กทม.ตั้งเป้าจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ใน 48 เขต จากทั้งหมด 50 เขตเมืองกรุง บนถนน 73 สาย ระยะทาง 309 กม. มีผู้ค้าทั้งสิ้น 17,812 ราย กำหนดเสร็จสิงหาคม 2560!!
ลุยจัดระเบียบทางเท้า อีก4เดือนปลอดแผงลอย!
นามของ “วัลลภ สุวรรณดี” ได้รับการการันตีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปีก่อนว่า เขาคือผู้ถือธงนำแผนจัดระเบียบทางเท้าทั่วกรุงเทพมหานคร ด้วยจุดยืนการทวงคืนพื้นที่สาธารณะ ที่เขาเห็นว่าจำเป็นต้องถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของ “มหานคร” ไม่ใช่ถูกเบียดบังด้วยการค้า ที่ครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้รับการผ่อนผันในฐานะ คนทำมาหากิน หรือแม้กระทั่งเป็นผู้มีรายได้น้อย
ก่อนหน้านี้วัลลภลงพื้นที่ตะลุย “ทวงคืน” มาแล้วหลายพื้นที่ ไล่เรียงตั้งแต่ย่านประตูน้ำ มีผู้ค้า 610 ราย แยกราชประสงค์ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ และหน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ มีผู้ค้า 600 ราย ถนนสีลมมีผู้ค้า 611 ราย ทั้ง 4 แห่ง ยกเลิกการค้าเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมปีก่อน ส่วนถนนสุขุมวิทตลอดสายประกาศให้ยกเลิกแผงค้าในเดือนต่อมา ส่วนใต้สะพานพุทธ และสะพานพระปกเกล้า มีผู้ค้ารวม 348 ราย ยกเลิกในช่วงกลางเดือน เช่นเดียวกับพื้นที่ฝั่งธนบุรี ทุกสำนักงานเขตยกเลิกแผงค้าบนทางเท้าทั้งหมดภายในสิ้นเดือนเดียวกันนี้
กทม.ตั้งเป้าหมายการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเพื่อคืนทางเท้าให้แก่ประชาชนด้วยการจัดระเบียบผู้ค้าใน 48 เขตจากทั้งหมด 50 เขตใน กทม. บนถนน 73 สาย ระยะทาง 309 กม. ที่มีผู้ค้าในจุดผ่อนผันทั้งสิ้นรวม 17,812 ราย
ทั้งหมดมีกำหนดเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2560 !!!
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อีก 4 เดือนข้างหน้านี้ ทางเท้าทุกถนนหนแห่งในกรุงเทพฯ จะปราศจากหาบเร่แผงลอยโดยสิ้นเชิง
วัลลภ ในฐานะประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวย้ำกับ “คม ชัด ลึก” อีกครั้งเมื่อวานนี้ว่า กทม.ยังต้องเดินหน้าต่อไป เพราะที่ผ่านมาประชาชนเห็นด้วยในการจัดระเบียบทางเท้าในพื้นที่ต่างๆ อาทิ รามคำแหง ราชประสงค์ สยามสแควร์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน กทม.ก็ประกาศยกเลิกจุดผ่อนผันในพื้นที่ต่างๆ ไปแล้ว
สำหรับพื้นที่ต่อไปที่จะจัดระเบียบคือ ย่านบางลำพู แต่ที่ผ่านมาที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจาก กทม.ต้องจัดแบ่งกำลังบางส่วนไปยังพื้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนในพื้นที่ย่านพรานนกนั้น จะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ามา ทำให้ในพื้นที่จะต้องมีการเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ที่ผ่านมาถือว่าการจัดระเบียบในพื้นที่หลักๆ ได้ดำเนินการไปมากแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามา อาทิ สุขุมวิททั้ง 2 ฝั่ง หรือสยามสแควร์
วัลลภกล่าวว่า ส่วนพื้นที่ที่จัดระเบียบไปแล้ว แต่ยังมีผู้ค้าลักลอบค้าขายนั้น หาก กทม.ทราบจากการร้องเรียนจะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่แก้ไขทันที โดยจะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจดำเนินการให้เข้มงวดกว่าเดิม ซึ่งความยากของการจัดระเบียบนั้น เนื่องจากการมีจุดผ่อนผันการค้าตั้งแต่อดีต ซึ่งในขณะนั้นสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ยังไม่หนาแน่นเท่าปัจจุบัน แต่ขณะนี้เมื่อมีประชาชนร้องเรียนเข้ามา จากสิ่งที่ผู้ค้าไม่เห็นใจประชาชนที่ใช้ทางเท้าส่วนรวมจึงเกิดปัญหาขึ้นมา ทำให้ กทม.ต้องเข้าไปดำเนินการจัดระเบียบ โดยจัดหาพื้นที่สำรองไว้ให้ผู้ค้าได้ค้าขายเช่นเดิม
ประเด็นทางการเมืองก็อาจจะมีส่วนทำให้นโยบายนี้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ถ้าหากผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากการเลือกตั้งคนใหม่เข้ามาบริหารงานแล้วจะเป็นอย่างไร
“ถ้าหากคิดว่า การค้าขายบนทางเท้าเป็นเรื่องที่ดี จะทำให้ประชาชนยอมรับหรือไม่ เพราะทุกคนต้องการความเป็นระเบียบ หากมีนโยบายประชานิยมก็ต้องพิจารณาด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยหรือไม่” คือคำตอบของวัลลภ
ปัญหาหาบเร่แผงลอยรุกล้ำทางเท้า เป็นเรื่องยืดเยื้อเรื้อรังของกรุงเทพฯมาช้านาน แม้จะมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ออกมาระบุกติกา ไปจนถึงบทลงโทษชัดเจน
จนกระทั่งมีรัฐบาล คสช. เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมา มีการย้ำชัดเรื่องนี้อีกครั้ง ตามด้วยการดำเนินการอย่างจริงจังของกทม. จึงได้เห็นการจัดระเบียบเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้
การเร่งรัดจัดระเบียบเมือง คืนทางเท้าให้ประชาชนตามนโยบายของคสช. เริ่มต้นจากจุดแรกที่ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร ด้วยการประกาศห้ามขายตลอด 24 ชั่วโมง ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ให้ย้ายเข้าไปขายในซอยใกล้เคียงแทนหรือบางรายก็ย้ายตามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสนามบินน้ำ
รวมถึงบริเวณริมคลองคูเมืองเดิมและรอบศาลฎีกา เขตพระนคร ที่มีผู้ค้าประมาณ 1,000 ราย เป็นการยุติแหล่งค้าขายสินค้าในตำนานริมคลองหลอด ตามด้วยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี ที่ให้ทำการค้าที่เดิมแต่ขีดแนวตั้งวางให้ชัดเจน และกวดขันให้ผู้ค้าอยู่ในกติกา
แต่การจัดระเบียบตลาดคลองถม ย่านการค้าเก่าแก่ ถือว่าเป็นกรณีที่ “คนเมือง” ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเหมือนกับเป็นการปิดตำนานร้านค้าละแวกนั้น เพียงแต่ว่า ยังมีร้านเปิดขายอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายผิดไปจากอดีต
อวสานสตรีทฟู้ด
หากยังจำกันได้ เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้จัดอันดับ 23 เมืองที่มีอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ที่ดีที่สุดในโลก อันดับหนึ่งตกเป็นของกรุงเทพฯ โดยซีเอ็นเอ็นระบุว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่พลาดอาหารริมถนนในกรุงเทพฯ” อย่างไรก็ตาม สำหรับ กทม.แล้ว การจัดอันดับดังกล่าวไม่น่าดีใจนัก เพราะไม่ได้มองในเรื่องกฎหมายและความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย
“ขอบคุณที่ให้เกียรติ เเต่ถามกลับว่า สุขอนามัยของร้านจำหน่ายอาหารบนทางเท้าเป็นอย่างไร มีใครพูดถึงการล้างจานไหม ล้างด้วยน้ำกี่กะละมัง เวียนใช้กี่ครั้ง พูดไหมว่าร้านนำไขมัน เศษอาหารเทลงท่อระบายน้ำ ฉะนั้นที่บอกว่า การจัดระเบียบทำให้เสน่ห์หายไป ผมว่าไม่เกี่ยว ตรงนั้นไม่ใช่เสน่ห์ เเต่คือความสกปรก เอกลักษณ์ความเป็นไทยต้องมองอย่างรอบด้าน ไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนอยากเดินกินของอร่อยๆ แล้วถูกล้วงกระเป๋า ถามว่าล้วงกระเป๋าเป็นเอกลักษณ์ที่บวกเข้าไปด้วยหรือเปล่า หรือถ้าไม่อยากโดนล้วงกระเป๋าก็ลงมาเดินบนถนน เพื่อเสี่ยงต่อการถูกรถชนเเทน นั่นเป็นเอกลักษณ์เหรอ” (ที่มา-โพสต์ทูเดย์)
ส่วนข้ออ้างเรื่องความยากจนเพื่อขอผ่อนปรนนั้น วัลลภบอกข้ามไปได้เลย เพราะหากวัดกันที่เงินตรา กฎหมายระเบียบคงไม่มีความหมาย ที่สำคัญคาดว่าจะมีผู้ที่เหมาะสมกว่าผู้ค้าปัจจุบันหลายราย
“ผู้ค้าบางคน ตอนมาประท้วง ยังขอความเห็นใจบอกว่า ขายตรงนี้ทำให้เขาซื้อบ้าน ซื้อรถ สร้างเนื้อสร้างตัวได้ ผมถามกลับว่า ถ้าคนอื่นที่เขาไม่มีอะไรเลยจะขออย่างคุณบ้างล่ะ ระเบียบสังคมอยู่ตรงไหน ถ้าจะเเข่งกันด้วยความจน อาจจะมีคนที่เหมาะสมกว่าคุณด้วยซ้ำ”
ประธานที่ปรึกษาฯ ยืนยันว่า ที่ผ่านมา กทม.ดำเนินการทุกอย่างด้วยการผ่อนปรน มองข้ามความผิดของผู้ค้า เปรียบดั่งการหลับตาข้างเดียวจัดการปัญหามาตลอด ซึ่งขอให้เข้าใจว่า หาก กทม.ไม่ทำตามกฎหมาย จะกลายเป็นผู้ผิดเสียเอง ประชาชนทั่วไปฟ้องร้องได้ตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ที่มา www.komchadluek.net
อวสานอาหารข้างถนน ลุยจัดระเบียบทางเท้า อีก 4 เดือนปลอดแผงลอย !!!
ลุยจัดระเบียบทางเท้า อีก4เดือนปลอดแผงลอย!
นามของ “วัลลภ สุวรรณดี” ได้รับการการันตีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปีก่อนว่า เขาคือผู้ถือธงนำแผนจัดระเบียบทางเท้าทั่วกรุงเทพมหานคร ด้วยจุดยืนการทวงคืนพื้นที่สาธารณะ ที่เขาเห็นว่าจำเป็นต้องถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของ “มหานคร” ไม่ใช่ถูกเบียดบังด้วยการค้า ที่ครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้รับการผ่อนผันในฐานะ คนทำมาหากิน หรือแม้กระทั่งเป็นผู้มีรายได้น้อย
ก่อนหน้านี้วัลลภลงพื้นที่ตะลุย “ทวงคืน” มาแล้วหลายพื้นที่ ไล่เรียงตั้งแต่ย่านประตูน้ำ มีผู้ค้า 610 ราย แยกราชประสงค์ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ และหน้าห้างบิ๊กซี ราชดำริ มีผู้ค้า 600 ราย ถนนสีลมมีผู้ค้า 611 ราย ทั้ง 4 แห่ง ยกเลิกการค้าเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมปีก่อน ส่วนถนนสุขุมวิทตลอดสายประกาศให้ยกเลิกแผงค้าในเดือนต่อมา ส่วนใต้สะพานพุทธ และสะพานพระปกเกล้า มีผู้ค้ารวม 348 ราย ยกเลิกในช่วงกลางเดือน เช่นเดียวกับพื้นที่ฝั่งธนบุรี ทุกสำนักงานเขตยกเลิกแผงค้าบนทางเท้าทั้งหมดภายในสิ้นเดือนเดียวกันนี้
กทม.ตั้งเป้าหมายการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเพื่อคืนทางเท้าให้แก่ประชาชนด้วยการจัดระเบียบผู้ค้าใน 48 เขตจากทั้งหมด 50 เขตใน กทม. บนถนน 73 สาย ระยะทาง 309 กม. ที่มีผู้ค้าในจุดผ่อนผันทั้งสิ้นรวม 17,812 ราย
ทั้งหมดมีกำหนดเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2560 !!!
