ขอเป็นข้ารองบาท ทุกชาติไป...
มอบชีวิต ด้วยกายและใจ
จะต้องเหนื่อยล้า โรยแรงเท่าไร
จะขอจงรักภักดี ทุกชาติไป
เข้าใจว่าหลายท่านคงรู้สึกอย่างนี้ ในช่วงเวลานี้
ความเศร้าโศก ในการจากผู้อันเป็นที่รักยิ่งของเราคนไทยนั้น
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดประมาณไม่ได้
ผมรู้สึกว่า ผู้ที่มีความตั้งใจปรารถนาจะตามเสด็จทุกชาติไปนั้น
เป็นผู้ที่มีกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว เป็นทางแห่งคนกล้า เป็นผู้ตั้งใจในการทรงคุณงามความดี
เพราะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโพธิสัตว์ ใกล้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีของพระองค์นั้น อยู่ในขั้นปรมัตถบารมีแล้ว จะเห็นได้จากพระราชกิจวัตรและพระราชกรณียกิจ
แม้ว่าจะยากลำบากเพียงใด มีอันตรายเพียงใด พระองค์ก็ไม่ย่อท้อที่จะเข้าไปยังพื้นที่ที่ไม่สะดวกและไม่ปลอดภัย
โดยไม่ห่วงในชีวิตของพระองค์เองเลย
อย่างที่เราทราบกันว่าท่านทรงประชวรรวมทั้งสูญเสียไปจากการประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย
เมื่อเรามองว่าพระองค์เป็นดังพ่อแห่งแผ่นดินที่เราจะเดินตาม แม้จะชาติไหนๆก็ตาม
ผมจะขอนำธรรมะบางส่วน เพื่อให้ผู้ตั้งสัจจาธิษฐาน จะเดินตามเสด็จให้ทัน และสำเร็จดังสมประสงค์
เนื่องด้วยพระโพธิสัตว์และผู้ที่จะเดินตามพระองค์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยบารมีทั้ง ๑๐
๑ ทานบารมี คือ การให้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า การประพฤติตนตามธรรมะนั้น
การให้เป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด เริ่มจาก แบ่งปันสิ่งที่เราเหลือ สิ่งที่เราไม่ลำบากเบียดเบียนตัวเอง
หรือแม้จะสร้างความลำบากหรือเบียดเบียนบ้าง เราก็ยินดีที่จะให้ได้เสมอ
นอกจากสิ่งของวัตถุแล้ว เรายังสามารถให้ได้ทั้งธรรมะ และสิ่งที่ดีงามคือ การให้อภัยกัน
ผลแห่งการให้ทาน ก็คือ โภคทรัพย์ เมื่อเกิดชาติใดชาติหนึ่ง จะได้ไม่ลำบาก
แม้ว่าจะยากดีมีจนหรือรวยเพียงใด ก็สามารถจะร่วมสนับสนุนพระองค์ได้
แต่ถ้าเรามีมากก็ดีใช่มั้ย จะได้ช่วยเกื้อหนุนในพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้มากและเร็ว
ดังนั้นจึงเป็นบารมีที่สำคัญมาก
๒ ศีลบารมี คือการรักษาศีล เป็นการปฏิบัติตนที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะเป็นการงดพฤติกรรมที่เบียดเบียน
เป็นบารมีที่สำคัญมาก สำคัญแทบจะที่สุดด้วยถ้าคิดจะเสด็จตามพระองค์ทุกชาติ
เพราะต่อไปการสร้างบารมีของพระองค์นั้นจะต้องเกิดมาเป็นมนุษย์... เราพร้อมจะเกิดชาติหน้าเป็นมนุษย์หรือยัง...?
ถ้าไม่มีศีล นั่นก็คือ นรกและอบายภูมิอื่นๆยังเป็นโอกาสของเรา
ถ้าเราไม่มีศีล พลาดลงนรก ยากนักที่เราจะเสด็จตามพระองค์ได้ ดีไม่ดีโงหัวออกจากนรกต่ออบายภูมิอื่นๆ
มาได้เกิดเป็นมนุษย์อีกที่ พระองค์อาจจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพระนิพพานไปแล้ว
๓ เมตตาบารมี มีความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นบารมีที่จะหนุนนำให้สองบารมีแรกนั้นมั่นคง
๔ อธิษฐานบารมี ก็คือ การตั้งใจไว้ตรงเฉพาะว่าจะตามเสด็จ อันนี้ก็มีกันแล้ว
แต่ถ้าจะให้มั่นคงหนักแน่นมากขึ้น ต้องคิดไว้ด้วยว่าสุดท้ายแล้วพระองค์จะเสด็จพระนิพพาน
เราก็ต้องคิดจะตามให้ถึงที่สุดตรงนี้ไว้ด้วย ไม่อย่างนั้นจิตจะมั่นคงพอ ไปซ้ายไปขวาไม่ตรงทาง
๕ สัจจะบารมี ความจริงใจในทุกการกระทำ ตั้งใจไว้แล้วก็จะทำจริงทุกอย่างในความดี
๖ วิริยบารมี ความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ
๗ ขันติบารมี ความอดทนต่ออุปสรรคในการทรงความดี
๘ เนกขัมมบารมี การบวชใจ การหมั่นหลีกกายและใจออกจากกามคุณ มีสมถะวิปัสสนาเป็นหลักในการภาวนา
๙ ปัญญาบารมี ศึกษาธรรมะ ท่องจำไว้ในใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติ ใช้ความคิดใคร่ครวญก่อนจะทำอะไรเสมอ
คิดว่านี้ดีหรือไม่ดี นี้เป็นกุศลหรืออกุศล อะไรควรทำไม่ควรทำ เพื่อความสุขความเจริญของตนเองและผู้อื่น
คิดพิจารณาในความเป็นไปธรรมดาของสรรพสิ่ง มีความเกิดขึ้นแล้ว ย่อมแปรปรวนไปตามเหตุปัจจัย สุดท้ายก็เสื่อมสลายลงไปที่สุด
๑๐ อุเบกขาบารมี การทรงใจความวางเฉย ตรงนี้ต้องใช้ปัญญาควบคุม คือการพิจารณาความธรรมดา
ไม่ใช่การวางเฉยโดยขาดปัญญาพิจารณา แต่เป็นการวางเฉยด้วยปัญญา
ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ตั้งใจจริงด้วยครับ
ขออภัยในความรู้อันจำกัดในราชาศัพท์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป... ธรรมะบางส่วนเพื่อผู้ที่ตั้งใจจริง
มอบชีวิต ด้วยกายและใจ
จะต้องเหนื่อยล้า โรยแรงเท่าไร
จะขอจงรักภักดี ทุกชาติไป
เข้าใจว่าหลายท่านคงรู้สึกอย่างนี้ ในช่วงเวลานี้
ความเศร้าโศก ในการจากผู้อันเป็นที่รักยิ่งของเราคนไทยนั้น
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดประมาณไม่ได้
ผมรู้สึกว่า ผู้ที่มีความตั้งใจปรารถนาจะตามเสด็จทุกชาติไปนั้น
เป็นผู้ที่มีกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว เป็นทางแห่งคนกล้า เป็นผู้ตั้งใจในการทรงคุณงามความดี
เพราะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโพธิสัตว์ ใกล้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีของพระองค์นั้น อยู่ในขั้นปรมัตถบารมีแล้ว จะเห็นได้จากพระราชกิจวัตรและพระราชกรณียกิจ
แม้ว่าจะยากลำบากเพียงใด มีอันตรายเพียงใด พระองค์ก็ไม่ย่อท้อที่จะเข้าไปยังพื้นที่ที่ไม่สะดวกและไม่ปลอดภัย
โดยไม่ห่วงในชีวิตของพระองค์เองเลย
อย่างที่เราทราบกันว่าท่านทรงประชวรรวมทั้งสูญเสียไปจากการประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย
เมื่อเรามองว่าพระองค์เป็นดังพ่อแห่งแผ่นดินที่เราจะเดินตาม แม้จะชาติไหนๆก็ตาม
ผมจะขอนำธรรมะบางส่วน เพื่อให้ผู้ตั้งสัจจาธิษฐาน จะเดินตามเสด็จให้ทัน และสำเร็จดังสมประสงค์
