หนัง Divergent สะท้อนหลักธรรมแก้ทุกข์ระบบสังคมโลก?

ฉบับที่ ๗๙ วันเสาร์ที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เรื่อง หนัง Divergent สะท้อนหลักธรรมแก้ทุกข์ระบบสังคมโลก?

Divergent เรื่องย่อ ๆ คือ เป็นยุคที่เมืองแห่งนี้ต้องการความสงบหลังจากเกิดการเข่นฆ่า ทำลายล้างกันของมนุษย์ จึงคิดระบบให้ผู้คนแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะนิสัย แยกกันอยู่ ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน

Abnegation (ผู้ปกครอง) พวกไม่ยึดติดกับตัวตน ไม่เห็นแก่ตัว เอาประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน กลุ่มนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปกครอง นักการเมือง และเป็นกลุ่มที่นางเอกเกิดมา

Dauntless (ผู้กล้าหาญ) พวกบ้าบิ่น ชอบผจญภัยไม่กลัวตาย ทำหน้าที่เป้นทหารตำรวจดูแลความสงบ

Erudite (ผู้มีปัญญา) พวกนี้นับถือความรู้เหนือสิ่งอื่นใด ทำหน้าที่เป็นนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์

Candor (ผู้ซื่อสัตย์) ยึดมั่นในความสัตย์ พูดทุกอย่างที่คิดว่าถูกต้อง พวกนี้เป็นทนายความ

Amity (ผู้เสียสละ) พวกฮิปปี้ รักธรรมชาติ รักความสงบ ไม่ยอมรับความรุนแรงใด ๆ ทั้งปวง
ทำหน้าที่ปลูกพืช ผลไม้เพื่อแบ่งให้กลุ่มอื่น ๆ ด้วย
อีกชนชั้นคือไม่มีกลุ่ม ยากจน อดอยาก ที่ไม่ถูกยอมรับจาก 5 กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นขอทาน รับอาหารแบ่งปันจากกลุ่มผู้เสียสละ

เด็ก ๆ ทุกคนเมื่ออายุครบ 16 ปีต้องเลือกกลุ่ม ถ้าเลือกกลุ่มเดิมก็จะไม่มีปัญหาอยู่กะพ่อแม่ต่อไป
ถ้าเลือกกลุ่มอื่น จะต้องละทิ้งครอบครัว ไปอยู่กะสังคมใหม่ที่เลือก และถูกมองว่าเป็นคนทรยศ ก่อนให้เลือกเค้าจะมีทดสอบก่อนว่าเหมาะกะกลุ่มไหน เมื่อรู้ว่าตนเหมาะกับกลุ่มที่อยากใช้ชีวิตหรือไม่ ก็ต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะเลือกตามลักษณะนิสัย หรือกัดฟันทนอยู่กับครอบครัวต่อไป
ประเด็นสำคัญของเรื่องคือนางเอก เธอเข้ารับการทดสอบและปรากฏว่าตัวเธอเองนั้นอยู่ในกลุ่มไดเวอร์เจนท์ มีครบทั้ง 5 อย่าง หรือไม่สามารถระบุกลุ่มที่แท้จริงได้ เหตุการณ์นี้ทำให้เธอต้องตัดสินใจเลือกกลุ่มที่เธออยากจะไปสังกัดด้วย ท้ายที่สุดเธอก็เลือกจะไปอยู่กับ Dauntless กลุ่มผู้กล้า เพราะเธออยากจะเข้มแข็งและฝึกฝนตัวเองให้มีความกล้า อย่างไรก็ตาม "เจนีน" ผู้นำกลุ่มทรงปัญญา กลับมองว่าไดเวอร์เจนท์เป็นภัยคุกคามต่อระบบที่วางเอาไว้ ประกอบกับแผนการร้ายที่เธอต้องการจะให้กลุ่มผู้ทรงปัญญามาเป็นฝ่ายบริหารบ้านเมืองแทนกลุ่ม Amity (ผู้เสียสละ) ทำให้คนที่เป็นไดเวอร์เจนท์ตกอยู่ในอันตราย สิ่งที่ทริซทำได้ก็คือปกปิดสถานะของตัวเองให้รอดพ้นสายตาของคนอื่น และในที่สุดเธอก็ได้ทำลายระบบของเจนีนทิ้งไป เพื่อความสงบ
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าทุกกลุ่มมีความสามารถที่เก่งเฉพาะตัว แต่นิสัยความดีนั้น หากระบุจากกลุ่ม คือผู้เสียสละ ผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งกลุ่มพวกนี้ไม่ค่อยมีอำนาจจากเทคโนโลยี อาวุธสงคราม และการปกครอง โดยอำนาจพวกนี้หากใช้ทางที่ผิด ย่อมเกิดความวุ่นวายอย่างมหาศาล แล้วบุคคลที่เก่งและดีที่สุดคือมีครบทั้ง 5 อย่างคือ Divergent
ในฐานผู้เขียน มีความเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงค้นหาหลักธรรมที่สะท้อนถึงเรื่องนี้ พบว่า ทศชาติชาดก บารมี 10 ทัศ ชัดเจนมาก กล่าวคือ ลักษณะเด่น ๆ ของแต่ละกลุ่ม ก็สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ของบารมีได้ ยิ่งบารมีเป็นของพระโพธิ์สัตว์เต็มเปี่ยมก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ผู้ปรารถนาให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์
บารมี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มี 10 ประการ มีดังนี้

1.ทานบารมี หมายถึง การที่จิตของเราพร้อมที่จะให้ทาน ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ
2.ศีลบารมี หมายถึง การที่จิตของเราพร้อมในการรักษาศีล ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีลให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล
3.เนกขัมมบารมี หมายถึง การที่จิตพร้อมในการถือเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช
4.ปัญญาบารมี หมายถึง การที่จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหาร และ มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎสามัญลักษณะ ได้แก่ การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
5.วิริยบารมี หมายถึง การที่มีความเพียรทุกขณะ ในการที่จะทำความดีประหารกิเลส
6.ขันติบารมี หมายถึง การที่มีความอดทน และ อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
7.สัจจะบารมี หมายถึง การที่ตั้งมั้นในคำพูดที่ได้รับปากไว้แล้ว
8.อธิษฐานบารมี หมายถึง การที่ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ทรงนั่งประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ทรงอธิษฐานว่าถ้าเราไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือจะตายก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุในคืนนั้น
9.เมตตาบารมี หมายถึง การที่มีความเมตตา ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
10.อุเบกขาบารมี หมายถึง การที่มีความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ

โดยสรุป มนุษย์ทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ฐานะ ความรู้ ความสามารถ แต่เป้าหมายของมนุษย์สำคัญที่สุดคือความสุข สงบ พ้นทุกข์ โดยคิดระบบไว้มากมาย แต่หากมีการเกิดขึ้นของพระโพธิ์ผู้ตั้งใจบำเพ็ญบารมีให้ทุกชีวิตพ้นทุกข์ ในสังคมยุคนั้น ๆ มากเท่าใด โลกที่นักวิชาการหวังไว้ คือความศิวิไลซ์ก็คงจะเป็นจริงในไม่ช้า

ทุกท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนความรู้กันใน Comment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter, pantip ...กันนะครับ ขอบคุณครับ

B.S.
2 มี.ค. 2562

ตอน  หนัง Divergent สะท้อนหลักธรรมแก้ทุกข์ระบบสังคมโลก? คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอhttps://youtu.be/ksShBEOXjK0 เวลา 14.00-14.20 น.

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่