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อีก 4 เดือนข้างหน้านี้ ทางเท้าทุกถนนหนแห่งในกรุงเทพฯ จะปราศจากหาบเร่แผงลอยโดยสิ้นเชิง
วัลลภ ในฐานะประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวย้ำกับ “คม ชัด ลึก” อีกครั้งเมื่อวานนี้ว่า กทม.ยังต้องเดินหน้าต่อไป เพราะที่ผ่านมาประชาชนเห็นด้วยในการจัดระเบียบทางเท้าในพื้นที่ต่างๆ อาทิ รามคำแหง ราชประสงค์ สยามสแควร์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน กทม.ก็ประกาศยกเลิกจุดผ่อนผันในพื้นที่ต่างๆ ไปแล้ว
สำหรับพื้นที่ต่อไปที่จะจัดระเบียบคือ ย่านบางลำพู แต่ที่ผ่านมาที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจาก กทม.ต้องจัดแบ่งกำลังบางส่วนไปยังพื้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนในพื้นที่ย่านพรานนกนั้น จะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ามา ทำให้ในพื้นที่จะต้องมีการเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ที่ผ่านมาถือว่าการจัดระเบียบในพื้นที่หลักๆ ได้ดำเนินการไปมากแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามา อาทิ สุขุมวิททั้ง 2 ฝั่ง หรือสยามสแควร์
วัลลภกล่าวว่า ส่วนพื้นที่ที่จัดระเบียบไปแล้ว แต่ยังมีผู้ค้าลักลอบค้าขายนั้น หาก กทม.ทราบจากการร้องเรียนจะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่แก้ไขทันที โดยจะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจดำเนินการให้เข้มงวดกว่าเดิม ซึ่งความยากของการจัดระเบียบนั้น เนื่องจากการมีจุดผ่อนผันการค้าตั้งแต่อดีต ซึ่งในขณะนั้นสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ยังไม่หนาแน่นเท่าปัจจุบัน แต่ขณะนี้เมื่อมีประชาชนร้องเรียนเข้ามา จากสิ่งที่ผู้ค้าไม่เห็นใจประชาชนที่ใช้ทางเท้าส่วนรวมจึงเกิดปัญหาขึ้นมา ทำให้ กทม.ต้องเข้าไปดำเนินการจัดระเบียบ โดยจัดหาพื้นที่สำรองไว้ให้ผู้ค้าได้ค้าขายเช่นเดิม
ประเด็นทางการเมืองก็อาจจะมีส่วนทำให้นโยบายนี้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ถ้าหากผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากการเลือกตั้งคนใหม่เข้ามาบริหารงานแล้วจะเป็นอย่างไร
“ถ้าหากคิดว่า การค้าขายบนทางเท้าเป็นเรื่องที่ดี จะทำให้ประชาชนยอมรับหรือไม่ เพราะทุกคนต้องการความเป็นระเบียบ หากมีนโยบายประชานิยมก็ต้องพิจารณาด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยหรือไม่” คือคำตอบของวัลลภ
ปัญหาหาบเร่แผงลอยรุกล้ำทางเท้า เป็นเรื่องยืดเยื้อเรื้อรังของกรุงเทพฯมาช้านาน แม้จะมีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ออกมาระบุกติกา ไปจนถึงบทลงโทษชัดเจน
จนกระทั่งมีรัฐบาล คสช. เมื่อ 2 ปีเศษที่ผ่านมา มีการย้ำชัดเรื่องนี้อีกครั้ง ตามด้วยการดำเนินการอย่างจริงจังของกทม. จึงได้เห็นการจัดระเบียบเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้
