สอบถามไปรษณีย์ผู้ตอบรับ สำเนาในที่นี้ ที่ส่งไปนอกซองจดหมายเราจะได้กลับมาหรือเปล่า งงครับ

กระทู้คำถาม
การส่งหนังสือทางกฎหมายพร้อมใบตอบรับไปรษณีย์

จากหลายโพสต์ที่ผมเคยลงไว้ในเรื่องเกี่ยวกับการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญา ตลอดจนหนังสือบอกกล่าวอย่างอื่นที่ประสงค์ให้มีผลทางกฎหมายต่อกันนั้น โดยผมจะแนะนำให้ทำเป็นวิธีทางการ คือ “การส่งไปรษณีย์แบบตอบรับ” ซึ่งบางท่านอาจยังไม่เข้าใจขั้นตอนและเหตุผลในการทำ
ดังนั้น ในวันนี้จึงขอนำเรื่องดังกล่าวมาขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ

*** หัวข้อหนังสือบอกกล่าวในเรื่องต่างๆนั้น ท่านสามารถหาอ่านได้ในโพสต์ก่อนๆของผมในเพจนี้ครับ

เมื่อท่านต้องการส่งหนังสือทางกฎหมายผมแนะนำขั้นตอนดังนี้

๑. จัดทำหนังสือทางกฎหมายให้แล้วเสร็จพร้อมทำสำเนาไว้ด้วยอย่างน้อยหนึ่งฉบับ

๒. นำต้นฉบับเอกสารส่งไปยังผู้รับทางไปรษณีย์ไทย จะเป็นแบบลงทะเบียนหรือแบบ EMS ก็ได้ แต่ในการส่งท่านต้องกรอกข้อมูลผู้ส่งและผู้รับในใบตอบรับไปรษณีย์ ซึ่งมีอยู่ ณ. ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา แล้วนำส่งไปพร้อมกันกับจดหมายหรือหนังสือบอกกล่าวที่จะส่งให้อีกฝ่าย(แนบไปด้านนอกอย่าใส่ลงไปในซองจดหมายนะครับ)

๓. เมื่ออีกฝ่ายได้รับหนังสือบอกกล่าวของเราแล้ว บุรุษไปรษณีย์ก็จะให้ผู้รับจดหมายลงชื่อในใบตอบรับไปรษณีย์เพื่อเป็นหลักฐานการรับหนังสือหรือจดหมายที่เราได้ส่งไป

๔. จากนั้นทางไปรษณีย์ก็จะนำใบตอบรับไปรษณีย์ที่ผู้รับได้ลงชื่อรับจดหมายไว้เรียบร้อยแล้ว ส่งกลับมาให้ผู้ส่งยังที่อยู่ที่ได้ระบุไว้

๕. ผู้ส่งก็นำใบตอบรับไปรษณีย์ที่ส่งกลับมานั้นเก็บรวมไว้กับสำเนาหนังสือบอกกล่าวที่ได้ทำไว้แต่ต้น เพื่อเป็นหลักฐานทางกฎหมายว่าได้มีการส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้หรือผู้รับอีกฝ่ายจริง

ดังขั้นตอนที่กล่าวมานี้เรียกว่าการส่งแบบทางการ ซึ่งหากจำเป็นต้องเป็นคดีความกัน ผู้ส่งก็สามารถนำไปเป็นหลักฐานสำคัญในการต่อสู้คดีได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่