“สตรีทฟู้ด (Street Food) - สตรีทเวนเดอร์ (Street Vendor)” เป็นคำในภาษาอังกฤษใช้เรียกผู้จำหน่ายสินค้าข้างถนน หรือ “หาบเร่แผงลอย” ในภาษาไทย ซึ่งที่ผ่านมามักเป็น “วิวาทะ” เสมอ ระหว่าง “ฝ่ายสนับสนุน” ที่ยกเหตุผลด้าน “เศรษฐกิจฐานราก” ตั้งแต่ผู้ค้าที่ส่วนใหญ่อายุมากและการศึกษาน้อยไม่อาจเปลี่ยนอาชีพได้อีก ผู้ซื้อที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนนักวิชาการที่เห็นว่าทำให้ค่าครองชีพในเมืองไม่สูงเกินไป กับ “ฝ่ายต่อต้าน” ที่ยกมุมมอง “ความไม่เป็นระเบียบ” ตั้งแต่กีดขวางทางเท้า ทำพื้นที่สาธารณะสกปรก ไปจนถึงไม่ยอมเข้าสู่ระบบภาษี
ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “หาบเร่แผงลอยเป็นเรื่องนโยบายไม่ใช่กฎหมาย” เพราะตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 20 แม้วรรคหนึ่งจะระบุว่าห้ามขายของในพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า แต่ในวรรคสองก็ให้อำนาจผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับผู้บัญชาการตำรวจท้องที่ เช่น ใน กทม. เป็นอำนาจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ลงนามเห็นชอบร่วมกัน อนุมัติให้นำพื้นที่สาธารณะมาเปิดจุดผ่อนผันสำหรับทำการค้าได้
ดังนั้นการดำรงอยู่ของผู้ค้าแผงลอยจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหารทั้งส่วนท้องถิ่นคือ กทม. และทั้งรัฐบาลกลาง ซึ่งก็มีข้อสังเกตกันว่า “ในยุคที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ผู้ค้าแผงลอยจะได้รับความคุ้มครอง” เห็นได้จากข้อมูลของสำนักเทศกิจ กทม. ตั้งแต่ปี 2547-2556 จำนวนจุดผ่อนผันที่สามารถค้าขายได้ถูกกฎหมายมีกว่า 700 จุด กระทั่ง “ในปี 2557 เมื่อกองทัพในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจบริหารประเทศ จุดผ่อนผันจำนวนมากก็ถูกยกเลิกไป” โดยในปี 2559 พบว่าเหลือจุดผ่อนผันทั่ว กทม. เพียง 200 กว่าจุดเท่านั้น
การยกเลิกจุดผ่อนผันหาบเร่แผงลอยซึ่งทาง กทม. อ้างว่าเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายจัดระเบียบสังคมของ คสช. นั้นทำให้ “เสียงเรียกหาการเลือกตั้ง” ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะ “หวังว่าเศรษฐกิจฐานรากจะดีขึ้นหากประชาชนได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา” ซึ่งล่าสุด ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 คนไทยกำลังจะได้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หลังจากต้องรอมาเกือบ 5 ปี
ในงานเสวนา “นโยบายพรรคการเมืองต่ออนาคตเศรษฐกิจฐานราก” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็นหาบเร่แผงลอยถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันค่อนข้างดุเดือดทั้งจากตัวแทนพรรคการเมืองและกลุ่มผู้ค้า โดยในส่วนพรรคการเมืองนั้นพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกาศชู “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัยหากพรรคชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล ดูจะถูกพาดพิงมากที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อ นายธันวา ไกรฤกษ์ ผู้สมัคร สส.กทม. เขต 20 (สวนหลวง - ประเวศ) พรรคพลังประชารัฐ กล่าวชี้แจงว่า “พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช. ไม่เคยมีนโยบายยกเลิกแผงลอย” เรื่องของเรื่องคือ “คสช. มอบหมายให้ กทม. ไปดำเนินการจัดระเบียบ” หลังมีประชาชนร้องเรียนถึงความไม่เป็นระเบียบ กีดขวางทางสัญจร “แต่ กทม. ดำเนินการไปไกลกว่าการจัดระเบียบ” และขอย้ำว่าพรรคพลังประชารัฐในฐานะที่ดำเนินนโยบายหลายเรื่องต่อจากรัฐบาล ทราบดีถึงความเดือดร้อนของผู้ค้า และกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่
ทำให้เกิดการโต้เถียงไป-มา ระหว่างตัวแทนพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มผู้ค้า เครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งฝ่ายหลังไม่เชื่อว่ารัฐบาล คสช. ไม่เกี่ยวข้อง จนผู้ดำเนินรายการต้องคอยควบคุมบรรยากาศให้ลดความตึงเครียดลง แต่ที่น่าสนใจ “2 พรรคใหญ่ที่เป็นคู่แข่งกันมาตลอด” ประเด็นหาบเร่แผงลอยนั้นดูจะเห็นตรงกันคือ “ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะคืนพื้นที่จุดผ่อนผันค้าขายให้” ไม่จัดระเบียบแบบกวาดล้างอย่างที่เป็นมา
โดยทาง นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอย่างชัดเจน “เชื่อว่า คสช. เกี่ยวข้องกับการยกเลิกจุดผ่อนผันแผงลอยแน่นอน” อาทิ บริเวณสยามสแควร์ มีการสั่งลงมาว่าต้องสะอาดใน 2-3 วัน หรือแถว รพ.กลาง ได้สอบถามคนแถวนั้นว่าผู้ค้ารอบๆ หายไปไหน ก็ได้ทราบว่ารัฐบาลสั่งเคลียร์ในคืนเดียว ทั้งนี้ หากย้อนไปในยุคผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีนโยบายส่งเสริมจุดผ่อนผันควบคู่ไปกับการตีเส้นแผงค้าเพื่อจัดระเบียบ กระทั่งมาถูกยกเลิกในสมัยรัฐบาล คสช.
