ร้านสะดวกซื้อ (convenience store)
ที่สะดวกจริงๆ ตามชื่อ เพราะให้บริการแทบจะทุกอย่าง ตลอด 24 ชั่วโมง
ฤาต้องถึงคราวเปลี่ยนแปลงเสียแล้ว
เมื่อ 7-11 จะเริ่มทำการทดลองการเปิดร้าน
ตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม แค่จาก 7 โมงเช้า ถึง 5 ทุ่ม ในช่วงกลางเดือนนี้
ต้นสายปลายเหตุเริ่มมาจากเมื่อกุมภาพันธ์
สาขาแฟรนไชส์สาขาหนึ่งของ 7-11
ในเขต Minamikamikosaka เมือง Higashiosaka
จังหวัด Osaka จะทำการปิดร้าน
ในช่วงตี 1 ถึง 6 โมงเช้า
เนื่องจากเจ้าของร้านบอกว่าไม่ไหวแล้วเพราะขาดแรงงานคนมาทำงาน ทำให้ตัวเองต้องเข้าไปทำงานในร้านด้วยตัวเองแทน เป็นช่วงระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน
พอบริษัทแม่ Seven & I Holding
รู้เรื่องเข้าก็บอกว่าทำอย่างนี้เป็นการผิดสัญญาที่ระบุไว้ว่าต้องเปืด 24 ชั่วโมง
อาจจะบอกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ และเรียกค่าเสียหาย 17 ล้านเยนตามที่ระบุไว้ในสัญญา
แต่พอเป็นข่าวออกเมื่อวันที่ 20 กพ บริษัทแม่เริ่มออกมาบอกว่าจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ด้วยการช่วยหาคนไปเสริม และจะคิดพัฒนานำระบบและวิธีการอัตโนมัติเข้ามาช่วยเพิ่ม
หลังจากเริ่มเป็นข่าวทางบรรดาเจ้าของร้านแฟรนไชส์ 7-11 ทั้งหลายที่รวมตัวกันเป็นชมรมอยู่
เริ่มเคลื่อนออกมาพูดว่า บรรดาเจ้าของร้านกว่า 70% ต่างต้องการลดเวลาการเปิดลง
เพราะรับไม่ไหวแล้วทั้งสุขภาพของตนเองที่ต้องเข้าไปทำงานแทน เนื่องจากหาคนมาทำงานไม่ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจที่ต้องรับภาระขาดทุน
เนื่องจากจำนวนคนเข้ามาใช้บริการน้อยในช่วงดึก ยอดขายไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ทั้งปัญหาสุขภาพจิต ที่ใกล้ถึงขีดสุด ทนรับไม่ไหวแล้ว
บริษัทแม่ Seven & I Holding ก็เริ่มกลับลำอีกครั้งบอกว่าจะเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ที่จะไม่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้เลือกสาขา 10 สาขาทั้งในโตเกียวและจังหวัดอื่น ๆ ทดลองเปิดแค่ระหว่าง 7.00 น -23.00 น หรือตามแบบ 7-11 ดั้งเดิม
ปัญหาที่ขาดแคลนคนมาทำงานร้านสะดวกซื้อ
อันแรกก็คือเมื่อเทียบค่าจ้างในงานบริการเหมือนกัน ต่ำมาก แค่ชั่วโมงละ 976 เยน จากค่าจ้างเฉลี่ย 1034 เยน รองบ๊วย
ในขณะที่งานหนักด้วยระบบที่ซับซ้อน อันเกิดจากการให้บริการหลายอย่างของร้านสะดวกซื้อ เอาแค่บุหรี่ก็ต้องจดจำกว่า 100 ประเภทแล้ว จะเพิ่มค่าจ้างก็ทำไม่ได้ เพราะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้าแรงงานสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ลดลง อีกทั้งมีร้านคู่แข่ง หลายร้านในบริเวณใกล้ ๆ กันมาแบ่งลูกค้าไป
ในขณะเดียวกัน ทาง Lawson ก็บอกว่าตอนนี้ร้านที่อยู่ตามตึกออฟฟิต ก็ไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมงแล้ว และร้านแฟรนไชส์อีก 40 สาขา ก็กำลังอยู่ในช่วงทดลอง เช่นเดียวกับ Family Mart
หมายเหตุ - ร้าสะดวกซื้อแห่งแรกในญี่ปุ่น เกิดขึ้นในปี 1973 คือ 7-11 และอีกสองปีให้หลัง ก็เริ่มให้บริการแบบเปิดตลอด 24 ชั่วโมง มาตั้งแต่ปี 1975 จนปัจจุบัน convenience store มีสถานะแบบเป็น Infrastrucure ส่วนหนึ่งของสังคม
------
หันมามองเซเว่นไทย
7-11 in Japan ขาดแรงงาน ลดเปิด24ชม.
