุจริต และ เมื่อจะคิดสิ่งใดทางใจก็ไม่เกิดมโนทุจริต ข้อสำคัญของสิลนั้น คือจิตมีปกติเป็นที่ตั้ง ไม่มีความชั่วเข้ามาครอบงำเจือปน การรักษาศีลนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ใจ เพราะสีลทางใจนั้นเป็นสีลแท้ ยิ่งกว่าสีลทางกายหรือทางวาจา
สุตอันเป็นอริยทรัพย์อีกอย่างหนึ่งนั้นคือการฟัง ได้แก่การได้สดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นความรู้มาก ทุกวันนี้ก็ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนทั้งปวง ความเป็นผู้ฟังมากคือความมีความรู้มาก เรียกว่าเป็นพหูสูตเป็นทรัพย์อันมีค่ามากอย่างหนึ่ง
จาคะเป็นอริยทรัพย์อันสุดท้าย ที่จะพูดถึงในวันนี้ แปลว่าสละ ในทางพุทธแบ่งการสละออกเป็นสองคือทานหนึ่งและจาคะอีกหนึ่ง ทานนั้นหมายถึงการให้เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ผู้รับ เพื่อสำเร็จประโยชน์แก่ผู้รับ ฉะนั้นการให้วัตถุสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นจึงเป็นวัตถุทาน และนอกจากนั้นถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้อื่นสำเร็จประโยชน์ด้วยกำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด หรือกำลังปัญญาก็จัดว่าเป็นทาน ข้อสำคัญที่ควรรู้ก็คือการให้สิ่งใดเพื่อสำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่นเป็นทานทั้งสิ้น เพราะทานนั้นแปลว่ามุ่งผู้รับ
ส่วนจาคะนั้นแปลว่ามุ่งตัวเอง คือความปรารถนาที่จะเสียสละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ตนเป็นคนดี ในพระบาลีท่านแสดงไว้ว่า พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาองค์ คืออวัยวะ และพึงสละองค์อวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และที่สุดมีอยู่ว่า พึงสละทั้งองค์อวัยวะทั้งทรัพย์ทั้งชีวิตเพื่อรักษาธรรมทั้งหมดนี้เป็นจาคะทั้งสิ้น ฉะนั้นคนที่สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะร่างกายอันป่วยไข้ ก็ได้กระทำจาคะเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการพิรุธทิ้งไว้จะเป็นภัยต่อชีวิต ต้องตัดทิ้งเสีย การยอมให้แพทย์ตัดอวัยวะนั้นออกก็เป็นจาคะ และที่สุดเมื่อบุคคลยึดถือธรรม คือความยุติธรรมถูกต้อง ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมนั้นไว้ก็เป็นจาคะ ทหารยอมสละชีวิตเพื่อเอกราชของชาติ ก็ชื่อว่าได้กระทำจาคะ พระมหากษัตริย์ทรงมุ่งจะให้ธรรมบังเกิดขึ้นในบ้านเมือง ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ออกทรงผนวช เพื่อทรงปฏิบัติธรรมก็เป็นจาคะเช่นเดียวกัน
พระพุทธเจ้าทรงถือว่า อริยทรัพย์สำคัญเท่ากับโภคทรัพย์ ทรงตำหนิว่า ผู้ที่มิได้ทำให้โภคทรัพย์และอริยทรัพย์ที่ยังไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดมีอยู่แล้วก็ไม่ทำให้เจริญนั้นเป็นผู้มีตาบอดทั้งสองข้าง ส่วนผู้ที่ทำให้โภคทรัพย์เกิดแลเจริญแต่อย่างเดียว คือผู้ที่ยังมีตาบอดอยู่ข้างหนึ่ง ต่อเมื่อได้ทำให้ทรัพย์ทั้งสองเกิดแลเจริญด้วยกันแล้ว จึงเป็นผู้มีตาดีตาสว่างทั้งสองข้าง