การเร่งรัดจัดระเบียบเมือง คืนทางเท้าให้ประชาชนตามนโยบายของคสช. เริ่มต้นจากจุดแรกที่ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร ด้วยการประกาศห้ามขายตลอด 24 ชั่วโมง ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ให้ย้ายเข้าไปขายในซอยใกล้เคียงแทนหรือบางรายก็ย้ายตามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสนามบินน้ำ
รวมถึงบริเวณริมคลองคูเมืองเดิมและรอบศาลฎีกา เขตพระนคร ที่มีผู้ค้าประมาณ 1,000 ราย เป็นการยุติแหล่งค้าขายสินค้าในตำนานริมคลองหลอด ตามด้วยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี ที่ให้ทำการค้าที่เดิมแต่ขีดแนวตั้งวางให้ชัดเจน และกวดขันให้ผู้ค้าอยู่ในกติกา
แต่การจัดระเบียบตลาดคลองถม ย่านการค้าเก่าแก่ ถือว่าเป็นกรณีที่ “คนเมือง” ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะเหมือนกับเป็นการปิดตำนานร้านค้าละแวกนั้น เพียงแต่ว่า ยังมีร้านเปิดขายอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้บรรยากาศการจับจ่ายผิดไปจากอดีต
อวสานสตรีทฟู้ด
หากยังจำกันได้ เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้จัดอันดับ 23 เมืองที่มีอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ที่ดีที่สุดในโลก อันดับหนึ่งตกเป็นของกรุงเทพฯ โดยซีเอ็นเอ็นระบุว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่พลาดอาหารริมถนนในกรุงเทพฯ” อย่างไรก็ตาม สำหรับ กทม.แล้ว การจัดอันดับดังกล่าวไม่น่าดีใจนัก เพราะไม่ได้มองในเรื่องกฎหมายและความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย
“ขอบคุณที่ให้เกียรติ เเต่ถามกลับว่า สุขอนามัยของร้านจำหน่ายอาหารบนทางเท้าเป็นอย่างไร มีใครพูดถึงการล้างจานไหม ล้างด้วยน้ำกี่กะละมัง เวียนใช้กี่ครั้ง พูดไหมว่าร้านนำไขมัน เศษอาหารเทลงท่อระบายน้ำ ฉะนั้นที่บอกว่า การจัดระเบียบทำให้เสน่ห์หายไป ผมว่าไม่เกี่ยว ตรงนั้นไม่ใช่เสน่ห์ เเต่คือความสกปรก เอกลักษณ์ความเป็นไทยต้องมองอย่างรอบด้าน ไม่มีนักท่องเที่ยวคนไหนอยากเดินกินของอร่อยๆ แล้วถูกล้วงกระเป๋า ถามว่าล้วงกระเป๋าเป็นเอกลักษณ์ที่บวกเข้าไปด้วยหรือเปล่า หรือถ้าไม่อยากโดนล้วงกระเป๋าก็ลงมาเดินบนถนน เพื่อเสี่ยงต่อการถูกรถชนเเทน นั่นเป็นเอกลักษณ์เหรอ” (ที่มา-โพสต์ทูเดย์)
ส่วนข้ออ้างเรื่องความยากจนเพื่อขอผ่อนปรนนั้น วัลลภบอกข้ามไปได้เลย เพราะหากวัดกันที่เงินตรา กฎหมายระเบียบคงไม่มีความหมาย ที่สำคัญคาดว่าจะมีผู้ที่เหมาะสมกว่าผู้ค้าปัจจุบันหลายราย
“ผู้ค้าบางคน ตอนมาประท้วง ยังขอความเห็นใจบอกว่า ขายตรงนี้ทำให้เขาซื้อบ้าน ซื้อรถ สร้างเนื้อสร้างตัวได้ ผมถามกลับว่า ถ้าคนอื่นที่เขาไม่มีอะไรเลยจะขออย่างคุณบ้างล่ะ ระเบียบสังคมอยู่ตรงไหน ถ้าจะเเข่งกันด้วยความจน อาจจะมีคนที่เหมาะสมกว่าคุณด้วยซ้ำ”
ประธานที่ปรึกษาฯ ยืนยันว่า ที่ผ่านมา กทม.ดำเนินการทุกอย่างด้วยการผ่อนปรน มองข้ามความผิดของผู้ค้า เปรียบดั่งการหลับตาข้างเดียวจัดการปัญหามาตลอด ซึ่งขอให้เข้าใจว่า หาก กทม.ไม่ทำตามกฎหมาย จะกลายเป็นผู้ผิดเสียเอง ประชาชนทั่วไปฟ้องร้องได้ตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ที่มา www.komchadluek.net