ที่สะดวกจริงๆ ตามชื่อ เพราะให้บริการแทบจะทุกอย่าง ตลอด 24 ชั่วโมง
ฤาต้องถึงคราวเปลี่ยนแปลงเสียแล้ว
เมื่อ 7-11 จะเริ่มทำการทดลองการเปิดร้าน
ตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม แค่จาก 7 โมงเช้า ถึง 5 ทุ่ม ในช่วงกลางเดือนนี้
ต้นสายปลายเหตุเริ่มมาจากเมื่อกุมภาพันธ์
สาขาแฟรนไชส์สาขาหนึ่งของ 7-11
ในเขต Minamikamikosaka เมือง Higashiosaka
จังหวัด Osaka จะทำการปิดร้าน
ในช่วงตี 1 ถึง 6 โมงเช้า
เนื่องจากเจ้าของร้านบอกว่าไม่ไหวแล้วเพราะขาดแรงงานคนมาทำงาน ทำให้ตัวเองต้องเข้าไปทำงานในร้านด้วยตัวเองแทน เป็นช่วงระยะเวลายาวนานในแต่ละวัน
พอบริษัทแม่ Seven & I Holding
รู้เรื่องเข้าก็บอกว่าทำอย่างนี้เป็นการผิดสัญญาที่ระบุไว้ว่าต้องเปืด 24 ชั่วโมง
อาจจะบอกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ และเรียกค่าเสียหาย 17 ล้านเยนตามที่ระบุไว้ในสัญญา
แต่พอเป็นข่าวออกเมื่อวันที่ 20 กพ บริษัทแม่เริ่มออกมาบอกว่าจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ด้วยการช่วยหาคนไปเสริม และจะคิดพัฒนานำระบบและวิธีการอัตโนมัติเข้ามาช่วยเพิ่ม
หลังจากเริ่มเป็นข่าวทางบรรดาเจ้าของร้านแฟรนไชส์ 7-11 ทั้งหลายที่รวมตัวกันเป็นชมรมอยู่
เริ่มเคลื่อนออกมาพูดว่า บรรดาเจ้าของร้านกว่า 70% ต่างต้องการลดเวลาการเปิดลง
เพราะรับไม่ไหวแล้วทั้งสุขภาพของตนเองที่ต้องเข้าไปทำงานแทน เนื่องจากหาคนมาทำงานไม่ได้ ทั้งทางเศรษฐกิจที่ต้องรับภาระขาดทุน
เนื่องจากจำนวนคนเข้ามาใช้บริการน้อยในช่วงดึก ยอดขายไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ทั้งปัญหาสุขภาพจิต ที่ใกล้ถึงขีดสุด ทนรับไม่ไหวแล้ว
บริษัทแม่ Seven & I Holding ก็เริ่มกลับลำอีกครั้งบอกว่าจะเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ที่จะไม่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้เลือกสาขา 10 สาขาทั้งในโตเกียวและจังหวัดอื่น ๆ ทดลองเปิดแค่ระหว่าง 7.00 น -23.00 น หรือตามแบบ 7-11 ดั้งเดิม
ปัญหาที่ขาดแคลนคนมาทำงานร้านสะดวกซื้อ
อันแรกก็คือเมื่อเทียบค่าจ้างในงานบริการเหมือนกัน ต่ำมาก แค่ชั่วโมงละ 976 เยน จากค่าจ้างเฉลี่ย 1034 เยน รองบ๊วย
ในขณะที่งานหนักด้วยระบบที่ซับซ้อน อันเกิดจากการให้บริการหลายอย่างของร้านสะดวกซื้อ เอาแค่บุหรี่ก็ต้องจดจำกว่า 100 ประเภทแล้ว จะเพิ่มค่าจ้างก็ทำไม่ได้ เพราะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้าแรงงานสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ลดลง อีกทั้งมีร้านคู่แข่ง หลายร้านในบริเวณใกล้ ๆ กันมาแบ่งลูกค้าไป
ในขณะเดียวกัน ทาง Lawson ก็บอกว่าตอนนี้ร้านที่อยู่ตามตึกออฟฟิต ก็ไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมงแล้ว และร้านแฟรนไชส์อีก 40 สาขา ก็กำลังอยู่ในช่วงทดลอง เช่นเดียวกับ Family Mart
หมายเหตุ - ร้าสะดวกซื้อแห่งแรกในญี่ปุ่น เกิดขึ้นในปี 1973 คือ 7-11 และอีกสองปีให้หลัง ก็เริ่มให้บริการแบบเปิดตลอด 24 ชั่วโมง มาตั้งแต่ปี 1975 จนปัจจุบัน convenience store มีสถานะแบบเป็น Infrastrucure ส่วนหนึ่งของสังคม
------
หันมามองเซเว่นไทย