ผมเป็นคนที่ลงพื้นที่บ่อยอยู่แล้ว แต่มักไม่ค่อยพบกับชาวนาเท่าไหร่
บังเอิญช่วงสองปีมานี้ ผมไปช่วยอาจารย์ท่านหนึ่งทำวิจัย เลยพบกับชาวนาทางอีสานบ่อย
อำเภอที่ผมลงส่วนใหญ่เป็นอำเภอขนาด 3 เซเว่น คือมีเซเว่นประมาณสามแห่ง อยู่ในปั๊ม ปตท.หนึ่งแห่ง
และในตัวอำเภอสองแห่ง คือเป็นอำเภอขนาดกลางออกไปทางเล็ก
มีหลายอย่างที่ไม่เหมือนที่ผมมโนขึ้น เลยอยากเล่าให้ฟัง
ฐานะ
- ชาวนาที่ผมพบทางอีสาน กลุ่มเป้าหมายคือทำเกษตรอินทรีย์
ดังนั้นรายได้ของเขาค่อนข้างดี เพราะมีผู้รับซื้อส่งออกไปต่างประเทศ
และต้นทุนเกษตรอินทรีย์ต่ำ ผมไม่ค่อยพบคนจน เชื่อว่ามี แต่เขาไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายวิจัย
- ชาวนามักไม่พูดว่าเขารวย เพราะทุกคนมีหนี้ สภาพจะคล้ายคนเมืองคือมีทั้งหนี้และรายรับที่ดี
- บ้านที่รวยจริง คือบ้านที่มีคนหนุ่มสาว เช่นลูกไปทำงานโรงงานที่กรุงเทพ แล้วกลับมาทำนา
- ทุกบ้านมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นเช่นเครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ โทรทัศน์จอแบน
- ทุกคนมีที่ดิน (คนไม่มีที่ดินมักไม่ได้อยู่ในการวิจัย ผมเลยไม่ทราบว่ามีเยอะไหม)
- ชาวนาทุกครอบครัวมีรถยนต์ อย่างน้อยปิกอัพหนึ่งคัน ส่วนใหญ่จะมีหลายคัน และอาจมีรถอีโคคาร์ไว้ให้ภรรยาส่งลูกไปโรงเรียน
เหมือนกับคนในเมือง
ชีวิต
- บ้านมักใหญ่แต่ไม่หรู เช่นสร้างแบบครึ่งๆกลางๆ
- เด็กราวๆ 10 เปอร์เซนต์ มีแอร์ในห้องนอน
- เด็กทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ
- เด็กทุกคนไปเซเว่นอย่างน้อยอาทิตย์ละสองครั้ง ถ้าคนที่บ้านมีอีโค่คาร์ก็ไปทุกวัน
- เซเว่นจะมีสถานะคล้ายกับห้าง วัยรุ่นมักขี่มอร์เตอร์ไซค์ไปนั่งเล่นหน้าเซเว่น
- ทุกคนมีสมาร์ทโฟน แม้แต่ไอโฟนก็พบบ่อย ทุกคนเล่นไลน์ เฟซบุ๊คได้ และเข้าเวบเช็คราคาพืชผลได้ ส่วนเวลาว่าง
ก็ดูยูทูปกัน พูดง่ายๆคือสิ่งเดียวที่เชื่อมชุมชนในปัจจุบันก็คืออินเตอร์เนต
- คนส่วนใหญ่ได้ความรู้ทางการทำนาเพิ่มจากยูทูป เช่นเรื่องคลาสสิกที่ว่า "ถ้าตัดหญ้าให้ตัดต้นข้าว
ไปพร้อมกัน"
- ไม่พบคนที่เรียกว่า "บ้านนอก" ทุกคนรับรู้ มีความรู้ เท่ากับคนในเมือง เว้นแต่อาจไม่รู้บางเรื่องเช่นการเล่นหุ้น หรือเรื่อง BNK48
แต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่อบต. หรือ รพ.สต. จะมีความรับรู้เท่าคนเมืองเป๊ะ
สุขภาพ
- ชาวนาอีสานที่ยังหนุ่มมักตัวสูงใหญ่ คนสูง 180 ซม.นี่พบเยอะมาก
- ชาวนา 100 คน มีสุขภาพดีจริงๆ 1-2 คน ผมจะเล่าที่เท่านึกออก เพราะผมไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เอง อาจคลาดเคลื่อนได้
คือใน 100 คน ไขมันสูง 80-90% สูงสุดคือ Triglyceride 3,000 !