ส่วนผู้ว่าฯ อีกคนหนึ่งคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แม้จะเป็นผู้ว่าฯ จากประชาธิปัตย์ “แต่หลังจากสมัยที่ 2 ทางพรรคก็ได้ตัดขาดกันไปแล้ว” ซึ่ง นางรัชฎาภรณ์ ย้ำว่า “พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการเปิดจุดผ่อนผัน แต่เปิดแล้วผู้ค้าต้องตั้งแผงให้เป็นระเบียบและดูแลความสะอาดด้วย” รวมถึงจะใช้กลไก “ภาษีที่ดิน” ที่คาดว่าจะทำให้รัฐได้ที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาจัดสรรเป็นตลาดหากพื้นที่นั้นเหมาะสม นอกจากนี้ยังเห็นว่า “สิ่งที่ก่อปัญหาไม่ใช่ผู้ค้าแผงลอยโดยตรงแต่เป็นร้านค้าอาคาร” ที่พอเห็นแผงลอยตั้งได้ ก็ขยายร้านตนเองลงมาบนทางเท้าบ้างมากกว่า
เช่นเดียวกับ นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ที่เสนอนโยบายแบบเป็นชุด เช่น “การท่องเที่ยวเพื่อทุกคน (Tourism for All)” ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ 50 ล้านคน สร้างรายได้ 3 ล้านล้านบาท โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้ 2 แกนนำพรรค “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์-นายโภคิน พลกุล” เดินทางไปเจรจาด้านการท่องเที่ยวกับรัฐบาลจีน และได้รับการตอบรับแล้ว พร้อม “ชูอาหารข้างถนนเป็นจุดขาย” เพราะเป็นเสน่ห์ของ กทม.
ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ย้ำว่า “การจัดระเบียบจะเป็นไปในแนวทางทำให้สวยงามสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้า” หรือนโยบาย “กองทุนเถ้าแก่ใหม่” สร้างระบบสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อจะไม่ต้องไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ มองอนาคต “แผงลอยกลับมา..เงินตราก็สะพัด” ฟื้นเศรษฐกิจประเทศไทยจากฐานราก อย่างที่เคยทำมาแล้วกับนโยบายกองทุนหมู่บ้าน - 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (โอท็อป - OTOP)
ยังมีอีกหลายพรรคที่เห็นไปในทางเดียวกัน เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า “ชื่อเสียงของ กทม. มาจากอาหารข้างถนน เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ” หลายประเทศพยายามทำบ้างแต่ก็สู้ของไทยไม่ได้, นายชัยภัฏ จันทร์วิไล ตัวแทนพรรคภราดรภาพ ตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไมร้านสะดวกซื้อนำทางเท้าไปเป็นที่จอดรถได้” ต่างกับผู้ค้าแผงลอยที่ถูกขับไล่, นายเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ตัวแทนพรรคสามัญชน กล่าวว่า “ผู้ค้าต้องได้สิทธิมีส่วนร่วมบริหารจัดการ” ทั้งรูปแบบ สถานที่และเวลาขาย!!
ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ กทม. เหมือนโดนโยนขี้ให้ ทั้ง คสช และ ปชป พท แต่ดันเป็นขี้ที่ดีต่อประชาชนหมู่มากนะ ลองไปทำโพลได้เลย แล้วถ้าพรรคเหล่านี้จะทวงคืนแผงลอย สยาม ประตูน้ำ โบ้เบ้ ที่สวยงามตอนนี้ ความรุงรังจะกลับมาคุณ ๆ รับได้กันไหม ถ้ามีพรรคอื่นให้มากกว่านี้ ผมเทคะแนนเลย
...แล้วงงตรงที่ขีดเส้นใต้ ยกเลิกผองลอยมันไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่เอา ท้าทำประชามติเลย
CR. แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
พันทิปคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ‘เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์’เห็นพ้อง‘ฟื้นแผงลอย-คืนเสน่ห์เมือง’
ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า “หาบเร่แผงลอยเป็นเรื่องนโยบายไม่ใช่กฎหมาย” เพราะตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 20 แม้วรรคหนึ่งจะระบุว่าห้ามขายของในพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า แต่ในวรรคสองก็ให้อำนาจผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับผู้บัญชาการตำรวจท้องที่ เช่น ใน กทม. เป็นอำนาจของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ลงนามเห็นชอบร่วมกัน อนุมัติให้นำพื้นที่สาธารณะมาเปิดจุดผ่อนผันสำหรับทำการค้าได้
ดังนั้นการดำรงอยู่ของผู้ค้าแผงลอยจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหารทั้งส่วนท้องถิ่นคือ กทม. และทั้งรัฐบาลกลาง ซึ่งก็มีข้อสังเกตกันว่า “ในยุคที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ผู้ค้าแผงลอยจะได้รับความคุ้มครอง” เห็นได้จากข้อมูลของสำนักเทศกิจ กทม. ตั้งแต่ปี 2547-2556 จำนวนจุดผ่อนผันที่สามารถค้าขายได้ถูกกฎหมายมีกว่า 700 จุด กระทั่ง “ในปี 2557 เมื่อกองทัพในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจบริหารประเทศ จุดผ่อนผันจำนวนมากก็ถูกยกเลิกไป” โดยในปี 2559 พบว่าเหลือจุดผ่อนผันทั่ว กทม. เพียง 200 กว่าจุดเท่านั้น
การยกเลิกจุดผ่อนผันหาบเร่แผงลอยซึ่งทาง กทม. อ้างว่าเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายจัดระเบียบสังคมของ คสช. นั้นทำให้ “เสียงเรียกหาการเลือกตั้ง” ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะ “หวังว่าเศรษฐกิจฐานรากจะดีขึ้นหากประชาชนได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา” ซึ่งล่าสุด ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 คนไทยกำลังจะได้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หลังจากต้องรอมาเกือบ 5 ปี
ในงานเสวนา “นโยบายพรรคการเมืองต่ออนาคตเศรษฐกิจฐานราก” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็นหาบเร่แผงลอยถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันค่อนข้างดุเดือดทั้งจากตัวแทนพรรคการเมืองและกลุ่มผู้ค้า โดยในส่วนพรรคการเมืองนั้นพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกาศชู “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัยหากพรรคชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล ดูจะถูกพาดพิงมากที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อ นายธันวา ไกรฤกษ์ ผู้สมัคร สส.กทม. เขต 20 (สวนหลวง - ประเวศ) พรรคพลังประชารัฐ กล่าวชี้แจงว่า “พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช. ไม่เคยมีนโยบายยกเลิกแผงลอย” เรื่องของเรื่องคือ “คสช. มอบหมายให้ กทม. ไปดำเนินการจัดระเบียบ” หลังมีประชาชนร้องเรียนถึงความไม่เป็นระเบียบ กีดขวางทางสัญจร “แต่ กทม. ดำเนินการไปไกลกว่าการจัดระเบียบ” และขอย้ำว่าพรรคพลังประชารัฐในฐานะที่ดำเนินนโยบายหลายเรื่องต่อจากรัฐบาล ทราบดีถึงความเดือดร้อนของผู้ค้า และกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่
ทำให้เกิดการโต้เถียงไป-มา ระหว่างตัวแทนพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มผู้ค้า เครือข่ายแผงลอยไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งฝ่ายหลังไม่เชื่อว่ารัฐบาล คสช. ไม่เกี่ยวข้อง จนผู้ดำเนินรายการต้องคอยควบคุมบรรยากาศให้ลดความตึงเครียดลง แต่ที่น่าสนใจ “2 พรรคใหญ่ที่เป็นคู่แข่งกันมาตลอด” ประเด็นหาบเร่แผงลอยนั้นดูจะเห็นตรงกันคือ “ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะคืนพื้นที่จุดผ่อนผันค้าขายให้” ไม่จัดระเบียบแบบกวาดล้างอย่างที่เป็นมา
โดยทาง นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอย่างชัดเจน “เชื่อว่า คสช. เกี่ยวข้องกับการยกเลิกจุดผ่อนผันแผงลอยแน่นอน” อาทิ บริเวณสยามสแควร์ มีการสั่งลงมาว่าต้องสะอาดใน 2-3 วัน หรือแถว รพ.กลาง ได้สอบถามคนแถวนั้นว่าผู้ค้ารอบๆ หายไปไหน ก็ได้ทราบว่ารัฐบาลสั่งเคลียร์ในคืนเดียว ทั้งนี้ หากย้อนไปในยุคผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีนโยบายส่งเสริมจุดผ่อนผันควบคู่ไปกับการตีเส้นแผงค้าเพื่อจัดระเบียบ กระทั่งมาถูกยกเลิกในสมัยรัฐบาล คสช.
ส่วนผู้ว่าฯ อีกคนหนึ่งคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แม้จะเป็นผู้ว่าฯ จากประชาธิปัตย์ “แต่หลังจากสมัยที่ 2 ทางพรรคก็ได้ตัดขาดกันไปแล้ว” ซึ่ง นางรัชฎาภรณ์ ย้ำว่า “พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการเปิดจุดผ่อนผัน แต่เปิดแล้วผู้ค้าต้องตั้งแผงให้เป็นระเบียบและดูแลความสะอาดด้วย” รวมถึงจะใช้กลไก “ภาษีที่ดิน” ที่คาดว่าจะทำให้รัฐได้ที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาจัดสรรเป็นตลาดหากพื้นที่นั้นเหมาะสม นอกจากนี้ยังเห็นว่า “สิ่งที่ก่อปัญหาไม่ใช่ผู้ค้าแผงลอยโดยตรงแต่เป็นร้านค้าอาคาร” ที่พอเห็นแผงลอยตั้งได้ ก็ขยายร้านตนเองลงมาบนทางเท้าบ้างมากกว่า
เช่นเดียวกับ นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ที่เสนอนโยบายแบบเป็นชุด เช่น “การท่องเที่ยวเพื่อทุกคน (Tourism for All)” ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ 50 ล้านคน สร้างรายได้ 3 ล้านล้านบาท โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้ 2 แกนนำพรรค “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์-นายโภคิน พลกุล” เดินทางไปเจรจาด้านการท่องเที่ยวกับรัฐบาลจีน และได้รับการตอบรับแล้ว พร้อม “ชูอาหารข้างถนนเป็นจุดขาย” เพราะเป็นเสน่ห์ของ กทม.
ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ย้ำว่า “การจัดระเบียบจะเป็นไปในแนวทางทำให้สวยงามสอดคล้องกับการพัฒนาเมือง ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้า” หรือนโยบาย “กองทุนเถ้าแก่ใหม่” สร้างระบบสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อจะไม่ต้องไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ มองอนาคต “แผงลอยกลับมา..เงินตราก็สะพัด” ฟื้นเศรษฐกิจประเทศไทยจากฐานราก อย่างที่เคยทำมาแล้วกับนโยบายกองทุนหมู่บ้าน - 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (โอท็อป - OTOP)
ยังมีอีกหลายพรรคที่เห็นไปในทางเดียวกัน เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า “ชื่อเสียงของ กทม. มาจากอาหารข้างถนน เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ” หลายประเทศพยายามทำบ้างแต่ก็สู้ของไทยไม่ได้, นายชัยภัฏ จันทร์วิไล ตัวแทนพรรคภราดรภาพ ตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไมร้านสะดวกซื้อนำทางเท้าไปเป็นที่จอดรถได้” ต่างกับผู้ค้าแผงลอยที่ถูกขับไล่, นายเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ตัวแทนพรรคสามัญชน กล่าวว่า “ผู้ค้าต้องได้สิทธิมีส่วนร่วมบริหารจัดการ” ทั้งรูปแบบ สถานที่และเวลาขาย!!
ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ กทม. เหมือนโดนโยนขี้ให้ ทั้ง คสช และ ปชป พท แต่ดันเป็นขี้ที่ดีต่อประชาชนหมู่มากนะ ลองไปทำโพลได้เลย แล้วถ้าพรรคเหล่านี้จะทวงคืนแผงลอย สยาม ประตูน้ำ โบ้เบ้ ที่สวยงามตอนนี้ ความรุงรังจะกลับมาคุณ ๆ รับได้กันไหม ถ้ามีพรรคอื่นให้มากกว่านี้ ผมเทคะแนนเลย
...แล้วงงตรงที่ขีดเส้นใต้ ยกเลิกผองลอยมันไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่เอา ท้าทำประชามติเลย
CR. แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.