เนื่องด้วยพระโพธิสัตว์และผู้ที่จะเดินตามพระองค์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยบารมีทั้ง ๑๐
๑ ทานบารมี คือ การให้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า การประพฤติตนตามธรรมะนั้น
การให้เป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด เริ่มจาก แบ่งปันสิ่งที่เราเหลือ สิ่งที่เราไม่ลำบากเบียดเบียนตัวเอง
หรือแม้จะสร้างความลำบากหรือเบียดเบียนบ้าง เราก็ยินดีที่จะให้ได้เสมอ
นอกจากสิ่งของวัตถุแล้ว เรายังสามารถให้ได้ทั้งธรรมะ และสิ่งที่ดีงามคือ การให้อภัยกัน
ผลแห่งการให้ทาน ก็คือ โภคทรัพย์ เมื่อเกิดชาติใดชาติหนึ่ง จะได้ไม่ลำบาก
แม้ว่าจะยากดีมีจนหรือรวยเพียงใด ก็สามารถจะร่วมสนับสนุนพระองค์ได้
แต่ถ้าเรามีมากก็ดีใช่มั้ย จะได้ช่วยเกื้อหนุนในพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้มากและเร็ว
ดังนั้นจึงเป็นบารมีที่สำคัญมาก
๒ ศีลบารมี คือการรักษาศีล เป็นการปฏิบัติตนที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะเป็นการงดพฤติกรรมที่เบียดเบียน
เป็นบารมีที่สำคัญมาก สำคัญแทบจะที่สุดด้วยถ้าคิดจะเสด็จตามพระองค์ทุกชาติ
เพราะต่อไปการสร้างบารมีของพระองค์นั้นจะต้องเกิดมาเป็นมนุษย์... เราพร้อมจะเกิดชาติหน้าเป็นมนุษย์หรือยัง...?
ถ้าไม่มีศีล นั่นก็คือ นรกและอบายภูมิอื่นๆยังเป็นโอกาสของเรา
ถ้าเราไม่มีศีล พลาดลงนรก ยากนักที่เราจะเสด็จตามพระองค์ได้ ดีไม่ดีโงหัวออกจากนรกต่ออบายภูมิอื่นๆ
มาได้เกิดเป็นมนุษย์อีกที่ พระองค์อาจจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพระนิพพานไปแล้ว
๓ เมตตาบารมี มีความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นบารมีที่จะหนุนนำให้สองบารมีแรกนั้นมั่นคง
๔ อธิษฐานบารมี ก็คือ การตั้งใจไว้ตรงเฉพาะว่าจะตามเสด็จ อันนี้ก็มีกันแล้ว
แต่ถ้าจะให้มั่นคงหนักแน่นมากขึ้น ต้องคิดไว้ด้วยว่าสุดท้ายแล้วพระองค์จะเสด็จพระนิพพาน
เราก็ต้องคิดจะตามให้ถึงที่สุดตรงนี้ไว้ด้วย ไม่อย่างนั้นจิตจะมั่นคงพอ ไปซ้ายไปขวาไม่ตรงทาง
๕ สัจจะบารมี ความจริงใจในทุกการกระทำ ตั้งใจไว้แล้วก็จะทำจริงทุกอย่างในความดี
๖ วิริยบารมี ความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ
๗ ขันติบารมี ความอดทนต่ออุปสรรคในการทรงความดี
๘ เนกขัมมบารมี การบวชใจ การหมั่นหลีกกายและใจออกจากกามคุณ มีสมถะวิปัสสนาเป็นหลักในการภาวนา
๙ ปัญญาบารมี ศึกษาธรรมะ ท่องจำไว้ในใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติ ใช้ความคิดใคร่ครวญก่อนจะทำอะไรเสมอ
คิดว่านี้ดีหรือไม่ดี นี้เป็นกุศลหรืออกุศล อะไรควรทำไม่ควรทำ เพื่อความสุขความเจริญของตนเองและผู้อื่น
คิดพิจารณาในความเป็นไปธรรมดาของสรรพสิ่ง มีความเกิดขึ้นแล้ว ย่อมแปรปรวนไปตามเหตุปัจจัย สุดท้ายก็เสื่อมสลายลงไปที่สุด
๑๐ อุเบกขาบารมี การทรงใจความวางเฉย ตรงนี้ต้องใช้ปัญญาควบคุม คือการพิจารณาความธรรมดา
ไม่ใช่การวางเฉยโดยขาดปัญญาพิจารณา แต่เป็นการวางเฉยด้วยปัญญา
ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ตั้งใจจริงด้วยครับ
ขออภัยในความรู้อันจำกัดในราชาศัพท์