ไตไม่ปกติ 40-50% (ดูจาก e-GFR)
ความดัน เบาหวาน อย่างละราวๆ 10-20%
- ส่วนใหญ่การเจ็บป่วยเกิดจากการกินอาหาร เช่นเค็มจัด มันจัด หวานจัด แต่หลายคนก็หาสาเหตุไม่ได้
- อาหารส่วนใหญ่ทำกินเอง แต่ร้านอาหารดีๆ เดี๋ยวนี้มีทุกแห่ง แม้แต่ในชนบทที่ไกลมากๆ
- คนส่วนใหญ่มียากินครบ ต้องขอบคุณบัตรทอง เช่นส่วนใหญ่ มียาลดไขมัน ยาความดันฯลฯ การไปรับยาถือเป็น
ความสุขของคนแก่ที่เดียว ได้สังสรรค์ อวดลูกกัน เช่น "ลูกฉันทำงานอยู่ไมโครซอฟต์" (ที่แปลกคือทุกคนก็รู้จกัไมโครซอฟต์)
ราชการ
ชาวนามักลังเลที่จะเข้าร่วมกับทางราชการ เช่นถ้าเข้าร่วมอาจได้ทุนมาสร้างโรงสีของชุมชน แต่ถ้าพลาดเช่นไปรับปุ๋ยฟรีมา
เมื่อเอามาใส่ในนาอาจมีผลแทรกซ้อน เช่นทำให้ไม่เป็นอินทรีย์ 100% เสี่ยงต่อการถูกถอดถอนจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์
ใครเป็นลูกชาวนา หรือรู้ลึก เล่าประสบการณ์ให้ผมฟังบ้างก็ได้ แลกเปลี่ยนกันครับ
ผมขอโพสต์หว้ากอนะครับ คิดว่าหลายคนอาจสนใจเรื่องพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน
ชาวนาที่ผมพบระหว่างไปช่วยทำวิจัย ไม่เหมือนที่เราคิด!!
บังเอิญช่วงสองปีมานี้ ผมไปช่วยอาจารย์ท่านหนึ่งทำวิจัย เลยพบกับชาวนาทางอีสานบ่อย
อำเภอที่ผมลงส่วนใหญ่เป็นอำเภอขนาด 3 เซเว่น คือมีเซเว่นประมาณสามแห่ง อยู่ในปั๊ม ปตท.หนึ่งแห่ง
และในตัวอำเภอสองแห่ง คือเป็นอำเภอขนาดกลางออกไปทางเล็ก
มีหลายอย่างที่ไม่เหมือนที่ผมมโนขึ้น เลยอยากเล่าให้ฟัง
ฐานะ
- ชาวนาที่ผมพบทางอีสาน กลุ่มเป้าหมายคือทำเกษตรอินทรีย์
ดังนั้นรายได้ของเขาค่อนข้างดี เพราะมีผู้รับซื้อส่งออกไปต่างประเทศ
และต้นทุนเกษตรอินทรีย์ต่ำ ผมไม่ค่อยพบคนจน เชื่อว่ามี แต่เขาไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายวิจัย
- ชาวนามักไม่พูดว่าเขารวย เพราะทุกคนมีหนี้ สภาพจะคล้ายคนเมืองคือมีทั้งหนี้และรายรับที่ดี
- บ้านที่รวยจริง คือบ้านที่มีคนหนุ่มสาว เช่นลูกไปทำงานโรงงานที่กรุงเทพ แล้วกลับมาทำนา
- ทุกบ้านมีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นเช่นเครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ โทรทัศน์จอแบน
- ทุกคนมีที่ดิน (คนไม่มีที่ดินมักไม่ได้อยู่ในการวิจัย ผมเลยไม่ทราบว่ามีเยอะไหม)
- ชาวนาทุกครอบครัวมีรถยนต์ อย่างน้อยปิกอัพหนึ่งคัน ส่วนใหญ่จะมีหลายคัน และอาจมีรถอีโคคาร์ไว้ให้ภรรยาส่งลูกไปโรงเรียน
เหมือนกับคนในเมือง
ชีวิต
- บ้านมักใหญ่แต่ไม่หรู เช่นสร้างแบบครึ่งๆกลางๆ
- เด็กราวๆ 10 เปอร์เซนต์ มีแอร์ในห้องนอน
- เด็กทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ
- เด็กทุกคนไปเซเว่นอย่างน้อยอาทิตย์ละสองครั้ง ถ้าคนที่บ้านมีอีโค่คาร์ก็ไปทุกวัน
- เซเว่นจะมีสถานะคล้ายกับห้าง วัยรุ่นมักขี่มอร์เตอร์ไซค์ไปนั่งเล่นหน้าเซเว่น
- ทุกคนมีสมาร์ทโฟน แม้แต่ไอโฟนก็พบบ่อย ทุกคนเล่นไลน์ เฟซบุ๊คได้ และเข้าเวบเช็คราคาพืชผลได้ ส่วนเวลาว่าง
ก็ดูยูทูปกัน พูดง่ายๆคือสิ่งเดียวที่เชื่อมชุมชนในปัจจุบันก็คืออินเตอร์เนต
- คนส่วนใหญ่ได้ความรู้ทางการทำนาเพิ่มจากยูทูป เช่นเรื่องคลาสสิกที่ว่า "ถ้าตัดหญ้าให้ตัดต้นข้าว
ไปพร้อมกัน"
- ไม่พบคนที่เรียกว่า "บ้านนอก" ทุกคนรับรู้ มีความรู้ เท่ากับคนในเมือง เว้นแต่อาจไม่รู้บางเรื่องเช่นการเล่นหุ้น หรือเรื่อง BNK48
แต่ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่อบต. หรือ รพ.สต. จะมีความรับรู้เท่าคนเมืองเป๊ะ
สุขภาพ
- ชาวนาอีสานที่ยังหนุ่มมักตัวสูงใหญ่ คนสูง 180 ซม.นี่พบเยอะมาก
- ชาวนา 100 คน มีสุขภาพดีจริงๆ 1-2 คน ผมจะเล่าที่เท่านึกออก เพราะผมไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เอง อาจคลาดเคลื่อนได้
คือใน 100 คน ไขมันสูง 80-90% สูงสุดคือ Triglyceride 3,000 !
ไตไม่ปกติ 40-50% (ดูจาก e-GFR)
ความดัน เบาหวาน อย่างละราวๆ 10-20%
- ส่วนใหญ่การเจ็บป่วยเกิดจากการกินอาหาร เช่นเค็มจัด มันจัด หวานจัด แต่หลายคนก็หาสาเหตุไม่ได้
- อาหารส่วนใหญ่ทำกินเอง แต่ร้านอาหารดีๆ เดี๋ยวนี้มีทุกแห่ง แม้แต่ในชนบทที่ไกลมากๆ
- คนส่วนใหญ่มียากินครบ ต้องขอบคุณบัตรทอง เช่นส่วนใหญ่ มียาลดไขมัน ยาความดันฯลฯ การไปรับยาถือเป็น
ความสุขของคนแก่ที่เดียว ได้สังสรรค์ อวดลูกกัน เช่น "ลูกฉันทำงานอยู่ไมโครซอฟต์" (ที่แปลกคือทุกคนก็รู้จกัไมโครซอฟต์)
ราชการ
ชาวนามักลังเลที่จะเข้าร่วมกับทางราชการ เช่นถ้าเข้าร่วมอาจได้ทุนมาสร้างโรงสีของชุมชน แต่ถ้าพลาดเช่นไปรับปุ๋ยฟรีมา
เมื่อเอามาใส่ในนาอาจมีผลแทรกซ้อน เช่นทำให้ไม่เป็นอินทรีย์ 100% เสี่ยงต่อการถูกถอดถอนจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์
ใครเป็นลูกชาวนา หรือรู้ลึก เล่าประสบการณ์ให้ผมฟังบ้างก็ได้ แลกเปลี่ยนกันครับ
ผมขอโพสต์หว้ากอนะครับ คิดว่าหลายคนอาจสนใจเรื่องพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน